ทางรัก ทางเลือกของสามสาวใบเถา ขมิ้นกับปูน ๑





ทางรัก ทางเลือกของสามสาวใบเถา ขมิ้นกับปูน ๑

ขมิ้นกับปูน บทประพันธ์ของจุลลดาภักดีภูมินทร์ ม.ล.ศรีฟ้า มหาวรรณขมิ้นกับปูนสะท้อนสภาพสังคมช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยคือการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ.๒๔๗๕เป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่จากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันยาวนานหลายร้อยปีเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ความผันแปรทีเกิดขึ้นส่งผลต่อทุกผู้ทุกคนในยุคสมัยดังกล่าวอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้รวมไปถึงสองตระกูลขุนนางใหญ่ของพระยาอภิบาลบำรุงและพระวิจิตรศิลปการ ซึ่งทั้งสองตระกูลบาดหมางกันมาอยู่แล้วอันเป็นผลจากการที่ภรรยาเอกของท่านเจ้าพระยาเจ้าคุณพ่อของพระยาอภิบาลบำรุงหนีตามพ่อของคุณพระวิจิตรศิลปการไปเป็นความแค้นใจของผู้เป็นลูกอย่าง พระยาอภิบาลบำรุงยั้งรากลึกสั่งสมเป็นความเกลียดชังแค้นใจมีทิฐิทุกอนุบ่มเพาะความชังนั้นส่งต่อไปยังลูกหลานคุณพระนิติรักษ์ธรรมสถิตย์ คุณปริก จำปา ปีปและหลานสาวทั้งสาม ปัทมา ปวีณา และปารมี

แต่ความเกลียดชังที่ว่ามาเจือจางลางลงในรุ่นหลานโดยเฉพาะแม่ปัทมาลูกสาวคนโตของคุณพระนิติรักษ์ฯที่สนิทสนมกับทานตะวันหลานสาวของพิสมัยลูกสะใภ้ของคุณพระวิจิตรฯ ซึ่งไม่ใช่หลานแท้ๆจนมีหลายครั้งที่ปัทมาโดนคุณปริกและคุณปู่เฆี่ยนตีและการที่เธอฝ่าฝืนทำให้คุณปู่ต่อว่าปัทมาอย่างรุนแรงหลายครั้ง “ริอาจตอแหลแต่เด็ก”คำพูดอันรุนแรงเสียดแทงลึกเข้าไปในใจของเด็กหญิงปัทมามีนิสัยเหมือนบรรพบุรุษของเธอคือรักแรงเกลียดแรงทิฐิสูง ทิฐิในที่นี้คือความดื้อรั้นไม่ยอมรับความจริงทำให้ปัทมานั้นแสดงออกต่อต้านคุณปู่ของตนเองหลายครั้ง และคุณปู่ใช้มาตรการอันรุนแรงต่อเธอหลายครั้งทั้งให้ลาออกจากโรงเรียนเมื่อจับได้ว่าแอบพบเจอกับทานตะวัน เมื่อเธอโตขึ้นยังมีความสัมพันธ์รักใคร่กับธนา ลูกคุณพระวิจิตรฯ สร้างความดกรธเคืองให้กับตระกูลธรรมคุณอย่างมากจนที่สุดแล้วพระยาอภิบาลฯ ตัดสินเด็ดขาดส่งหลานตัวดีไปบวชชีที่วัดเขาท่าทรายจังหวัดชลบุรีเพื่อตัดปัญหาทั้งหมดแต่ก็ไม่เพราะทำนุลูกชายคุณพระที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและเป็นเสรีไทยเพื่อนรักอย่างทานตะวันคอยให้การช่วยเหลือปัทมาอยู่โดยพาหนีออกจากวัด

การฝ่าฝืนของปัทมาคือปัทมาเกิดความรักกับธนารู้ทั้งรู้ว่าธนาเป็นลูกของตระกูลพระวิจิตรแต่ปัทมาก็ยังเลือกที่จะฝ่าฝืนนิสัยของปัทมามีความเป็นคนเทาๆมีทั้งดีและไม่ดีคือมีรักอันมั่นคงและความไม่ดีที่มีความคล้ายคลึงกับพระยาอภิบาลฯในความทิฐิแรงกล้า หึงหวงเกลียดแรง ความที่หึงหวงจนเกินการควบคุมของสติปัญญาของตนทำให้ปัทมาคลุ้มคลั่งเป็นบ้าเสียสติไปมันเป็นทางเลือกที่ปัทมาเลือกเองเลือกที่จะพบจุดจบโหดร้ายเช่นนี้

