Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

พม่าลุกฮือ! ภูมิหลังและบริบทของสถานการณ์

โดย เกษียร เตชะพีระ




(คอลัมน์นี้แปลเรียบเรียงจากบทความเรื่อง 'Burma Today : Recent Developments' ของ

Soe Myint แห่ง Mizzima News //www.mizzima.com อันเป็นเว็บข่าวของกลุ่มนักหนังสือพิมพ์และนักศึกษาชาวพม่าลี้ภัยในอินเดีย ประกอบกับแหล่งข่าวอื่นๆ เพื่อให้ข้อมูลที่สั้นกระชับชัดเจนเกี่ยวกับภูมิหลังและบริบทของสถานการณ์พม่าปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยปูพื้นความเข้าใจการลุกฮือขึ้นสู้เผด็จการทหารของพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่าตั้งแต่กลางเดือนกันยายนศกนี้เป็นต้นมา)

คลื่นประท้วงของพระสงฆ์และประชาชนระลอกล่าสุดในพม่านับเป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านการปกครองของคณะทหารที่ใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ 15 สิงหาคม 2007 ทางการพม่าขึ้นราคาเชื้อเพลิงครั้งใหญ่โดยไม่แจ้งล่วงหน้า!

-ก๊าซธรรมชาติขึ้นราคาไป 500%, น้ำมันดีเซลขึ้นราคาเป็นสองเท่า (เมื่อ 2 ปีก่อนก็เคยขึ้นราคา

เชื้อเพลิงมาแล้วรอบหนึ่งจาก 180?? 1,500 จ๊าด = 900%)

-ค่าโดยสารรถเมล์/แท็กซี่ขึ้นเป็น 2 เท่าหรือกว่านั้น

-ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศสำหรับชาวพม่าขึ้นไป 30%

-ข้าวปลาอาหารขึ้นราคาโดยเฉลี่ย 35%, กระเทียม/ไข่ไก่ขึ้นราคา 50%

2) มูลเหตุรากฐานของการประท้วง

-ประชาชนโกรธแค้นที่รัฐบาลบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด

-ประท้วงการกดขี่ปราบปรามทางการเมือง

-จงเกลียดจงชังการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ระบาดลุกลาม

-ไม่ไว้วางใจแผนที่ทางเดินสู่ประชาธิปไตยของ 'คณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ' (คสพร. หรือ State Peace and Development Council - SPDC อันเป็นชื่อเรียกคณะทหาร

ผู้ปกครอง)

-เหลืออดเหลือทนการปกครองกดขี่ฉ้อฉลนานเกือบ 2 ทศวรรษของ คสพร.

3) เหตุผลน่าเป็นไปได้ที่ทางการพม่าขึ้นราคาเชื้อเพลิง

-พยายามเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นของเอกชน

-ต้องการแปรรูประบบจำหน่ายจ่ายแจกเชื้อเพลิงให้เป็นของเอกชน

-เกิดวิกฤตงบประมาณขาดดุล เนื่องจากทุ่มงบฯมหาศาลสร้างเมืองหลวงใหม่ เนย์ปีย์ดอว์ และเมืองศูนย์กลางเครือข่ายไซเบอร์ใหม่ ยาดานาบอน

-ทำตามข้อเสนอแนะของไอเอ็มเอฟที่ให้ลดเงินอุดหนุนค่าเชื้อเพลิงของภาครัฐลง คณะเจ้าหน้าที่

ไอเอ็มเอฟกับธนาคารโลกเพิ่งมาเยือนพม่าประจำปีเมื่อต้นเดือนกันยายนศกนี้

-หลีกเลี่ยงการตัดทอนงบประมาณรัฐบาลและงบฯการทหารลง

-ฉวยโอกาสปราบปราม 'กลุ่มนักศึกษารุ่น 88' (หมายถึงอดีตนักศึกษาที่ลุกฮือสู้เผด็จการทหารเมื่อปี ค.ศ.1988) และนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งยืนหยัดก่อหวอดประท้วง คสพร.ตามท้องถนนอย่างต่อเนื่องนับแต่ต้นปีนี้มา และเพื่อดำเนินแผนการร่าง 'รัฐธรรมนูญฉบับทหาร' ได้อย่างราบรื่น



4) สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่า

-ประชากรราว 75% อยู่ในฐานะยากจน

-ค่าจ้างขั้นต่ำตกวันละ 1,000 จ๊าด/คน (ประมาณ 25-30 บาท)

-ผู้ใช้แรงงานหาเงินได้โดยเฉลี่ยวันละ 2,000 จ๊าด (ประมาณ 50-60 บาท)

-เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยตกราว 4,500-5,000 บาท

-ชาวบ้านต้องใช้เงินที่หาได้ต่อเดือนราว 60-80% ไปเป็นค่าอาหาร

-จึงแทบไม่มีเงินเหลือเป็นค่าหยูกยา, ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายทางสังคมอื่นๆ เลย

