วาฬอันดามัน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








เอารูปไปใช้ตามสบายนะคะ บอกไว้ในซีบ๊อกก็ดีค่ะ ^^ ถ้าอยากได้ไฟล์ใหญ่ก็เขียนบอกไว้ในซีบ๊อก+อีเมลล์จ๊ะ

Color Codes ป้ามด
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
19 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add วาฬอันดามัน's blog to your web]
Links
 

 
มาส่องกล้องจุลทรรศน์กันนะตอน:RBC, WBC, and เกสรดอกไม้ (นึกภาษาปะกิตไม่ออก เวงกรรม)

กลับไปบ้านดำน้ำจนแขนดำ(โบกซันบล๊อกไม่ทั่ว)

มีภาพทะเลเพียบแต่เอียงซะเยอะต้อง
โทษที่ลูกกะตาซ้ายเอียงมากๆ อิอิ

เฃ้าเรื่องดีกว่า บังเอิญอากาศร้อนเลยไปคุยกะเพื่อน(เพื่อตากแอร์ หุหุ) เหลือบไปเห็นกล้องจุลทรรศน์

ตามประสาคนมือคัน เลยเอาสไสด์ที่ท่านเพื่อนทำไว้มาส่องเล่น ทบทวนความจำครั้งยังเด็กๆ

นี่คือกล้องที่ใช้เป็นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดแสง
ชนิดสองตา ยี่ห้อนิคอน สนนราคา 3XXXX บาท (เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว)
ข้าวสารยังขึ้นกล้องก็น่าจะขึ้น



ม่านปรับขนาดรูรับแสง

เรียกชื่อผิดๆถูกๆ บอกกันได้นะคะ

จำลางเลือนเพราะคืนคุณครูไปหมดแล้ว

มานั่งดูรูปตอนส่องกล้องลืมปรับม่านนี่คราวหน้าถ้าไปตากแอร์อีกจะไม่พลาด



สไลด์ที่ 1

เลือดสด ตับชิ้นเปื่อย No No

เม็ดเลือดแดงแบบไม่ย้อมสีท่านเพื่อนบอกว่า

จะเห็นเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่ชัด



เจ้าเลนส์หัวออยล์ที่เขียนไว้คือ
หมุนเลนส์ไปที่กำลังขยายสูงสุดแล้วหยดน้ำมันลงบนสไสด์ ช่องว่านะหว่างเลนส์กับส่งที่จะดูแทนที่จะเป็นอากาศก็เป็นหยดน้ำมัน จะทำให้มองเห็นชัดขึ้น กำลังขยายจะเพิ่มไหมเปาลืมไปแล้วจ้า

เมื่อย้อมสีเม็ดเลือดแดงที่กำลังขยายเท่ากันจะเห็นเซลล์ชัดขึ้น



พอมาดูรูปนี้เริ่มไม่แน่ใจว่าสองรูปก่อนหน้า
หยดน้ำมันไปไหม สับสนกรรรม แต่รูปนี้หยดน้ำมันแน่นอน

อันนี้ก็เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ย้อมสีเหมือนกันแต่ส่องบริเวณกลางสไลด์

เซลล์มันเลยซ้อนๆกันหนาๆ ต้องเลื่อนไปดูเเถบขอบๆ
ถึงจะเป็นเป็นเซลล์กระจายเดี่ยวๆ
(เพื่อนบอกมา ข้าพเจ้าก็งงอยู่ราว 30 วิ)



เลื่อนมาขอบๆสไลด์แล้ว

เห็นเซล์กระจายชัดขึ้นที่เห็นม่วงๆคือเม็กฃดเลือดขาว
(ตัวกินเชื้อโรค)
ชนิดนิวโทรฟิลล์ (ท่านเพื่อนบอกอีกนั่นเเหละ)

การตรวจเลือดนี้สามารถบอกความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
ภาวะของร่างกายได้ เพื่อนบอกมาอีกเหมือนกัน เปาส่องลูกเดียว

