
ปลายฤดูร้อนย่างเข้าฤดูฝน แสงแดดก็ยังร้อนเปรี้ยงปร้างอย่างเคย แต่ไม่ว่าฤดูไหนๆ ผิวของเราก็ต้องการการปกป้องจากแสงแดดอยู่ดี เพราะบ้านเราไม่ว่าจะหน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว เราก็ใกล้ชิดกับแสงแดดตลอดปี วันนี้ปุ้ยจะมาแนะนำให้รู้จักตัวช่วยผิวจากอันตรายของแสงแดดกันค่ะ หลายคนที่ยังไม่รู้ว่าแสงแดด นอกจากจะทำผิวหมองคล้ำ กระตุ้นการเกิดจุดด่างดำ ฝ้า และกระ แล้วยังทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ง่ายและเร็วขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่า แสงแดดทำให้เราแก่เร็วว่าวัยอันควรนั่นเอง การปกป้องเพื่อยืดอายุของผิวจึงสำคัญ และควรทำทุกวัน เริ่มตั้งแต่เด็กเลยยิ่งดี แพทย์แนะนำว่าเราควรเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดอย่างช้าที่สุดคือ อายุ 15 ปี ซึ่งไม่แปลกเลยที่หลานสาววัย 18 เดือนของปุ้ย แม่เค้าเริ่มทาครีมกันแดดให้ตั้งแต่พาลูกออกจากบ้านวันแรก แต่อย่างไรก็ดีสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดดก็ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัยของผิวในแต่ละวันค่ะ การเลือกผลิตภัณฑ์หรือครีมกันแดดนั้นจึงสำคัญที่การเลือกให้เหมาะสมกับผิวและสภาพแววล้อมของแสงแดดในชีวิตประจำวันของเราด้วย ซึ่งครีมกันแดดที่ปุ้ยเลือกมารีวิวในวันนี้ คือ สเปคตร้าแบน เป็นแบรนด์ที่ปุ้ยคุ้นเคยและรู้จักมานานตั้งแต่สมัยรับปริญญาเลย ถ้าใครเคยอ่านบล็อกเกี่ยวกับเรื่องรับปริญญาของปุ้ยคงจำกันได้ ครั้งแรกที่รู้จักผลิตภัณฑ์ตัวนี้ คือ เพื่อนที่เป็นหมอแนะนำว่าเป็นครีมกันแดดที่ดังมากในวงการแพทย์ผิวหนัง เพราะสามารถช่วงปกป้องผิวจากแสงแดดได้จริงและอยู่นานด้วย ที่สำคัญเลยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากบริษัทยาชั้นนำที่มีชื่อเสียงในวงการแพทย์ ก็คือ สตีเฟล (Stiefel) ของแกล็กโซสมิทไคล์น หรือ จีเอสเค (GlaxoSmithKline: GSK) ปุ้ยก็เลยลองใช้ และมีโอกาสได้ใช้ต่อเนื่องมาหลายขวด ในตลอด 6 ปีที่ผ่านปุ้ย ใช้ประมาณ 4 ขวด (สลับกับแบรนด์อื่นบ้าง ตามสภาพผิวและโอกาสที่ใช้งาน) ก็รู้สึกว่า สเปคตร้าแบนมีการปรับปรุงและพัฒนาสูตรอย่างสม่ำเสมอค่ะ และผลิตภัณฑ์กันแดดของสเปคตร้าแบน เนี่ยเค้ามีหลายสูตรเลยนะคะ
ส่วนในบล็อกนี้ปุ้ยเลือกสูตรสำหรับผิวผสม-มัน เป็นสิวง่าย ก็คือ สเปคตร้าแบน เอสซี เอส พี เอฟ (SpectraBAN SC SPF 40) ซึ่งเป็นประเภทผิวของคนไทยโดยส่วนใหญ่ค่ะ นอกจากนี้แล้วปุ้ยมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดดมาฝากกันค่ะ จากงานวิจัยเพิ่มเติม ประเทศไทยมีค่า UV Index หรือ ดัชนีชี้วัดค่ายูวี อยู่ที่ 8 -14 ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและ ภูมิอากาศในแต่ละสถานที่ เช่น ในช่วงเดือนพฤษภาคม