ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

เรื่องเล่าในวงชา – เสวนาในวงแขก ทัศนจร+ฟังเสวนา+ชิมอาหารมุสลิมฟรี เสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๕๖



อ้างอิงลิ้งก์ Love Kadeejeen

//www.facebook.com/photo.php?fbid=535665763133623&set=a.246962215337314.67003.244689208897948&type=1&theater


ทัศนจร+ฟังเสวนา+ชิมอาหารมุสลิมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย




"เรื่องเล่าในวงชา – เสวนาในวงแขก"


พบกันอีกครั้ง ศิลป์สามท่า ตอนที่ 4

"เรื่องเล่าในวงชา – เสวนาในวงแขก"

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08.30 – 17.00 ณ อุทยานสมเด็จย่าฯ ย่านคลองสาน

8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียนกิจกรรมทัศนจร ตอนที่ 4: กรมท่าขวาผู้มาเรือกำปั่น

9.00 – 12.00 น. ทัศนจร ตอนที่ 4: กรมท่าขวาผู้มาเรือกำปั่น

นำเดินโดย คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิตศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี

13.30 – 14.00 น. ลงทะเบียนการเสวนาครั้งที่ 4: ฐานถิ่นมุสลิมเมืองกรุง

14.00 – 15.30 น. การเสวนาครั้งที่ 4: ฐานถิ่นมุสลิมเมืองกรุงโดย

• รศ.เสาวนีย์จิตต์หมวด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

• คุณศุกรีย์สะเร็ม เลขานุการมัสยิดอัลอิสติกกอมะฮฺ

• คุณระบิลพรพัฒน์กุล กรรมการมัสยิดเซฟี

ดำเนินการเสวนาโดย คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต

15.30 – 16.00 น. การแสดงดนตรี ออกภาษา ตอนที่ 4: แขกเชิญเจ้าโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินรายการโดยผศ.โดม สว่างอารมณ์ และ คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต

16.00 – 17.00 น. ชมนิทรรศการ “สำรับแขก สำรับไทย สำรับใคร สำรับเทศ” และร่วมรับประทานอาหารมุสลิม อาทิ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ (มะเขือเทศ) –ซุปผักรวม (บ้านบางหลวง – กะดีขาว) / หรุ่มจาก กะดีใหญ่ (มัสยิดต้นสน) / มะตะบะไก่ จาก กะดีเจริญพาศน์ / น้ำขิงปรุงอย่างเทศ(เย็น) จาก กะดีเจริญพาศน์ / ชาร้อนนมสด จาก แขกตึกขาว (มัสยิดเซฟี)หรือเลือกซื้อกลับบ้าน อาทิ แกงมาซาลาแพะ เชื้อสายอินเดีย จาก แขกตึกขาว(มัสยิดเซฟี) / แกงดาลจา (แกงถั่วสไตล์แขกอินเดีย) จาก แขกตึกขาว (มัสยิดเซฟี) /บะละทา – ขนมปังหน้างาของคนในบังคับ จาก กะดีน้อย(มัสยิดอัลซะลิฮ์ซุนนะฮ์) / อะปำตานี ของแขกจาม-มลายู (บ้านบางหลวง – กะดีขาว) / ขนมกลีบลำดวน จากบ้านตึกแดง (มัสยิดกูวติลอิสลาม) / สะเต๊ะเนื้อ – ไก่ จากสี่แยกบ้านแขก (สุเหร่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) / สลัดยะวา จากกะดีเจริญพาศน์ /บาเยีย จาก สี่แยกบ้านแขก(สุเหร่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) / โปเลีย อาหารอินเดียในแขกดงจาม-มลายู จากบ้านบางหลวง (กะดีขาว) / ซาโมซา เชื้อสายอินเดีย จาก แขกตึกขาว (มัสยิดเซฟี) /สละวะหวาน (ถั่วเขียว/ไข่) จาก บ้านบางหลวง (กะดีขาว)



รายการอาหารในงาน "เรื่องเล่าในวงชา – เสวนาในวงแขก"


หมายเหตุ :

กิจกรรมทัศนจร ตอนที่ 4 จำนวนจำกัด 30 ท่าน ท่านที่สนใจส่งชื่อ-สกุล-เบอร์มือถือ มายังคุณปริญญาrพร p.srivoranant@gmail.com ภายในวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556 นี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

Facebook Fanpage : Love Kadeejeen หรือ p.srivoranant@gmail.comหรือ 08-3302-0660

จัดโดย :

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี /ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี / สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา / ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / เครือข่ายชุมชนและมัสยิดในย่านกะดีจีน ย่านคลองสานและหลายย่านในฝั่งขะนี้!




ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin





 

Create Date : 29 มกราคม 2556    
Last Update : 29 มกราคม 2556 7:40:10 น.
Counter : 2016 Pageviews.  

ประชาสัมพันธ์โครงการ "เพชรบุรีดีจัง...ทั้งเมือง" งานจะจัดขึ้นวันเสาร์-อาทิตย์นี้ครับ (26-27 ม.ค 56)



เครดิต สถาบันอาศรมศิลป์ - Arsom Silp Institute ofthe Art

//www.facebook.com/media/set/?set=a.474070472655125.104218.131270580268451&type=1


กำหนดการ

พิธีเปิดมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ “เพชรบุรดีจัง...ทั้งเมือง”

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556

จ.เพชรบุรี

17.00 น. พิธีเปิดสะพานคนเดินข้ามน้ำเพชร

โดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี

บริเวณลานสุนทรภู่ ท่าน้ำวัดพลับพลาชัย

ร่วมกับ ชาวชุมชนตลาดเก่า-ซอยริมน้ำ / สถาบันอาศรมศิลป์


18.00 น. พิธีเปิดถนนวัฒนธรรม

โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี

บริเวณถนนคลองกระแชง วัดพลับพลาชัย

ร่วมกับ ชาวชุมชนคลองกระแชง / เครือข่ายเพชรบุรีดีจัง 8 อำเภอ /

โครงการฟื้นฟูหนังใหญ่วัดพลับพลาชัย


19.00 น. พิธีเปิดมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ “เพชรบุรีดีจัง..ทั้งเมือง”

โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

ณ สะพานใหญ่ พร้อมชมโขนเพชรบุรี หน้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ

ร่วมกับ ชาวเพชรบุรีทั้งเมือง


20.00 น. พิธีเปิดถนนศิลปะ - สกุลช่าง – นักอ่าน

โดย วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี

ร่วมกับ กลุ่มครูสกุลช่างเพชรบุรี / มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเมืองเพชรบุรี

ชมแห่สิงโต โชว์มังกร โดยมูลนิธิชาวจีนเพชรบุรี 7 คณะ




 

Create Date : 25 มกราคม 2556    
Last Update : 25 มกราคม 2556 11:31:00 น.
Counter : 2066 Pageviews.  

จิตรกรรมฝาผนังบันทึกยุคสมัย วัดหลวงพ่อพระใส หนองคาย บทความโดย อ.สมปอง ดวงไสว



จิตรกรรมฝาผนังบันทึกยุคสมัย วัดหลวงพ่อพระใส หนองคาย

บทความโดย : สมปอง ดวงไสว อ้างอิงลิ้งก์ //bit.ly/UQ6FdY

จากบทความใน Bangkokbiznews.com


หนองคาย เป็นจังหวัดหนึ่งที่น่าไปเยือนอย่างมากมาย ฝั่งตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำโขง ก็คือประเทศลาวประเทศเพื่อนบ้านเรานั่นเอง มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าติดตามในหลายเรื่องราว เป็นเมืองน่าอยู่เมืองคนอัธยาศัยดี มีภูมิประเทศที่เยี่ยมยอด เพราะขนาบไปกับแม้น้ำโขงนับหลายร้อยกิโลเมตร

ถ้าหนองคายมีการพัฒนา ในเชิงอนุรักษ์ เชิงท่องเที่ยว ชุมชนน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้คนท้องถิ่นได้อย่างมหาศาล เพราะโลเกชั่นทัศนียภาพที่ได้เปรียบ คือริมโขง ถ้าสามารถ หรือเป็นไปได้ ทำเลนจักรยาน (Bike Lane)เลียบแม่น้ำโขง ซี่งถ้าใช้ท่าเสด็จ เป็นจุดศูนย์กลาง ในการปั่นริมโขงบรรยากาศมันคงเยี่ยมยอดทีเดียว

