ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

เชิญชวน”งานฉลองวัดรั้วเหล็ก (วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร)” วันเสาร์ที่ ๑๒-อาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖



เครดิต Pongkwan Lasu และ Love kadeejeen

กำหนดการเทศกาลศิลป์สามท่า: ศิลป์ออกเสียงสำเนียงนานาชน (คนฝั่งขะนี้)

วันเสาร์ที่๑๒-อาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

วันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

๑๘.๓๐ น. การเสวนาเรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า๑๘๕ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

-พระราชปฏิภาณมุนี (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร)

-พลเรือตรี ทันตแพทย์ ตติย บุนนาค (นักประวัติศาสตร์บุคคลตระกูลบุนนาค)

-ร้อยตรีชิตวีร์ บุนนาค (ลูกหลานสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่)

-คุณธนธรณ์ ธงน้อย (ชาวชุมชนวัดประยุรวงศ์)

-ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ (หัวหน้าโครงการอนุรักษ์ย่านกะดีจีน-คลองสาน)

ดำเนินรายการโดยคุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต (ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี)

๑๙.๔๕ น. การแสดงดนตรี “ออกภาษาตอนที่ ๓ : แขกมอญบางช้าง”

โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากำกับการ

แสดงโดย ผศ.โดม สว่างอารมณ์

๒๐.๑๕ น. การแสดง “สักวากลอนสดออกตัวแสดงเรื่อง สามัคคีเภท”

วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

๐๘.๐๐ น. ลงทะเบียนทัศนจรณ บริเวณหน้าศาลา ๑ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. ทัศนจรตอนที่๓ “วัดรั้วเหล็ก : กาแฟน้ำตาล และการแพทย์”

นำโดย อ.จุลภัสสร พนมวัน ณอยุธยา (อ.นัท) และคุณเกริกเกียรติ ไพบูลศิลป์ (ชมรมสยามทัศน์)

หมายเหตุ :: ผู้ที่สนใจกิจกรรมทัศนจรนี้ สามารถลงทะเบียนโดย Email ชื่อ-สกุล-เบอร์โทรติดต่อของท่าน ไปยังคุณปริญญาพรที่ p.srivoranant@gmail.com ภายในวันศุกร์ที่ 11 ม.ค.56 เวลา 16.00 น.

รับจำนวนจำกัด 30 ท่านนะคะ โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่08-3302-0660

๑๘.๓๐ น. ชมการแสดงวัฒนธรรมบันเทิง ณลานพระบรมธาตุมหาเจดีย์

หมายเหตุ : การประดับแสงไฟและนิทรรศการว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกศิลปะสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ (อาทิพระบรมธาตุมหาเจดีย์ เขามอ) จะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑๑-๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร




ทัศนจรตอนที่ ๓ “วัดรั้วเหล็ก : กาแฟ น้ำตาล และการแพทย์”

หมายเหตุ :: ผู้ที่สนใจกิจกรรมทัศนจรนี้ สามารถลงทะเบียนโดย Email ชื่อ-สกุล-เบอร์โทรติดต่อของท่านไปยังคุณปริญญาพรที่ p.srivoranant@gmail.com ภายในวันศุกร์ที่ 11ม.ค.56 เวลา 16.00 น. 





ท่านใดที่สนใจ ร่วมเป็นเครือข่าย ศิลปวัฒนธรรม เพื่อปกป้องมรดกเมือง มรดกของเรา อนุรักษ์สืบสานสิ่งดีๆ ตลอดจนเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนไม่ให้สิ้นลมหายใจ จากประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติศาสตร์ชาติไทย เข้าไปกด like ที่ Facebook“Urban Heritage – มรดกเมือง มรดกของเรา” ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/UrbanHeritageThai





 

Create Date : 10 มกราคม 2556    
Last Update : 10 มกราคม 2556 12:04:10 น.
Counter : 3545 Pageviews.  

