A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
Mario Vargar Llosa:รางวัลโนเบลไม่อาจจะเปลี่ยนกรรมวิธีของข้าพเจ้า


มีชายสองคนชกต่อยกันขึ้นภายในโรงหนังเเห่งหนึ่งกลางกรุงเม็กซิโก
ในปี ๑๙๗๖ คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะในเมืองไทยก็หวิดจะมีวางมวย
เพราะใครบางคนไม่อยากลุกขึ้นยืน หรือเสียงริงโทนไปกระแทกโสตประสาท//www.pantip.com/cafe/richtext/
แต่ถ้าจะบอกว่า ชายสองคนที่ว่า อนาคตอีกไม่กี่สิบปีต่อไป
เขาทั้งสอง ต่างเป็นชายที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมที่เป็นความภาคภูมิใจ
ของชนชาวลาตินทั้งหมด และปรากฎการณ์โนเบลไพร์ซ
ก็กำลังจะเชื่อมความสามัคคีที่แตกแยกนับสี่สิบปี ให้กลับคืนมา



"ไอ้ตอนแรกที่ผมคิด นึกว่าเป็นเรื่องตลกสักอีก"
(At first I thought, but what if this is a joke?)


เมื่อรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปีนี้ ถูกประกาศชื่อ Mario Vargas Llosa
นักเขียนชาวเปรู ผู้คว่ำหวอดในวงการวรรณกรรมและการเมืองของแถบซีกลาตินทวีป
ชนิดที่ หลายเสียงคงมองไม่ต่างกันว่า เขาน่าจะได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ์นี้แน่
แต่จะเป็นปีที่เท่าไร ก็เท่านั้นเอง
โดยภาพรวม ที่คณะกรรมการทางสวีเดนสักการะความ ไว้ก็คือ

"เป็นการทำแผนที่ทางโครงสร้างอำนาาจเฉพาะตน
ให้ภาพที่เฉียบคมของระดับการต้านทนในส่วนของปัจเจกบุคคล ปฏิวัติและความพ่ายแพ้"

(his cartography of structures of power and trenchant images of
the individual's resistance, revolt, and defeat)




ตลอดชีวิต ๗๔ ปี กับเขียนงานมากถึง ๓๐ กว่าเล่ม ( นี้ยังไม่นับบทความที่กระจายเกลื่อน)
ลุงวาร์กัสเป็นคนลาตินที่ห่างหายไปนานที่ได้รับรางวัลสาขานี้ นับแต่ปี ๑๙๘๒
เพราะหวยรางวัลครั้งนั้น ตกกับนักเขียนขึ้นหิ้งชาวโคลัมเบีย ที่ชื่อ กาเบียล การ์เซีย มาร์เควซ
(ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1982)
คนที่ลุงวาร์กัส เคยนำมาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
เป็นชายผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในงานเขียน เป็นพ่อทูนหัวให้กับลูกของลุงวาร์กัสเอง
ก่อนที่ความสัมพันธ์ลึกซึ้งนั้นจะแตกสลาย ณ โรงหนังแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก ในปี ๑๙๗๖
โดยมีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่าเห็นน้าวาร์กัส (วัยขณะนั้น) เดินจ้ำพรวดออกจากโรง
พร้อมด้วยรอยตาที่ดำโปนพร้อมสีหน้าที่บึ้งตึง ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองก็เลิกคบหากัน
ไม่เคยมีฝ่ายไหนออกมาเล่าความจริงให้ปรากฎ ถึงเหตุผลที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ไม่มีการตรวจดีเอ็นเอ สื่อไม่เอามาเล่นขยายผล
ข่าวแวดวงวรรณกรรมช่างเป็นเรื่องที่น่าเศร้า เมื่อเผลอไปเทียบกับข่าววงการบันเทิงเสียกระไร