กอรปกับ ถนนริมโขง สามารถเชื่อมโยงกับริมโขง จ.เลยเชื่อมไปถึงเชียงคาน ได้อีกต่างหาก

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ ในความเห็นส่วนบุคคลของผู้เผยแพร่บทความเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองของจังหวัดหนองคาย มันก็ต้องเริ่มจากคนหนองคายเป็นหลัก ครับ ถ้าผู้บริหารเมือง มองไม่เห็น ก็นับเป็นเรื่องเสียโอกาสต่างๆ ครับในขณะที่ผู้บริหารเมือง จ.อุดร ขอนแก่น โคราช เค้าขยับตัวกันไปไกลแล้วเพื่อต้อนรับ AEC ที่จะไร้พรมแดนกันแล้ว ส่วนหนองคาย มี “ของดี” มากมาย ถ้านำออกมาใช้ มีแต่ได้ครับ เพราะสถานที่ท่องเที่ยว มันแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงแต่ควรทำแบบอนุรักษ์ กันครับอย่าส่งเสริมท่องเที่ยวแบบทำลายสถานที่ แบบไร้ทิศทาง



เข้าเนื้อหากันดีกว่าครับความจริงจะพูดถึง จิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธิ์ชัย แต่เขียนเพลินไปหน่อยครับ อารมณ์มันพาไป

จิตรกรรมฝาผนังบันทึกยุคสมัย วัดหลวงพ่อพระใส หนองคาย

โดย : สมปอง ดวงไสว



หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

บทความโดย อ.สมปอง ดวงไสว จาก Bangkokbiznews ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ


จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยเขียนขึ้นในราวปีพ.ศ.2530 ถึงพ.ศ.2537 บ่งบอกเรื่องราวที่งดงามดังปรากฏในปัจจุบัน

แม้หากได้ไปหนองคาย แต่ไม่ได้ไปไหว้พระใสเหมือนไม่ได้ไปหนองคายแม่นมั่นหลวงพ่อพระใสเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั้งสองฟากฝั่งโขงทุกวันจึงมีพุทธศาสนิกชนไปกราบนมัสการหลวงพ่อพระใส ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคายเป็นอันมาก

วัดโพธิ์ชัย อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายบนถนนเส้นทางไปสู่โพนพิสัยเพียงสองกิโลเมตร เดินเดี๋ยวเดียวก็ถึงเป็นวัดเก่าชื่อวัดผีผิวเป็นที่เผาผีมาก่อน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้ชื่อว่าวัดโพธิ์ชัยซึ่งพระอุโบสถของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญคือหลวงพ่อพระใส



วัดโพธิ์ชัย

เครดิตภาพ รถไฟไทย


หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุตโดยพระธิดาทั้งสามของพระองค์ศรัทธาในพระศาสนาและปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชาจึงได้จัดสร้างขึ้น และตั้งชื่อตามพระธิดาทั้งสาม คือ "พระสุก""พระเสริม" และ "พระใส"ทั้งสามองค์เป็นพระหล่อด้วยทองสุก (เนื้อทองคำ 92 เปอร์เซนต์)กว้างสองคืบแปดนิ้วสูงสี่คืบหนึ่งนิ้วกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังแผ่นดินไทยในสมัยรัชกาลที่สามพระเสริมประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่วัดปทุมวนาราม พระสุกนั้นมีปัญหาขณะอัญเชิญล่องแพมาตามลำน้ำโขงแพแตกทั้งแท่นพระและองค์พระได้จมลงสถิตกลางแม่น้ำโขงแต่ครั้งนั้นส่วนพระใสจะอัญเชิญขึ้นเกวียนจากวัดหอก่องเข้ามากรุงเทพพอถึงวัดโพธิ์ชัยเกวียนหักและไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้จึงได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัยสืบมา

 



พระเสริมประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่วัดปทุมวนาราม

เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต


พระอุโบสถที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใสในปัจจุบันนั้นเป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จยกช่อฟ้าพระอุโบสถหลังนี้ในปีพ.ศ.2522เข้าไปในพระอุโบสถจะเห็นหลวงพ่อพระใสสุกปลั่งงามสง่า เมื่อกราบพระท่านแล้วจะพบจิตรกรรมฝาผนังรอบด้านที่งดงามและบอกถึงเรื่องราวน่าสนใจเป็นที่ยิ่งจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยวัดหลวงพ่อพระใสนี้เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในราวปีพ.ศ.2530ถึงพ.ศ.2537 ใช้ระยะเวลาในการเขียนอยู่นานถึง 7ปีจึงลุล่วงบ่งบอกเรื่องราวที่งดงามดังปรากฏในปัจจุบัน