ท่องเที่ยววิถีถิ่น ร่วมสัมผัสบรรยากาศย่านบ้านบุ และชุมชนโบราณในบางกอกน้อย



คิดดี ทำดี ต้องทำจริงและทำต่อเนื่อง

ครั้งนี้ชาวบ้านบุรวมพลังชุมชนพึ่งพาตนเอง

ประกาศจัด “งานฟื้นตลาดวัดทองของอร่อย ครั้งที่ ด้วยตนเอง

เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมจึงขอเชิญชวนเชิญ

ร่วมสัมผัสบรรยากาศย่านบ้านบุและชุมชนโบราณในบางกอกน้อย

ในกิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น ครั้งที่ 21

ตอน “เที่ยวตลาด ชิมขนม ชมอดีต ”

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2556

- เดินเตร่ตรอกเที่ยวชมชุมชนเก่าแก่บ้านข้าวเม่า , บ้านบุ, มัสยิดหลวง

และแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจย่านปากคลองบางกอกน้อยวัฒนธรรม

- ชมการทำข้าวเม่าหมี่, กระยาสารท, ชิมอาหารอร่อยฝีมือชาวบ้านบุในบรรยากาศตลาดวัดทองตลาดไม้โบราณแห่งเดียวในกรุงเทพฯ

- เที่ยวงานออกร้านอาหารมุสลิมเพื่อการกุศลของชาวมัสยิดหลวง อาทิข้าวหมกสามสี ,ซาโมซา, เนื้อสะเต๊,ไก่ย่าง ฯลฯ

สุดยอดความประทับใจกับสาธิตการเห่ และการฝึกฝีพายเรือพระราชพิธีจากนักเห่อันดับหนึ่งของเมืองไทย นาวาโท ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ”หัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี ผู้ขับขานบทเห่เรือในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งที่ผ่านมา

ครั้งนี้ จึงขอแรงหนุนส่งกำลังใจให้ชาวบ้านบุที่ลุกขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มจัดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง

รับจำนวนจำกัด ชำระค่าลงทะเบียนท่านละ 150 บาท

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมสาธิตการทำขนมการเห่เรือ วิ่งม้าแก้บน, ค่าขนมไทยโบราณ ,เครื่องดื่ม, ค่าตอบแทนวิทยากรท้องถิ่น, ค่าของที่ระลึกแก่สถานที่เยี่ยมชม, ค่าแบ็ตเตอร์รี่เครื่องกระจายเสียง, ค่าใช้จ่ายการประสานงานล่วงหน้า (พาหนะ, อาหารเจ้าหน้าที่) ฯลฯ

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่คุณศิริวรรณ 083 – 044 - 3203

หรือที่อีเมล์ TOURSOCIETY@GMAIL.COM

โดยโอนเงินเข้าบัญชี นายอนุชาเกื้อจรูญ เลขที่ 119-0949-253

ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางกอกน้อย

ภายในวันที่ 2 มกราคม 2556

และกรุณาแจ้งการโอนเงินที่คุณศิริวรรณพร้อมนำหลักฐานการโอนมาแสดงในจัดกิจกรรม

ดำเนินการ โดยเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ร่วมกับ/คณะกรรมการชุมชนบ้านบุ

และ กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร


ท่านใดสนใจแนวทาง หรือมีข้อเสนอแนะสามารถติดต่อตรงกับทางเครือข่ายผ่านทาง Fan Page ตามลิ้งก์นี้ครับ....https://www.facebook.com/thaitourismsociety







 

Create Date : 28 ธันวาคม 2555    
Last Update : 28 ธันวาคม 2555 8:25:19 น.
Counter : 2148 Pageviews.  

ทริปจักรยาน ผ่านคลองประวัติศาสตร์ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่เกิดขึ้นง่ายๆ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุน



ภาพมุมสูงคลองประวัติศาสตร์3 คลองรอบเกาะรัตนโกสินทร์ คือ คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม


ผมว่าทริปแบบนี้ น่าจะเป็นที่น่าสนใจกับบุคคลทั่วไปน่ะครับยิ่งในยุค Social Media การทำกิจกรรมยิ่งน่าจะส่งเสริมชุมชนส่งเสริมภาพลักษณ์สถานที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งเราไม่ต้องลงทุนอะไรเลยเพียงแต่โปรโมตสถานที่ ว่ามีอะไรบ้าง ส่วนนักปั่น จักรยาน (หรือจะเดินก็ได้)ก็เข้าไปชมกันเอง แน่นอนทีเดียว ต้องมีการเก็บภาพเป็นที่ระลึกเผยแพร่ในทุกมุมมองของสถานที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้อย่างแน่นอนซึ่งย่อมเป็นผลดีในทุกด้าน เพราะกิจกรรมการปั่นจักรยาน หรือ กิจกรรมการเดินก็คือการออกกำลังกายนี่เอง เป็นแนวทางของเมืองสีเขียว อย่างชัดเจนที่ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง แถมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพก็จะดีไม่มีโรคภัยอีกต่างหาก