กรุงเทพมีค่า UV INDEX 11 ขณะที่สงขลามีค่า UV INDEX 14 ดังนั้นการปกป้องผิวจะต้องปฏิบัติแตกต่างกัน  | UV INDEX 1 2 สีเขียว สามารถออกนอกบ้านได้โดยไม่ต้องการการป้องกัน UV INDEX 3 5 สีเหลือง ต้องการการปกป้องโดยให้หลบในที่ร่มในระหว่างกลางวัน สวมเสื้อ ทาครีมกันแดด และสวมหมวก UV INDEX 6 7 สีส้ม ต้องการการปกป้องโดยให้หลบในที่ร่มในระหว่างกลางวัน สวมเสื้อ ทาครีมกันแดด และสวมหมวก UV INDEX 8 10 สีแดง ต้องการ การปกป้อง หลีกเลี่ยงการออกข้างนอกระหว่างวัน ต้องมั่นใจว่าอยู่ในที่ร่ม ต้องสวมเสื้อ ทาครีมกันแดด และสวมหมวก สวมแว่นตากันแดด UV INDEX 11 + สีม่วง ต้องการ การปกป้อง ควรหลีกเลี่ยงการออกข้างนอกระหว่างวัน ต้องมั่นใจว่าอยู่ในที่ร่ม ต้องสวมเสื้อ ทาครีมกันแดด และสวมหมวก สวมแว่นตากันแดด | แล้วเราควรเลือกครีมกันแดดอย่างไรให้เหมาะกับ UV INDEX
นอกจาก ชนิดของสารกันแดดที่เราควรรู้จักแล้ว สิ่งที่เราควรพิจารณาอีกอย่างเวลาเลือกใช้ครีมกันแดด คือ ค่าซึ่งบอกประสิทธิภาพของสารกันแดดที่เราใช้นั่นคือ Sun Protection Factor หรือที่เราได้ยินชื่อย่อกันบ่อย ๆ ว่า SPF และอีกชื่อหนึ่งคือ PA เราลองมาดูว่า SPF และ PA คืออะไร SPF = ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB [ทำลายชั้นผิวด้านบนๆ --> หมองคล้ำ ผิวไหม้แดด ฝ้า กระ มะเร็งผิวหนัง] PA = ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA [ทะลุลงไปถึงชั้นหนังแท้ --> ริ้วรอย เหี่ยวย่นก่อนวัย]
SPF (Sun Protection Factor) ค่านี้ หมายถึงว่า เมื่อ ทาครีมกันแดดแล้วทำให้ผิวทนต่อแสงแดด ไม่เกิดอาการแสบ แดงหรือไหม้ได้นาน เป็นกี่เท่าของผิวปกติที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด ยกตัวอย่าง เช่น หากเราอยู่กลางแจ้ง หรือโดนแดดประมาณ 25 นาที ผิวจะเริ่มแดงเมื่อใช้ครีมกันแดด SPF 15 จะสามารถปกป้องผิวได้นาน 15 เท่า คิดเป็นเวลาได้นาน 25x15 =375 นาที หรือประมาณ 6 ชั่วโมง
ส่วนค่า PA (Protection Factor For UVA) บอกถึงประสิทธิภาพป้องกัน UVA คือ มีค่าแสดงจาก น้อย (+) ถึงมาก (+++) ดังนั้นครีมกันแดด ที่มีค่า pa สูง(+++) ก็จะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยคล้ำบริเวณผิวจาก UVA ได้
| | สรุปค่า SPF เท่าไรจึงจะดี - สาวออฟฟิต จะโดนแดดเฉพาะตอนกลางวัน ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 15 - ทำงานกลางแดดหรือออกแดดบ่อยๆ ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ทาซ้ำทุก 2 ชม. - ไปเที่ยวทะเล ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ควรทาก่อนลงน้ำ 30-60 นาที และควรทาซ้ำทุก 1 ชม. - คนผิวขาวจะต้องใช้ SPF มากกว่าปกติอีกนิดหนึ่ง เพราะผิวขาวจะไวต่อแสงมากกว่าผิวสีอื่น ๆ