จิตรกรรมฝาผนัง สวยงามมาก ภายในอุโบสถ ที่ศิลปิน อาจารย์วิรัตน์ไม้เจริญ และทีมงาน  บรรจงรังสรรค์ใช้เวลาถึง 7 ปี (พ.ศ.2530-2537)


จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังหลวงพ่อพระใส เขียนเป็นภาพเทวดาชุมนุมดุจดังเทวดาทั้งหลายมาเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ส่วนด้านหน้านั้นเขียนเป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงเอาชนะมาร หรือภาพมารผจญตามแบบแผนประเพณีนิยมของช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังไทยจะนิยมเขียนภาพชนะมารนี้ไว้ที่ผนังด้านหน้าเมื่อกราบพระประธานหลวงพ่อพระใสแล้วได้เห็นภาพชนะมารก่อนออกจากพระอุโบสถจะได้มีกำลังใจความคิดเตือนสติตนเองก่อนที่จะทำอะไรสำเร็จดั่งพระพุทธองค์ยังทรงเจอมารเป็นอุปสรรคแต่ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคนั้นๆได้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ



จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังหลวงพ่อพระใส เขียนเป็นภาพเทวดาชุมนุม ดุจดังเทวดาทั้งหลายมาเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์

เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต



ด้านหน้านั้น เขียนเป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงเอาชนะมารหรือภาพมารผจญ ตามแบบแผนประเพณีนิยมของช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังไทยจะนิยมเขียนภาพชนะมารนี้ไว้ที่ผนังด้านหน้า


จิตรกรรมฝาผนังด้านข้างเนื่องจากพื้นที่ฝาผนังแต่ละด้านมีความสูงกว้างและยาวจึงได้แบ่งพื้นที่เขียนออกเป็นหลายเรื่องด้วยกันนับแต่ตอนบนของฝาผนังจะเขียนเทพชุมนุมไว้ นอกจากนั้นถัดลงมาจะภาพเขียนพุทธประวัติทศชาติชาดก ตำนานพญานาค นิทานพื้นบ้านอีสาน ดัง "ผาแดงนางไอ่"พระธาตุที่สำคัญของอีสานประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหลวงพ่อพระใสตั้งแต่เริ่มสร้างจนมาประดิษฐานเป็นพระประธานวัดโพธิ์ชัยและที่สำคัญได้เป็นประดุจดังบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมอิสานไว้ด้วยฮีตสิบสองหรือประเพณีสิบสองดือนของคนอิสานไว้ให้เป็นที่ปรากฏอันเป็นกุศลเจตนาของศิลปินเพราะบางประเพณีเช่นบุญซำฮะที่ปัจจุบันก็แทบจะเลือนหายไปแล้ว



จิตรกรรมฝาผนังด้านข้าง

อาจารย์วิรัตน์ ไม้เจริญศิลปินผู้วาดจิตรกรรมฝาผนังชุดนี้เล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นยังหนุ่มๆย้อนหลังไปเมื่อยี่สิบปีกว่าๆ เกิดที่ลพบุรีแต่ได้มาเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ราชภัฏอุดรธานีอีกทั้งยังเป็นเขยเมืองหนองคาย จึงตัดสินใจรับอาสาที่จะเขียนภาพจิตรกรรมชุดนี้ขึ้นการวางแผนเนื้อหาของภาพได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารข้อมูลและจัดวางให้ท่านเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดได้เห็นชอบแล้วจึงลงมือเขียนมีลูกศิษย์เป็นลูกมืออีกคน จากนั้นก็ลงมือทำงาน วาดเฉพาะเสาร์ อาทิตย์เพราะต่างมีงานทำกันอยู่ แต่ก็ทำเต็มที่เต็มเวลาด้วยความเต็มใจฝากฝีมือถวายวัดเป็นพุทธบูชา