วันนี้ เอาภาพ คลองประวัติศาสตร์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ 3 คลองถ่ายจากมุมสูง คือ คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม มาให้ผู้ชมกันครับเผื่อผู้รับชอบบ้านเมืองจะสนับสนุนการจัดกิจกรรม ปั่นจักรยาน แบบนี้......ภาพจากหนังสือสมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๒๐ ปี..

หมายเหตุ : ภาพเปรียบเทียบ ไม่ใช่ภาพมุมมองเดียวกัน 100%ครับ

หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านที่เกี่ยวข้องคงเล็งเห็นประโยชน์ในทุกๆ ด้านทั้งภาพลักษณ์สถานที่ประวัติศาสตร์ ทั้งตัวชุมชนทั้งกิจกรรมส่งเสริมการใช้จักรยาน ส่งเสริมการเดิน ส่งเสริมการออกกำลังกายเพราะเมื่อคนอยากมาเที่ยว มาชม ก็เกิดแรงกระตุ้น ที่จะออกกำลังกายกันครับ(เป็นการส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยานทางอ้อม) และทั้งทางด้านการท่องเที่ยวที่จะสร้างเม็ดเงินให้กับชุมชนด้วยน่ะครับ...




ภาพถ่ายมุมสูงเก่า-ใหม่ของคลองคูเมืองเดิมครับ

เครดิตภาพ ; ภาพจากหนังสือสมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๒๐ ปี


คลองคูเมืองเดิม : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

คลองคูเมืองเดิม (อังกฤษ: Khlong Khu Mueang Doem) เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรีซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนครโดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทินตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลองแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนครโปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานีคลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป

ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่นปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง"ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก"ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม)กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า"คลองหลอด" ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสองแต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า "คลองหลอด"ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง

เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีรัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525ให้เรียกชื่อคลองให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า"คลองคูเมืองเดิม"




ภาพถ่ายมุมสูงเก่า-ใหม่ของคลองรอบกรุงครับ ช่วงที่เห็นในภาพจะเป็นคลองบางลำพูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ครับ

เครดิตภาพ ; ภาพจากหนังสือสมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๒๐ ปี


คลองรอบกรุง : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

คลองรอบกรุง (อังกฤษ: Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร

ในครั้งนั้นพระนครฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นแหลมโค้งมีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ส่วนด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดิน ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจึงมีสัณฐานคล้ายเกาะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรีเพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำพู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม ยาว 85 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก พระราชทานนามว่า"คลองรอบกรุง"

ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างตามสถานที่ที่คลองผ่านเช่น ตอนต้นเรียก "คลองบางลำพู" ตามชื่อตำบล เมื่อผ่านสะพานหันเรียก"คลองสะพานหัน" เมื่อผ่านวัดเชิงเลน เรียก "คลองวัดเชิงเลน"และช่วงสุดท้ายเรียก "คลองโอ่งอ่าง"เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีนเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า"คลองรอบกรุง"




ภาพถ่ายมุมสูงเก่า-ใหม่ช่วงของคลองผดุงกรุงเกษมครับ

เครดิตภาพ ; ภาพจากหนังสือสมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๒๐ ปี


คลองผดุงกรุงเกษม : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

คลองผดุงกรุงเกษม (อังกฤษ: Khlong Phadung Krung Kasem) เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอกขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุงควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่งโดยขุดถัดจากคลองรอบกรุงออกไปทางชานพระนครเริ่มขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง)ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพงตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยาคลองนี้ขุดเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ได้รับพระราชทานชื่อว่า"คลองผดุงกรุงเกษม"

คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาคซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่านวัดมหาพฤฒาราม(เดิมเรียกว่า วัดท่าเกวียน) ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตร





 

Create Date : 14 ธันวาคม 2555    
Last Update : 14 ธันวาคม 2555 22:42:34 น.
Counter : 2797 Pageviews.  

