ตุลาคม 2563

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
เขียนไว้ให้ทันตกรรม (บันทึกเก่า)
เขียนไว้ให้ทันตกรรม
เป็นบันทึกของเราในโซเชียล เกี่ยวกับโคโรน่าไวรัส
เมื่อเรามาเฝ้าแม่ที่เข้าโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุใหญ่
ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2562
แต่กลับไปที่ทำงาน คือกลับไทย 2 ครั้ง

ในการกลับไทยครั้งที่ 2 เป็นปลายเดือนมกราคม 2563
ประมาณสิบวัน (ทั้งสองครั้งกลับครั้งละไม่เกินสองอาทิตย์)
เดินทางออกจากอเมริกาวันที่ 20 และกลับมาถึงอเมริกา 31 ม.ค. 63

ช่วงเวลาระหว่างนั้น
ที่องค์กรเราเริ่มประชุมรับมือโคโรน่าไวรัส 27 ม.ค. 63
เพราะเริ่มมีรายแรกในไทย
ทำให้เราเริ่มติดตามข่าว และลงบันทึกไว้
แม้ในวันที่กลับมาอเมริกาช่วงนั้น เข้าต้นเดือนกุมภาพันธ์
จะไม่มีใครที่นี่สนใจเรื่องนี้นัก
(ที่อเมริกาเริ่มเดือดร้อนราวๆ 14 มีนาคม 63)
แต่เราติดตาม เพราะอยู่ในสายสาธารณสุข

ช่วงต้นปีเราเริ่มอ่านเพจคุณโจ้ แล้วก็รู้สึกว่า
เป็นหัวข้องานเรา ที่เราอยากจะบันทึกไว้
ตลอดการบันทึกนี้ เราไม่ได้อยู่ไทย ไม่ได้ทำงาน
แต่ด้วยความคิดถึงที่ทำงานและสนใจความเป็นไป

เราก็เลยจั่วหัวว่า เขียนไว้ให้ทันตกรรม

ก๊อปปี้มาลง ณ ที่นี้ สิบสองตอนเด้อค่า
เก็บไว้อ่านเล่น ลัลลา

โน้ตย่อ ย่อๆ ย่อ-----

#ประเทศไทยประกาศให้คนที่เดินทางจากอเมริกาเข้าไทย
ต้องกักตัว 14 วัน ในวันที่ 14 มีนาคม 2563
เรากำลังจะซื้อตั๋วเดินทางกลับพร้อมแม่
ดังนั้น แผนการเดินทางกลับไทยของเรากับแม่ปลายมีนาคม
ต้องหยุดไป

#เราถูกเชิญออกจากบ้านพักที่แม่อยู่ (nursing home)
เนื่องจากเป็นกฎของรัฐ
การงดเยี่ยมเริ่มมาตั้งแต่ 10 มีนาคมแล้ว
เวลานั้นมีบ้านพักคนชราที่รัฐวอชิงตันติดเชื้อ
แล้วคนชราเสียชีวิตกันมาก

#ในระหว่างที่เขียนเรื่องเหล่านี้ ช่วงมีนาคมถึงเมษายน
เราเยี่ยมแม่ทางหน้าต่างห้องและ facetime คุยกัน
แต่แม่ได้ยาฆ่าเชื้อที่ปรับลดโดสไม่เต็มที่
ทำให้แม่สับสนเยอะมาก

#ต่อมาแม่มีภาวะแทรกซ้อนอีกหลายอย่าง
จนถึงวันนี้เดือนตุลาคม เที่ยวบินพิเศษกลับไทยก็ยังไม่รับแม่

เราบันทึกด้วยความหวังของญาติคนนึง
ซึ่งอยากอยู่ในประเทศที่คุมโควิดได้ดี
และยังคงรอวันพาแม่กลับไทย


