ได้อะไรมาจากการไปเรียนเขียนบทละครโทรทัศน์




ได้อะไรมาจากการไปเรียนเขียนบทละครโทรทัศน์

จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนเขียนบทละครโทรทัศน์ทั้งสองครั้งที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกคำเดียวจริงๆ เหนื่อย เพลียมากๆๆๆๆ อยากใส่ไม้ยมกหลายๆ ตัวทีเดียว ก่อนที่จะบอกว่าเหนื่อยต้องย้อนความกลับไปเมื่อหกเดือนก่อนหน้านี้ว่าต้องไปเจอกลับอะไรบ้างการที่จะเข้าไปเรียนเขียนบทละครไม่ง่ายนะ สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องดูหาข้อมูลก่อนว่าที่ไหนมันเปิดสอนบ้าง ไอ้การเขียนบทละครไม่ใช่ของง่ายในเมื่อไม่ใช่ของง่ายก็ยากที่จะมีคนเปิดสอน เมื่อเปิดสอนแล้วใครจะไปเรียนมันก็ต้องเป็นพวกที่มีใจรักและชอบขีดๆ เขียนไงถึงจะไปเรียนได้(นี่นั่งคิดตอบคำถามกับตัวเองว่าตัวเองชอบเขียนไหม)

อย่างแรกที่สุดสำหรับการเรียนเขียนบทคุณต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณเองชอบอ่านหนังสือหรือเปล่า เป็นคำถามแรกและเป็นคำถามสำคัญมากเพราะการที่เราจะเขียนอะไรต่อมิอะไรออกมาได้นั้นมันมาจากสิ่งที่เรียกว่าสมองถ้าในสมองกลวงโบ๋ไม่มีอะไรมันไม่ได้ มันต้องมีอะไรอยู่ในนั้นถามต่อไปอีกถ้าไม่มีอะไรในนั้นก็ต้องทำให้มันมี ต้องอ่าน ดูเก็บสั่งสมข้อมูลความรู้เอาไว้เผื่อสักวันจะได้เอาออกมาใช้ แต่!!! ไม่พอคุณต้องคิดเยอะคิดเยอะที่ว่าคือไม่ใช่คิดมากนะ แต่หมายถึงคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ

ด้วยความสนใจในการเขียนด้านนี้เป็นพิเศษข้าพเจ้าเลยตัดสินใจเขียนเรียงความส่งไปดูไม่แน่อาจจะได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในสี่สิบคนที่เข้าไปนั่งเรียนกับพี่ณัฐก็เป็นได้หัวข้อที่โครงการกำหนดมานั้นก็คือ “คุณคิดเห็นอย่างไรกับละครโทรทัศน์หลังจากเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล” ตอนแรกที่เขียนไปไม่ได้มาจากความคิดของเราล้วนๆถ้าความคิดเราแบบเพียวเกรงว่าจะไม่ได้มันต้องมีอะไรที่ทำให้รู้ว่ากูรู้กูเลยเขียนส่งและกูมั่นใจว่าเขียนแบบนี้และมันจะได้ เลยเขียนไป

“ละครโทรทัศน์ระบบดิจิทัลมีความหลายหลายมากยิ่งมีมากช่องนั้นหมายความว่าผู้ชมมีทางเลือกมากขึ้นในการรับชม นอกจากความสนุกสมจริง พล็อตเรื่องแปลกใหม่ เข้าถึงง่ายแต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือละครนั้นต้องสะท้อนสังคม และยึดมั่นในการทำความดี

