|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
วิศุทธิ์ พรนิมิตร: everybodyeverything น้ำตาสีรุ้งแสนสวย
โดย merveillesxx

ชื่อของ ตั้ม วิศุทธิ์ พรนิมิตร น่าจะเป็นที่คุ้นหูใครหลายๆ คนในฐานะนักเขียนการ์ตูนเรื่อง hesheit (ฮี-ชี-อิท) การ์ตูนที่บางคนด่าว่า มันคือการ์ตูนที่ลายเส้นห่วยที่สุดในโลก! แต่บางคนบอกว่า มันคือการ์ตูนปรัชญา! สำหรับผม
ผมว่ามันคือทั้งสองอย่างนั่นแหละ
เท่าที่จำความได้ผมพบกับ hesheit ครั้งแรกในนิตยสาร a day จำได้ว่าอ่านไปก็ด่าไป การ์ตูนอะไรวะ อ่านยากชิบเป๋ง ลายมือห่วยแตก แถมยังมีขีดฆ่าด้วย
แต่ครั้นอ่านไปอ่านมาหลายๆ เล่มเข้าก็ชักติดใจในเนื้อหาเพี้ยนๆของมัน ก็เลยมองข้ามเรื่องลายเส้นยุ่งเหยิงไปได้บ้าง ประจวบเหมาะกับไปเดินร้านหนังสือแล้วเห็น hesheit รวมเล่มเก่าๆพอดี (ฉบับรุ่นก่อนที่ออกมา 4 เล่ม 4 สี) ก็เลยทำใจเสี่ยซื้อเหมามาหมดเกลี้ยง เปิดอ่านเล่มแรกคำด่าว่า ห่วย ก็แล่นกลับมาประจำตำแหน่งที่สมองอีกครั้ง เนื่องจากงานช่วงแรกๆของเขานั้น เส้นมันเหลือรับจริงๆ สัดส่วนกายวิภาคของมนุษย์ผิดเพี้ยนไปหมด (เช่น พระเอกตอนแรกๆอาจจะมีแขนใหญ่เท่าขา แต่วันดีคืนดีแขนก็ดันใหญ่กว่าขาขึ้นมา!) แต่พอไปอ่านเรื่อยๆ ก็เข้าสู่ตรรกะเดิมๆ นั่นคือ ความหงุดหงิดที่เกิดจากภาพที่สุดแสนจะปั่นป่วนจะทุเลาลงไปเรื่อยๆ เพราะ ไอเดีย สุดบรรเจิดของการ์ตูนเรื่องนี้นั่นเอง
จากข้อสังเกตของผมแล้ว hesheit ในยุคแรกๆ จะมีเนื้อหาอยู่ 2 แนว หากไม่เพี้ยนหลุดโลกไปเลย (เช่น ขนมจีบไส้อึ, ชายหญิงที่จูบกันแล้วเอาปากไม่ออก!) ก็จะเป็นเรื่องรักปนขมของชายหญิงที่อ่านแล้วอาจจะนิ่งอึ้งไปหลายวัน (ส่วนตัวแล้วผมโปรดตอน นาฬิกา มาก) และในที่สุดแล้วผมก็ปวารณาตัวเองเป็นแฟนพันธุ์แท้ของการ์ตูนเรื่องนี้จนได้ จากที่ติดใจในเนื้อหา ก็เริ่มมองสไตล์ภาพของเขาด้วยใจที่เปิดกว้างขึ้น และพบว่ามันช่างมีเสน่ห์เหลือล้น มันคือส่วนผสมของความดิบ ความบริสุทธิ์และลูกบ้า! (ก็ใครจะเขียนการ์ตูนโดยที่เขียนผิดแล้วขีดฆ่าทิ้งเลยบ้างล่ะ?)