กิจกรรม ชวนปั่นจักรยาน เรียนรู้ย่านปทุมวัน เมื่อวันวาน กับ เครือข่ายการท่องเที่ยวประชาสังคม



อ้างอิง @Rapee Tor ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/photo.php?fbid=426369747428565&set=a.246018572130351.55713.245979795467562&type=1&theater

Copy//เชิญร่วมงาน Siam Street Fest

ปั่นจักรยานเรียนรู้ เพลิดเพลิน กับเรื่องราวสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าในย่านปทุมวัน

กับกิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น ครั้งที่ 20

ตอน “ปทุมวันเมื่อวันวาน .....การก้าวผ่านสู่อารยะ”

...ในวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555

กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยว

07.30 น. ชาวจักรยานพร้อมกันที่ ลานด้านหน้า วัดปทุมวนารามด้านประตูทางเข้า ถนนพระราม ๑ /

ลงทะเบียน

08.00 น. ชม วัดปทุมวนาราม สักการะพระเสริมพระพุทธรูปล้านช้างองค์สำคัญในสิบองค์ แห่งอาณาจักร

ล้านช้าง ฟังตำนานพระเสริม พระสุก และพระใสชมจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง เซียงเมี่ยง (ศรีธนนชัย

เมืองลาว) ชมและสักการะ เจดีย์ครึ่งซีก ที่บรรจุพระอังคารสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จย่า

09.15 น. เดินทางถึง สนามกีฬาแห่งชาติฟังเรื่องราวของวังกลางทุ่ง และชื่อหอวัง / ชมสถาปัตยกรรมยุค

คณะราษฎรที่สนามศุภชลาศัย และเรื่องราวของการแข่งกีฬาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์

10.15 น. ขบวนจักรยาน เดินทางถึง สถานเสาวภา หรือปรารุตสถานแห่งสภาอุณาโลมแดง ชมพิพิธภัณฑ์

แสดงสายพันธ์งูเขตร้อน ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซียศึกษาขั้นตอนการทำงานและวิธี

ป้องกันและปฐมพยาบาลจากพิษสัตว์ร้าย /ชมการสาธิตการจับและรีดพิษงูชนิด

ต่างๆ และถ่ายรูปกับงูเหลือมขนาดใหญ่(ค่าบัตรผ่านประตูบำรุงสภากาชาดไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท

เด็ก 20 บาท)

12.00 น. อาหารกลางวันที่ ตลาดสวนหลวง ปทุมวัน

กิจกรรมแรลลี่

13.00 น. พร้อมกันที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบริเวณสนามหญ้าหน้าหอประชุมจุฬา

ร่วมสักการะพระบรมราชานุเสาวรียสมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีราชเจ้า / ฟัง

เรื่องราวการก่อกำเนิดของจุฬาฯ / ชมสถาปัตยกรรมและความหมายพื้นที่รอบหอประชุมจุฬา

13.30 น. กล่าวต้อนรับ โดยผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /ขบวนจักรยานเคลื่อนสู่ สยามสแควร์

14.00 น. ถึง ลานกิจกรรม หน้าร้านฮาร์ดร็อคคาเฟ่ สยามแสควร์

14.00 น. ร่วมสนุกกับกิจกรรม “แรลลี่ตามล่าหาความหมาย”ร่วมค้นหาเรื่องราว แง่มุมที่น่าสนใจ

ของสยามสแควร์

15.30 - 16.30 น. ส่งผลการแข่งขัน / รับของที่ระลึก

กิจกรรมงาน Siam Street Fest

(ลานหน้า Hard Rock Cafe สยามสแควร์)

16.30 – 24.00 น. เที่ยวงาน Siam Street Fest ชมการแสดงนานาชาติตามท้องถนน ,กายกรรมบนยอดเครน

สูงระฟัา / ร่วมสนุกกับกองทัพ “ Street Apple Show " จากทั่วทุกมุมโลก / ชมมหกรรมคอนเสิร์ต

จากศิลปิน แถวหน้าของเมืองไทย / และช๊อปกระหน่ำกับขบวนพาเหรดสินค้าแฟชั่น

*****************************************

สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ได้ที่ เฟสบุ๊ค //www.facebook.com/BangkokBicycle

(เริ่มลงทะเบียน ได้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2555 หลัง 18.00น. เป็นต้นไป)

ดำเนินงาน โดย เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม /

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดูเพิ่มเติม




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2555    
Last Update : 14 ธันวาคม 2555 13:38:52 น.
Counter : 1779 Pageviews.  