เริ่มด้วยการเขียนบทละครต้องมีความสมจริงทุกการกระทำของตัวละครควรมีเหตุผลกับนิสัยตัวละครมารองรับเสมอ ตัวละครควรมีความสมจริงมีความรับผิดชอบมีพัฒนาการของตัวละครแต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคนดูละครมักมองว่าละครไทยยังขาดความสมจริงและอีกประเด็นหนึ่งที่คงมีอยู่และคงอยู่อีกนานคือ การรีเมคกับพล็อตเรื่องเดิมไม่มีการคิดโครงเรื่องแบบใหม่มานำเสนอต่อผู้ชมละครเกิดความซ้ำซากหรือน้ำเน่าเพราะวนเวียนอยู่กับเรื่องเดิมๆ ไม่ว่าจะ “รีบูธ”หรือ “รีเมค”บ้านทรายทอง นางทาส ทวิภพ คู่กรรม เป็นตัวอย่าง ทำดีคนชม ทำไม่ดี ไม่ถูกใจคนก็ติ เป็นเรื่องปกติ

แม้ว่าละครโทรทัศน์เข้าสู่ยุคระบบดิจิทัลแล้วละครเหล่านี้ยังสามารถกลับมาทำซ้ำได้อีกเพราะพล็อตเรื่องที่ว่ามา ถ้าคนอ่านนวนิยายจะเข้าใจว่ามันมีเสน่ห์อยู่ในตัวนอกจากความสนุกและข้อคิดที่ผู้ชมจะได้ แต่การทำผลิตซ้ำๆในเนื้อหาเดิมใช่ว่าจะดีเสมอไปควรมีความหลากหลายแนวนำมานำเสนอต่อผู้ชมละครบ้างปัจจุบันมีช่องทางการรับชมโทรทัศน์มากขึ้นมีสถานีโทรทัศน์ที่มีนโยบายผลิตละครมากขึ้น ย่อมนำมาซึ่งแนวความคิดที่หลากหลายเพื่อดึงกลุ่มคนดูละครที่ตนต้องการของสถานีเอาไว้ทางออกที่ได้มาทั้งเม็ดเงินและคนดูนั้นก็คือ การทำอะไรที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร

ละครโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลเท่าที่ผ่านมาเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ต้องมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆมาเสนอเพื่อตอบสนองผู้ชมนั้นแสดงให้เห็นว่าละครไม่จำเป็นต้องนำเสนอเนื้อหาเดิมที่เน้นการแย่งชิงตบตีวัยแสบสาแหลกขาดเป็นตัวอย่างหนึ่งที่นำเสนอมุมมองอื่นๆ ให้แก่สังคมได้รับทราบและในโอกาสต่อไปคงจะมีละครเช่นนี้หรือแนวละครอื่นๆที่สดใหม่ไม่ซ้ำซากมาต่อเนื่องเป็นระยะๆ

ละครโทรทัศน์ยุคดิจิทัลนอกจากความแปลกใหม่ที่จะได้เห็นแล้วสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือคุณภาพ ที่ต้องทำให้สนุกน่าติดตาม ยังต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมต้องเข้าใจด้วยว่าละครดีๆ หนึ่งเรื่องจะมีคนดูละครทั้งเอารสเอาเรื่องแม้ว่าละครมีสีสันฉุดชาด รสชาติน่ารับประทานเช่นอาหารแต่ขาดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ต่างกับอาหารขยะที่มีรสชาติ แต่ไร้คุณค่าละครนั้นสะท้อนสังคม จรรโลงใจ คือสิ่งที่ผู้ชมละครโทรทัศน์จะต้องได้รับ”


เมื่อถึงกำหนดที่วันประการหายชื่อผู้ที่รับการคัดเลือกข้าพเจ้าก็ได้สิ่งแรกที่คาดหวังคือการได้ความรู้พื้นฐานของการเขียนบทละครโทรทัศน์ที่ข้าพเจ้าไม่เคยได้รู้มาก่อนเมื่อวันเรียนมาถึงข้าพเจ้าไปสายตั้งครึ่งชั่วโมงไม่เป็นไรเพราะตัววิทยากรก็สายเองเช่นกัน ฮาๆๆ การไปเรียนในครั้งนั้นบอกเยว่าได้รับสาระความรู้อย่างเต็มเปี่ยมไม่ใช่คนเขียนบทละครโทรทัศน์ที่มีมากหน้าหลายตาเท่านั้น ยังมีผู้จัดละครดารานักแสดงที่ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดกะเขาด้วย ยิ่งทำให้ได้รู้ว่าการเป็นคนเขียนบทละครได้ไม่ใช่แค่ต้องคิดเก่งอ่านเยอะ รู้เยอะเท่านั้น เมิงต้องขยันอดทน ซึ่งต้องทนมากกกก จนขั้นอึดตายยากเพราะเหล่าบรรดาผู้จัดละครจะตามตัวชนิดที่เรียกได้ว่าพลิกแผ่นดินหากันเลยทีเดียว

