พระนางซูสีไทเฮา
















The  Death of Empress Tzu-his

การสิ้นพระชนม์ของพระนางซูสีไทเฮา


พระจักรพรรดินีแห่งอาณาจักรจีนซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน ค.ศ.1908หลังปกครองจีนมายาวนานกว่าห้าสิบปี


สามศตวรรษให้หลังที่พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งอีกมุมหนึ่งของโลกยังมีสตรีผู้น่าเกรงขามและหายใจอยู่พระนางคือจักรพรรดินีแห่งอาณาจักรจีนพระนางซูสีไทเฮา(ฉือซีไท้โฮ้ว)ชีวิตของพระนางเริ่มขึ้นในครอบครัวขุนนางชั้นผุ้น้อยเชื้อสายแมนจูในค.ศ.1835ด้วยความงามและทรงเสน่ห์วัยสิบเจ็ดปีพระนางสมัครเข้าไปอยู่ในฮาเร็มของโอรสแห่งสวรรค์หรือจักรพรรดิเสียนเฟิงบรรดาขันทีได้นำพระนางในร่างอันเปลือยเปล่าห่อในผ้าห่มสีแดงเข้าไปรับใช้องค์จักรพรรดิพระนางทรงเป็นเจ้าจอมเพียงคนเดียวที่มีพระโอรสให้กับพระจักรพรรดิซึ่งภายหน้าได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิถงจื้อครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 6พรรษาปีค.ศ.1861พระนางซูสีไทเฮาเองออกว่าราชการแผ่นดินร่วมกันเพื่อความมีประสิทธิภาพ


ด้วยความฉลาดมุ่งมั่นและไร้ความปราณีพระนางซูสีไทเฮาพระนางมิได้มีพระราชประสงค์คืนอำนาจให้พระโอรสเมื่อพระโอรสมีพระชนมายุ17พรรษาพระนางทำให้พระองค์พลุกพล่านอยู่ภายใต้การครอบงำของสตรีเพศและฝิ่นจนฮ่องเต้สวรรคตด้วยพระโรคที่เกี่ยวกับกามโรคในค.ศ.1875และเจ้าจอมคนโปรดก็สิ้นพระชนม์ขณะทรงครรภ์เป็นไปได้ว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์อย่างลึกลับ


พระนางได้นำหลานชายวัยสามขวบขึ้นเป็นจักรพรรดิต่อพระนามว่าจักรพรรดิกวางสู(กวั่งซู่) ได้บริหารประเทศในปีค.ศ.1889พระนางต้องการให้ฮ่องเต้ประสบความสำเร็จตามที่พระนางวางเอาไว้แต่ตรงกันข้ามฮ่องเต้ขัดกฎนั้นแต่กองทัพสนับสนุนพระนางซูสีไทเฮาวัย55พรรษาพระนางยกเลิกการทำงานราชกิจทั้งปวงเสร็จประทับยังพระราชวังฤดูร้อนของพระนางที่อยู่นอกกรุงปักกิ่งค.ศ.1898อย่างไรก็ตามฮ่องเต้หนุ่มทรงเตรียมการปฏิรูปประเทศไปสู่ความทันสมัยซึ่งพวกอนุรักษ์นิยมคัดค้านและคนกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ


พระนางซูสีไทเฮาได้กลับมาว่าราชการอีกครั้งค.ศ.1900เกิดกบฎนักมวยและกองกำลังพันธมิตรแปดชาติบุกเข้าเมืองหลวงขณะพระนางทรงหวีพระเกศากระสุนปืนตกลงพื้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหวพระนางทรงปลอมพระองค์เป็นชาวนาก่อนที่จีนจะลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพอันน่าอดสูพระนางยังคงอยู่ในอำนาจจนปี ค.ศ.1908 พระนางอาจมีส่วนร่วมในการวางยาจักรพรรดิกวางสูซึ่งสวรรคตก่อนพระนางเพียงหนึ่งวัน


          จากบทความข้างต้นมีหลายอย่างที่ไม่น่าจะเป็นความจริงเช่นพระนางซูสีทรงให้ลูกของตัวเองหมกมุ่นอยู่กับกามตัณหาและการวางยาจักรพรรดิกวางสูคงไม่มีแม่คนในทำร้ายลูกและหลานของตัวเองเป็นแน่ตลอดชีวิตของพระนางต้องพบเจอแต่ความวุ่นวายเป็นม้ายแต่ยังสาวและเผชิณภัยคุกคามทางการเมืองจากทั้งภายในและนอกประเทศพระนางควรจะเป็นบุคคลที่น่าเห็นใจคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ในมุมมองตะวันตกย่อมมีเรื่องเสื่อมเสียมากๆมากล่าวถึงอยู่แล้วไม่ใช่พระนางซูสีแต่รวมไปถึงพระนางศุภยรัตแห่งรางวงศ์คองบองเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ถูกประณาม บทความจาก  Richard Cavendish Published in History Today Volume 58 Issue 11 November 2008




Create Date : 23 กันยายน 2559
Last Update : 23 กันยายน 2559 15:06:32 น.
Counter : 1291 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1532163
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



กันยายน 2559

 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
29
30
 
 
23 กันยายน 2559
All Blog