จะให้เพื่อนหาเลือดของคนที่เป็นไข้เลือดออกให้แต่เค้าไม่ได้มาร์กไว้
อดเลยต้องจับมาส่องทุกแผ่นแล้วถามเอาเกรงใจเพื่อนกะลูกกะตาจ้า
เม็ดเลือดแดงสไลด์นี้สมบูรณ์ดีจ้า




วิธีการถ่าย...รูป ยกกล้องส่องไปที่กล้องจุลทรรศน์เลย เมื่อยมากๆ
ถ้าเอากล้องแนบกระบอกเลนส์ตาของกล้องจะไม่เห็นวงกลมๆดำๆ
(เท่าที่ป้าวาฬนึกออกกล้องจุลมันมีเลนส์สองที่คือเลนส์ที่แป้นๆหมุน(ตรงรูปแรก) กับเลนส์ใกล้ตาคนมองจ้า )
ปรับความชัดในกล้อง
(คนใส่แว่นกะคนไม่ใส่แว่นชัดไม่เหมือนกันจ้าต้องปรับปุ่มปรับภาพละเอียดเอา ง่ายๆก็ตาแต่ละนต้องปรับปุ่มภาพละเอียดเอาเอง)

แล้วแมลน่วลโฟกัสจากกล้องของป้าเอา

รูปนี้แหละแบบแนบๆ
กล้องจุลฯแบบที่ถ่ายภาพได้ในตัวก็มีนะ คงแพงน่าดู


ตอนแรกเปาอยากดูรามากๆเพราะจำได้ว่า
ตอน ป.6 เคยดูราขนมปังสีเขียวๆส้มๆสวยมากๆ
ว่าแล้วเปาก็ไปทำราแต่... ราไม่ขึ้น... ขนมปังมันใส่สารกันเสียขนาด 3-4 วันผ่านไปราก็ไม่ขึ้น
( เอาหนมปังพรมน้ำแล้วเก็บในตู้มืดๆหรือเราทำผิดฟระ)

ท่านเพื่อนใจดีเลยหาเกสรดอกไม้มาให้

เกสรตัวผู้ดอกยิปโช



ภาพสุดท้ายแล้ว

แกะกลีบดอกออก

ได้เป็นอย่างนี้

ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาชม

ถ้าเขียนข้อมูลอะไรผิดพลาดก็ช่วยแจ้งด้วยนะคะ





ดวงตาของเธอ สายชล ระดมกิจ


Get this widget | Track details | eSnips Social DNA



Create Date : 19 เมษายน 2551
Last Update : 19 เมษายน 2551 0:36:37 น. 14 comments
Counter : 8363 Pageviews.

 
ต้องกดยสฟั ฟังเพลงกันเองละค่ะพ่น้อง ไม่ได้แปะเพลงนานทำไมมันไม่เล่นเอง


โดย: วาฬอันดามัน วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:0:42:30 น.  

 
ภาพสวย และภาพเกสร ต่างๆ ผ่านกล้องจุล เหมือนภาพ ART จริงๆ

สวยมากเลยลูก

ใช้กล้องอะไรถ่ายรูปอะ


โดย: โสมรัศมี วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:8:39:11 น.  

 
ใช้กล้องธรรมดาถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อีกทีคะแม่

ดีใจจังคะแม่ที่เห็นเกสรดอกไม้เป็นเหมือนภาพ ARเพราะลูกก็คิดแบบเดียวกัน (คนแรกที่ทักเลยนะเนี่ย)
ลูกเคยไปดูรูปของฝรั่งเค้าถ่ายใบไม้กลีบดอกไม้ทำยังไงไม่รู้เห็นเป็นโครงร่างโปร่งแสงสวยมากเลย (น่าจะส่องแสงไฟใส่หลังแบบที่จะถ่ายให้จ้าๆ) T ขอบคุณนะคะแม่


โดย: วาฬอันดามัน วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:9:23:49 น.  