จิตรกรรมฝาผนัง ในโบสถ์วัดโพธิ์ชัยซึ่งแทรกด้วยภาพจิตรกรรมร่วมสมัย

เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต (Khanchachart Anontaseena) ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ


ที่สำคัญอาจารย์เล่าว่าที่ช้านั้นนอกจากเงื่อนเวลาแล้วยังได้ศึกษาค้นคว้าตามเวลาและสถานที่จริง คือกรณีของฮีตสิบสองตามวัดบ้านมีงานประเพณีเดือนไหนก็ไปดูศึกษาค้นคว้ายังสถานที่จริงตามเวลาในเดือนนั้นๆแล้วมาวางแผนจัดภาพองค์ประกอบเป็นเช่นนี้จนครบสิบสองเดือนจึงใช้เวลาในการวาดภาพนับเป็นการวาดภาพสมัยใหม่โดยอาศัยรากฐานทางความคิดของแบบแผนประเพณีนิยมแบบเดิมและบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์ร่วมสมัยประยุกต์เข้าด้วยกันสมัยนั้นรถยนต์ยี่ห้อใดรูปทรงอย่างไรจะถูกบันทึกไว้ แม้มีการใช้มือถือก็ไม่เว้นและไม่เว้นแม้แต่แดนเซอร์งานบุญเช่นบั้งไฟ ก็บันทึกเอาไว้เช่นกันภาพจิตรกรรมจึงบันทึกปรากฏการณ์ของสังคมฝากไว้ให้ได้ศึกษาและอดจะอมยิ้มกับเรื่องราวของภาพที่แอบซ่อนปรากฏการณ์สนุกๆไว้ไม่ได้ลองดูดีดีศิลปินมีดีให้ดู

งานจิตรกรรมฝาผนังชุดนี้ไม่ได้เขียนด้วยสีฝุ่นและใช้เส้นสีแบบโบราณหากแต่เขียนด้วยสีอะครีลิคเขียนเป็นภาพสามมิติร่วมสมัยประยุกต์ทั้งรูปแบบและเนื้อหาเจตนาการเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ชัยวัดหลวงพ่อพระใสไม่ได้เขียนเพื่อความงามเพียงอย่างเดียว แต่ได้จารึกสะท้อนภาพสังคม ศิลปะวัฒนธรมประเพณี ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวอิสานแห่งเมืองหนองคาย ด้วยสีสันความงามอันถวายหลวงพ่อพระใสและถวายเป็นพุทธบูชาของศิลปินฝากไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

กราบหลวงพ่อพระใสอธิษฐานจิตให้เป็นมงคลกับชีวิตเพ่งพินิจถึงจิตรกรรมฝาผนังรอบพระอุโบสถ จะได้รับรสพระธรรม เรียนรู้พุทธประวัติประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรมประเพณี อย่างมีความสุขอีกโสตหนึ่งที่ไม่ควรผ่านเลยเมื่อได้ไปวัดหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย

.............................................................................................

หมายเหตุ ผู้เผยแพร่ เพิ่มเติมภาพจากอินเตอร์เน็ตประกอบการเล่าเรื่อง ขอขอบคุณ ภาพข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และมีข้อผิดพลาดประการใดในการนำภาพประกอบข้อมูล ขออภัย มา ณ ที่นี้ เช่นกันครับ

...........................................................................................................

แถมเพิ่มเติมบรรยากาศ ซักนิดครับ เกี่ยวกับทัศนียภาพรวมทั้งภูมิประเทศของหนองคาย (บางส่วน คือภาพจากตัวเมืองหนองคายไปทางทิศตะวันตกสามารถเชื่อมต่อกับเชียงคาน โดยทางที่ผ่าน ก็เป็นริมโขงทั้งหมด ทัศนียภาพก็เหมาะในการท่องเที่ยวมากเลยครับ) ความจริงมีภาพมากกว่านี้ครับ แต่เอาไว้เขียนคราวหน้าถ้ามีโอกาสได้ข้อมูลดี ดังเช่นวันนี้ ก็น่าจะ win-win กันทุกฝ่ายครับ



มุมมองภาพกว้างจาก google earth เส้นสีเหลืองเส้นเล็กๆ คือทางเลียบแม่น้ำโขง ระยะทางยาวมากถ้าทำเส้นทางสัญจรดีๆ ชุมชนได้ประโยชน์มหาศาลอย่างแน่นอน(ความเห็นส่วนบุคคลน่ะครับ)





บรรยากาศชวนเดินของนักท่องเที่ยวครับ “ริมโขงท่าเสด็จ หนองคาย”

เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต





ริมโขง อากาศบริสุทธิ์ มีโลเกชั่นที่ยอดเยี่ยม บรรยากาศแบบนี้มีเงินก็ซื้อไม่ได้ครับ ต้องมากันเองครับ ....ชาวหนองคาย ปั่นจักรยาน เพื่อสุขภาพจุดนัดพบ ที่ ท่าเสด็จ

เครดิตภาพ //imageshack.us/photo/my-images/150/1001953.jpg/





 

Create Date : 21 มกราคม 2556    
Last Update : 21 มกราคม 2556 12:46:26 น.
Counter : 4815 Pageviews.  

ดู 10 มหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่เป็นมิตรกับจักรยาน กันครับ


บทความเกี่ยวกับ 10 มหาวิทยาลัยในอังกฤษที่เป็นมิตรกับจักรยาน


ส่วน 10 มหาวิทยาลัยในไทย ที่เป็นมิตรกับจักรยานยังหาข้อมูลไม่ได้ครับ ท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับ 10 มหาวิทยาลัยในไทยที่เป็นมิตรกับชาวจักรยาน ช่วยการเผยแพร่น่ะครับ


เข้าบทความกันครับ

เครดิต อ้างอิงลิงก์จากบล็อก //blog.eduzones.com/tonsungsook/86178

และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิคม บุญญานุสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

10 มหา'ลัยอังกฤษ ที่เป็นมิตรกับจักรยาน

การขับจักรยานในมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นพาหนะที่มีความสะดวกรวดเร็วและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับเราลองมาดูกันดีกว่าว่า 10 มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ส่งเสริมการขับจักรยานของบุคลากรและนักเรียนของมหาวิทยาลัยตนมีที่ไหนบ้าง

อันดับที่ 10. Oxford



มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดถือได้ว่าเป็นสุดยอด 10มหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับจักรยานเพราะรอบๆมหาวิทยาลัยมีพื้นที่สำหรับจักรยานมากถึง 2,900 จุดในฐานะมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร

อันดับที่ 9. University of East Anglia



มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย มีพื้นที่ถึง 300 เอเคอร์ในวิทยาเขตปาร์คแลนด์ และมีพื้นที่ถึง 3,074จุดที่คุณสามารถยกอานของจักรยานคุณไปไว้ได้

อันดับที่ 8. York



มหาวิทยาลัยยอร์คมีที่ว่างถึง 3,081 จุด สำหรับนักเรียน 10,000 คน และมหาวิทยาลัยยังมีหมอจักรยาน “Bike Doctor” ในการตรวจซ่อมบำรุงจักรยานอีกด้วยนักเรียนสามารถจอดจักรยานฟรีได้ 48 ชั่วโมงในการเดินทางระหว่าง King's Manor และ the HeslingtonCampus

อันดับที่ 7. Southampton University



มหาวิทยาลัยเซาท์แธมตัน มีพื้นที่สำหรับจักรยาน 3,149จุดสำหรับนักเรียน และมีการขายจักรยานมือสองโดยไม่ต้องผ่านธนาคารอีกด้วยมหาวิทยาลัยยังเตือนนักเรียนไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยว่า “เพียง 2 กิโลเราจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนโดยการให้ทุกคนช่วยกันใช้จักรยานแทนการใช้รถ”

อันดับที่ 6. Warwick



มหาวิทยาลัยวอริกมีพื้นที่ 721 เอเคอร์ที่เป็นมิตรกับจักรยานถึง 3,220 จุด สำหรับนักเรียน 12,000 คน Coventry เป็นเมืองที่มีความสะดวกสบายในการขี่จักรยานไปเพียง 3 กิโลเมตร หรือ 15 นาทีเท่านั้น

