A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
ศาสตราจารย์นักการภารโรง




That's people's work. Don't traffic here.
(นี้ไว้สำหรับนักเรียนทำ ไม่ใช่ที่เอาไว้เขียนเล่น)



นี้เป็นบทสนทนาตอนหนึ่งของเรื่อง Good Wiil Hunting ของผู้กำกับ Gus Van Sant
เรื่องราวของเด็กหนุ่มนักการภารโรง ที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
เด็กหนุ่มที่ควรมีโอกาสได้รับมาตราฐานศึกษาในมหาวิทยาลัย เฉกเช่นเยาวชนร่วมรุ่นคนอื่นๆ
ถึงแม้ว่าเขาจะได้มีโอกาสยืนบนพื้นกระเบื้องของห้องโถงในอาคารมหาวิทยาลัย
มีวัยที่ใกล้เคียงกับเด็กหนุ่มสาวในวัยนักศึกษา แต่โอกาสของการลำดับขั้นภาคบังคับ
ทางการศึกษาของเขาดูจะปิดสนิท เพียงเพราะ "โอกาส" คำเดียวสั้นๆ ที่เขาไม่เคยได้รับ
มาทั้งชีวิต




เด็กหนุ่มยังคงจุ่มไม้ถูกพื้นสกปรกลงในถังน้ำ บิดปลายด้านของผ้าพอให้มาด มาพำนักไว้
อยู่บนบ่าด้านซ้าย ส่วนมือขวาจับด้ามชอล์กตวัดเพื่อแก้โจทย์สมการทางคณิตศาสตร์
ที่ทั้งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยบ่นกันอุบเป็นเสียงเดียวกันว่า "โคตรยาก"
โจทย์ที่แม้แต่อาจารย์ผู้ตั้งคำถาม ยังใช้เวลากว่าสองปี เพื่อที่จะแก้โจทย์สมการที่ตั้งไว้
แต่เด็กหนุ่มภารโรงคนนี้ ใช้เวลาในการแก้ ด้วยเพียงแค่แว้บตาเดียวที่เห็น................





เด็กคนนี้ไม่ได้เป็นเด็กเทพมาจุติแต่ปางไหน เพียงแต่เขาใช้เวลาที่เหลือจากการสวม
บทบาทนักการภารโรงที่หาเลี้ยงชีวิต ตรงไปยังห้องสมุดอันเป็นเหมือนเครื่องฝึกปรือวิชา
โดยมีตนเป็นที่พึ่งเเห่งตน ไม่มีห้องเรียนอันโอ่อ่า ไม่มีครูบาอาจารย์ที่คอยประสิทธิ์ประสาทวิชา
และคอยชี้นำ ไม่เคยมีสมุดพกประจำรุ่น ไม่มีเฟรนด์ชิพไว้ให้เป็นที่ระลึก และที่สำคัญ
เขาไม่มี "โอกาส" ในการก้าวย่างไปสู่อนาคตที่ดูจะสดใส เมื่อเทียบกับพรสวรรค์ที่เขาได้สร้างสมเอาไว้
...........................ชมไปก็หายใจพ่นออกภายในใจ ว่ายังไง! มันก็เป็นแค่หนัง
เปิดดูจนจบแผ่นเมื่อไร ก็เพ้อพกอยู่ร่ำไปในใจ ว่าถ้ายังรุ่นๆอยู่
สู้ขยันมากกว่านี้ ก็คงไม่มาบ่นว่ารำคาญจัง....................................ในภายหลัง