ผิดแผกไปจากปวีณาที่เชื่อคุณปู่โดยการประจบพระยาอภิบาลฯรู้ว่าพระยาอภิบาลฯชอบอะไีรก็จะทำทุกอย่างทันทีไม่สนว่าเรื่องนั้นจะชั่วหรือดีหรือสร้างความเดือดร้อนมากมายแค่ไหนให้พี่น้องของตนพระยาอภิบาลฯ มีความเอ็นดูปวีณาเป็นพิเศษกว่าหลานคนอื่นๆ ปวีณานั้นเป็นลูกคนกลางอาจจะเป็นไปได้ว่าลูกคนกลางชอบอิจฉาพี่และน้องที่อาจจะได้รับความรักจากญาติคนอื่นๆมากกว่าตนปวีณาจึงแสดงออกเช่นนี้และตั้งใจเรียนเพื่อให้ตนนั้นมีที่ยืนโดดเด่นไม่เป็นรองพี่น้องการที่ปวีณามานะเรียนย่อมทำให้เด็กสาวคนนี้เห็นข้อดีของการศึกษามากกว่าญาติพี่น้องของเธอเองที่ไม่มีใครสนนักอาจจะมาจากสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ผู้หญิงต้องคอยตามอยู่เสมอแต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองย่อมมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยเธอย่อมรู้ดีว่าผู้หญิงจากโลกภายนอกที่ได้รับการศึกษาแบบใหม่ควรเป็นเช่นไรปรับตัวเช่นไรเพื่อให้เท่าทันตามโลก

การที่ปวีณาได้เห็นโลกภายนอกมากกว่าญาติผู้หญิงของตนย่อมทำให้เธอทราบว่าไม่ควรเจริญตามรอยพี่สาวอย่างปัทมาและเป็นช้างเท้าหลังอย่างคุณอาหญิงทั้งสามของเธออย่างแน่นอนเห็นได้จากการที่เธอพยายามให้คุณปู่เห็นข้อดีของการเรียนยิ่งเป็นผุ้หญิงยุคสมัยนั้นย่อมเอื้อให้ประกอบสัมมาชีพที่เป็นเคารพอย่างครู แม้จะดูว่าปวีณามีความคิดที่ออกสมัยใหม่ขึ้นคือผุ้หญิงสามารถประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้และยังมีเกียรติยศต่างจากคุณอาของเธอที่ขายอาหารเป็น “แม่ค้าศักดินา” ซึ่งดูว่าต่ำต้อยไม่สมเกียรติที่เกิดมาในตระกูลขุนนางนั้นทำให้เห็นความย้อนแยงที่อาชีพที่ไม่มีเกียรติอย่างแม่ค้านั้นก็เลี้ยงดูเธอและคนในบ้านให้สมบูรณ์ขึ้นได้โดยไม่ต้องขายสมบัติกินให้บ้านข้างๆมานินทาได้ (แม้จะมีบ้างก็เถอะ)

ปารมีน้องเล็กสุดไม่ค่อยจะมีบทบาทเท่าไรแต่สมหวังมาก ที่สุดในเรื่องความรักหากจะนำคำพูดของคุณปู่มาเปรียบนั้ทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมาก“ผู้หญิงมีสองประเภทที่ได้ดี ประเภทแรกคือได้ดีด้วยตัวเอง ประเภทที่สองคือได้ดีเพราะผัวดี”ปารมีคือผู้หญิงประเภทที่สองส่วนปวีณาคือผู้หญิงอย่างแรก
จากสามสาวใบเถาของคุณพระนิติรักษ์ธรรมสถิตย์เห็นได้ว่า

ปัทมาน่าสงสารนักหนามากที่สุดเพราะมิอาจรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดได้ตามสมัยที่ผู้ชายต้องออกนอกบ้านสร้างสรรค์กลับต่อต้านความรักของเธอจึงมีความรักปนความเห็นแก่ตัวไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงตามสมัยนิยมเก็บตัวไม่รับรู้สิ่งใดต่างจากปวีณาคนนี้นับว่าลงตัวสุดในพี่น้องทั้งสามคนออกจะน่าเห็นใจอยู่บ้างที่มีหน้าตาไม่สวยเท่าพี่เท่าน้องแต่มีปัญญารู้จักเอาตัวรอดจากสภาพครอบครัวที่มีความคิดออกล้าหลังไม่เข้าสมัยมาได้นี่เรียกว่าด้วยปัญญาและเล่ห์ของปวีณาโดยแท้

คราวหน้ามาดูบ้านใกล้เรือนเคียงศัตรูคู่อาฆาตของพระยาอภิบาลบำรุงว่ามีวิธีการเลี้ยงดูลูกสามใบเถาผู้ลูกและสองหน่ออย่างทันพันธ์และแทนพงศ์อย่างไรที่แตกต่างจากพระยาอภิบาลบำรุงหรือไม่





Create Date : 09 กรกฎาคม 2559
Last Update : 9 กรกฎาคม 2559 23:58:35 น.
Counter : 1318 Pageviews.

1 comments
  
แก้จากทำนุเป็นทำนองที่พาปัทมาออกจากวัด
โดย: หนึ่ง IP: 101.108.124.89 วันที่: 9 กรกฎาคม 2559 เวลา:5:49:43 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1532163
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



กรกฏาคม 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog