รู้จักกันก่อนและสมุดเยี่ยม Guestbook เฟซบุ๊ค ชะเอมหวาน รวมเวปหาทุนและแหล่งทุน Scholarship เรียนโทสองประเทศในปีเดียว
หาตัวเองให้เจอ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
วิกฤต “เรียนภาษาจีน” ในไทย ทำไม…ยังล้าหลัง !!

“ตอนที่ผมหาพนักงานที่จะมาช่วยดูแลประสานงานตอนสัมภาษณ์ เด็กผู้หญิงคนนั้นบอกว่าเรียนภาษาจีนมาแล้ว 1 ปี ผมก็เลยทดสอบด้วยการลองให้เขานับเลข ปรากฏว่าเขานับ 1-10 ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่พอถามว่าแล้ว 16 ภาษาจีนว่าอย่างไร เขากลับตอบไม่ได้” ศ.ดร.เขียน ธีรวิทย์ หนึ่งในผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องจีนมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศ กล่าวติดตลก เมื่อพยายามจะฉายภาพปัญหาของมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยที่กำลังเรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤต



เป็นวิกฤตที่ครั้งหนึ่ง “วิโรจน์ ตั้งวานิชย์” อาจารย์สอนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เคยวิพากษ์ไว้ในรายการชีพจรโลกว่า “จะหาคนไทยที่เรียนภาษาจีนในประเทศไทยดีพอที่สามารถนำไปใช้ได้น้อยมาก” และหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนแล้ว ไทยอยู่ในลำดับสุดท้าย

แม้ที่ผ่านมา รัฐบาลจะกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยเป้าหมายปลายทางที่ตั้งไว้ คือ การกำหนดให้นักเรียนและนักศึกษาในระบบโรงเรียนทุกคนได้เรียนภาษาจีน ได้ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของนักเรียน นักศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี โดยจัดสรรงบประมาณระหว่างปี 2549-2553 ไว้เป็นจำนวนกว่า 528 ล้านบาท

แต่ดูเหมือนว่าก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ที่มีอยู่ดีขึ้นเท่าใดนัก ในทางกลับกัน การเร่งรีบโดยขาดการเตรียมการก็ยิ่งทำให้บรรดาโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในทุกระดับเร่งรีบที่จะเปิดหลักสูตรโดยขาดความพร้อม


ปริมาณผ่าน คุณภาพตก

จากการศึกษาวิจัยการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ที่ทำการเรียนการสอนภาษาจีนทั้งในและนอกระบบทุกระดับ ในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาถึงจุดอ่อนและจุดแข็งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปหลักสูตรต่อไปในอนาคตของศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้นพอจะทำให้เห็นภาพบางอย่างปรากฏชัด โดยเฉพาะการเร่งรัดที่ทำให้อาจารย์กว่าครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องภาษาจีน จำเป็นต้องกลายมาสอนในวิชานี้ เพราะขาดแคลนอาจารย์ที่มีความรู้จริงๆ ที่จะมาสอน รวมไปถึงปัญหาในตัวหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ตำรา ที่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ส่งผลกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับ

ดังนั้นปัญหาในวันนี้ของไทยจึงไม่ได้อยู่ที่ปริมาณที่ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะจากงานวิจัยยกตัวอย่างว่า ในปี 2550 จากการสำรวจโรงเรียนระดับอาชีวศึกษา 122 โรงเรียนที่พบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนอยู่ถึง 44,425 คน 25.5% ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้แล้ว แต่ปัญหาในวันนี้กลับอยู่ที่การทำผลิตผลให้มีคุณภาพ

ในงานวิจัยตอนหนึ่งยังระบุด้วยว่า ได้มีการสอบถามผู้บริหารโรงเรียน 58 แห่งว่า นักเรียนที่จบภาคปกติแล้ว เอาไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด มีกว่า 50% ที่ตอบว่าเมื่อนักเรียนจบไปแล้วไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ใดๆ ได้เลย

ครูไร้คุณภาพ หลักสูตรไม่ต่อเนื่อง

“ปัญหาที่วิกฤตที่สุดซึ่งเราพบขณะนี้ คือ รอยต่อของการศึกษาจีนของไทยในแต่ละระดับ ที่ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งประเทศอื่นจะไม่มีปัญหาในลักษณะนี้ โดยทุกระดับการเรียนจะเริ่มจากศูนย์หมด ประถมศึกษาก็เริ่มจากศูนย์ พอไปถึง ระดับมัธยมศึกษา ก็เริ่มจากศูนย์อีก พอไปถึงอุดมศึกษาก็เริ่มเรียนกันใหม่จากศูนย์อีก ซึ่งทำให้เกิดความสูญเปล่า ฉะนั้นถ้าจะแก้ปัญหาก็ต้องเชื่อมรอยต่อเหล่านี้เข้ามาหากัน”