แต่ในประวัติศาสตร์แห่งมนุษย์ชาติ เรื่องที่ปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ที่ว่านี้
มีเหตุการณ์หนึ่งที่ดูจะใกล้เคียง โดยต้องขอเล่าย้อนไปไกลเกินกว่าที่หนัง
หรือผู้กำกับต้องตายแล้วเกิดใหม่สักสอง-สามชาติ นั่นคือ ในปีทศวรรษ ๑๘๖๐
เริ่มต้นจากรายงานฉบับหนึ่ง ที่ว่าด้วยเรื่องของการแปรผันของการโคจรของโลก (orbital eccentricity)
เป็นสาเหตุให้โลกเข้าสู่ช่วงยุคน้ำเเข็ง อันเป็นส่วนหนึ่งของหมวดวิชาอุทกสถิตยศาสตร์ (hydrostatics)
ลงในนิตยสาร Philosophical Magazine
ถือเป็นบทความที่สร้างมาตราฐานการศึกษาสูงสุดชิ้นหนึ่งที่โลกเคยมีมา
แต่รายงานชิ้นนี้ ก็ได้สร้างทั้งความประหลาดใจไปพร้อมๆกับความรู้สึกอับอาย
เมื่อผู้คนต่างสืบเสาะตัวเจ้าของบทความกันยกใหญ่ จนมารู้ในภายหลังว่า ผู้ที่ศึกษาเรื่องราวในครั้งนี้
หาได้เป็นนักวิชาการจากทางมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นทางที่ส่งมาไม่? แต่เขาคนนี้ประกอบสัมมาชีพเป็น

"นักการภารโรง"



ชายผู้ชื่อ "เจมส์ โครลล์" (James Croll 1821-1890)
เป็นชายที่หยุดได้รับการศึกษาโดยอ้างอิงสถานศึกษา
เมื่ออายุได้ ๑๓ ด้วยเหตุผลอันสุดฮิตทั่วโลก ว่า "ความยากจน"
บิดาและมารดาปลูกฟาร์มเล็กๆ ในไวท์ฟิลด์ (Whitefield)
มีชีวิตที่ผ่านมาด้วยการระหกระเหเร่ร่อน จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆไม่เลือกหน้า
วัตถุประสงค์แรกก็เพื่อผ่อนคลายกระเพาะที่หิวโซ่ ประวัติการทำงานของเขาจึงอุดมไปด้วยประสบการณ์
ไม่ว่า ช่างยนต์ ช่างไม้ ขายประกัน เด็กโรงแรม ก่อนที่จะมาบรรจบในอาชีพที่พอจะมั่นคงที่สุด
ให้พอทำได้อยู่หลายปี โดยเป็น "นักการภารโรงในมหาวิทยาลัยแอนเดอร์สัน"
(ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์) ในกลางกรุงกลาสโกว์
ตามประสาคนที่ได้ดิบได้ดี จึงไม่พ้นที่จะต้องพาพี่น้องมาร่วมชายคา (และหลอกใช้งาน)
จนได้พอมีเวลาทำสิ่งที่รักที่ชอบ แอบฝังตัวด้วยการสูบทรัพยากรในท้องที่
คือ ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยในช่วงเย็น ยิ่งช่วงนั้นชาวบ้านเขาฮิตศึกษาเรื่องอะไร
พี่แกก็จะศึกษาตามเกือบหมด ไม่ว่าเป็น ฟิสิกส์ กลศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในทุกๆแขนง
แต่ที่แกชอบเอามากสุด และผลิตงานเขียนส่งวารสารต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจะเป็นเรื่องของ
ผลกระทบในการเคลื่อนที่ของโลกที่มีผลต่อภูมิอากาศที่ป๋าแกชอบเอาม๊ากมาก
ดังนั้นไอ้ประโยคฮิตๆที่ฟังออกจะเฟ้อๆ
อย่าง ภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน หรือตระกูล climate change ทั้งหลาย
เราทุกคนในที่นี้ ล้วนได้รับพระเดชพระคุณจากวิรืยะวิชาของปู่โครลล์ทั้งสิ้น