อันดับที่ 5. Oxford Brookes



มีพื้นที่ 3,373 จุด ภายในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดบรู๊คส์โดยเมื่อเร็วๆนี้มหาวิทยาลัยมีการเปิดตัว 2ดีไซเนอร์ของมหาวิทยาลัยในการขี่จักรยานเสือภูเขาที่ทำจากไม้ไผ่ที่เชื่อว่ามีความแข็งแรงของเหล็กด้วยแต่การตอบสนองจากคาร์บอนไฟเบอร์มีความสามารถที่จะช่วยลดความอ่อนล้าจากการขับได้ซึ่งผลิตโดย Yorkshire-based Raw Bikes ราคาประมาณ £1,750(ปอนด์)

อันดับที่ 4. The University of Nottingham



มหาวิทยาลันนอตติงแฮม มีพื้นที่สำหรับจักรยานถึง 3,597จุดสำหรับนักเรียน รองอธิการบดี Prof. David Greenaway เป็นหัวหน้าทีมและเป็นตัวอย่างในการขับจักรยานกับเพื่อนร่วมงานของเขาถึง1,000 กิโลเมตร จาก John O'Groats ถึง Land'sEnd เป็นเวลามากกว่า 14 วันเพื่อเพิ่มเงินให้กับศูนย์ Sue Ryder Care Centre ของมหาวิทยาลัย

อันดับที่ 3. Bristol

แม้จะมีบริการรถบัสของมหาวิทยาลัยที่เชื่อมระหว่าง the Stoke Bishop halls กับสถานที่พักอาศัยของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบริสตอลก็ยังมีที่พักสำหรับจักรยานอีกจำนวนมากในความเป็นจริงที่สะท้อนให้เห็นได้ถึง 3,649จุดจักรยานรอบๆมหาวิทยาลัย


อันดับที่ 2. Reading



มหาวิทยาลัยเรดดิ้งมีพื้นที่เป็นมิตรกับจักรยานในอันดับที่ 2ของสหราชอาณาจักร กับบริเวณจำนวนมากถึง 3,680 จุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Clean and Green project โดยได้เสนออาหารเช้าฟรีและวิชาความสามารถในการขี่จักรยานสำหรับนักเรียนฟรีเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาใช้จักรยานและนั่งฟังบรรยาย

อันดับที่ 1. Cambridge



จักรยานถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่กับจำนวนนักเรียนกว่า 12,000 คนที่เคมบริดจ์มีช่องว่างกว่า 6,200 จุด รอบๆมหาวิทยาลัยการขโมยจักรยานถือเป็นอาชญากรรมที่ใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง ซึ่งมีหัวขโมยกว่า 3,000คน นักเรียนควรซื้อล็อคจักรยานที่ดีแต่อย่างไรก็ตามมันไม่ควรเป็นปัญหาเพราะมีร้านจักรยานถึง 20 ร้านในเมืองให้เลือกสรร




 

Create Date : 19 มกราคม 2556    
Last Update : 19 มกราคม 2556 10:52:01 น.
Counter : 2711 Pageviews.  

ทริปสัญจร ท่องเจริญกรุง มุ่งคลองพ่อยม(สาทร) ย้อนวันวานวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน”



อ้างอิง //www.facebook.com/photo.php?fbid=193600830783578&set=p.193600830783578&type=1&theater

สำหรับผู้สนใจกิจกรรมทางวัฒนธรรม รีบสมัครด่วนครับ

ภัสสรสัญจร ครั้งที่ ๒๑

ท่องเจริญกรุง มุ่งคลองพ่อยม(สาทร)

ย้อนวันวานวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน” เลียบถิ่นคุณเปรม

วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

*********************************

๐๘.๐๐ น. พบกัน ณ จุดนัดหมาย ลานด้านหน้า พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก(ซอยเจริญกรุง ๔๓ (ตรอกสะพานยาว)

ตรงข้ามไปรษณีย์กลาง บางรัก) ลงทะเบียนและรับเอกสาร

๐๘.๓๐ น. ฟังเรื่องราวที่น่ารู้เกี่ยวกับ “คุณเปรม”ตัวละครสำคัญในบทประพันธ์เลื่องชื่อของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

“สี่แผ่นดิน” โดยผู้ประพันธ์ได้กำหนดให้มีนิวาสสถานอยู่ในย่านคลองพ่อยม(ถนนสาทรในปัจจุบัน)

ชม พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้

และสภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

พร้อมเรียนรู้เรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับพื้นที่บางรัก-เจริญกรุง-สาทรซึ่งเป็นแหล่งที่ชาวตะวันตก

และผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมากจึงมีความหลากหลายทั้งทางด้าน

วิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมความเชื่อนับแต่อดีต-ปัจจุบันอันสะท้อนภาพฉากชีวิต

ของคุณเปรม-แม่พลอย เมื่อมาดำรงชีวิตในย่านนี้หลังสมรส

๑๐.๐๐ น. เลียบถนนเจริญกรุงถนนสายสำคัญที่ตัดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางสัญจรเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัย

รัชกาลที่ ๔ ตามฎีกาของชาวตะวันตก มุ่งสู่ตรอกโรงภาษีเพื่อชมอาคารเก่าในบริเวณนี้ อาทิ ศุลกสถาน

อาคารศิลปะโคโลเนียลที่งดงามแปลกตาซึ่งถูกใช้เป็นโรงภาษีหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕

อาคารที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯที่ ๒ในอดีตได้ใช้เป็นที่ทำการสำหรับส่งไปรษณีย์และส่งโทรเลข

ไปต่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมต้องกระทำผ่านสถานทูตของชาติตะวันตกและเรือนมนิลาประดับลายฉลุไม้

ขนมปังขิงอันงดงาม หาชมได้ยากซึ่งในอดีตเป็นบ้านพักของผู้บังคับการตำรวจน้ำ

๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันหลากรสตามอัธยาศัย

๑๓.๓๐ น. ชมรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ความสง่าแบบเรียบง่ายของอาคารคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ โบสถ์คริสเตียน

แห่งแรกในประเทศไทยที่สร้างและสนับสนุนการดำเนินงานโดยคนไทยพร้อมฟังเรื่องราวที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับความเป็นมาและภารกิจที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคมของชาวคริสเตียน(โปรแตสแตนท์)

ในประเทศไทย

๑๕.๓๐ น. สัมผัสความงดงามทั้งบริเวณภายนอกและภายในของอาคารหอการค้า ไทย-จีน ถนนสาทร

ซึ่งในอดีตเคยใช้อาคารนี้จัดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้าและผลงานศิลปะจากประเทศจีนและถูกยึด

เป็นศูนย์บัญชาการของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ก่อนที่ดำเนินการบูรณะเป็นอาคาร

อนุรักษ์และเปิดเป็นภัตตาคาร Blue Elephant ในปัจจุบัน

๑๗.๐๐ น.แยกย้ายกันกลับเคหสถานด้วยความรู้และความประทับใจอย่างเต็มเปี่ยม

*********************************************

*กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม พลิก

นำชมโดย : จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท)

มัคคุเทศก์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม

อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยาโทร.๐–๘๑๓๔๓–๔๒๖๑

การสำรองเข้าร่วมสัญจร รับจำนวนจำกัด

๑.โอนเงิน เข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชนสาขา ถนนรัชดาภิเษก ในนาม นายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา เลขที่บัญชี ๐๖๐-๒๖๓๑๘๘-๓

ภายใน วันพุธที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖

๒.เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาโทรศัพท์ยืนยันเข้าร่วมกิจกรรมที่โทร.๐–๘๑๓๔๓–๔๒๖๑ (เพื่อรักษาสิทธิ์ ของท่านเนื่องจากถ้าโอนเงินมาแล้วแต่ไม่โทรศัพท์ยืนยันการโอนเงิน ผู้จัดกิจกรรมจะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ใดโอนมาและเป็นจำนวนกี่ท่าน ) และกรุณานำสลิปรายการโอนเงินมาให้ในวันที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยเขียนชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ของท่านรวมถึงของผู้ร่วมคณะท่านในใบสลิปอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบของผู้จัดกิจกรรม

๓.หากท่านได้โอนเงินมาแล้ว แต่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามที่แจ้งไว้ได้อาจมอบให้ผู้อื่นมาแทนได้

โดยแจ้งให้ผู้จัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วันก่อนวันจัดกิจกรรม หากไม่แจ้งตามกำหนดดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน

๔.รับเฉพาะผู้สนใจชาวไทย

รับจำนวนจำกัด





 

Create Date : 15 มกราคม 2556    
Last Update : 15 มกราคม 2556 10:25:56 น.
Counter : 1874 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.