“พัชนี ตั้งยืนยง” อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในคณะผู้วิจัย กล่าวและอธิบายด้วยว่า


“เป้าหมายการเรียนการสอนเป็นไปคนละทิศคนละทาง เช่น ประถมศึกษา การตัดสินใจเรียนเป็นเจตนารมณ์ของ ผู้ปกครอง และมีการสอนทักษะทั่วไป พอถึงมัธยมศึกษา ก็มีปัญหาว่าในความเป็นจริงการเรียนภาษาต่างประเทศนั้นต้องสามารถเรียนทักษะเพื่อสำหรับสื่อสารได้ แต่พอระดับมัธยมศึกษา คนก็ไปให้ความสำคัญกับการจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำให้เรียนเพื่อเอาไปเป็นวิชาหนึ่งในการสอบมากกว่า เพราะเวลาทำข้อสอบก็ทำเป็นปรนัย ฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการสื่อสาร ภาษาจีนมีสอบครั้งแรกในการเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2541 ฉะนั้นการเรียนการสอนก็จะเน้นไปที่ข้อสอบปรนัย จึงทำลายโอกาสในการพัฒนาทักษะทั้งด้านการพูด การฟัง แต่พอการเรียนเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องไปทำงานและต้องสื่อสารให้ได้ ก็ไปเรียนอีกแบบ ฉะนั้นจะเห็นว่าเป้าหมายในการเรียนไปคนละทิศคนละทาง ดังนั้นถ้าเรามีเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่ต้นว่าต้องการให้เด็กไทยมีความสามารถในการสื่อสารได้ ก็จะทำให้การเรียนมีประสิทธิผลมากขึ้น”


ชี้จุดอ่อนก่อนปฏิรูป

ประสบการณ์ของนักศึกษาคนหนึ่งที่เคยไปเรียนภาษาจีน ที่กรุงปักกิ่ง เล่าไว้ว่า การเรียนการสอนจะมีสื่อที่หลากหลาย และนักศึกษาที่ปักกิ่งจะตั้งใจเรียนมาก และนอกห้องเรียนก็จะพยายามใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยหลีกเลี่ยงภาษาอังกฤษ และไปทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไปโบสถ์ ที่ทำให้พัฒนาการด้านภาษารวดเร็วมาก

ข้อจำกัดที่ค้นพบของการเรียนการสอนภาษาจีนในไทย ที่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการเรียนภาษาจีนในประเทศจีนที่จัดไว้สำหรับนักศึกษาต่างชาตินั้น พบว่าข้อจำกัดที่ทำให้การเรียนในไทยไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะการขาดโอกาสในการใช้ภาษาจีนอย่างเพียงพอในการสื่อสาร หรือการฟัง การอ่านหนังสือ ชมภาพยนตร์ อ่าน นิตยสารภาษาจีนนั้นมีน้อยมาก ขณะที่เวลาเรียนในชั้นเรียนมีน้อยเกินไป ไม่มีกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาจีนนอกห้องเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่แยกวิชาเรียนในทักษะต่างๆ รวมถึงแบบเรียนที่ส่วนใหญ่ใช้แบบฮั่นยวี่เจี้ยวเฉิงที่ต้องใช้เวลาในการเรียนนานและต่อเนื่อง แต่ของไทยมีระยะการสอนเพียงสัปดาห์ละครั้ง นอกจากนี้เทคนิคการสอนของครูที่ไม่น่าสนใจ และสุดท้ายคือความตั้งใจของผู้เรียนในไทยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเท่านักศึกษาที่ไปเรียนภาษาในประเทศจีน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการสื่อสารได้และใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้

การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีนในวันนี้ จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วน ตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา ครู จนกระทั่งผู้เรียน ฯลฯ ที่ต้องร่วมมือกัน ไม่เช่นนั้นแล้วถึงแม้จะมีคนเรียนภาษาจีนมากขึ้น ก็ไม่มีประโยชน์อันใดกับผู้เรียนและประเทศ นอกจากความสูญเปล่า

ทำไมใครๆ ก็เรียนภาษาจีน !!

