Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Burn-Out อาการหมดไฟ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

พอดีไปพบเพื่อนที่ยุโรป เธอมีการ Burn Out ก็เลยคิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่น่ารู้ไว้สำหรับคนที่ทำงาน และรับผิดชอบมากๆ จนเครื่องร้อน เครื่องรวน มอดไหม้ไปเลย

Burn-Out Syndrome..

เหนื่อยล้า เพลียทั้งกายและใจเหมือนแบตเตอรี่หมด เพราทำงานหามรุ่งหามค่ำแทบไม่ได้สนุกสนานกับชีวิต นี่คืออาการของคนที่ทำงานโอเว่อร์

Burn-Out หมายถึงอะไร
หมายถึงการทำงานหนักมากเกินไปและไม่ได้สัดส่วนกับการพักผ่อนจนเกิดอาการ เช่น สมองไม่แล่น ความจำไม่ดี อ่อนเปลี้ยเพลียแรง นอนไม่หลับ เหมือนเครื่องยนต์ที่วิ่งไม่หยุดจนทำให้เครื่องร้อนจนหม้อน้ำเดือด ทำงานจนหมดพลัง ไม่มีประจุเก็บไว้ใช้งาน นักจิตเวชชาวอเมริกัน เฮอร์เบิร์ต เจ ฟลอยเดนเบอร์เกอร์ ได้นำชื่อ Burn out มาใช้ใตการรักษาทางจิตเวช เมื่อปี 1974 ซึ่งก็คือโรคจิตทางหนึ่ง ซึ่งมักเกิดกับคนที่ตั้งความหวังไว้สูงเกี่ยวกับตัวเอง และต้องการความเพอร์เฟ็กต์ จนก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจ

สัญญาณแรกเริ่มของโรค Burn-Out เป็นอย่างไร
รู้สึกเบื่องาน นอนไม่หลับ เครียด ไม่มีความสุข ไม่สนุกกับงาน คือต้องแยกจากโรคซึมเศร้าและโรคเครียดซึ่งมีอาการคล้ายๆกัน แต่มีสาเหตุที่แตกต่างกัน อย่างโรคเครียดก็มีสาเหตุของโรคอย่างชัดเจน เช่น เครียดจากเศรษฐกิจ เครียดเรื่องลูก กลัวภรรยาหรือสามีไม่ได้ดั่งใจ หรือภรรยากลัวสามีไปมีคนอื่น ลูกเรียนไม่ดีก็ทำให้พ่อแม่กลุ้มใจ ส่วนอาการซึมเศร้าก็จะมีสาเหตุทำให้ซึมเศร้า เช่น การสูญเสีย ไม่ว่าจะเป้นเรื่องทรัพยืสินเงินทอง หน้าที่การงาน ตำแหน่ง ฯลฯ อีกส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้าก็เกิดจากสารเคมีในสมองผลิตน้อยเกินไป หรือจากกรรมพันธุ์ พอถึงเวลาเป็น ก็จะเป็นขึ้นมา ส่วนโรค Burn-Out จะเกี่ยวกับการทำงานโอเว่อร์เกินไป ใช้เวลาทำงานเอยะเกินไป คือมีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ทำไมจึงเกิดอาการ Burn-Out ได้
เมื่อคนเราทำงานมากกว่าสัดส่วนของการพักผ่อนก็เกิดอาการนี้ได้ คือเราควรทำงานแล้วพัก เช่น ทำงานหนึ่งชั่วโมง เราก็ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วก็พัก 10-15 นาที สมองก็จะได้พัก ได้ชจัด เมตาบอลิซึ่มของเสียต่างๆ ออกไป หมุนเวียนเอาวัตถุดิบใหม่เข้ามา ควรหมุนเวียนเช่นนี้ทุกๆชั่วโมง การงานก็เหมือนกัน ทั่วโลกเค้าทำงานกัน 5 วันพัก 2 วัน ในสัปดาห์ ซึ่งเป้นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ว่า Burn-Out นี่มันไม่ได้สัดส่วนที่ควรจะเป็นตามที่ธรรมชาติต้องการ คือทำงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาหยุดพัก หรือหยุดพักไม่เพียงพอก็จะหมดเรี่ยวแรง หมดพลัง

