A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
"เสกสรรค์" เตือน 2 ฝ่าย ความขัดแย้งที่นำไปสู่วิกฤตใหญ่

วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4011 (3211)

"เสกสรรค์" เตือน 2 ฝ่าย ความขัดแย้งที่นำไปสู่วิกฤตใหญ่


ยาม นี้ ...ถามใครต่อใคร เรื่องการบ้านการเมือง ถ้าไม่ทะเลาะกันเพราะความเชื่อ ต่างกัน ก็มักได้ยินเสียงบ่นเบื่อหน่าย ไม่อยากฟัง ไม่อยากอ่านข่าวการเมือง

ถามนักการเมือง ฟากรัฐบาลก็ได้ คำตอบว่า ปัญหาทั้งปวงมาจากพวกไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง ไม่ยอมรับเสียงประชาชน 10 ล้านเสียง ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตย

ถามพวกพันธมิตรฯบนถนนราชดำเนิน ก็ได้คำตอบว่า สมัครต้องออกไป...ทักษิณต้องติดคุก

ถาม "นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้คำตอบว่า ความขัดแย้งแบบนี้ไปสัก 4-5 ปี แม้ศาลจะตัดสินมาแล้ว ใจคนจำนวนมากก็คงยังไม่ยอม แต่คนต้องเรียนรู้ว่าประชาธิปไตยปัจจุบันต้องอยู่พร้อมกับระบบการทำงานของ ศาลด้วย

แต่ถ้าถาม "เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" อดีตผู้นำนักศึกษายุค 14 ตุลา 2516 อาจไม่ได้คำตอบ.. แต่ได้คำเตือนถึง คู่ขัดแย้ง 2 ฝ่าย

เสก สรรค์บอกว่า สถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ เหมือนเมฆฝนตั้งเค้า ถ้าไม่เตรียมตั้งสติให้ดี อาจเกิดพายุใหญ่ ได้ ฉะนั้น ถามว่ารัฐศาสตร์จะชี้ทางออกได้แค่ไหนนั้น ก็ขึ้นกับสติสำนึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมองภาพใหญ่เช่นนี้ให้ออก

ส่วนผู้ที่ยังไม่เกี่ยวข้อง คือ ประชาชนส่วนใหญ่

เสก สรรค์แนะนำว่า "ผมแนะนำให้เกี่ยวข้องบ้าง เพราะจะช่วยเป็นหมอนรองกระแทก เช่น แสดงความคิดความเห็น เพราะเมื่อมีความคิดความเห็นหลากหลายขึ้น การจับขั้ว มุมแดง มุมน้ำเงินก็จะค่อยๆ พร่าเลือนไป"

อดีตผู้นำนัก ศึกษาผู้นี้บอกว่า "เมื่อมองจากจุดยืนของรัฐศาสตร์ ผมไม่อยากเห็นความรุนแรง ไม่อยากเห็นจลาจล หรือ มิกสัญญีหรือนองเลือดบนถนนราชดำเนินอีก ผมก็เช่นเดียวกับ อ.เกษียร (เตชะพีระ) คือ เราเป็นทหารผ่านศึก และก็ไม่มีใครหน่ายสงครามเท่ากับนักรบที่เคยผ่าน สมรภูมิ"

เสกสรรค์ มองว่า ในเวลานี้จะพบว่ามีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นหลายจุด โดยไม่เกี่ยวกันเลย เช่น มีการชุมนุมของรถบรรทุกที่มีปัญหาเรื่องน้ำมันแพง หรือ การชุมนุมของชาวไร่กระเทียมที่มีปัญหาเรื่องกระเทียมถูก

ล่า สุด เกษตรกรแถวอุ้มผาง เอาผักกาดขาวกับกะหล่ำปลีมาเทโรยถนนสายแม่สอดอุ้มผาง เพื่อสะท้อนความไม่พอใจและไม่มีโอกาสได้เข้าถึงกระบวนการตัดสินใจ ตอนที่ให้นำเข้าผักกาดขาวและกะหล่ำปลีได้ ทำให้สินค้าของเขาเหลือกิโลละ 1 บาท

ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ในระบอบที่จะเรียกว่าอะไรก็ตามในเวลานี้ กระบวนการเข้าถึงการตัดสินใจอันส่งผลกระทบต่อชีวิตยังไม่เข้มแข็งพอ ยังไม่เปิดพื้นที่เพียงพอให้กับประชาชน ทำให้เกิดความไม่พอใจและต้องแสดงตัวตน หรืออำนาจของผู้ได้รับ ผลกระทบด้วยวิธีการอื่น