วิสุทธิ์หยุดงานเขียนไปช่วงหนึ่งใน a day พอกลับมาอีกครั้งก็ดูเหมือนว่างานของเขาจะดูสุขุม ลุ่มลึกกว่าเดิมยิ่งขึ้น (พูดให้เห็นภาพก็ประมาณ คิมดีดุค-ผู้กำกับเกาหลีที่กำลังมาแรง-ยุคดิบเถื่อนถ่อย จนไปเป็นพี่คิมยุคหลังที่เข้าทางพระทางเจ้าแล้ว) เรื่องราวของ hesheit ยุคหลังดูเหมือนจะเป็น นามธรรม มากขึ้น และมีอะไรให้เราขบคิดต่อเสมอหลังจากอ่านจบ (จากแต่เดิมที่อ่านแล้วจะถามว่า มันคิดได้ไง(วะ)) แต่ที่สำคัญก็คืองานของเขาดูจะมองโลกในแง่ดี (Positive Thinking) มากขึ้นด้วย (แต่ก็ยังมีหลุดตอนเพี้ยนๆมาบ้าง เช่น ตอนคนสะสมคอเลคชั่นอึ--อึอีกแล้ว?)
หนังสือเล่มแรกของวิศุทธิ์ออกประมาณปี พ.ศ. 2546 ในชื่อ ควันใต้หมวก งานชิ้นนี้ดูมีความคลี่คลายมากขึ้น ลายเส้นคมชัดจับต้องง่าย ฉากหลัง (Background) ที่ดูมีตัวตนจริง (แต่ก่อนจะเหมือนไม่ตั้งใจวาด--ฮา) ไร้ซึ่งการขีดฆ่าคำพูดอีกต่อไป เรื่องราวนั้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ ชายหนุ่มตัวเล็ก หญิงสาวสูงเพรียว บุหรี่ หมวก และการเดินทางข้ามเวลา (เริ่มเข้าข่าย มันคิดได้ไง แล้วใช่มั้ยครับ) อ่านจบแล้วผมรู้สึกจุกอกนิ่งอึ้งไปหลายนาทีอยู่เหมือนกัน การ์ตูนเรื่องนี้เหมือนเป็นการเอานิยายของฮารูกิ มูราคามิและฟิล์มหนังของหว่องกาไวเข้าเครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยกัน
everybodyeverything เป็นหนังสือเล่มที่สองของวิศุทธิ์ ที่เพิ่งออกสดๆร้อนๆ หนังสือมีดีกรีไปตีพิมพ์ที่ญี่ปุ่นมาแล้ว ซึ่งพอผมอ่านไปถึงตอนสอง วันแห่งความรัก ก็ได้กลิ่นตุ่ยๆของปลาดิบโชยเข้าจมูกเลยทีเดียว พฤติกรรมหรือฉากของตอนนี้ดู ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น เหลือเกิน (เช่น ตกใจจนตาถลนหรือกระโดดไปชนกระจก, ฟ้าผ่าเปรี้ยงลงกบาลเมื่อรู้สึกผิดหวัง) เห็นแล้วก็รู้สึกตกใจมาก พลางคิดในใจ พี่ตั้มเปี๋ยนไป๊ ซะแล้ว แต่คิดเองเออเองว่าเขาใช้วิธีการแบบนี้เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นเกิดความคุ้นชินและสัมผัสงานของเขาได้มากขึ้น ประกอบกับเนื้อหาในตอนนี้ยังจี๊ดใจผมอยู่ เพราะฉะนั้นผมก็เลยตัดสินใจอ่านตอนต่อๆไป
พออ่านตอน รถไฟ และ วงดุริยางค์ ผ่านไปก็ใจชื้นขึ้นมาเยอะ เนื้อหาทั้งสองตอนพออ่านแล้วก็รู้สึกถึงการอิงบริบทสังคมไทยที่ชัดเจนมาก (ตอนนี้กลิ่นปลาดิบเริ่มเปลี่ยนเป็น ปลาทูแล้ว) โดยเฉพาะเรื่องของรถไฟฟ้าในตอนรถไฟที่อ่านแล้วฮาชนิดตกเก้าอี้