ถ้าเราปล่อยให้ Burn-Out ไปเรื่อยๆ จะส่งผลอย่างไร
ก่อให้เกิดดรคที่เป้นไปได้มากกว่า 100 โรค สุดท้ายก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคเกี่ยวกับหู โรคหัวใจหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต สัญญาณแรกก็คือ หมดพลัง หมดความกระตือรือร้น เฉี่อยชา บางคนเป็นโรคซึมเศร้าตามาได้ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ความจำแย่ลง ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ร่างกายอ่อนเปลี้ยไม่ค่อยมีแรง นอนไม่หลับ ปวดสรีษะ ประสาทเครียด ความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อสูง ซึ่งส่วนมากคนที่เป็นโรค Burn-Out ก็มักหาทางออกปลอบจิตตัวเองด้วยการดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป กินยานอนหลับ กินอาหารมากเกินไป และสูบบุหรี่มากเกินไป

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มเป็น Burn-Out แล้ว
เริ่มรู้สึกว่าการทำงานไม่เหมือนเดิม สมาธิในการทำงานและความตั้งใจในการทำงานต่างๆ ลดลง มีอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น ความจำไม่ดี นอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งต้องมีสาเหตุมาจากการทำงานที่โอเว่อร์เกินไป ไม่ได้หมายถึงสาเหตุอื่นๆ

ผู้หญิงน่าเสี่ยงกับการเป็นโรค Burn-Out Syndrome เพราะต้องทำงานมั้งในบ้านและนอกบ้าน วันเสาร์-อาทิตยืก็ไม่ได้หยุดจริงๆ แล้วคนมักมีอาการ Burn-Out โดยไม่รู้ตัว เพราะคนไข้ที่มาพบจิตแพทย์ส่วนใหญ่มักเลยเถิดไปถึงโรคซึมเศร้าแล้ว นอกจากนี้ารที่ผู้หญิงต้องแบกภาระมากมายก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงเป็นโรคจิต โรคเครียด โรคประสาทเยอะกว่าเพศชาย ทางจิตเวช ผู้หญิงจึงมีมากกว่าผู้ชายสองเท่า บางโรคสามสี่เท่า ฉะนั้น ในสังคมเมืองจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงมาก และมักเป็นกับคนวัยทำงานและกับวัฒนธรรมการทำงาน อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น มีสถิติการฆ่าตัวตายสุงที่สุดในโลก เพราะคนญี่ปุ่นทำงานกัน ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม ด้วยเหตุนี้ ชายญี่ปุ่นจึงเข้าคลับเข้าบาร์หรือเล่นเกมส์หลังเลิกงาน ไม่ตรงกลับบ้านเพราะเครียดกับงานมาก

เราควรรักษาอาการ Burn-Out ของตัวเองอย่างไร
ให้ความสมดุลกับจิตใจ เช่น ตรึกตรองว่า ฉันได้พลังมาจากไหนแล้วฉันจะใช้พลังเพื่ออะไรบ้าง คุณภาพชีวิตของฉันเป็นอย่างไร ระหว่าง 0 (แย่มาก) -10 (ดีมาก) ปัจจัยก่อให้เกิดความเครียดแล้ว ฉันจะหลีกเลี่ยงความเครียดได้อย่างไร ฉันใช้จ่ายเงินอย่างไร จุดมุ่งหมายก็คือ การมีความสุขในชีวิตมากขึ้น เราควรใส่ใจกับสุขภาพร่างกายและจิตใจของตัวเอง ข้อแนะนำก็คือ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น จ้อกกิ้ง ขี่จักรยานหรืออกกำลังกายกับคนหมู่คน เช่น เล่นวอลเล่ย์บอลและเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการ Burn-Out Syndrome
การทำงานและการพักผ่อนของคนเราควรได้สัดส่วน ซึ่งสัดส่วนที่พอดีของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจจะมากหรือบางคนอาจจะน้อย เพราบางคนใช้เวลาทำงานสั้นๆ แต่มีประสิทธิภาพสูงก็มี ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลในการจัดความสำคัญของงานว่างานใดควรทำก่อนทำหลัง หากจัดสรรเวลาได้ดี เราควรมีกิจกรรมคลายเครียด เช่นมีเครือข่าวญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไว้พูดคุยหรือออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายทางจิตวิทยาถือว่าเป็นการให้คุณค่าแก่ตัวเราเอง ควรรู้จักปฏิเสธบ้างถ้าเรารู้จักปฏิเสธก็จะไม่เกิดอาการ Burn-Out หรือเกิดช้า