มาถึงคราวที่สองที่มีการจัดอบรมการเขียนบทละครโทรทัศน์ข้าพเจ้าไม่ลังเลที่จะไม่เขียนเรียงความส่งไปอีกรอบด้วยความมั่นใจมากกว่าหนแรกถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์เลยที่เดียวฮาๆโดยคราวนี้หัวข้อใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าตั้งใจมากกว่าคราวแรกเสียอีกคือการดัดแปลงนวนิยายมาเป็นบทละครโทรทัศน์ ข้าพเจ้าว่ามันตรงกับสิ่งที่ต้องการจริงๆหรือใกล้เคียงที่สุดต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้สาม-สี่ปีก่อนที่จะมาถึงตรงนี้ว่าส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ามีความชื่นชอบในการอ่านนวนิยายมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วอันเนื่องจากการที่ได้ล่ำเรียนในมหาวิทยาลัยชิ่อดังกลางใจเมืองที่มีหนังสือมากมายให้เลือกอ่านยิ่งทำให้ข้าพเจ้ารักในสถาบันมากยิ่งขึ้นมันพร้อมทุกอย่างไม่ว่าหนังสือเรื่องไหนๆ มีให้หาเจอเสมอไม่มีครั้งไหนที่หาแล้วหาไม่เจอ

จากการอ่านที่มีมาเป็นทุนเดิมเมื่อเรียนมัธยมพอไปอยู่ถูกที่ก็ยิ่งชอบมากไปอีกอีกความชื่นชอบที่มากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนั้นก็คือการดูละครโทรทัศน์ละครจีนฮ่องกงเฝ้าดูมาเสมอและตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมถึงชอบศึกษามาเรื่อยๆจนพบว่าตัวเองชอบการเล่าเรื่องของละครต่างๆ ที่ข้าพเจ้าดูนั้นแหละการเล่าเรื่องศิลปะประเภทนี้ คือการเล่าเรื่องในละครเขาเล่ากันยังไงนะทำไมมันสนุกได้ขนาดนี้ และไม่สนุกจนน่าเบื่อมันเป็นเพราะอะไรกันข้าพเจ้าเข้ายูทูปไปดูไตเติ้ลบรรดาละครต่างๆ มากมายแล้วก็อ้อ อย่างงี้นี้เองละครทุกเรื่องไม่ว่าไทย จีน ฝรั่ง แขกที่เต้นๆกันไปย้ายไปย้ายมานั้นแท้ที่จริงมันต้องผ่านกระบวนการเขียนบทวางตัวมาแล้วทั้งสิ้นทำให้ข้าพเจ้าไปหาหนังสือบทความเก่าๆของนักเขียนที่มีชื่อเสียงในแวดวงคนเขียนบทมาอ่านเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ จนกล้าที่จะเขียนไปให้เขาดูว่ากระบวนการตามที่เราเข้าใจนี้ใช่มั้ยที่เรียกว่ากระบวนการทำละครโทรทัศน์ข้าพเจ้าจึงเขียนไปดังนี้