ตอน รถไฟ นั้นว่าด้วยคนกลุ่มใหญ่ที่ขึ้นรถไฟฟ้าแล้วไปพบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตอนนี้ดูจะแปลกไปจากงานชิ้นก่อนๆ ของวิศุทธิ์อยู่เหมือนกัน เพราะโดยปกติแล้วงานของเขามักจะพูดถึงความสัมพันธ์ของชายหญิง เขา และ เธอ กับ มัน (ซึ่ง มัน ในที่นี้ก็มักจะเป็นตัวแทนของความรักหรือความสัมพันธ์ในหลากรูปแบบ) แต่คราวนี้เขาหันมาจับความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่ซัดทอดกันไปเรื่อย แต่พวกเขาทั้งหมดล้วนมีจุดร่วมกันคือการเป็น คนในเมืองใหญ่ (เหมือนหนังของหว่องกาไว โดยเฉพาะเรื่อง Fallen Angels) ที่มักจะเป็นคนเหงาหรือคนแบบใช้ชีวิตแบบซังกะตายอยู่เรื่อยไป บรรยากาศแบบนี้เจืออยู่ในงานของวิศุทธิ์อยู่บ่อยครั้ง และชัดเจนที่สุดใน ควันใต้หมวก
ส่วนตอนของ วงดุริยางค์ นั้น วิศุทธิ์กลับมาใช้ตรรกะแบบ he-she-it อีกครั้ง สังเกตได้ว่าตัวละครชายของเขามักจะเป็นฝ่ายตกหลุมรักหญิงสาวแสนสวยอยู่เสมอ (สาวในฝันของวิศุทธิ์นั้นเหมือนนางฟ้า-ที่มีตัวตนอยู่จริง-มาก ตอนที่อ่านเรื่อง โลกของจอม ของทินกร หุตางกูร ผมก็แทนภาพของตัวละคร ปารตี ด้วยผู้หญิงในเรื่อง hesheit นี่แหละครับ) และเธอก็จะมีอิทธิพลขนาดทำให้หัวใจของเขาเต้นผิดจังหวะทีเดียว (คล้ายกับหนังของชุนจิ อิวาอิ) สิ่งที่ผมชอบก็คือวิศุทธิ์มักไม่ให้บทสรุปรักลงเอยแบบชัดเจนให้กับตัวละคร แต่มักจะเป็นบทสรุปคลุมเครือที่จินตนาการต่อเองแล้วมีความสุขกว่าฉากจบที่พระนางทั้งสองวิ่งให้โผกอดกันเป็นยิ่งนัก (ให้ลองคิดถึงตอนจบของการ์ตูนเรื่อง Whisper of the Heart ของจิบลิสตูดิโอนะครับ)
พอผมเริ่มถวิลหาความเพี้ยนแบบงานเก่าก่อน ตอนของ สับปะรด ก็วิ่งปรี่เข้ามาสนองความต้องการผมทันที แต่คราวนี้เป็นความเพี้ยนชนิดครอบครัวเสียด้วยนะ เพราะมันว่าด้วยมนุษย์ต่างดาวสับปะรดอัจฉริยะที่ตามหาแม่ของตัวเองด้วยการประดิษฐ์เครื่องมือพิศดารจากสมการคณิตศาสตร์ (โอ..ฟังแล้วงงดีทีเดียว) ต่างออกไปที่ว่างานชนิดเพี้ยนๆ ของเขาในสมัยก่อนนั้นมักคลุมด้วยบรรยากาศที่หลุดโลก ไม่น่าไว้วางใจ และน่าขยะแขยงในบางที แต่คราวนี้สับปะรดลูกเพี้ยนนี้กลับแสนหวานฉ่ำ ด้วยตอนจบที่น่าประทับใจเป็นสุดแสน
ทีเด็ดของหนังสือเล่มนี้คือสองตอนสุดท้ายอย่าง พี่ชาย และ มะม่วงกับมะนาว ที่เล่นงานผมจนเกิดอุทกภัยในดวงตาชนิดซ้ำซ้อนสองต่อ