ทริปสัญจรวันที่ ๒ (๙ ธ.ค.๕๕) ถนนคนเดินย่านบางลำพู กับเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

เขียนบล็อก เล่าตามภาพทริปสัญจรสั้นๆ ของเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เป็นงานถนนคนเดิน “งานปิดถนนพระอาทิตย์ งานรำลึกรัตนโกสินทร์ 230 ปี” มีภาพมากมาย ความจริงที่ย่านบางลำพูนี้ ยังมีสถานที่อีกมากมาย ที่ไม่ปรากฏในอัลบั้มนี้ เนื่องด้วยช่วงเวลากิจกรรมจำกัด ภาพที่เห็นจึงมีแค่พอสังเขปครับ...หวังว่าในอนาคตอันใกล้ หน่วยงาน หรือท่านที่เกี่ยวข้อง จะสามารถประมวลเนื้อหาผนวกกับสถานที่ประวัติศาสตร์ให้เป็นเนื้อเดียวกันครับ รวมทั้งรูปถ่ายเก่า-ใหม่ ที่เท่ห์ๆ ชวนคลาสสิค นำมาประยุกต์ เพิ่มมูลค่าให้สถานที่ใจกลางพระนครแห่งนี้ รวมทั้งจุดอื่นๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายทีเดียว....
เข้าเนื้อหาตามภาพกันเลยดีกว่า (ขอขอบคุณ เนื้อหาพร้อมภาพทั้งหมด ที่ผมได้รับอนุเคราะห์จากคุณ Rapee Tor คุณต่อ...เจ้าหน้าที่ประสานงานจากกองการท่องเที่ยว สังกัดกรุงเทพมหานคร มา ณ ที่นี้ครับ) ตามลิ้งก์อัลบั้มอ้างอิง //www.facebook.com/media/set/?set=a.493455647361804.114943.100000921193824&type=1




งานปิดถนนพระอาทิตย์ วันที่สอง ผู้คนเริ่มรับรู้ และให้ความสนใจกับการเรียนรู้บางลำพูชวนกันมากว่าสี่สิบคนได้ วันนี้มีน้องๆ อาสาสมัครวัฒนธรรมในย่านบ้านบุ จากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมกว่า ๑๐ คน ที่ชักสนใจติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน




ปากคลองบางลำพู จุดเริ่มต้นของคูพระนครตอนเหนือ ปัจจุบันถูกปิดตายมากว่าสามสิบปีแล้ว




ฝั่งตรงข้ามป้อมพระสุเมรู คือชุมชนวัดสังเวช ถือเป็นชุมชนนอกพระนครในยุคอดีต




อาคารโรงพิมพ์คุรุสภา ออกแบบโดยพระสาโรจน์รัตนนิมมาน
สถาปนิกเอกของไทย ผู้ที่ออกแบบอาคารไปรษณีย์กลางบางรัก
วันนี้อาคารยังคงยืนหยัดอย่างมั่นคงแข็งแรง ยุคนั้นคนยังละอายต่อการทำชั่ว ไม่โกงบ้านโกงเมือง




เดินข้ามสะพานฮงอุทิศ ที่สร้างโดยยี่กอฮง หรือพระอนุวัตรราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อไปยังวัดสังเวช




ถึงบ้านดุริยประณีต บนถนนลำพู แหล่งตักกศิลาทางการดนตรีไทย




ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ผู้ถ่ายทอดวิชาการดนตรีไทย ถวายแด่สมเด็จพระเทพฯ




ศิษย์ตัวน้อยกำลังฝึกการตีระนาด ที่ทางบ้านดุริยประณีตเปิดสอน ค่าเรียน ๕๐๐ บาท คุ้มมากมาย