“ละครที่รับชมแล้วประทับใจมีอยู่ด้วยกันหลานเรื่องแต่เรื่องที่ประทับใจที่สุดคือเรื่อง”อีสา” บทประพันธ์ของสีฟ้าที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงที่ชื่อ สาตั้งแต่เกิดจนถึงวัยกลางคนที่ไม่มีความแน่นอนสะท้อนสภาพสังคมในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีและด้วยหลายองค์ประกอบที่ทำให้เป็นละครเรื่องอีสาทั้งองค์ประกอบศิลป์ นักแสดงผู้มาสวมบทบาท การกำกับการแสดง และที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อีสาเป็นอีสาที่สมบูรณ์แบบได้นั้นก็คือบทละครโทรทัศน์

อีสาเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่เกิดและเติบโตมาในรั้วในวังที่มีจารีตธรรมเนียมแบบไทยโบราณแต่ด้วยขาดพ่อไร้แม่ไม่มีที่พึ่งทางใจมีแต่ป้าเจิมที่คอยดูแลทำให้อีสาพร้อมทะยานออกจากกรอบจารีตแบบเดิมไปสู่ชีวิตใหม่ที่ตนคิดว่าดีกว่าเรื่องของอีสาที่ทำออกมาเป็นละครนั้นถ่ายทอดชีวิตของตัวละครออกมาได้ค่อนข้างสมบูรณ์น่าประทับใจยิ่งกว่าในนวนิยายที่ตัวละครบ้างตัวออกมาพบเจอกับอีสาแล้วหายไปเสียดื้อๆแต่ในละครนั้นตัวละครที่ออกมานั้นมีที่มาที่ไปและมีบทสรุปของตัวเองลักษณะนิสัยพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องถ่ายทอดออกมาได้ดีทำให้ผู้ชมเข้าใจความคิดอ่านของตัวละครนำมาซึ่งเหตุผลและการกระทำต่างๆทั้งการหนีออกจากวัง เป็นชู้กับนายสมศักดิ์ ไปอยู่กับนายวิทย์นักดนตรีปิดบังความจริงเรื่องชาติกำเนิดของลูกตัวเอง ตัวละครที่รายล้อมตัวอีสานั้นมาเสริมเหตุผลในการตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่างลงไปไม่ว่าดีหรือไม่ดีละครเรื่องนี้ได้เสริมเติมต่อลงไปให้สมบูรณ์ชัดเจน โดยที่โครงเรื่องหลักไม่เสียหาย“อีสา” แบบฉบับละครจึงออกมาประทับใจอย่างมากและที่ขาดไม่ได้สำหรับการดัดแปลงนวนิยายมาเป็นละครโทรทัศน์ต้องเข้าใจว่านวนิยายและละครแตกต่างกันจำเป็นต้องมีการเพิ่มเรื่องราวลงไปเพื่อให้เพียงพอต่อการที่ละครหนึ่งเรื่องออกอากาศโดยเส้นเรื่องที่เพิ่มออกไปนั้นจะต้องไม่ทำให้เส้นเรื่องหลักเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่มาจากนวนิยายจะต้องส่งไปถึงผู้รับชมด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของการทำบทละครโทรทัศน์คือการดำเนินเรื่องที่ต้องค่อนข้างรวดเร็วสนุกและมีการลุ้นในเหตุการณ์ต่างๆว่าจะเกิดอะไรขึ้นทำให้ “อีสา”เรื่องนี้ยิ่งน่าติดตามมากขึ้นด้วย

“อีสา” เป็นหนึ่งในความประทับใจของนวนิยายที่ดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ได้อย่างสมบูรณ์ลงตัวตราตรึงใจผู้อ่านแล้วยังประทับใจผู้ชมละครอีกด้วย”

            คราวหน้าจะมาเขียนให้อ่านว่าเรียนมาแล้วเป็นอย่างไรทั้งสองครั้งมีความเหมือนหรือต่างๆกันอย่างไร ทัศนคติสำคัญมากใช่ไหมกับอาชีพนี้ความอดทนมานะต้องมากไหมอันหลังนี่สำคัญจริงๆ





Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 23:08:35 น.
Counter : 2579 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1532163
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ธันวาคม 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog