A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
ดูเลือกตั้งมะกันให้สนุก ลุกมาดูอะไรสักนิดก่อน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐนับวันยิ่งใกล้มาถึง
ในขณะที่กระบวนการซื้อเวลายุบสภาของไทยก็ยื้อออกไปจากการตั้งสสร.๓
แต่ด้วยมีหลายคนพูดถึงการเมืองไทยกันมาก..............แน่ละก็เมืองไทยของเรานิ!!
เวลาว่างๆมากอย่างนี้............................แอบหนีเที่ยวต่างประเทศไม่ต่อวีซ่า
เลยหลีกหนีการเมืองไทยไปหาการเมืองนอก ภาคต่อจากความเดิมที่ก่อน
แต่ขอเวลานิด..................
เพราะจำตอนเก่าว่าเขียนจบไปถึงไหน?..........................เอ้อ#จำได้แล้ว
งั้นลุยกันต่อ

ขอคุยเสน่ห์การเลือกตั้งสไตล์อเมริกันดีกว่า
ใครว่าการเลือกตั้งของไทยสองประเภท อันประกอบไปด้วย
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต กับ การเลือกตั้งแบบบัญชีหลายชื่อ ในประเทศไทย
ว่าสับสน มึนงง จนอยากจะฉีกบัตรเลือกตั้งกลางคูหาหลายต่อหลายหนแล้ว
โปรดสดับเรื่องราวตรงนี้
แล้วจะรู้ว่า การเลือกตั้งเมืองไทยน่าเสียเวลาออกจากบ้านเป็นนักหนา.........

บ้านมะกัน เขากำหนดในรัฐธรรมนูญเลยว่า จะต้องมีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป
แก่พอที่จะนำประชากรในประเทศ (แล้วไปเบ่งกับประชากรโลก) ได้อย่างมีวุฒิภาวะ
ที่สำคัญต้อง ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด ดังนั้นพี่อาร์โนลด์อดีตคนเหล็กกล้ามใหญ่
แม้จะมีสิทธิ์เป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ถ้าฝันใหญ่กว่านั้นก็หมดสิทธิ์
โลกในภาพยนตร์อาจให้พี่เป็นนั้น โน่น นี้ได้ แต่โลกแห่งความเป็นจริง พี่ท่านทำได้ดีได้เพียงนี้จริงๆ
ยกเว้นว่าพี่ท่าน อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี ไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย
แต่สุดท้ายเชื่อสิ ยังต้องเป็นเรื่องถกเถียงกันต่อไป ก็ประเทศพี่มันเป็นประเทศ
แห่งเสรีภาพโดยกำเนิดนิ



แต่ประเทศนี้ เขาก็ดีอยู่นะ ขณะที่เรากำลังถกเถียงว่า นักการเมืองบ้านเราควรจะมาจาก
บุคคลหลากหลายอาชีพ (ซึ่งก็ข้องใจที่คนเขียนบล็อกกึ่งอาชีพแต่ไม่มีรายได้ จะพอมีสิทธิ์ส่ง
คนเข้าประกวดกับเขาได้รึเปล่า?)
แต่บ้านเขา ประกอบด้วยคนทุกอาชีพจริงๆ ไม่ต้องอะไรมากวัดจาก ตำแหน่งยักษ์ใหญ่
อย่างประธานาธิบดีกันไปเลย
ที่ผ่านมาก็ไม่ต้องอะไรมาก
อาทิ นายแบบ - เจอร์รัลด์ ฟอร์ด ,คนเก็บขยะ – ลินดอน จอห์นสัน, นักธรณีวิทยา – เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
,คนงานบนเรือเฟอร์รี – เจมส์ การ์ฟิลด์,นักสำรวจ – จอร์จ วอชิงตัน,นักแสดง – โรนัลด์ เรแกน,
และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนา เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์,อับราฮัม ลินคอล์น,ยูลิซิส เอส แกรนท์,เบนจามิน แฮริสัน
,วอร์เรน ฮาร์ดิง,แคลวิน คูลลิดจ์, แฮร์รี ทรูแมน และ จิมมี คาร์เตอร์ ก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นายโอบาม่า ม้าตัวเต๊งคนสีผิว จะขอใช้สิทธิ์ได้ฝันกับเข้าบ้าง
ขออย่างนี้ ตัวอย่างมันมีปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรม ไม่สิ..........ต้อง คนธรรม#
ส่วนบ้านเรา ใครก็ได้มั้ง................ที่ไม่ใช่ทหาร
ไม่ได้รังเกียจเดียจฉันอะไรหรอก เพราะต้องเรียน รด. ไม่นึกว่าประเทศจะหลงเหลือ
การปฎิวัติที่เป็นทางออกอุดตันทางการเมือง บทเรียนพฤษภาทมิฬก็ยังครุกโชนอยู่
ไม่งั้นจะเรียน รด. ถึงปีสี่ปีห้าต่อ ทุกวันนี้ต้องบ่นว่า เสียด๊าย เสียดาย

