รู้จักกันก่อนและสมุดเยี่ยม Guestbook เฟซบุ๊ค ชะเอมหวาน รวมเวปหาทุนและแหล่งทุน Scholarship เรียนโทสองประเทศในปีเดียว
หาตัวเองให้เจอ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
การจด เลคเชอร์แบบ Cornell


//bg1.bloggang.com/admin/manage.php?id=chaaimwan&action=post&group=3
พอดีวันนี้เล่นเฟซบุ๊คมาเจอเฟซบุ๊คของอาจารย์ประสาท มีแต้ม
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คิดว่ามีประโยชน์เลยขออนุญาติอาจารย์มาแบ่งบันกันค่ะ
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว
ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”

1. คำนำ
ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบ สดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของ แต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดีย วกัน เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง
ผมได้ตั้งคำถามเชิงแนะนำนักศึกษา ไปว่า “มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความ จำเป็นไปไหม? ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่าโดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า”
วิธีที่ว่านี้คือ วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell Note Taking Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทควา มนี้ แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิด ที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งาน ได้ ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของ การจดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทย ก่อน

2. ปัญหาการจดเลคเชอร์
ผมเองเรียนและสอนทางสาขาคณิต ศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญ หาในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนก ระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่
ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียง คำเดียวก็จะกลายเป็นความผิด พลาดที่ไม่อาจยอมรับกันได้ อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน นอกจากนี้ในระหว่างการ “ทำโจทย์” ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่ งดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น
ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า “เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม” คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็น เพราะความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา
ผมเองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิค การจดเลคเชอร์มาก่อนเช่น เดียวกัน เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลก เรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกาส ให้เราได้ “ท่องโลก” เพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้
อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือ ไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการ ที่จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย
นักศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า “ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร”
เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึ งกับเตือนว่า “การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้ว จึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ”
การจดเล็คเชอร์เป็นการบังคับ ตัวเราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อน ไหวทั้งมือและสมอง เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่า ตำรา
โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับนักเรียนและนักศึกษาทุก คน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้ การเรียนของเราดีและได้เกรด ดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับ กันอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธี ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัย คอร์เนลล์
วิธีนี้ได้คิดค้นโดย Dr. Walter Pauk ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด
มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่และ คิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่ งอื่นด้วย ไม่มี “ศูนย์” หรือ “สถาบัน” ในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้ แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย
วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี แต่ Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้


ขั้นที่ 1 การจัดแบ่งหน้ากระดาษ
ให้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 คอลัมน์ ถ้าเป็นกระดาษขนาด A4 (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6 นิ้ว ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความ เหมาะสม แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะ กว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง
เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประ มาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ทบทวนแล้ว ดังรูป

ดูรูปข้างล่าง รูปแรก



หมายเหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)



รูปที่ 2


ขั้นที่ 2 คำแนะนำทั่วไป
ถ้าใช้กระดาษขนาด A4 ควรเขียน วันที่ รายวิชา และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก เช่น 2 มิ.ย. 53 คณิตศาสตร์ 101 หน้า 1
นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อน เวลาเล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อ หาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้าใจ สิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น
ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้) และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(!)

ขั้นที่ 3 การฟังและจดเลคเชอร์
- จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวา มือ (Note Taking Area) ในชั่วโมงบรรยาย
- อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้ เป็นนักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน
- อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้
- พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์ ลูกศร เช่น ใช้ “&” แทน “และ”, "~" แทน "ประมาณ"
- หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ทัน ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่อง หมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติม ภายหลัง อย่าเสียดายกระดาษ ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ
- พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ เช่น “เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือ” หรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์


ขั้นที่ 4 การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ
- หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับ ตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง
- ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและ สั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ ซ้ายมือ (Cue Column) เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80% ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80% นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลา เรียนใหม่เกือบทั้งหมด
- เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็ นข้อสอบ
ขั้นที่ 5 เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม
สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวน และทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว
4. สรุป ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่ง ที่ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ

ที่มา เฟซบุ๊คอาจารย์ประสาทค่ะ กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
//www.facebook.com/?sk=messages#!/note.php?note_id=120014341366983&id=607811068&ref=mf
กรอบคุณกุ้งค่ะ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kungguenter&month=06-2008&date=28&group=23&gblog=55




Create Date : 31 พฤษภาคม 2553
Last Update : 7 มิถุนายน 2553 23:21:25 น. 6 comments
Counter : 3130 Pageviews.