- ทุกวันนี้จีนไม่เพียงเป็นประเทศที่มีประชากร 1,300 ล้านคน ประมาณ 20% ของประชากรโลก GDP ยังอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 6% ของ GDP โลก ฉะนั้นถือเป็นตลาดใหญ่ ปัจจุบันการส่งออกจากไทยไปจีนก็ขยายตัวมากกว่าประเทศอื่น จีนยังมีนโยบายขยายการลงทุนมายังประเทศอื่นๆ ภาษาจีนจึงมีความสำคัญสำหรับการติด ต่อสื่อสารกับคนจีนในอนาคต ทุกวันนี้ ซีอีโอในสหรัฐหลายคนยังให้ลูกหลานเรียนภาษาจีน เช่น Robert Polet ประธานกลุ่มกุชชี่ Scott Cook ที่ให้ลูกชายเรียนภาษาจีน โดยฝึกให้ตีปิงปองกับครูเชื้อสายจีน ฯลฯ

- ปัจจุบันมีคนไทยเรียนภาษาจีนกว่า 5.67 แสนคน โดยส่วนหนึ่งเรียนในระบบ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเรียนในโรงเรียนสอนภาษาที่มีจำนวนเกือบครึ่งแสน ซึ่งกว่าครึ่งเชื่อว่าการเรียนภาษาจีนจะทำให้มีโอกาสค้าขายกับคนจีนและหางานทำที่ดีขึ้นในอนาคต ทำให้ 4-5 ปีที่ผ่านมามีโรงเรียนสอนภาษาจีนเกิดขึ้นมากมายกว่า 77 โรงเรียน และล้มหายตายจากไปในจำนวนที่ใกล้เคียงกันเพราะการแข่งขันสูง โดยโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในไทย ได้แก่ วิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก หรือ OCA ของมูลนิธิไทย-จีน ที่มีนักศึกษากว่า 20,000 คน

- ปัจจุบันนักศึกษาไทยนิยมไปเรียนที่จีนมากขึ้น ที่นิยมที่สุดคือ กรุงปักกิ่ง และมหานครซ่างไห่ กว่างโจว และ คุนหมิง ฯลฯ โดยมหาวิทยาลัยสอนภาษาจีนที่มีคนไทยไปเรียนมาก ได้แก่ ม.ปักกิ่ง ม.ภาษาปักกิ่ง ม.ฟู่ตั้น ม. ซ่างไห่เจียวทง ม.จี้หนาน เมืองกว่างโจว ม.ครูหยุนหนาน ม.ชนชาติแห่งกว่างซี

source://www.wiseknow.com/blog/2008/10/30/1139/#axzz1R7xC15MH








Create Date : 04 กรกฎาคม 2554
Last Update : 4 กรกฎาคม 2554 16:50:50 น. 6 comments
Counter : 2814 Pageviews.

 
อย่าว่าแต่ภาษาจีนเลยค่ะ อังกฤษกับไทยยังเงอะๆ งะ อยู่เลย


โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 4 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:00:44 น.  

 
ภาษาไทยกับอังกฤษก็พอแล้ว ไปไหนไม่กลัวอดตาย


โดย: pop IP: 180.210.216.74 วันที่: 4 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:33:26 น.  

 
เห็นด้วย และอาจจะเป็นเพราะว่า สิ่งแวดล้อมด้วยมั้งค่ะ


โดย: -..- (tictin ) วันที่: 10 กรกฎาคม 2554 เวลา:22:17:13 น.  

 
ตามเข้ามาอ่านค่ะ
เห็นด้วยเรื่องภาษาจีน เพราะเท่าที่รู้จักหลายๆ คนที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่เด็ก แต่พอห่างหายไปหลายๆ ปี ไม่ได้ใช้ กลับพูดไม่ค่อยได้ นึกไม่ค่อยออก จนกว่าจะได้กลับสนทนาด้วยภาษาจีนอย่างเข้มข้นอีกครั้ง

ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยมที่บล๊อคนะคะ


โดย: PrettyNovember วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:13:31 น.  

 
เพลงเพาะๆๆ ชอบๆๆ ^^


โดย: Ivoryrose IP: 223.24.15.200 วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:18:28 น.  