เข้าเรื่องกันต่อ บ้านมะกันเขามีระบบการหยั่งเสียง ๓ วิธี
ต้องเข้าใจเขาหน่อย บ้านเขามันระบอบสาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐใหญ่เล็ก
มาร่วมกันทำสัญญาประชาคม แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ กว่าจะร่วมกันได้
ก็ฟาดฟันสงครามกันน่าดู แบ่งข้างจากสงครามกลางเมือง ว่ากันด้วยเรื่องทาสและ
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
กว่าจะมาเกี่ยวก้อยดีกัน ก็จัดแบ่งเขตเศรษฐกิจเฉพาะและกฎหมายระหว่างรัฐ
ประมาณว่าคนในถิ่นทำผิดอีกทีแค่จำคุก แต่ถ้าข้ามเขตผมก็ประหารสถานเดียว
จะข้ามรัฐไปไหนที ต้องเปิดกฎหมายของรัฐนั้นๆ มานั่งอ่าน
ไม่เหมือนบ้านเรา คุยกันได้ แต่ต้องมีอะไรหยิบยื่นระนาบเอวพอเป็นวัตถุพยานที่ไม่ประจักษ์
อ้าวคุยถึงไหนละเนี่ย หยั่งเสียงนิหว่า? เข้าเรื่องเลย
อย่างแรก เรียกว่า primary ซึ่งหมายถึงการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ
อันนี้เป็นเรื่องของประชาชนเราๆท่านๆ ที่มีสัญชาติมะกัน เข้าคูหาก็กากซะ ไม่มีการขนคนมาแน่นอน
ประเทศนี้เขาคิดเองได้ บ้านเดียวกัน พ่ออาจเป็นรีพับลิกัน ส่วนแม่เดโมแครต ส่วนลูก
ก็อาจนอนหลับทับสิทธิ์ ไม่มีตัดสิทธิ์เลือกตั้งเพราะกำหนดเป็นหน้าที่ ที่ไม่ไปครั้งนี้ เลือกครั้งหน้า
สิทธิ์ตัวเองก็กลับมาเหมือนเดิม
อย่างที่สอง แบบ scaucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ
ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมาเพื่อเสนอความคิดเห็น
อย่างสุดท้ายstate-covention ที่หมายถึงการประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ
เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค
สองอย่างหลัง เป็นตัวขับเคลื่อนให้พรรคการเมืองบ้านเขา กลายมาเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง
สร้างความมีรู้สึกร่วมในพรรคอย่างเหนียวแน่น
ลองมาเจอกฎหมายบ้านเรา เอาแค่ว่าด้วยการยุบพรรค เพราะกรรมการบริหารมีส่วนรู้เห็น
ผมว่า ประเทศบ้านเขา คงล่มไม่เป็นท่า เพราะว่าเอาเข้าจริงก็มีเพียงพรรคใหญ่สองพรรค
บ้านเรานี้แสนดีกว่า พรรคก็ตั้งเยอะ มีความหลากหลายทางนโยบาย
แต่งัย พอเลือกตั้งเข้าไป กลับกลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วบอกว่านโยบายสอดคล้องต้องกัน
ถึงถูกยุบพรรค ก็พร้อมแปลงสภาพกลายเป็นอีกพรรค ที่แทบไม่ต่างอะไรจากพรรคเดิม

การหยั่งสามวิธีข้างต้น นำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือก
จากที่ประชุมใหญ่ของพรรค(National Convention)ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว
ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง



ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ “วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของปีที่มีการเลือกตั้ง”
เป็น วันลงคะแนนเสียงสำหรับผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วในเขตเลือกตั้งของตน ซึ่งครั้งนี้ตรงกับ
วันอังคารที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็คือ
มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติอเมริกัน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ฯลฯ
ดังนั้นจึงไม่มีเรื่องคัดค้านการเอื้อช่วงเวลาเลือกตั้งให้เร็วขึ้น จนคณะกรรมการบางคณะเกือบติดคุก
กันทั้งคณะ แล้วต้องเสียงบประมาณชาติเพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ บ้านเขาวันไหนวันนั้น
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งหลักนี้เราก็ลอกของเขามา ดีกว่าหน่อย
ตรงที่ผิวสีไหนเราก็ให้มีสิทธิ์หนึ่งเสียง ประเทศเขาก็จะให้เท่าเทียมกันจริงเพิ่งมีไม่นาน
ส่วนตอนปีไหนไม่แน่ใจ ข้อมูลคาดเคลื่อนไม่ตรงกัน แต่คิดว่าบ้านเราให้สิทธิ์เท่าเทียมมาก่อน
ไม่ต้องไปโยงยุคอำแดงเหมือนกับนายฤทธิ์......................ไอ้นั้นก็เก่าเกินไป

ส่วนวันที่ ๔ เดือนนี้ ระบบการเลือกตั้งที่เขาใช้ คงพอได้ยินคุ้นหูกันบ้าง
ก็สื่อเล่นกรอกหูออกปานนั้น ผมว่าถ้าไม่มีเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองบ้านเรา
เผลอๆ เราจะรู้ระบบการเลือกตั้งสหรัฐได้ดีเสียกว่าคนในประเทศเขาเสียอีก
การเลือกมี ๒ รูปแบบ คือ popular vote กับ electoral vote
ดังนั้นการเลือกตั้งบ้านเขาจึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม (ค้อมด้วย)
โดยเริ่มจากประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของเขา (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง
คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง(electoral college)
จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตนที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งคิดขนาดนี้คงจำทางได้ว่า เขาไม่นับหลายเสียงจากประชาชนที่เขาเดินออกไปเลือก
แต่ใช้คะแนนจากตัวแทนเสียงที่เป็นกลุ่มคน หมายความว่าผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียง
ส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด ที่ฝรั่งเรียกว่า
ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) โดยปรัชญาเบื้องต้นที่คิดมหัศจรรย์พันลึกเช่นนี้
ก็เนื่องด้วย องค์ประกอบของแต่ละรัฐที่มีพื้นที่ของขนาดกับความหนาแน่นของประชากรไม่เท่ากัน
ดังนั้นมลรัฐ ที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น
คาลิฟอร์เนีย(55) ,เท็กซัส(34), นิวยอร์ก(31), ฟลอริดา(27), เพนซิลเวเนีย(21) เป็นต้น

คะแนน popular vote ซึ่งประชาชนอย่างเราๆจะเป็นคนลงคะแนนในส่วนนี้
(ถ้าใครชนะ popular vote ในรัฐนั้นจะได้คะแนน electoral vote ไปทั้งหมด)
ส่วนคะแนน electoral vote ซึ่งจะเรียกว่าคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง
(ซึ่งส่วนนี้จะเป็นคะแนนเลือกประธานาธิบดี
ผู้สมัครจะต้องได้รับ 270 คะแนนหรือมากกว่า ถึงจะได้เป็นประธานาธิบดี)
โดยประชาชนจะไปลงคะแนน popular vote เมื่อผลโหวตออกมาให้ใครชนะ
คนชนะจะได้คะแนนelectoral vote ของรัฐนั้นไปทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
รัฐอลาบาม่า มีคะแนนผู้เลือกตั้ง 9
รัฐแคลิฟอร์เนีย มีคะแนนผู้เลือกตั้ง 55
ถ้ารัฐอลาบาม่า บุชชนะแคร์รี่ 5,000 คะแนน
บุชจะได้คะแนน electoral ทั้งหมด 9 คะแนนไปเลย
ส่วนรัฐแคลิฟอรืเนีย ถ้าแคร์รี่ชนะ ถึงจะแค่ 1 คะแนน
แคร์รี่จะได้คะแนน electoral ทั้งหมด 55 คะแนน
สรุปคะแนน popular vote บุชจะชนะแคร์รี่ 4,999 คะแนน
แต่แคร์รี่จะได้เป็นประธานาธิบดี เพราะคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง electoral
มากกว่า (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นประธานาธิบดีเสียงข้างน้อย)
ชุดคำอธิบายนี้นำมาจากพันธทิพย์
นะครับ เพราะชัดเจนที่สุดกว่าผม
จะแจงซึ่งคงนานเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่มันก็มีประเด็นที่ว่า มันมีกรณีที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี
เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รู เธอฟอร์ด เฮย์
,กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดก็คือ อัล กอร์ ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสันติภาพ
ก็แพ้ต่อ จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง
อธิบายง่ายๆ ก็หมายถึง ถ้าเลือกตั้งแบบบ้านเรา อัล กอร์ได้เป็นประธานาธิบดีไปแล้ว แต่พอใช้
หลักเลือกผู้แทนกลุ่มไปลงคะแนนอีกที (popular vote) สุดท้ายดันไม่ตกกับ จอร์จ บุช
ไปเสียดาย มันจึงกรณีที่มีหลายคนไม่ยอมออกไปเลือกตั้ง เพราะดูไม่ยุติธรรมที่เขาสู้สละหนึ่ง
คะแนนเสียงแล้วไปได้อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งๆที่คะแนนประชาชนผู้เลือกของมลรัฐนั้นท่วมท้น

นี้ก็เป็นเรื่องความเข้าใจพื้นๆ พอให้ประดับในการ
ได้ลุ้น (มั้ง) ในการชมการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเข้าใจ
โดยเฉพาะครั้งหลัง อย่าง อัล กอร์ หรือ จอห์น แคร์รี่ ที่ไล่เบียดคู่คี่สูสี
นับกันระหว่างรัฐต่อรัฐ ยิ่งพิษวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ที่อเมริกา ซึ่งอย่างไร
เสียย่อมต้องมีผลต่อเมืองไทย ในฐานะอิงแอบตลาดหุ้นและเป็นคู่ค้าส่งออกรายใหญ่
เพราะถ้าคนมะกันเลือกแม๊คแคน ในฝ่ายรีพับลิกัน เขาประกาศชัดว่าจะอุ้มคนรวย
จำพวกสถาบันการเงิน
แต่ถ้าเป็นโอบามา เขาจะเลือกช่วยฐานประชาชนรากหญ้าที่มีปัญหาเรื่องผ่อนบ้าน
(ที่อเมริกานะครับโปรดทราบ)
แต่ไม่ว่าอย่างไร เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เลือกโดยคนอเมริกันแต่รับผลกรรม
โดยทั่วถึงกันทั้งโลกแน่.........................

แต่อย่างไรเสีย ผมก็ยังเชียร์โอบามาอยู่แน่นอนครับ ......................
เพราะคำสะกดว่า Change ของพี่มันได้ใจผมจริงๆ



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2551 0:03:30 น. 4 comments
Counter : 725 Pageviews.

 
เราน่ะกว่าจะทำความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งของเมกันก็ใช้เวลานานโข


ยิ่งตอนที่อัล กอร์ แพ้ทั้งๆที่เราว่าเขาชนะนะ
เหมือนเป็นการโกงที่ไม่โกงเลย

มาคราวนี้ หวังว่าโอบาม่าคงไม่ซ้ำรอยน้า
เราก็หวังว่าถ้าโอบามาได้รับเลือกตั้ง ปัญหาความครุกรุ่นรอบโลกมันจะเบาบางลงมาบ้าง
(หวังว่าคงไม่ต้องจำใจบ้าสงครามเพราะโดนกดดันจากพ่อค้าอาวุธ )

แต่กับเรื่องเศษฐกิจ กับเดโมแครตมันจะยุ่งยากกว่าหรือเปล่าล่ะคะ
การกีดกันทางการค้า เรื่องโควต้า การใช้เรื่องสิทธิมนุษยชนมาอ้างจะยิ่งทวีความเข้มขึ้นหรือเปล่าเพราะเรื่องการเอาใจรากหญ้า NGO พวกนั้น

กับโอบามา เราชอบเขาตอนที่เขาเป็นวุฒิสมาชิกแล้วมาออกรายการโอปร่าน่ะ
เขามาพูดเรื่องหนังสือที่เขาเขียนแล้วพูดเรื่องครอบครัว การให้ความสำคัฐกับลูกสาวแม้งานยุ่งแค่ไหน
ฟังแล้วชอบวิธีการคิดของเขาจริงๆ
...หวังว่าคงไม่ต้องผิดหวังนะ


โดย: Quaver วันที่: 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:46:30 น.  

 
ใครๆก็คิดว่าโอบามาจะได้ครั้งนี้
ไม่เเน่ค่ะ อาจพิกล็อคก็ได้
ห่วงmc cain อยู่อย่างคือไม่กี่ปีมานี้ต้องผ่าตัดมะเร็งผิวหน้งที่หน้า เเละอาการจะกำเริบเป้นบางครั้ง..

มาคอยดูผลวันที่สี่ที่เมกา เมืองไทยคงวันที่ห้าค่ะ


โดย: * ยูกะ * (YUCCA ) วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:6:02:20 น.  

 
ตอนนี้คะแนน แม๊คเคน ตีตื่นมาแล้วนิ แต่ผมว่ายังห่างอยู่นา

อาจมีลุ้นกันก็ได้ แต่เหลืออีกไม่นานแล้วนี่นา แม็คเคนจะทำได้ดีแค่ไหนหนอ

แต่ผมเชียร์โอบาม่าอ่ะ


โดย: พยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:09:19 น.  

 
ตาแม็คเคน ได้ผู้หญิงเก่งมาช่วย คะแนนก็เลยดีขึ้นมาก

แต่ใจก็ว่าโอบาม่าต้องได้แหงๆ

ตั้งหน้าบล็อกอัพเดทแล้วค่ะ
วันนั้น ลืมมมม


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 4 พฤศจิกายน 2551 เวลา:5:29:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.