 
แม่น้องรันว่าเกสรมานมืดไป
ถ้าสว่างใสๆ เห็นเป็นสี น่าจะสวยดี
เกสรลีลานี่น่าจะใสๆ(รึเปล่า)


ปล. อย่าพยายามลืม เพราะนั้นจะทำให้ยิ่งจำ

หยุดมันไว้ตรงนั้น แล้วเดินผ่านมันไป


โดย: runch วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:11:21:26 น.  

 
อืมมมมม นึกถึงตอนสมัยเรียน อิออิ


โดย: pooktoon วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:11:59:18 น.  

 


โดย: shame_of_sins วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:16:29:27 น.  

 
ย่องมาส่องกล้องด้วยคนค่ะคุณเปา


โดย: Picike วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:20:27:25 น.  

 
ใช้กล้องรุ่นเดียวกันเลยแฮะ ตอนนี้อยู่ที่ราวๆ 5xxxx แล้วล่ะค่ะ ถ้าจำไม่ผิดนะ

ถ้าใช้หัว x100 ต้องเปิดไฟให้สว่างๆค่ะ เลื่อนเจ้าcondensor ไปให้ชิดๆกับหัวเลยค่ะ แล้วเปิดไฟให้สว่างตามใจชอบ จะได้ภาพสวยสมใจ ส่วนที่ต้องใช้ oil นี่ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องดัชนีหักเห (แต่เกี่ยวยังไงจำไม่ได้ เรียนมานานแล้ว)


ถ้าดูหัวต่ำลงมา ก็จะต้องเลื่อนเจ้า condensor ลง และปรับแสงลง โดยการปรับ ไดอะแฟรมและปุ่มปรับความสว่าง ไม่งั้นตาอาจจะบอดได้ง่ายๆ แต่อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบอีกเช่นกัน

และที่สำคัญ ควรจะดู 2 ตา จะได้ไม่ปวดตา


ส่วนกล้องที่ถ่ายรูปได้นั้น ราคาไม่อยากจะเอ่ยเลย ต้องประคบประหงมมากว่าลูกซะอีกละมั้ง 555 (เสียทีหน้ามืดเลย) แต่ประโยชน์มากมายจริงๆ

ถ้าเผื่อมีโอกาสได้เล่นกล้องอีก ก็เอาเทคนิคนี้ไปใช้ได้นะคะ (แต่บอกไว้ก่อนว่า ไม่มีในทฤษฎีนะคะ เทคนิคนี้ได้จากการที่ต้องดูกล้องอยู่ทุกวัน ก็เลยเอามาบอกกันค่ะ)


โดย: ข้าวสวยหุงไม่สุก วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:23:43:52 น.  

 
ตกไปนิดนึง ถ้าต้องดูของจำพวกฟิล์มเลือด เวลาดูด้วยหัวx40 ให้ใช้ oilหยดลงไป 1 หยด และใช้ทิชชูปาดออกให้หมด(ย้ำว่าต้องหมดนะคะ ไม่งั้นเลนส์พังพอดี) แล้วค่อยเอามาดู ภาพที่ได้จะสวยขึ้นกว่าไม่ใช้ oil ค่ะ


โดย: ข้าวสวยหุงไม่สุก วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:23:47:11 น.  

 
แวะมาแอบชมครับ


โดย: อนันต์ครับ วันที่: 20 เมษายน 2551 เวลา:1:15:43 น.  

 
ดีคะ...เห็นภาพแล้วนึกถึงสมัยเรียนมัธยมเลยคะ


โดย: aomamm (Forest-ic ) วันที่: 20 เมษายน 2551 เวลา:14:24:10 น.  

 
thx to me สำหรับข้อมูลค่ะ อิอิ หาตั้งนาน


โดย: MaDaGasCar IP: 202.143.156.18 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:32:10 น.  

 
คอบคุนมากค่ะ


โดย: อิอิ IP: 118.174.86.219 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:55:38 น.  

 
อยากดูเซลล ์เม็ดเลือดขาว อ่ะ..


โดย: A.. IP: 124.157.235.156 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:38:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.