 
คอร์สเรียนภาษาจีนราคาพิเศษ 2,000บาท เรียน 30ชั่วโมง (แจ้งวัฒนะ)
โปรโมชั่น!! สมัครภายในเดือนมีนาคม 2555
จากราคาปกติ 30ชั่วโมง 4,500บาท ลดเหลือ 2,000บาทเท่านั้น
เปิดคอร์สวันที่ 2 เมษายน 55 (รับสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป)
เรียนทุกวันจันทร์เวลา 17:00-19:00 น. (เรียนครั้งละ 2 ชั่วโมง)
เรียนทุกวันพฤหัสเวลา 17:00-19:00 น. (เรียนครั้งละ 2 ชั่วโมง)
(เริ่มเรียนวันที่ 2 เมษายน ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2555 รวม 30 ชั่วโมง)
2 เมษายน พ.ศ.2555 (เริ่มเรียนวันแรก)
5 เมษายน พ.ศ.2555
9 เมษายน พ.ศ.2555
12 เมษายน พ.ศ.2555
16 ชดเชยวันสงกรานต์ (หยุด)
19 เมษายน พ.ศ.2555
23 เมษายน พ.ศ.2555
26 เมษายน พ.ศ.2555
30 เมษายน พ.ศ.2555
3 พฤษภาคม พ.ศ.2555
7 ชดเชยวันฉัตรมงคล (หยุด)
10 พฤษภาคม พ.ศ.2555
14 พฤษภาคม พ.ศ.2555
17 พฤษภาคม พ.ศ.2555
21 พฤษภาคม พ.ศ.2555
24 พฤษภาคม พ.ศ.2555
28 พฤษภาคม พ.ศ.2555 (จบคอร์สเรียน)

ราคาสอนตามบ้านหรือนอกสถานที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เรียน 1 คนราคาเริ่มต้นเพียงชั่วโมงละ 350 บาท/คน
เรียน 2 คนราคาเริ่มต้นเพียงชั่วโมงละ 250 บาท/คน
เรียน 3-5 คนราคาเริ่มต้นเพียงชั่วโมงละ 200 บาท/คน
โทร. 02-9809811 หรือ 085-517-8827
ที่อยู่:แจ้งวัฒนะ 43 (ใกล้ อิมแพ็ค เมืองทองธานี)

บริการด้านล่ามจีน
ล่ามแปลภาษาจีน-ไทย ทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ
ค่าบริการในประเทศเริ่มต้นเพียง 2,000 บาท/วัน
ค่าบริการต่างประเทศเริ่มเพียง 3,500 บาท/วัน
การทำงานคิดเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน (เกิน 8 ชั่วโมง คิดเป็นรายชั่วโมงที่เกิน)
หมายเหตุ : ราคาดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
โทร. 02-980-9811 หรือ 085-517-8827



โดย: kate IP: 115.87.30.229 วันที่: 14 มีนาคม 2555 เวลา:12:14:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชะเอมหวาน
Location :
Dalian(China),Guildford(UK),กทม.,สกลนคร United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Edutainment
International Business
Bossa Nova& Easy Listening

ถ้าถามอะไรในนี้ไม่ได้ตอบ
กรุณาส่งไปทางเฟซบุ๊คเลยนะคะ
ไม่ค่อยได้เช็คบล็อกค่ะ
ขอบคุณค่ะ


 ยินดีต้อนรับ
ณ บ้านชะเอมหวานค่ะ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนกันเสมอนะคะ
จขบ.เป็นอาจารย์เล็กๆค่ะ
ฟรีแลนซ์ พิธีกรงานแต่งงาน
สะสมโปสการ์ดค่ะ
ฟังเพลงสบายๆ
ชอบแต่งหน้าแต่งตัว
แต่งกลอน ขีดๆเขียนๆ
ท่องเที่ยว
ก็เป็นกำลังใจให้กันด้วยค่ะ จุ๊บๆ 





บ้านนี้จขบ.ต้องการสร้างสรรค์ให้เบา สบายๆค่ะ
เอนทรี่เก่าๆเกี่ยวกับอาหารและการท่องเที่ยวจะย้ายบ้านไปที่

Amiley lala(ท่องเที่ยวและอาหาร)



POSTCARD & International Business


ถ้าจะโหวตขอหมวดการศึกษา

และหมวดดนตรีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
credit::::
photo by พี่เป็ดสวรรค์)
Head blog กับของตกแต่งจาก

pk12th
และ

คุณกุ้ง Kungguenter


Follow amiley on Twitter



New Comments
Friends' blogs
[Add ชะเอมหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.