อาการของ Burnout cycle ของ Herbert Freudenberger ไว้ว่ามี 12 ระยะด้วยกัน โดยอาจจะมีการข้าม step หรือเกิดพร้อมกันก็ได้ แต่จะรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้

1. ความต้องการพิสูจน์ตัวเอง (Compulsion to prove oneself) จุดเริ่มตันของหายนะที่จะตามมา นำไปสู่ระยะที่ 2
2. พยายามทำงานหนักขึ้น (Working Harder) คาดหวังสูง พยายามจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง นำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่มีใครสามารถทำแทนได้ ("irreplacability")
3. ละเลยความสุขส่วนตัว (Neglecting their needs) ทุ่มเททุกอย่างให้งาน ลดเวลานอน สละเวลากิน เลิกพบปะเพื่อนฝูง ลดความสำคัญของครอบครัว
4. ความรู้สึกขัดแย้ง แปลกแยก (Displacement of conflicts) เริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวไม่ถูกต้อง ไม่สามารถบ่งบอกที่มาได้ คนรอบข้างจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ในระยะนี้
5. เปลี่ยนทิศทางการประเมินตัวเอง (Revision of values) การแยกตัว ทุ่มเทกับงาน ไม่มีเวลาสำหรับเรื่องอื่น ทำให้การประเมินค่าของตัวเอง ขึ้นอยู่กับงานที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น เกิดอารมณ์เฉยเมย (emotionally blunted)
6. ไม่ยอมรับปัญหา (Denial of emerging problems) ความอดทนที่ลดต่ำลง มองเพื่อนร่วมงานในแง่ร้าย รู้สึกว่าถูกกินแรง เกิดความไม่ไว้ใจ นำไปสู่การแสดงออกที่ก้าวร้าว และมองว่าสาเหตุของปัญหาเป็นเรื่องของปริมาณงานที่แบกรับเอาไว้ และเวลาทำงานที่ไม่เคยพอ
7. เลิกติดต่อกับผู้คน (Withdrawal) ปิดกั้นตัวเอง ความรู้สึกหมดหวัง หมดหนทางเริ่มแทรกซึมเข้ามา มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ เริ่มใช้ตัวช่วยอย่าง ยา หรือเหล้า
8. พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง (Obvious behavioral changes) คนรอบข้างสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ความรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าเพิ่มพูนขึ้น
9. จิตหลุด (Depersonalization) มองไม่เห็นความต้องการของตัวเอง มองไม่เห็นทางออก มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ เป็นหุ่นยนต์
10. ชีวิตนี้ช่างว่างเปล่า (Inner Emptiness) แต่ความรู้สึกไม่อยากหายใจทิ้ง นำไปสู่การ "หาอะไรทำ" เที่ยวกลางคืน กินเหล้า เมายา อย่างหนัก
11. ซึมเศร้า (Depression) อาการของโรคซึมเศร้าปรากฏ หงอย หมดหวัง หมดแรง ชีวิตหมดความหมาย
12. หมดไฟ (Burnout syndrome) ถ้ามาถึงตรงนี้แล้ว คนที่หาทางออกไม่ได้ บ้างก็แสดงออกทางกาย (somatoform disorder) บ้างก็ทำให้เกิดอาการทางจิต (mental collapse)

ที่มา: zybernav.blogspot.com และ //www.oknation.net/blog/loongjame


Create Date : 05 ตุลาคม 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 18:25:35 น. 0 comments
Counter : 1116 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PinePh
Location :
Rome Italy, Bangkok Thailand, AMS Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




I dont have anything to say much about myself...if you want to know more please check it out!!!
Friends' blogs
[Add PinePh's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.