|
การศึกษาของลูกจ้าง ตอนที่ 1
มันไม่ใช่ว่าไม่มีความดีอยู่เลย เพียงแต่ว่าคนเรามองไปทางไหน หรือคิดถึงอะไรอยู่บ้างเวลาพูดถึง "การศึกษา" ...การศึกษาในรูปแบบซึ่งบรรพชนผู้สร้างอารยธรรมไม่เคยได้เดินผ่านโครงสร้างของมันเลย แล้วพวกเขาจะถูกตราหน้าจากคนยุคนี้ว่า "ไร้การศึกษา" หรือไม่?
-------------------------
ความเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยเพียงไม่กี่สิบปีมานี้ ได้ให้กำเนิด "ค่านิยม" ขึ้นหลากหลายเรื่องราว นิสัยที่เห็นชัดอย่างหนึ่งของประชากรโลกส่วนใหญ่ คือ "อุดมคตินิยม"
สังคมไทยดูเหมือนจะอุดมคตินิยมแบบเหวี่ยงแหกันมากเกินพอดีหรือไม่? เพราะตามตัวบทกฏหมายแล้วนั้น "ระบบการศึกษา" เป็นคำที่อาจมีอยู่ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ แต่ในแง่การมีอยู่จริงและการปฏิบัตินั้น คำว่า "การศึกษาใน/นอกระบบ" ...ระบบที่ว่านั้น คือ "ระบบโรงเรียน"
มันเป็นความจริงที่ทำให้ทุกวันนี้เรื่องราวเกี่ยวกับ "โฮมสคูล" (Homeschool) ดูจะไม่มีความคืบหน้า เพราะโครงสร้างของ "การศึกษานอกโรงเรียน" นั้น ได้ปรับแก้จนรองรับเด็กๆ ให้เข้าเรียนได้แล้ว ..ทำให้ครอบครัวบ้านเรียนทั้งหลาย ทั้งผู้ปกครองและองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันกันมานาน ต่าง "งง" กับความไม่คืบหน้านักของโฮมสคูล ผลของสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีเด็กบ้านเรียนที่เจ้าหน้าที่-ยอม-ให้ผ่านเกณฑ์ประเมินมัธยมการศึกษาตอนปลายเพียง "1 คน".
-------------------------
ความเป็นจริงของ "ระบบการศึกษาโดยภาครัฐฯ" ทุกวันนี้ เป็นเรื่องของการ "เตรียมแรงงานภาคอุตสาหกรรม" ทั้งในส่วนงานธุรการและภาคการผลิต
ความที่ประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งวัตถุดิบและการผลิตให้กับหลายกิจการในโลก..แหล่งหนึ่ง ประเทศนี้จึงดูเหมือนถูกกำหนดจากภาครัฐฯ มาแล้วว่า... ประชากรของประเทศต้องเกิดมาและมีวิถีชีวิตเป็นแรงงาน
ไม่มีการยอมบอกกล่าวกันตรงๆ ว่าผู้มีอำนาจนั้นต้องการอะไรจากประชาชนกันแน่ กลับทำให้แรงงานคิดว่าตัวเองไม่ใช่แรงงาน ด้วยการสร้าง "ค่านิยม" แบบหลอกๆ เกี่ยวกับการศึกษา โดยใช้นิสัยอุดมคตินิยมที่ผู้คนมีเป็นเครื่องมือ
การศึกษาในระบบของรัฐฯ นั้นไม่ได้ทำให้คนเป็นดีหรือไม่ดี.. สิ่งนี้อยู่ที่ครอบครัวและทัศนคติส่วนตัว การ "โยนลูกให้โรงเรียนเลี้ยง" มักสะท้อนความเกียจคร้านต่อการเป็นพ่อแม่อย่างตรงๆ คนจะออกมาดีหรือไม่ดีนั้นอยู่ที่นิสัยและความเชื่อส่วนบุคคลเป็นหลัก
เพราะฉะนั้นไม่ควรคาดหวังกับตารางสอนที่มีวิชาเกี่ยวกับศีลธรรมสัปดาห์ละ 1 คาบให้มากจนเกินจริง ...ถ้าระบบมันเป็นของมันอย่างนั้น.. เราๆ ท่านๆ คงต้องถามตัวเองกันแล้วว่า ...แล้วเราจะเอาอะไรจากมันกันแน่?
-------------------------
©2012 vnatat@chronosmusic.com สงวนลิขสิทธิ์ในบทความทั้งหมด.
Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2555 | | |
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2555 14:55:17 น. |
Counter : 971 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|