space
space
space
<<
กรกฏาคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
19 กรกฏาคม 2563
space
space
space

บันทึกจากการอ่าน “ช่างสำราญ” ของเดือนวาด พิมวนา ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2546
ผมจำได้ว่าเคยอ่านเรื่องสั้นของนักเขียนผู้นี้มาเรื่องหนึ่งจำชื่อเรื่องไม่ได้ เป็นเรื่องของผู้หญิงที่ถูกผู้ที่อ้างความน่านับถือหลอกหลวงทางเพศ ดูออกจะเป็นเรื่องที่หนัก แต่เมื่อมาอ่านนิยายเรื่องนี้ของผู้เขียนแล้ว เห็นความเป็นวุฒิภาวะในการเขียนหนังสือ ชีวประวัติของเธอบอกว่าอายุราว 35 ปี เพราะในเรื่องนี้สามารถถ่ายทอดชีวิตของชุมชนที่มีฐานะยากจน โดยมีตัวละครเอกคือเด็กที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งเป็นแกนกลางของเรื่อง นำเอาเรื่องปัญหาสังคมที่อาจจะดูหนัก แต่มาเล่าได้อย่างมีชีวิตชีวา (ดูเป็นจริง) และมีอารมณ์ขันแทรกอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรื่องดูน่าติดตาม
          ผู้เขียนวางโครงเรื่องแบ่งเป็นบทโดยมีชื่อเรื่องแต่ละบท และจะเป็นคล้ายเรื่องสั้นที่จบในบท แต่ก็มีส่วนร้อยเชื่อมโยงกันตลอดทั้งเรื่อง รายละเอียดการพิมพ์บอกว่าผู้เขียนเริ่มเขียนทยอยลงในนิตยสาร ก่อนมารวมเป็นเล่มทีหลัง ดังที่ว่าประเด็นของเรื่องก็เป็นปัญหาสังคมร่วมสมัย หรืออาจจะเป็นปัญหาที่อยู่คู่กันมากับครอบครัวที่มีฐานะยากจน ที่มักจะต้องทำงานดิ้นรนหาเลี้ยงชีพเพื่อเอาตัวรอด จนบางครั้งก็ไม่สามารถประคองความเป็นครอบครัวไว้ได้ แต่ในความเป็นชุมชนที่มีฐานะใกล้เคียงกัน กลับมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นครอบครัวใหญ่กว่าขึ้นมา ที่ช่วยประคับประคองครอบครัวย่อยที่แตกสลายของชุมชน ตัวละครหลักก็คือ กำพล ช่างสำราญ เด็กอายุ 5 ขวบที่พ่อแม่แยกทางกัน แต่ก็ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากชุมชน และมีกลุ่มเพื่อนได้ช่วยคลายเหงา ในบทเกริ่นนำผู้เขียนกล่าวถึงบ้านหลังใหญ่ที่รู้สึกจะเป็นเจ้าของบ้านเช่าและที่ดินของชุมชน โดยมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเฝ้ามองชุมชนแห่งนี้ด้วยความสนใจใคร่รู้อยู่ไกล ๆ ซึ่งก็คงจะคล้าย ๆ กับวิธีการเล่าเรื่องของผู้เขียนที่จะผูกเหตุการณ์ขึ้นในแต่ละบท โดยที่แทบจะไม่มีการแสดงความรู้สึกนึกคิดต่อเหตุการณ์นั้น ๆ จากตัวผู้เล่าเรื่อง แต่เป็นการให้เหตุการณ์ในแต่ละบทเป็นตัวเล่าเรื่องของมันเอง กล่าวคือผู้เขียนไม่ได้แสดงความคิดเห็นไปตรง ๆ ว่าปัญหาของตัวละครเกิดจากอะไร และเสนอทางแก้ปัญหาเหล่าอย่างเป็นสูตรสำเร็จ ผู้เขียนวางตัวเป็นกลางต่อเหตุการณ์และให้ตัวละครต่าง ๆ แสดงปมปัญหาของตนออกมา โดยมีการคลี่คลายที่จบไปเองในแต่ละบท ทำให้บางครั้งการเผชิญปัญหาและแก้ปัญหาของตัวละครที่เป็นเด็กบางส่วนดูออกจะชาญฉลาดเกินวัยอยู่บ้าง แต่เพราะผู้เขียนสามารถสร้างและผูกเรื่องราวให้มันถ่ายทอดปมปัญหาของแต่ละเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องยัดแนวคิด ทื่อ ๆ ให้กับผู้อ่าน นับว่าเป็นการเขียนที่ต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์อย่างสูง ที่จะสร้างวรรณกรรมเช่นนี้ขึ้นมาได้
          นิยาย “ช่างสำราญ” ถือเป็นงานเขียนที่ให้กำลังใจกับผู้ที่ต้องประสบปัญหาชีวิต แต่ก็ไม่ได้ท้อแท้ โดยมีกำลังใจจากผู้อื่นคอยช่วยเหลือ ซึ่งก็อาจจะออกเป็นแนวโรแมนติกอยู่ ในสภาพความเป็นจริงในสังคม อย่างไรก็ตามสังคมที่แห้งแล้งการมีน้ำใจช่วยเหลือกัน ก็ยังจำเป็นจะต้องเสพวรรณกรรมประเภทนี้ เพื่อให้เป็นการรื้อฟื้นจิตใจในด้านมนุษยธรรมของตนขึ้นมาบ้าง และต่อเติมให้มีความสูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป...
 


Create Date : 19 กรกฎาคม 2563
Last Update : 19 กรกฎาคม 2563 14:42:20 น. 0 comments
Counter : 853 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4071225
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4071225's blog to your web]
space
space
space
space
space