แต่การมอบรางวัลครั้งนี้ ได้ลดข้อครหา ที่ในสี่ห้าปีที่ผ่านมา
คณะกรรมการทางสวีเดน วนเวียนอยู่กับการมอบเงินรางวัล ๙๓๘,๐๐๐ ดอลล่าร์
แก่นักเขียนเฉพาะโซนใน (ในที่ว่าหมายถึงเครือฝั่งยุโรปและตะเข็บไม่กี่โพ้นชายแดน
นับหัวได้ก็มี ห้านักเขียนยุโรปกับอีกหนึ่งเตอร์กนักเขียน)
จนอาจมองอย่างอคติได้ว่า รางวัลนี้เขาแจกให้เฉพาะคนเชื้อสายคอเคเซียนก็เป็นได้
เพียงแต่ตลอดชีวิตที่ผ่าน มาริโอ วาร์กัส โลลซา ไม่ได้หยุดแค่การเป็นนักเขียน
แต่เขายังเป็นทั้งนักการเมือง นักข่าว นักปฏิวัติ นักวิจารณ์หนังและอาจารย์มหาวิทยาลัย
ลุงวาร์กัสเกิดในเมืองเล็กๆ อย่าง Arequipa เมืองที่เขายอมรับว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตเขาอย่างมาก
ทั้งชีวิตที่หย่าร้างของพ่อแม่ กอ่นที่จะกลับมาคืนอีกเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ
ความเป็นครอบครัวขยาย ปู่ย่าตาทวด หอบหิ้วเขาไปโน้นมานี้เสมอๆ
จนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ชีวิตเขาก็ไม่ได้ต่างไปจากเยาวชนเปรูทั่วไป เต็มไปด้วยเรื่องราว
ในยุคสมัยของการปฏิวัติเพื่อปกครองตัวเองและโค่นล้มอำนาจที่มองว่าเผด็จการ
เขาได้เข้าร่วมสมัครในโรงเรียนทหาร Leoncio Prado ช่วงต้นปี ๕๐
และประสบการณ์จากโรงเรียนแห่งนี้ ก็มีผลต่อการสร้างนิยายปลายปากกาเรื่องแรกของเขา
เป็นงานที่มุ่งโจมตีเรื่อง มาตราฐานทางศีลธรรมและการทุจริตภายในโรงเรียน
และแน่นอนว่า มันมีผลต่อความคิดของมวลชนโดยภาพรวม
งานเขาจึง " ขายดี" พอๆกับ "เผาดี"
ยอดขายนั่นไม่รู้แน่ แต่ยอดเผานี้เกลี้ยงไปกว่าพันเล่ม ตามเท่าที่ได้รับรายงาน
นิยายเล่มที่สองของเขา Green House ก็ยังไม่พ้นแอบวิพากย์
ความเป็นสถาบันพื้นฐานของเปรู ว่าด้วยเรื่องการละเมิดและแสวงหาประโยชน์
จากแรงงานในซ่องโสเภณีชาวจากน้ำหื่นของกลุ่มนายทหาร




"ผมจะแกล้งพยายามอยู่ให้รอด เมื่อรางวัลโนเบลมาถึง"
(I will try to survive the Nobel Prize) -โนเบลมีกฎว่า ผู้ได้รับรางวัลต้องไม่ตายไปสักกอ่น-



ประสบการณ์พื้นฐานจากงานเขียนของเขา
เชื่อได้ว่า เติบโตมาพร้อมในยุคสมัยของปี ๕๐ ในสมัยที่เขายังเป็นนักเรียนอยู่
ลุงวาร์กัสจับงานกิจกรรมที่หลากหลาย ท้งในส่วนของนักข่าว ผู้ช่วยบรรณาธิการ นักข่าววิทยุ
จนกระทั่งเมื่อจบออกมา แล้วจำต้องประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงชีพ
เปรู ไม่ใช่สถานที่ที่รองรับความฝันใฝ่ได้อย่างเพียงพอ เขาจึงถ่อสังขาร
ไปหางานที่ฝรั่งเศส จนได้เป็นครูสอนภาษาสเปน แล้วค่อยๆผันมาเป็น
นักข่าว ผู้ประกาศข่าว จนเตลิดมาไกลเป็นถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายเเห่ง
จนล่าสุด ณ ปัจจุบัน เขาก็ได้สอนนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในสหรัฐ
(อาจเป็นโทรศัพท์สายเดียวกับคนละเบอร์ ที่ผู้ป่วยแนช ทราบข่าวว่าตัวเองได้นักเศรษฐสตร์โนเบล)
ก่อนหน้านี้ เขาเคยได้แต่งงานและหย่าร้างไปในปี ๑๙๖๔
จนตอนที่เขาเข้าสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยฝั่้งยุโรป
เขาได้มาพบรักกับผู้หญิงที่ชื่อ แพทและการแต่งงานถือเป็นประสบการณ์ครั้งที่สองของชีวิต
จนมีลูกด้วยกันสองคน ซึ่งพยานบางคนอ้างว่า เหตุที่ทะเลาะกับกาเบรียล มาร์เซีย มาเควนซ์
ในโรงภาพยนตร์ที่เม็กซิโก ก็มีสาเหตุมาจากภรรยาแพทของเขา เป็นตัวก่อฉนวนให้เกิด