ก่อนที่จะเผยผลรีวิว ขอเล่าถึงคุณสมบัติและสรรพคุณที่ระบุไว้บนฉลากให้อ่านกันก่อน
สเปคตร้าแบน เอสซี เอส พี เอฟ (SpectraBAN SC SPF 40) เจลป้องกันแดด ปราศจากแอลกอฮอล์ สำหรับ ผิวผสม-มัน เป็นสิวง่าย | ปริมาณสุทธิ 45 มล. | ราคา 1,100 บาท เป็นผลิตภัณฑ์กันแดดในรูปแบบเจล ที่ปราศจากส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ ด้วยสูตรโครงสร้างพิเศษ ที่ช่วยในการควบคุมความมันบนใบหน้า ช่วยให้ผิวหน้ากระจ่างใสในระหว่างวัน ไม่เหนียวเหนอะหนะ และทำให้ใบหน้าดูเป็นธรรมชาติ และคงประสิทธิภาพสูงในการปกป้องรังสียูวีด้วย SPF 40 และ PA +++ (PPD13) ซึ่งสามารถช่วยลดการทำงานของเมลาโนไซด์ ลดความหมองคล้ำอันเกิดจากรังสียูวี - For Oily/Combination Skin type เหมาะสำหรับคนที่มีผิวมันหรือผิวผสม
- Non-Comedogenic ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
- Hypoallergenic เหมาะสำหรับผิวบอบบางเเพ้ง่าย
- Non-Greasy ไม่เป็นครบมัน ไม่เหนอะหนะ
- Paraben-free ปราศจากีส่วนผสมของพาราเบน
- Perfume Free ปราศจากน้ำหอม และสารแต่งสี และกลิ่น
- Water Resistant สูตรกันน้ำ
 | ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์: Cyclepentasiloxane, Dimethicon Crosspolymer, Ethylhexyl Methoxycinnamate, C12-15 Alkyl Benzoate, Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine, Cetyl Dimethicone, Diethylamino Hydroxybenzoyl Hexyl Benzoate, Cyclohexasiloxane
จากการวิเคราะห์โดยดูจากส่วนผสมแล้ว สเปคตร้าแบน เอสซี ถือเป็นครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีสารดูดซับรังสี UV (Ultraviolet) จากแสงแดดเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนสลายไป ไม่ผ่านลงไปทำอันตรายต่อผิวเรา
ส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า ซันสกรีน
(Sunscreen) เป็นสารอินทรีย์โปร่งแสง (Transparent Organic Substance) ซึ่งอนุพันธ์ของสารอินทรีย์จะแทรกซึมลงสู่ผิวหนังและจะดูดกลืน (Absorb) รังสี UV ไว้ที่ชั้นบนสุดของผิวหนังชั้นอิพิเดอร์มิส (Epidemis) เพื่อจะช่วยป้องกันผิวหนังชั้นใต้ (Underlying Layer) และสารอินทรีย์แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการดูดกลืนรังสี UV ที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างและประสิทธิภาพในการดูดกลืนรังสี UV ของอินทรีย์สารเหล่านี้ขึ้นกับการจัดเรียงของโครงสร้างทางเคมีของสารแต่ละชนิดค่ะ นอกจากคุณสมบัติการปกป้องผิวจากรังสีทั้ง UVB และ UVA แล้ว อีกคุณสมบัติหนึ่งที่โดดเด่นของ สเปคตร้าแบน เอสซี ก็คือ ควบคุมความมันบนใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยสูตรโครงสร้างพิเศษ ซีไบไมโครพอร์ (Sebomicropore) ซึ่งเนื้อเจลซึมได้ไว และไม่ทิ้งคราบขาว รวมทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วยค่ะ