--------------------------------------------------------




S. is feeling thankful.
January 27 ·
เขียนไว้ให้ทีมทันตกรรม

วันนี้ไปประชุมรับมือโคโรนาไวรัสของโรงพยาบาล
หลักๆ เขาก็เน้น การ screen ใน OPD, ER
กรณีรับตัวเป็นคนไข้ใน จะเตรียมการยังไง
.
หรือถ้าต้องส่งต่อมาที่เราจะมีแผนยังไง
(คือจะส่งทีมลงไปสกรีนค่ะ ไม่ได้ส่งคนไข้มาทันที)
รวมทั้งข้าวของ PPE เครื่องป้องกันทั้งหลายแหล่
(PPE = Personal Protective Equipment)
อันเป็นความพร้อมของสารบบ
.
แต่เรามักจะพบว่าในสถานพยาบาลส่วนมาก
OPD ไม่ได้สกรีนคนไข้ห้องฟันมาให้
และคนไข้ตา หรือ หูคอจมูก
ซึ่งดูเป็นเครือ minor อย่างเรา ที่มักเป็น OPD แยกเช่นกันนี้
ก็มีความสกรีนที่รอดตัวกว่าเราๆ เพราะเขามีพยาบาลที่เคาเตอร์
.
ตา --> มักจะเป็นคนไข้นัด น่าจะไม่ได้นัดมาไกลจาก Wuhan
หรือถ้าแจคพอตสุดๆ ก็อาจจะเป็น case contact หรือเดินทาง
อันนี้ก็น่าจะเจอพยาบาลสกรีนก่อน
(case contact คือ สัมผัสกับผู้ติดเชื้อนะคะ เช่นว่า อยู่บ้านเดียวกัน)
.
หูคอจมูก --> อันนี้เขาก็มีพยาบาลสกรีน แล้วยิ่งเก่ง
ก็เพราะหูคอจมูกอยู่แล้วไงคะ
.
เหลียวกลับมาดูทีมทันตกรรมทั้งหลายบ้าง
รวมถึงบรรดาคลินิกทั้งปวงด้วย
ขอสรุปสั้นๆ ว่า
1.เคาเตอร์ ใส่ mask ด้วยค่ะ ใครจับบัตร สัมผัสอะไร
ที่ดูเป็นของมวลมหาชน เช่นว่า กดลิฟต์ ก็ขยันล้างมือ
ฟอกมือด้วยแอลกอฮอล์ ให้มากขึ้นนะคะ
2.จากข้อแรก ก็ควรตั้งขวดแอลกอฮอล์ฟอกมือให้มากขึ้น
3.ติดตามข่าว ซึ่งเขาให้เป็นข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข
อันนี้แปะเอาอาการไว้ให้ (ตัดมาจากที่ประชุม รพ. แจก)
4. เคาเตอร์ทันตกรรมมักจะไม่มีวัดอุณหภูมิร่างกาย
ถ้าสงสัยหรือคนไข้ ไอจามใดๆ
ก็แนะนำให้เขาไปพบแพทย์ก่อนนะคะ
อย่าอาย อย่าประมาท--กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ
-เราเองก็ไม่ทำคนไข้ที่เป็นหวัด เพราะเวลามีน้ำในคอ
เขาจะไอ หรือยิ่งหายใจไม่สะดวก
และพอดีงานเราผ่าฟันคุดด้วย เราไม่ค่อยทำในคนที่ร่างกายไม่พร้อม
(คือจริงๆ เราทำแบบนี้อยู่แล้วค่ะ เลยสนับสนุน)
.
ขอบคุณการประชุมวันนี้ที่ทำให้เรานึกถึง OPD ทันตกรรมมากขึ้น
.
แปะไว้เท่านี้นะคะ ขอให้มีความสุขและสนุกในการทำงานช่วงนี้
รักษาสุขภาพกันเด้อค่า



Create Date : 12 ตุลาคม 2563
Last Update : 12 ตุลาคม 2563 2:45:38 น.
Counter : 415 Pageviews.

0 comments

สุขใจพริ้ว
Location :
บุรีรัมย์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



เป็นบันทึกเรื่องราวทั่วไป ตามที่ใจนึกอยาก
ของคนทำงานไกลบ้าน