มาร์กัสใช้ชีวิตอิสระไปประเทศโน้น ประเทศนี้
ก่อนที่ห้าปีต่อมา หลังจากที่เขาเคยได้ไปปักหลักที่บาร์เซโลน่าอยู่พักหนึ่ง
เขาเลือกที่จะกลับมาประจำ ณ เปรูบ้านเกิด หมดยุคการเร่ร่อนไปอีกหลายปี
ที่นั้นเขาได้ไปผูกพันกับการตัดสินให้ Taxi Driver หนังของ ผกก.มาร์ติน สกอเซซี่
รับรางวัลที่เมืองคานส์ในปี ๑๙๗๖ เนื่องจากเขาได้รับเกียรติ์ให้ไปเป็นคณะกรรมการตัดสิน
นอกจากนี้งานเขียนของเขาอย่าง Aunt Julia and the Scriptwriter
ก็เป็นต้นฉบับชั้นดี ให้ทางฮอลีวู้ดนำไปใช้เป็นบทภาพยนตร์มาแล้ว ในเรื่อง Tune in Tomorrow (1990)
ที่มี Barbara Hershey, Peter Falk และ Keanu Reeves เป็นนักแสดง
กำกับโดย Jon Amiel ที่เคยกำกับหนังผ่านตาอย่าง Copycat




แม้งานเขียนเขาจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่
แต่สำหรับเส้นทางทางการเมืองแล้ว เขาล้มเหลวไม่เป็นท่า
โดยเฉพาะการประกาศลงเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ๒๐๐๐
เขาพ่ายแพ้ต่อนายฟูจิมูริอย่างหมดคราบ ซึ่งเป็นที่รับรู้แน่นอนว่า
ฟูจิมูริถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการทุจริตคอรัปชั่นหลายกระทงในสมัยที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
เป็นเหตุให้ต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น ที่ๆเป็นบ้านประเทศบ้านเกิดของบรรพบุรุษของนายฟูจิมูริ
จนในระยะหลัง เขาได้ปลีกตัวออกจากทางการเมือง หันมาเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุน
แก่ผู้สมัครสายอนุรักษ์นิยมระดับกลาง และกลุ่มปฏิวัติรัฐบาลของฟิเดล คาสโตรแทน



ทุกวันนี้ผลงานของเขาหลายเล่ม ได้รับการแปลมากกว่า ๓๑ ภาษา
ไม่ว่าจะเป็นทั้งจีน โครเอเชีย ฮีบรู อาหรับ (แต่ไม่ยักจะเจอภาษาไทย)
ผลงานที่โดดเด่นและขายได้เรื่อยๆ ก็มี Conversation In The Cathedral
The War of the End of the World และ The Feast of the Goat เป็นต้น
งานวรรณกรรมของเขาได้รับการวิพากย์วิจารณ์ในชั้นเรียน ถึงแนวคิดการเขียน
ที่มีกลิ่นไอของโมเดรินท์และโพสต์โมเดรินท์อยู่ในตัวเอง
มีความซับซ้อนและยากลำบากในเชิงเทคนิควิธี
ครอบคลุมเนื้อหาประวัติศาสตร์เชิงประสบการณ์ส่วนตัว เขายังได้ขยายช่วงความคิด
และสร้างรูปแบบที่ท้าทายต่อแนวคิดต่างไปยังส่วนอื่นๆทั่วโลก มีความเป็นนักประยุกต์
ต่อรูปแบบวรรณกรรมสากลที่หลอมรวมรูปแบบและยกระดับเนื้องานอาชีพแบบเดิมๆ
ผสมกับลูกเล่นอันประปรายในแบบโพสต์โมเดรินท์ที่ไม่ตายตัว
งานของวาร์กัส จึงอิทธิพลของรุ่นพี่นักเขียน อย่าง Albert Camus,
Ernest Hemingway, และ Jean Paul sartre
รวมถึงอิทธิพลของงานเขียนจากคนท้องถิ่น อย่าง
Martín Adán, Carlos Oquendo de Amat, and César Moro
และขาดไม่ได้เลย คือ ปู่การ์เซีย มาร์เควส ที่หลายคนคงพอสบายใจ
ถึงความสัมพันธ์แบบตายไม่เผาดีอยู่เดิม
เมื่อปรากฎการณ์คนแก่คืนดีกัน เริ่มค่อยๆเป็นผล เมื่อปู่วากัสบรรจงเขียนคำนำเป็นเกียรติ์
ในหนังสือ the 40th anniversary edition of Garcia Marquez's classic work, A Hundred Years of Solitude เมื่อกลางปี 2007 ไม่กี่ปีมานี้เอง