แต่ประเด็นที่ดีสำหรับชาวบ้านคือ ชาวบ้านจะคิดเฉพาะเรื่องที่กระทบผลประโยชน์ของตน ชีวิตของตน พอจบเรื่องนั้นก็กลับบ้านได้ แต่ว่ามีบางประเด็นที่เกิดเป็นวิกฤตอยู่ในประเทศไทยเวลานี้ กระทบทุกคนทั้งประเทศ ซึ่งถ้าไม่ปรึกษาคนทั้งหมดก็เป็นเรื่อง

เช่น เมื่อไม่นานมานี้ ผู้กุมอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อเริ่มต้นตั้งรัฐบาล ก็จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ของส่วนตัวของใคร เป็นของที่มีผลกระทบคนตั้งแต่เชียงรายถึงยะลา 63 ล้านคน

แล้วอยู่ๆ จะไปแก้ไขเฉพาะความเห็นของคนหมู่น้อย ในแง่ทางรัฐศาสตร์ถือว่า ล้ำหน้าไปหน่อย และอาจถือเป็นความผิดพลาดก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นกลุ่มที่ต่อต้านขึ้นมาก็มีความชอบธรรมในเบื้องแรก ที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างรวบรัดตัดความ เป็นเรื่องที่เหมือนกับมองข้ามประชาชน



แต่เมื่อเหตุการณ์คลี่คลาย ระดับหนึ่ง ถึงจุดหนึ่ง ฝ่ายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ถอนญัตติ แต่ฝ่ายที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลได้ยกระดับข้อเรียกร้องขับไล่นายกรัฐมนตรีและ รัฐบาล นี่ก็จะคล้ายๆ กับตอนที่กลุ่มจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะรวบรัดแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ปรึกษาคนที่จะได้รับผลกระทบ เพราะรัฐบาลเป็นของที่ใช้สอยกันอย่างถ้วนหน้า จะต้องถามคนที่ใช้สอยรัฐบาลที่อื่นๆ ด้วย ว่าจะดีชั่วอย่างไรมีความคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือไม่

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายมี ข้อผิดพลาดในประเด็นนี้คล้ายๆ กัน คือไม่ได้ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้อง พูดภาษาซ้ายเก่าก็คือ ล้ำหน้ามวลชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะนำไปสู่ความโดดเดี่ยวได้ ผมว่าปรากฏการณ์ที่เราเจอเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง คือ เราเจอคู่ขัดแย้ง ซึ่งกำหนดชะตากรรมประเทศชาติ ซึ่งโดดเดี่ยวทั้งสองฝ่าย คำถามคือ แล้วเราจะทำอย่างไร

ถ้ารัฐศาสตร์ยังมีความหมาย ผมอยากให้ทุกฝ่ายกลับไปทำงานมวลชนใหม่ กลับไปถาม กลับไปคุย ไปทำให้คนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมว่าคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นที่เป็นอยู่ บางกลุ่มบางฝ่ายอาจมีจุดยืนแน่นหนาที่ไม่ยอมเปลี่ยนเป็นอื่นแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องทำงานมวลชน เพราะการเมืองต้องเอาสิบสู้หนึ่งเสมอ เพราะเป็นเรื่องของฉันทานุมัติ ซึ่งฉันทานุมัติจะทำให้ความรุนแรงสลายไป หลักรัฐศาสตร์มันเป็นเช่นนี้

เสก สรรค์กล่าวต่ออย่างมีนัยสำคัญว่า อยากเตือนทุกฝ่ายด้วยความรักและหวังดีว่า จากการสังเกตของผม ความขัดแย้งที่ถึงขั้นวิกฤต จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความขัดแย้งหลายคู่ๆ เกิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน อย่างตอน 14 ตุลา 2516 ไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างมวลชนชั้นล่างกับอำนาจรัฐเท่านั้น แต่ในหมู่ผู้กุมอำนาจรัฐก็ขัดแย้งกัน ถึงขั้นแตกหัก

"ตอนนั้นก็ ข้าวสารแพง น้ำมันขึ้นราคา คนงานลำบากยากแค้น ชาวนากำลัง สูญเสียที่ดิน ชนชั้นกลางก็หงุดหงิดกับ ค่าครองชีพ ขณะเดียวกันในกองทัพก็ ขัดแย้งกัน"

เพราะ ฉะนั้นจะเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ มาประจวบเหมาะกับความขัดแย้งระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นนำจะกลายเป็นความขัด แย้งที่เป็นวิกฤตใหญ่ !


Create Date : 19 มิถุนายน 2551
Last Update : 19 มิถุนายน 2551 23:31:14 น. 0 comments
Counter : 717 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.