กับตอนหลังนั้นผมไม่แปลกใจนักเพราะเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสุนัขนั้นได้ใจและน้ำตาของผมอยู่เสมอ (สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดเดียวที่ผมเคยมีครับ) แต่จริงแล้วก็น่าแปลกเพราะเนื้อเรื่องมันแสนจะใสสะอาดปราศจากฉากสะเทือนใจ แต่มันก็ฉกฉวยน้ำตาไปจากผมจนได้ แต่สิ่งที่น่าประหลาดที่สุดก็คือการที่ผมเสียน้ำตาให้กับตอน พี่ชาย เพราะผมไม่มีพี่ชายอะไรกับเขาเลย (ผมเป็นลูกคนเดียวมาทั้งชีวิตครับ) แต่วิศุทธิ์ก็สามารถทำให้ผมเกิดอาการ ม่านตาพร่ามัวชั่วขณะ ไปพร้อมๆ กับตัวละครน้องชายในเรื่อง มันน่าอัศจรรย์ใจมากที่ผมร้องไห้จังหวะและช่องเดียวกับที่ตัวละครร้องไห้พอดี มันเป็นเรื่องของความแม่นยำที่ผมคิดว่าไม่ใช่แค่ความบังเอิญ อ่านจบเรื่องนี้แล้วเผลอตะโกนในใจว่า ตั้ม นายแน่มาก
สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดียิ่งขึ้นก็คือ หมายเหตุท้ายเล่ม ที่เขาระบุว่าในแต่ละตอนนั้นเขาเขียนขึ้นเพื่อใคร นี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่เราได้รู้ถึงที่มาของเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือของวิศุทธิ์ อย่างเช่น ตอน เกม เขาน่าจะเขียนให้เพื่อนสมัยเด็กๆ
ตอน วันแห่งความรัก เขาเขียนให้แด่ ร้านสวีทคอร์เนอร์ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนทัล ซึ่งมันก็สอดคล้องระหว่างการ์ตูนและโลกแห่งความจริง (ในการ์ตูนร้านคอฟฟี่ช็อปถูกทุบทิ้ง และในความจริงโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนทัลกำลังจะกลายเป็นสยามพารากอน) มันจึงทำให้เราจินตนาการคาดเดาไปสุดแสนไกลว่าวิศุทธิ์น่าจะมีความทรงจำมากมายกับที่แห่งนี้
และตอน พี่ชาย ที่เขาน่าจะเขียนแด่พี่ชายของเขาเอง
และบรรทัดสุดท้ายเขาก็ระบุไว้ว่า หนังสือเล่มนี้ แด่ ทุกคน
ซึ่งผมก็คิดว่า everybodyeverything เป็นงานที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย มันเป็นการ์ตูนบริสุทธิ์ ที่จริงใจ มองโลกในแง่ดี และแฝงแง่คิดไว้มากมาย ที่สำคัญก็คือ ไม่ว่าตอนนั้นจะตลก จะเศร้า จะซึ้ง หรือจะเพี้ยนแค่ไหนก็ตาม ทุกคนทุกสิ่ง ในทุกตอนนั้นจะทำให้คุณอ่านจบแล้ว รู้สึกดี
ควันใต้หมวก บอกใบ้เราไว้ตั้งแต่หน้าปกสีขาวดำแล้วว่าคุณจะได้พบกับโลกหม่นเศร้าสีเทา และ everybodyeverything เป็นบอกใบ้ความรู้สึกดีๆ แบบนั้นไว้ตั้งแต่หน้าปกเช่นกัน มะม่วงกับมะนาว (เด็กสาวกับสุนัข) กำลังร้องไห้ แต่มีสายรุ้งทอดข้ามผ่านนัยน์ตาของทั้งสอง
และมันก็เป็นน้ำตาสีรุ้งที่แสนจะงดงาม
ปล. หลังจากค้นพบความงดงามเจ็ดสีของสายรุ้งในหนังสือแล้ว อย่าลืมกางปกในทั้งสองด้านของหนังสือออกมาดูนะครับ แล้วคุณจะพบ ความงามขาวดำ อีกด้วย