เพราะไอ้ความที่แก ไม่เคยได้รับการศึกษาตามขนบแบบที่ ดร.หรือศาสตรจารย์ ได้เรียนกันมา
แกจึงสามารถมองเห็นจุดที่แตกต่าง ในมุมมองที่ชาวบ้านชาวช่องเขามองกันไม่ค่อยจะเห็นกัน
ป๋าโครลล์จึงเป็นคนแรกที่กล้าเสนอแนวคิดในรูปแบบวงโคจรของโลกที่หมุนเวียน
(changes in the earth's orbit)
โดยเริ่มจากฐานความเชื่อเรื่องโคจรแบบวงรี แล้วหดตัวเข้ามาเป็นแบบจะวงกลม
(แต่ไม่กลมสักทีเดียว) แล้วสักพักก็ค่อยๆกลับมาเป็นวงรีอีก
เพราะก่อนหน้านั้น มีชายผู้บ้าเรื่องยุคน้ำแข็ง (ICE AGES) อย่าง "หลุยส์ อะกัสสิช"
ที่ไปพิชิตหุบเขาน้ำแข็งไปหลายลูก และขยันออกงานประกาศทฤษฎีตัวเองอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ถึงแม้ในบ้านเกิดแถบยุโรปจะไม่ค่อยปลื้มในแนวคิดของเขา
แต่กลับไปได้ดิบได้ดีในโซนอเมริกา จนได้เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ข้อหนึ่งที่อะกัสสิชตีโจทย์ไม่แตก ก็คือ เหตุใดอยู่ๆโลกก็เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
ก็ได้ข้อสมมติฐานของพี่ภารโรงนายโครลล์คนนี้แหละ เป็นผู้สานต่อจนโน้มน้าวให้คนคล้อยตาม





ถึงแม้ผู้คนจะไม่ยกย่องในฝีมืออันพีถีพีถันในการทำความสะอาดของปู่โคลล์คนนี้
แต่ด้วยสติปัญญาและความสามารถที่ได้ประจักษ์ในงานอุทกสถิตยศาสตร์
สุดท้ายเขาก็ได้รับทำงานในสถาบันสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสกอตแลนด์
(Geological Survey of Scotland)
และเป็นสมาชิกสามาคมวิชาการแห่งประเทศอังกฤษในกรุงลอนดอน (Fellow of the Royal Society)
รวมถึงสมาคมวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก ยังไม่พอ
ยังมีปริญญาที่แกไม่ต้องจ่ายค่าหน่วยกิจหรือลงทะเบียนเพราะเป็นปริญญากิตติศักดิ์
จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ (an honorary degree by the University of St Andrews)
และตลอดทั้งชีวิตที่เหลือก็เดินสายรับปริญญากิตติศักดิ์อื่นๆ อีกมากมาย






ดังนั้น ถ้าไปมีโอกาสพบเห็น คนที่ทำงานต่ำต้อยกว่าหรือคนที่ไม่มีโอกาสเช่นเดียวกับเรา
ก็เพิ่งไปทึกทักเอาว่า คุณค่าของความเป็นมนุษย์ของคนผู้นั้นจะน้อยหรือด้อยคุณค่า
โดยนำเอาตัวเราเป็นบรรทัดฐานมาคอยเปรียบเทียบ
ดีไม่ดี! เขาอาจจะซุ่มเงียบแล้วค่อยๆเผยความอัฉจริยะที่เก็บซ่อนเอาไว้
โดยที่เราไม่รู้ตัว..........................................
.




เริ่มต้นข้อมูลจาก หนังสือ ประวัติย่อของเกือบทุกสิ่ง จากนั้นก็ wikipedia อีกตามเคย


Create Date : 07 พฤษภาคม 2552
Last Update : 25 ตุลาคม 2552 13:17:36 น. 1 comments
Counter : 1181 Pageviews.

 
อื้มมมม

อ่านแล้วอยากหาหนังสือประวัติย่อฯ มาอ่านค่ะ


อ่านต้นส้มแสนรักสิคะ แต่ไม่แน่ใจนะว่า อ่านเมื่ออายุเท่านี้แล้วจะรู้สึกเหมือนตอนอ่านเมื่อเด็กกว่านี้หรือเปล่า


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 12 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:34:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.