เรียนไทยยุคสุดท้ายของบางลำพู ย่อขนาดลง ปรับตัวให้สอดคล้องกับชุมชนที่ขยายตัว ออกมาทางตอนเหนือ
ของพระนคร ตามแนวถนนสามเสน เชื่อมต่อไปยังวังสำคัญ ย่านบางขุนพรหม ย่านเทเวศร์




ไถ่กี่ ร้านค้าของทันสมัยของชาวบางลำพู ร้านประเภทนี้มักสอดแทรก อยู่ในย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ
ในยุครุ่งเรือง อาทิ แถบบางลำพู บางรัก นางเลิ้ง วังบูรพา




เดินเลียบคลองบางลำพู มุมมองที่คนมักมองข้าม




ช่วยกันฟื้นฟูคลองมาสองปี วันนี้มีปลาเต็มคลอง




กลุ่มนี้เฮตลอด.... ฟังที่เล่าไปบ้างไม๊เนี่ย




เจอร่องรอยตลาดเก่าแอบซ่อนอยู่ริมคลอง เมื่อครั้งที่ปากคลองยังไม่ถูกปิด คงรุ่งเรือง คึกคักน่าดู




สะพานเฉลิมวันชาติ สร้างขึ้นในปี ๒๔๘๓ ในโอกาสเดียวกับการเปิดอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย
โดยในอดีตวันชาติกำหนดเป็นวันที่ 24 มิถุนายน อันเป็นวันที่คณะราษฎรก่อการปฏิวัติสยามใน พ.ศ. 2475
โดยเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2481
ต่อมาใน พ.ศ. 2503 จึงเปลี่ยนไปเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย
ตามอย่างประเทศราชาธิปไตย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ปีนี้ผู้คนมากมายร่วมแสดงความจงรักภักดี
แต่ทำไมบรรยากาศการตกแต่งเมือง งานเฉลิมฉลองกลับทำให้เงียบเหงา ใครช่วยตอบที




พระอุโบสถเก่าวัดรังษีสุทธาวาส ที่สร้างขึ้นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ ซ่อนตัวอยู่ในวัดบวรนิเวศ
หลังจากมีการยุบรวมเข้ากับวัดใหม่ที่สร้างขึ้น โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
ในช่วงรัชกาลที่ ๓ได้นามใหม่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร" มีความหมายว่า ที่อยู่ของอุปราช
ด้วยรัชกาลที่ ๓ ต้องการประกาศให้ชนทั่วไป ล่วงรู้ถึงพระราชประสงค์ที่จะถวายราชบังลังก์
ให้กับพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เป็นผู้สืบสันติวงศ์ต่อไป




เทวดาจีนที่ประดับอยู่ประตูทางเข้าวัดบวรนิเวศ ด้านทิศเหนือเป็นรูปเสี้ยวกาปากดำ
ที่คนโบราณมาบนบานขอโชคลาภ และมักถวายฝิ่นดิบป้ายที่ปาก หรือนำโอยั้วที่คนจีนชอบมาถวาย




ผังวัดบวรนิเวศ แสดงที่ตั้งอาคาร สถานที่ รวมถึงเขตสังฆาวาส อันปรากฏชื่อคณะเหลืองรังษี คณะเขียงรังษี
บ่งบอกถึงอาณาบริเวณวัดรังษีฯ เดิมในอดีต


ชมวีดีโอ ย้อนอดีตไปเมื่อหลายปีก่อนครับ เกี่ยวกับความร่วมมือของ ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรมย่านบางลำพู



ตัวอย่างดีๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาคมที่เข้มแข็ง...
ร่วมกันฟื้นฟูสภาพคลอง สภาพน้ำในคลองประวัติศาสตร์ คลองบางลำพู...บัดนี้สภาพน้ำ ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ มีปลามาแหวกว่ายแล้ว...
ภาพนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรมย่านบางลำพู ร่วมกับหน่วยงา
นทุกภาคส่วน ทั้งเอกชน เจ้าหน้าที่ราชการ คนในชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร รวมทั้งเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ...


ท่านใดสนใจแนวทาง หรือมีข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อตรงกับทางเครือข่ายผ่านทาง Fan Page ตามลิ้งก์นี้ครับ.... https://www.facebook.com/thaitourismsociety




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2555    
Last Update : 12 ธันวาคม 2555 13:44:57 น.
Counter : 3430 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.