space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
space
space
28 กุมภาพันธ์ 2561
space
space
space

24 ตุลาคม 2535


ผมมักจะคิดฝันเอาเองอยู่เสมอว่าปัจจุบันนี้ชีวิตชาวนาในชนบทของไทย “น่าจะ”มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในช่วงสมัยเมื่อ 10กว่าปีก่อน โดยเฉพาะช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2516-2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับความเป็นอยู่ของชาวนาไทย เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำมีการรวมกลุ่มของชาวนาไทย และกลุ่มสหภาพต่างๆ เกิดขึ้นมากมายกรณีการเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากรัฐบาล เนื่องจากถูกนายทุนขูดรีด ปัญหาการยึดที่ดินที่เป็นหนี้สินของชาวนาเกิดการแบ่งเป็นฝ่ายหนึ่งผู้ถูกกดขี่ กับอีกฝ่ายผู้กดขี่ หรือที่แบ่งให้เห็นกันชัดๆง่ายๆคือพวกซ้ายกับพวกขวาและตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของฝ่ายที่ถูกกดขี่คือกลุ่มนักศึกษานักวิชาการ นักเขียน และสื่อมวลชนเอียงซ้าย

เรื่อง “ตำบลช่อมะกอก” ของวัฒน์วรรลยางกูร เป็นนวนิยายเรื่องหนึ่งที่ถ่ายทอดสภาพสังคมในช่วงนั้นออกมาให้คนรุ่นผมได้รับรู้เป็นเรื่องของสภาพหมู่บ้านในตำบลช่อมะกอกที่ผู้เขียนจำลองขึ้นมาให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชนบทของไทยซึ่งประกอบด้วยประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่มีฐานะยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากความไม่ธรรมของระบบกลไกทางสังคม ที่กฎหมายคุ้มครองเพียงผู้ที่มีอำนาจแต่หาได้คลี่ขยายไปคุ้มครองถึงชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่

ผมในความรู้สึกส่วนตัวชอบงานเขียนของวัฒน์มากอย่างเรื่องนี้ผู้เขียนวาดภาพให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่มีการแบ่งฐานะชนชั้นอย่างชัดเจน คือฝ่ายผู้มีอำนาจอย่างท่านขุนเขมือบธรณี กับฝ่ายผู้ที่อยู่ใต้อำนาจคือชาวบ้านทั้งหมดเรื่องเริ่มจากการที่ชาวบ้านอยู่ในภาวะจำยอมต่อการถูกกดขี่โดยหาหนทางแก้ไขหรือดิ้นรนเพื่อความยุติธรรมของพวกตนไม่ได้จนมีชาวบ้านคนหนึ่งคือทิดชัย เป็นผู้ที่รับรู้ถึงปัญหาของพวกเขาเองและต้องการที่จะหาหนทางเพื่อความเป็นธรรมที่พวกเขาควรจะได้รับ เรื่องปูให้ทิดชัยเป็นคนมีการศึกษาพอสมควรและเคยมีพ่อเป็นคนที่ถูกกฎหมายบีบบังคับให้ตัวเองต้องหลีกลี้ออกนอกกรอบของกฎหมายกลายเป็นคนนอกส่งผลให้ชัยเป็นคนที่มีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ที่เคยประสบมาเป็นเวลานมนานเพื่อแผ่วถางหาทางที่จะพาไปสู่ “โลกใหม่”

เนื้อเรื่องต่อไปจึงเป็นการดิ้นรนต่อสู้ของชาวบ้านให้ตัวเองเป็นอิสระจากแอกที่ตัวเองถูกบังคับให้สวม และผู้ที่ร่วมต่อสู้ด้วยคือนักศึกษาจากในเมืองจนเกิดการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องหาความเป็นธรรมและพบกับความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่ยอมของผู้ที่มีอำนาจที่จะให้ประชาชนได้มีอิสระในที่สุดชัย ผู้นำในการต่อสู้ของชาวบ้านในตำบลช่อมะกอกก็พบกับจุดจบที่มิใช่การสิ้นสุดแต่เป็นจุดจบแห่งการเริ่มต้นเพื่อแสงตะวันใหม่ของผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหงทั้งมวล

เรื่องนี้วัฒน์ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามแนวทางของ “วรรณกรรมเพื่อชีวิต” คือค้นหาต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น และหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าเขาสามารถวาดภาพและแต่งแต้มบรรเลงสีสันให้ชาวบ้านในตำบลช่อมะกอกดูแล้วมีชีวิตมีเลือดมีเนื้อรู้สึกตลกอย่างขมๆ กับวิถีชีวิตของพวกเขา ผู้เขียนมีอารมณ์ขันเติมใส่เข้าไปในเรื่องในส่วนของช่วงแรกๆและอีกอย่างคือเขาสามารถสร้างบรรยากาศของหมู่บ้านชาวตำบลช่อมะกอได้อย่างชัดเจนและน่าประทับใจ

แต่ส่วนในช่วงหลังที่ผู้เขียนพยายามหาหนทางแก้ไขโดยให้ตัวนักศึกษาคือ “นิด” เข้ามาถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ทำให้มีลักษณะที่แข็งกระด้างและจงใจจนเกินไปความงดงามที่สร้างไว้ในช่วงแรกจึงถูกลดทอนไปด้วยการเพิ่มส่วนของการเรียกร้องและการต่อสู้ของชาวบ้านเข้ามาแทนที่ความมีชีวิตชีวาของเรื่องจึงขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย

หลังจากอ่านจบแล้วผมกลับมาคิดเองถึงบ้านเมืองทุกวันนี้ ว่าความฝันของผมที่วาดไว้เองว่าชีวิตชาวนาในชนบทของไทย“น่าจะ” มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มันเป็นจริงหรือ?เรายังจะต้องเรียกร้องเพื่อหาความเป็นธรรมอีกหรือไม่?




Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2561 16:52:40 น. 0 comments
Counter : 844 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4071225
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4071225's blog to your web]
space
space
space
space
space