ทำดีแล้ว หากคนที่ปลายทางไม่ประสาน ก็ไร้ผล
หลังจากการประกาศรางวัลโนเบล ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ปู่Garcia Marquez ก็ได้ทำเท่ห์ ด้วยการทวิตเตอร์ส่วนตัวตรงมายังลุงมาร์กัส
โดยมีข้อความเป็นภาษาถิ่นว่า "iguales Cuentas" (Now we're even)

"เราเสมอกันแล้วนะ" (คำแก้จากท่านทุเรียนกวน ป่วนรัก)

เพื่อสะท้อยนัยยะความสัมพันธ์อะไรบ้างอย่าง ระหว่างเราสอง
(แต่ขอร้องนะ ว่าอย่าเอาเมียมาด้วย!!)


ใครบอกละ? ว่าเจ้าแห่งโนเบลวรรณกรรมสองคน จะอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้??........






อ้างอิงข้อมูลจาก>>>>>>


TimeSearch
- Book and Arture โดย Bamber Gascoigne
- BBCNews
- Wikipedia

และภาพจาก wikipedia , IMDB


Create Date : 10 ตุลาคม 2553
Last Update : 17 ตุลาคม 2553 0:39:41 น. 4 comments
Counter : 933 Pageviews.

 
เพิ่งรู้นะคะว่ารางวัลโนเบลให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
แล้วหนังสือของคุณตาวาร์กาส บ้านเราก็ไม่มีแปลจำหน่ายใช่ไหมคะ
อยากอ่านเรื่องGreen Houseน่ะค่ะ
ส่วนหนังจากบทประพันธ์ของคุณตาเรื่องTune in Tomorrow
ไม่เคยผ่านตาเลยค่ะ มีKeanu Reeves แสดงด้วยเหรอคะ
ไม่รู้ว่าน่าดูหรือเปล่านะคะ
แล้วเรื่องนี้ก็จบลงได้สวยนะคะ
เพื่อนสองคนก็กลับมาเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
ดูแล้วรางวัลโนเบลให้ผลคุ้มค่ากับที่คุณตาวาร์กาสรอคอยเลยนะคะ


โดย: มะนาวเพคะ IP: 125.24.7.94 วันที่: 10 ตุลาคม 2553 เวลา:17:42:19 น.  

 
ท่าทางเรื่องราวคนเขียนสนุกกว่าผลงานประพันธ์อีกแฮะ


"Now, we're even" หมายความว่า "ตอนนี้เราเสมอกันแล้วนะ" หรือเปล่าครับ
คือเขาหยอกกันเองว่า...ได้โนเบลเหมือนกันแล้ว ทำนองนี้น่ะครับ


โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 15 ตุลาคม 2553 เวลา:12:49:17 น.  

 
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
----------------------
ขอให้ชีวิตเย็นดั่งสายน้ำนะคะคุณchan


โดย: เกศสุริยง วันที่: 13 เมษายน 2555 เวลา:10:59:09 น.  

 



More Flirts Comments

----------------------
เพิ่งว่างจริงๆก็ตอนนี้ เมื่อวานไม่ได้เข้าblogเลยค่ะ มีงานแต่งหน้าเจ้าสาวทั้งวันเลยเมื่อวานฤกษ์ดี วันที่5เดือน5ปี2555ขึ้น15ค่ำ หวังว่าคงสบายดีนะคะคุณChan


โดย: เกศสุริยง วันที่: 6 พฤษภาคม 2555 เวลา:17:22:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.