| มาดูผลการให้คะแนนสำหรับ สเปคตร้าแบน เอสซี ของปุ้ยกันค่ะ บรรจุภัณฑ์ (Package): 8/10 ขวดพลาสติกสีขาว ขนาดพอดีมือ ฉลากเป็นสติกเกอร์สีขาวพิมพ์ข้อมูลที่ชัดเจนอ่านง่าน ลักษณะการใช้งานเป็นหัวปั้มสูญญากาศทำให้ใช้งานง่าย และใช้ได้หมดจนหยดสุดท้าย และมีความปลอดภัยจากเชื้อแบคทีเรียภายนอกที่จะเข้าไปสะสมในขวด กลิ่น (Scent): 7/10 ไม่ได้ใส่น้ำหอม แต่ไม่ถึงกับไม่มีกลิ่นค่ะ กล่าวคือ ถ้าใช้งานเฉยๆ ก็ไม่ได้กลิ่นอะไรแปลกปลอมนะคะ แต่ถ้านำมาดมใกล้ๆ จมูกก็จะได้กลิ่นสารเคมีนิดหน่อย ความเข้มข้นของเนื้อครีม (Ointment): 8/10 เนื้อเจลมีวอลุ่มดี น้ำหนักเบา เนื้อสัมผัสนุ่มลื่นมากๆ ส่วนความเข้มข้นก็พอประมาณ ไม่มากไป ไม่น้อยไปสำหรับผลิตภัณฑ์กันแดดค่ะ ความชุ่มชื้น (Moisture): 10/10 ให้คะแนนเต็ม เพราะแม้จะเป็นเนื้อเจล แต่ก็สามารถทำให้ผิวนุ่ม และเก็บกักความชุ่มชื้นให้ผิวได้นานตลอดทั้งวันเลยค่ะ พอทาแล้วผิวสัมผัสของเราจะนุ่มและมีวอลุ่มมากขึ้น คือ เหมือนมีทั้งอากาศและความชุ่มชื้นอยู่ด้วยกัน ปุ้ยคิดว่าคงเป็นผลของสูตรโครงสร้างพิเศษซีไบไมโครพอร์ นั่นเองค่ะ เนื้อครีมเกลี่ยง่าย (Applying): 9/10 เนื้อเจลลื่นและเกลี่ยง่าย แต่เกลี่ยได้ในวงที่ไม่กว้างมากนัก ดังนั้นไม่ควรใช้ในปริมาณเยอะแต้ม 5 จุดแล้วเกลี่ย แต่แนะนำให้ใช้ทีละน้อยมากๆ แต้มเป็นจุดๆ เล็กๆ ทั่วผิวหน้า ประมาณ 12-15 จุด แล้วจึงเกลี่ยให้กระจายทั่วใบหน้า การซึมเข้าสู่ผิว (Absorb): 7/10 เนื้อเจลใช้เวลาซึมเข้าผิว ประมาณ 5-10 นาที แล้วแต่ปริมาณที่ใช้ค่ะ ใช้แล้วผิวไม่มัน (Anti-Oily Skin): 8/10 เนื้อเจลให้ความชุ่มชื้นแต่ไม่ได้เพิ่มความมันให้กับผิว ว่าง่ายๆ คือ ไม่ได้ทำให้ผิวมีความมันเพิ่มขึ้น เคยมีระดับความมันเท่าไหนก็เท่าเดิม คือ ความคุมระดับความมันของผิวให้สม่ำเสมอ
ไม่ทิ้งคราบขาว (Stainless): 9.5/10 เนื้อเจลทาแล้วไม่ทำให้สีผิวเปลี่ยนและไม่ทิ้งคราบขาวบนผิวเลยค่ะ แต่ทั้งนี้ควรใช้ในปริมาณที่พอดี เพราะหากใช้ในปริมาณมากเกินไป แล้วยิ่งตบแป้งเยอะ ก็ย่อมมีโอกาสเกิดคราบขึ้นได้ค่ะ ความคุ้มค่ากับราคา (Reasonable Price): 7/10 ราคา 1,100 บาท เป็นราคาที่ไม่ได้ถูกหรือว่าแพงจนเกินไป ถ้าผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยปกป้องผิวของเราจากแสงแดดได้มีประสิทธิภาพอย่างนี้ เราก็ควรที่จะลงทุนเพื่อยืดสุขภาพผิวให้ดีต่อไปในอนาคตได้นานๆ ค่ะ คะแนนรวม (Total Point): 7.83/10 คะแนน
 การทดสอบความมัน: หลังจากที่รอเนื้อเจลแห้งแระมาณ 10 นาที ก็ใช้ฟิล์มซับมันทดสอบดูค่ะ จริงๆ ก็ไม่ถึงกับไม่มันเลย เพราะความชุ่มชื้นที่บนผิวเล็กน้อย เลยเห็นเลยที่ฟิล์ม แต่ถ้าเซ็ทผิวด้วยแป้งฝุ่น ก็จะไม่มีความมันหลงเหลืออยู่เลยค่ะ
|