-ตอนนี้ชาวเมืองต้องใช้เงินที่หาได้รายวันไปเป็นค่าเดินทางถึงครึ่งหนึ่งหรือ 3 ใน 4 โดยเฉพาะพวกที่อยู่ชานกรุงย่างกุ้ง

-พม่ามีหนี้ต่างประเทศสูงถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

-เงินเฟ้อปีที่แล้ว = 21.4%, ปีนี้ = 32.3% และมาบัดนี้ขึ้นสูงถึง 80%

-พม่ามีก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่เอาไปขายต่างชาติหมด

-รายจ่ายการทหารคิดเป็น 40% ของงบประมาณแผ่นดิน, ส่วนรายจ่ายด้านสาธารณสุขและการศึกษา รวมกันแค่ 3% ของงบประมาณฯทั้งหมด

5) ใครกลุ่มไหนบ้างที่ลุกฮือขึ้นประท้วง

เรียกร้องให้ลดราคาเชื้อเพลิงลงเท่าเดิมและเอาประชาธิปไตย?

-นำโดยกลุ่มนักศึกษารุ่น 88-เปิดฉากขึ้นเมื่อ 19 สิงหาคมศกนี้ ด้วยการรวมกำลัง 500 คนเดิน

ประท้วงจากบ้านพัก อู จี หม่อง ไปกลางเมืองย่างกุ้ง

-คณะกรรมการการพัฒนาเมียนมาร์

-สมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ของนางออง ซาน ซูจี

-กลุ่มชาตินิยมของอู วิน แนง

-คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย

-พระสงฆ์หัวก้าวหน้า

-กลุ่มอื่นๆ

-การเคลื่อนไหวประท้วงได้แพร่กระจายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วประเทศถึง 17 แห่ง

6) ปฏิกิริยาตอบโต้ของรัฐบาลทหารระยะแรก

-21 สิงหาคม รัฐบาลทหารบุกกวาดล้างจับกุมผู้นำนักศึกษารุ่น 88 และสมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยกลางดึก

-เดิมทีใช้กำลังทหาร/ตำรวจแต่น้อย ทว่าใช้อันธพาลการเมืองและกลุ่มจัดตั้งฝ่ายทหารเป็นหลัก เช่น USDA (กลุ่ม 'เสื้อขาว' เข้าทำนอง 'นวพล' ของไทย) และ สวาน อาร์ ชิน ('เจ้าพลัง' คล้าย 'กระทิงแดง' ของไทยสมัย 6 ตุลาคม 2519) มาลุยตีกลุ่มผู้ประท้วงจนแตกกระเจิง

-ตัดสายโทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร

-พยายามประกาศให้สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเป็นองค์กรผิดกฎหมาย

-จับกุมคุมขังและทรมานผู้นำ/นักเคลื่อนไหวกว่า 150 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเกือบ 20 คน

7) USDA หรือกลุ่ม 'เสื้อขาว'

-ก่อตั้งปี ค.ศ.1993 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ในรูปองค์การสวัสดิการสังคม

-มีสมาชิกเกือบครึ่งของประชากรพม่าทั้งประเทศ หรือ 22.8 ล้านคน

-ข้าราชการและเด็กนักเรียนถูกเหมาเป็นสมาชิกหมดโดยอัตโนมัติ

-บุกโจมตีขบวนรถของออง ซาน ซูจี ที่เดปายินินเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2003

-มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศภาคีสมาชิกอาเซียนรวมทั้งจีน

-น่าจะแปรรูปกลายเป็นพรรคการเมืองที่ทหารหนุนหลังในอนาคต

8) ผลกระทบระยะกลางของการประท้วงและปราบปราม

-จะมีชาวพม่าลี้ภัยทางเศรษฐกิจไปประเทศข้างเคียงรวมทั้งไทยมากขึ้น

-ชุมชนต่างๆ ถูกกดดันหนักขึ้นให้ต้องทำผิดกฎหมายเพื่อเลี้ยงชีพเอาตัวรอด

-สถานการณ์ในพม่าไร้เสถียรภาพ

-ความขัดแย้งต่อสู้ด้วยอาวุธกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ น่าจะปะทุขึ้นอีก

-พม่ายิ่งห่างไกลประชาธิปไตยออกไปทุกที

9) ท่าทีของอาเซียน

-ความสัมพันธ์กับพม่า : ที่ผ่านมาอาเซียนดูลังเลที่จะประณามประเทศภาคีสมาชิกด้วยกัน ทว่าภาคีสมาชิกประเทศอื่นๆ พากันแสดงท่าทีอึดอัดกับพม่ามากขึ้นเรื่อยๆ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในนิวยอร์กได้เรียกร้องให้ทางการพม่าหยุดใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วง

-ผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับพม่า : อาเซียนต้องชั่งใจถ่วงดุลระหว่าง ก) ความห่วงใยอยากรักษาไว้ซึ่งเอกภาพในองค์การอาเซียนเอง กับ ข) ความต้องการให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพและแรงกดดันจากบรรดาประเทศตะวันตกซึ่งอยากให้อาเซียนสนับสนุนมาตรการเล่นงานระบอบทหารในย่างกุ้ง

10) ท่าทีของจีน

-ความสัมพันธ์กับพม่า : สนิทแน่นแฟ้นทางการค้าและการทูต ถือเป็นประเทศเดียวที่มีศักยภาพสูงสุดในการส่งอิทธิพลต่อรัฐบาลทหารพม่า จีนคอยขัดขวางมาตรการลงโทษพม่าในสหประชาชาติ แต่ระยะหลังนี้จีนเรียกร้องให้ 'ทุก' ฝ่ายในพม่า 'ใช้ความยับยั้งชั่งใจ'

-ผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับพม่า : น้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองของพม่าสำคัญต่อจีนที่กำลังเร่งรัดพัฒนาและหิวพลังงาน ทว่าในฐานะมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ ปักกิ่งก็ต้องการให้มั่นใจว่าเหตุการณ์ในพม่าไม่นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคด้วย

-จีนเป็นประเทศหลักที่คอยจัดหาอาวุธ (มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ), เงินสด และการสนับสนุนทางการเมืองและยุทธศาสตร์มาให้ คสพร.นับแต่ปี 1988 เป็นต้นมา

-จีนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจและข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับพม่ารวมทั้งสิ้นกว่า 200 ฉบับ

-รัฐวิสาหกิจของพม่า 53 แห่งพัฒนาขึ้นมาได้ด้วยการสนับสนุนของจีน

-จีนเป็นคู่ค้าหลักของพม่า ทำรายได้ให้พม่าถึง 1.274 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2007

-การค้าชายแดนจีน-พม่าเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจของพม่า (มูลค่าถึง 562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2006)

-พม่าเป็นขุมทรัพยากรให้จีนตักตวง

-มิถุนายน 2007 จีนจัดแจงให้ตัวแทนของอเมริกาได้พบกับตัวแทนคณะทหารพม่าอย่างไม่มีใครคาดถึงในปักกิ่ง

11) ท่าทีของอินเดีย

-ความสัมพันธ์กับพม่า : อินเดียมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเศรษฐกิจและการทูตกับพม่า อินเดียได้แสดงความห่วงใยวิกฤตปัจจุบัน แต่โดยทั่วไปแล้วก็รักษาท่าทีสุขุมเงียบเฉยไว้ บอกว่ามันเป็นกิจการภายในของพม่า อดีตรัฐมนตรีกลาโหม จอร์จ เฟอร์นันเดซ ของอินเดียวิจารณ์ว่าท่าทีปัจจุบันของรัฐบาลอินเดียในเรื่องนี้ 'น่าทุเรศ'

-ผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับพม่า : อินเดียมุ่งปกป้องกิจการน้ำมันของตนในพม่าเหนืออื่นใด ถึงแก่ลงนามข้อตกลงสำรวจแหล่งน้ำมันในทะเลลึกฉบับใหม่กับทางการพม่าในสัปดาห์เดียวกับที่การประท้วงเริ่มขึ้นนั่นเอง อินเดียยังขายอาวุธให้ระบอบทหารพม่าด้วย ทว่าในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อินเดียก็ถูกกดดันจากตะวันตกและนักเคลื่อนไหวชาวอินเดียเองให้แสดงจุดยืนสนับสนุนพลังประชาธิปไตยในพม่าแข็งขันขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้จาก : -

-รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ปรานาบ มูเคอร์จี ได้กล่าวต่อที่ประชุมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรุงเทพฯ เมื่อ 14 กันยายนศกนี้ว่า : - 'หลักการมูลฐานของนโยบายต่างประเทศของเราคือไม่

แทรกแซงกิจการภายในของประเทศใด....อีกทั้งเราก็ไม่ส่งออกอุดมการณ์ด้วย...มันเป็นเรื่องที่

พวกเขา (ประชาชนพม่า) ต้องตัดสินใจเองว่าต้องการรัฐบาลแบบไหน'

-ในทางกลับกัน สมาชิกราชสภาและโลกสภาของอินเดีย 17 คนก็ได้แถลงในโอกาสครบรอบวันเกิด 62 ปีของนางออง ซาน ซูจี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนศกนี้ ว่า : - 'ถึงแม้คณะทหารพม่าจะกักกันตัวท่านไว้ ทว่าท่านนั่นแหละเป็นนายกรัฐมนตรีที่แท้จริงของพม่า'

ที่มา //www.matichon.co.th/news_detail.php?id=6532&catid=16




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2550
1 comments
Last Update : 12 ตุลาคม 2550 17:05:17 น.
Counter : 475 Pageviews.

 

 

โดย: 5 IP: 125.24.107.174 8 ธันวาคม 2550 17:19:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.