ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราควรรื้อระบบผังเมือง ให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงกฎหมายควบคุมผังเมือง ใช้ที่ดินให้ทันสมัย



ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรรื้อระบบผังเมือง ให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงกฎหมายควบคุมผังเมืองใช้ที่ดินให้ทันสมัย


เกริ่นนำ

ด้วยความเป็นห่วงเนื่องจากผมก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งได้รับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ และสื่อออฟไลน์เรื่อง การจัดการผังเมืองของไทย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พออ่านดูหลายๆบทความที่ไม่เข้าใจก็คือ ความชัดเจนของหน่วยงาน ในการแก้ไขปัญหาและการใช้งบประมาณมหาศาลไปทำอะไร ซึ่งในบทความนี้ เราจะมองเห็นได้เลยว่า “ใช้เงิน ใช้งบประมาณ”กันเป็นอย่างไร ซึ่งตามที่อ่านจากข่าวเดลินิวส์ และบน Facebookของท่านผู้รู้จริง จะเห็นได้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยยังไม่มีมาตรการจัดการผังเมือง ซึ่งก็น่าเป็นห่วง ...เราลองมาช่วยกันคิดครับ จะ “กระตุ้น”หน่วยงานเหล่านี้กันอย่างไร -จากผู้เขียนบล็อกเผยแพร่ ...(เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์)

เข้าสู่บทความครับ

อ้างอิงบทความสั้นๆบนโพสต์ใน Facebook ของสมาคมการผังเมืองไทย(ตามลิ้งก์) ที่

อ้างอิงมาจากเดลินิวส์ เมื่อวันที่26 มีนาคม 2556

//www.facebook.com/photo.php?fbid=528808143825232&set=a.525664784139568.1073741832.524047510967962&type=1&theater

Copy//นักวิจัยจุฬาชี้รัฐใช้งบแก้ปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำไปแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท แต่กลับไม่มีมาตรการจัดการผังเมือง อนาคตเผยหากเกิดภัยพิบัติอีกครั้งจะเสียหายมากกว่าเดิมถึง30 เท่าตัว !!!

และอ้างอิงมาจากเดลินิวส์ตามลิ้งก์ ขอขอบคุณข้อมูลทุกฝ่ายที่ผมนำมาอ้างอิงด้วยครับ

//www.dailynews.co.th/technology/193240

copy//วันนี้(26 มีนาคม) ที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง“รื้อผังเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน“ โดยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าตนได้ร่วมมือกับทางคณะอนุกรรมาธิการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการน้ำวุฒิสภา ทำการศึกษากรณีมหาอุทกภัยปี 2554กับการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่ามหาอุทกภัยครั้งดังกล่าวเป็นเหตุการณ์พิบัติภัยครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และได้สร้างความเสียหายประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ในปี2554ของประเทศลดลงถึง 3.1%และหากเปรียบเทียบกับพิบัติภัยที่ทำความเสียหายมากที่สุดกับประเทศต่างๆของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 เป็นต้นมาพบว่า มหาอุทกภัยของไทยปี2554 จัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลกที่ทำความเสียหายมากที่สุด ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยได้ความเสียหายมากจากน้ำท่วมครั้งนี้ เพราะในอดีต 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ไม่ได้มีการเตรียมระบบการป้องกันน้ำท่วมขนาดใหญ่ไว้ อีกทั้งมีการขยายตัวของชุมชนเมืองในลุ่มน้ำท่วมถึง อย่างมากมาย

ศาสตราจารย์ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า จากผลการศึกษางบประมาณที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 พบว่าประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้นกว่า 8 แสนล้านบาท(รวมงบประมาณ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท )ซึ่งเป็นงบประมาณลงทุนการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต รวมถึงไม่มีการบังคับใช้กฎหมายใด ๆที่จะสามารถควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศได้

ทั้งนี้หากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้มีแนวโน้มก่อให้เกิดพิบัติภัยขนาดใหญ่ของประเทศมีมากขึ้นปัญหาผังเมืองของประเทศ ไม่สามารถแก้ไขได้และระบบบริหารจัดการเพื่อการลดความเสี่ยงภัยของน้ำท่วมที่ไม่เหมาะสมแล้ว จะส่งให้มหาอุทกภัยในอนาคตมีผลกระทบต่อประชาชนและเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมากกว่าน้ำท่วมในปี2554 ถึง 30 เท่าตัวหรือประมาณมูลค่าความเสียหายมากถึง 30ล้านล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2613

ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ได้ตั้งข้อสังเกตต่างๆ ไว้ 5 ข้อดังนี้ คือ

1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งก่อนและหลังเกิดวิกฤติการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 ประเทศไทยได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหา ไปแล้ว กว่า 8 แสนล้านบาท การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมส่วนใหญ่เน้นมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นหลักแต่พบว่าไม่มีมาตรการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตเพื่อการแก้ไขป้องกันและลดความเสียหายของประชาชนอันเกิดจากน้ำท่วมในระยะยั่งยืน

2. ปัญหาผังเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำท่วมมีความรุนแรงและเสียหายมากขึ้นทั้งนี้มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองของประเทศ มักเน้นการใช้เฉพาะปัจจัยศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก แต่ปัจจัยศักยภาพด้านกายภาพและมาตรฐานความเสี่ยงของพิบัติภัยภัยแทบไม่ได้ใช้เลยเช่น แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเป็นต้น

3. ประเทศไทยควรจะมีแผนแม่บทการพัฒนาเมือง(Regional Urban Planning) ในลุ่มน้ำท่วมถึงทั่วประเทศเพื่อลดความเสียหายของน้ำท่วมต่อชุมชนและเมืองในอนาคต

4. ขนาดพิบัติภัยน้ำท่วมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา(Dynamic) ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ประเทศไทยต้องเพิ่มระดับมาตรฐานการลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วมของประเทศให้มีขนาดที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับโอกาสความเสี่ยงการเกิดพิบัติภัยซึ่งมีแนวโน้มจะมีขนาดใหญ่ขึ้น(ผลจากความแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต)โดยเฉพาะควรเน้นการใช้มาตรการผังเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นหลักในระยะยั่งยืนและ

5. ควรมีการรื้อระบบผังเมืองของประเทศให้มีประสิทธิภาพควรปรับปรุงกฎหมายควบคุมผังเมืองและการใช้ที่ดินให้ทันสมัยควรปรับปรุงหน่วยงานที่ดูแลกำกับและบังคับใช้กฎหมายด้านผังเมืองและการใช้ที่ดินของประเทศใหม่ เช่นแยกผังเมืองออกจากโยธาธิการ หรือ ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ที่ดูแลทั้งระบบ เป็นต้น


สนใจข้อมูลเรื่องการผังเมืองเข้าไปกด like กันได้ตามลิ้งก์

https://www.facebook.com/pages/สมาคมการผังเมืองไทย/524047510967962?fref=ts






Create Date : 23 พฤษภาคม 2556
Last Update : 23 พฤษภาคม 2556 21:48:07 น. 0 comments
Counter : 1200 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.