- หนังสือเล่มนี้เป็นผลิตผลของ สำนักหนังสือไต้ฝุ่น โดย ปราบดา หยุ่น ครับ ลองไปเยี่ยมเยียนพวกเขาได้ที่ //www.typhoonbooks.com
- คุณ grappa เขียนถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่ครับ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=a-wild-sheep-chase&month=03-2005&date=20&group=1&blog=1
Create Date : 28 มีนาคม 2548 |
Last Update : 28 มีนาคม 2548 23:34:04 น. |
|
24 comments
|
Counter : 4983 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: คนหล่อ (ทำใจได้ ) วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:23:51:47 น. |
|
|
|
โดย: grappa วันที่: 29 มีนาคม 2548 เวลา:10:25:17 น. |
|
|
|
โดย: grappa วันที่: 29 มีนาคม 2548 เวลา:11:04:47 น. |
|
|
|
โดย: foneko IP: 61.91.78.48 วันที่: 29 มีนาคม 2548 เวลา:17:37:00 น. |
|
|
|
โดย: evil_kun วันที่: 30 มีนาคม 2548 เวลา:20:37:54 น. |
|
|
|
โดย: มิ๊กกี้ IP: 61.90.106.170 วันที่: 30 มีนาคม 2548 เวลา:23:15:25 น. |
|
|
|
โดย: it ซียู วันที่: 31 มีนาคม 2548 เวลา:11:11:16 น. |
|
|
|
โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 31 มีนาคม 2548 เวลา:18:00:03 น. |
|
|
|
โดย: โสมรัศมี วันที่: 14 เมษายน 2548 เวลา:15:13:32 น. |
|
|
|
โดย: ช็อคชิป (ช็อคชิป ) วันที่: 21 เมษายน 2548 เวลา:14:27:48 น. |
|
|
|
โดย: myrmidon IP: 203.150.84.108 วันที่: 23 เมษายน 2548 เวลา:22:17:51 น. |
|
|
|
โดย: Oakyman วันที่: 30 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:58:10 น. |
|
|
|
โดย: BedRoom วันที่: 12 มิถุนายน 2548 เวลา:19:57:44 น. |
|
|
|
โดย: ตั้ม IP: 61.192.88.235 วันที่: 27 มิถุนายน 2548 เวลา:22:27:56 น. |
|
|
|
โดย: คิดคับ IP: 202.28.27.3 วันที่: 19 กรกฎาคม 2548 เวลา:17:07:02 น. |
|
|
|
โดย: 1 IP: 202.176.84.91 วันที่: 8 กันยายน 2548 เวลา:14:52:42 น. |
|
|
|
โดย: POL_US วันที่: 29 กันยายน 2548 เวลา:14:57:30 น. |
|
|
|
โดย: แน๊ต IP: 61.91.155.19 วันที่: 25 กรกฎาคม 2549 เวลา:16:40:22 น. |
|
|
|
โดย: หยุง IP: 71.229.116.158 วันที่: 29 มีนาคม 2551 เวลา:12:19:48 น. |
|
|
|
โดย: ธิดาเทพ IP: 125.25.56.155 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:13:15 น. |
|
|
|
โดย: ปิม IP: 61.7.252.67 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:10:52:47 น. |
|
|
|
|
|
|
|