 
แวะมาเม้นช่วงดึก ๆครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพครับ


โดย: kimori วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:51:07 น.  

 
ดีเลยเอม

เราจะเอาไปใช้ละกันเน๊อะ วันพฤหัสนี้ก็เริ่มเรียนแล้วหล่ะ พอดีเลย ขอบคุณอาจารย์ประสานมากๆ นะค่ะ

ขำตรงที่ผู้ชายพกปากกาไว้ในย่าม ผู้หญิงพกปากกาในกระเป๋าเครื่องสำอางค์อ่ะ แต่เรากระเป๋าคนละใบบางทีก็หยิบผิดหยิบถูกบ้าง 5555 เอาลิปสติกขึ้นมาเลกเชอร์ซะงั้น 555



โดย: LeeDeidah วันที่: 1 มิถุนายน 2553 เวลา:9:47:51 น.  

 
ตั้งใจเรียนนะดะห์คนเก่ง..


โดย: ชะเอมหวาน วันที่: 1 มิถุนายน 2553 เวลา:22:21:05 น.  

 
อาจารย์ประสาท มีแต้ม
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เป็นลุงผมเองแหละ แกมักจะสอนผมเรื่องการเรียนที่ถูกต้องเสมอ เพื่อนๆลองนำไปใช้ดูนะ มีประโยชน์มากจริงๆ


โดย: kungfuza IP: 202.12.74.246 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:21:56:13 น.  

 
k"Kunfuza
แกใจดีมากเลยค่ะ คุณมีลุงใจดีนะคะ
บอกให้เราบอกต่อด้วย
อนุโมทนาค่ะ


โดย: ชะเอมหวาน วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:22:54:34 น.  

 
คิดถึงอาจารย์ประสาท มีแต้ม
ท่านสอนคณิตศาสตร์ได้สนุก น่าค้นหามากเลยคะ
ใครได้ลองเรียนแล้วจะ รู้ว่า วิธีการสอนแบบนี้จะช่วยให้นักศึกษา เข้าใจการเรียนมากขึ้น


โดย: เยาวเรศ MT PSU IP: 202.12.74.246 วันที่: 10 มิถุนายน 2553 เวลา:21:12:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชะเอมหวาน
Location :
Dalian(China),Guildford(UK),กทม.,สกลนคร United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Edutainment
International Business
Bossa Nova& Easy Listening

ถ้าถามอะไรในนี้ไม่ได้ตอบ
กรุณาส่งไปทางเฟซบุ๊คเลยนะคะ
ไม่ค่อยได้เช็คบล็อกค่ะ
ขอบคุณค่ะ


 ยินดีต้อนรับ
ณ บ้านชะเอมหวานค่ะ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนกันเสมอนะคะ
จขบ.เป็นอาจารย์เล็กๆค่ะ
ฟรีแลนซ์ พิธีกรงานแต่งงาน
สะสมโปสการ์ดค่ะ
ฟังเพลงสบายๆ
ชอบแต่งหน้าแต่งตัว
แต่งกลอน ขีดๆเขียนๆ
ท่องเที่ยว
ก็เป็นกำลังใจให้กันด้วยค่ะ จุ๊บๆ 





บ้านนี้จขบ.ต้องการสร้างสรรค์ให้เบา สบายๆค่ะ
เอนทรี่เก่าๆเกี่ยวกับอาหารและการท่องเที่ยวจะย้ายบ้านไปที่

Amiley lala(ท่องเที่ยวและอาหาร)



POSTCARD & International Business


ถ้าจะโหวตขอหมวดการศึกษา

และหมวดดนตรีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
credit::::
photo by พี่เป็ดสวรรค์)
Head blog กับของตกแต่งจาก

pk12th
และ

คุณกุ้ง Kungguenter


Follow amiley on Twitter



New Comments
Friends' blogs
[Add ชะเอมหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.