A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
คำว่า"คนไทยด้วยกัน"คงยังไม่พอ?



ช่วงนี้ถ้าผมเองจะข้ามเรื่องทางการเมืองและเหตุการณ์ของบ้านเมือง
ไปเสียบ้าง คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ปรากฎกับคนกรุงอีกหลายคนที่ผม
ได้สอดส่องสังเกตุและซักถามจากคนแวดล้อม ด้วยหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องของความขัดแย้ง ปะทะ และสถานการณ์ที่
ทำให้เราเองรู้สึกไม่สบายใจที่ได้ยิน เห็นและรับฟัง ผมเองคิดว่าเรา
เองควรมีพื้นที่สื่อในส่วนอื่นสำหรับเรื่องที่น่าเป็นข่าวที่ไม่ได้เป็นข่าว
(แม้ว่าวันนี้ผมเองจะไปสะพานมัฆวาน เนื่องด้วยเพื่อนสนิทไหว้วาน
ให้เป็นเป็นพันธมิตรยามจำเป็น ประสาคนเคยมีบุญคุณกัน)


ประโยคหนึ่งที่ผมมักได้ยินในยามที่สังคมไทยเกิดการปะทะทาง
ความคิดและข้อคิดเห็นอย่างรุนแรง ก็คือ"อย่างไรก็คนไทยด้วยกัน"
ผมเองรู้สึกว่าเจ้าประโยคนี้น่าจะเป็นวาทกรรมที่ถูกผลิตขึ้นมา
ได้ไม่นานเกินร้อยปี (อย่างน้อยๆคำว่าประเทศไทยก็เพิ่งมีสมัย
จอมพล ป.ไม่กี่สิบปีนัก) เพราะในฐานะที่เป็นติด ร. วิชาประวัติศาตร์
มาหลายสิบปี (เรียนอย่างไรก็ไม่รู้จักเสียที) ความขัดแย้งด้วยกันเอง
ภายใน น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญมากเสียกว่าอริราชศัตรูจากภายนอก
เพราะมันทำให้โครงสร้างที่ควรจะเข้มแข็งในการป้องกันประเทศ
ง่ายต่อการสั่นครอนและมุ่งโจมตีได้อย่างไม่ยาก หากดูจะประวัติ
ของการเสียกรุงและการปรับเปลี่ยนสายราชวงศ์ขึ้นปกครอง ก็ล้วน
เกิดจากการแย่งชิงและขัดแย้งด้วยกันเองมาโดยตลอด เพียงแต่จะว่า
ด้วยเรื่อง ความเชื่อทางศาสนา อำนาจจากสายต้นตระกูล ขุนนางอำมาตย์
ยุยงส่งเสริม ดังนั้นความนึกคิดที่ว่าอย่างไรก็คนบ้านเดียวกัน สำหรับผม
แทบจะกล่าวว่านี้แหละ ตัวดีเชียว! ง่ายที่จะสร้างข้อแห่งความขัดแย้ง
มากเสียกว่าคนนอกที่ยังมีขนบบางอย่างเป็นเส้นแบ่งระยะห่างของการ
สร้างความขัดแย้งที่จะโยงปัจจัยโน่นนี้นั้น เพื่อหาเรื่องของสำนึกร่วมอะไรบางอย่าง
ในการเชื่อมต่อให้ติด ซึ่งเรื่องนี้คนในด้วยกันสามารถทำได้ง่ายกว่า
(เพราะที่ผ่านมา"คนนอก"มักต้องอาจสิทธิ์อะไรบางอย่าง ที่"คนนอก"อีก
ฝ่ายไม่อาจให้ได้ ด้วยเป็นศักดิ์และเกียรติ์ของผู้ปกครอง อย่างการที่พระเจ้า
หงสาวดีมาขอช้างเผือกจากอโยธยา ซึ่งก็ไม่ต่างจากประกาศทำสงครามกลายๆ
แต่เมื่อมองสายตาจากคนนอกแล้ว ถือเป็นความชอบธรรมเนื่องด้วยการปฎิเสธ
เท่ากับการดูหมิ่นเกียรติ์ทางผู้ขอ เจ้าคำว่า"เกียรติ์"จึงเป็นเรื่องที่ดูไม่น่าเป็นเรื่อง
สำหรับสงครามความขัดแย้งทุกยุคทุกสมัย (ไม่ต่างจากสมัยนี้เช่นกัน)



อย่างกรณีความขัดแย้งของคนกันเองที่คลาสสิคที่สุดสำหรับความคิดของผม
คงจะเป็นช่วงยุคต้นของการร่วมสถาปนาอโยธยาศรีรามเทพนคร (ชื่อนี้เป็น
นามขจรขจายยุคๆที่แข่งอำนาจบารมีกับสุโขทัยศรีศัชนาลัยที่ปักหลักมั่นคงพอควร
ว่าด้วยเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างราชวงศ์อู่ทองกับราชวงศ์สุพรรณภูมิ เรื่องก็มี
อยู่ด้วยสายสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑แห่งราชวงศ์
อู่ทองกับขุนหลวงพ่องั่วแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิมีโปรเจ็คใหญ่ที่จะสถาปนากรุงใหม่
ที่ชื่อว่ากรุงศรีอยุธยา ทำไปทำมากรุงใหม่แห่งนี้กลายเป็นกรุงที่มีอนาคตอันยาวไกล
เจริญเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว อยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสายคือแม่น้ำลพบุรี
แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตั้งของอยุธยาจึงมีลักษณะเป็นชุมทางที่สามารถติดต่อ
เข้าไปยังแผ่นดินภายในได้หลายทิศทางให้ประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งรวมสินค้าที่ส่งมาจากที่ต่างๆ ได้สะดวกและสามารถเป็นตลาดกลางขนาดใหญ่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับทั้งภายในทวีป
และดินแดนโพ้นทะเลได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง หรือเป็นเมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยา จึงไม่เหมือนกับการเกิดขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเมืองสุโขทัย เพราะทั้งสองเมืองมีลักษณะของการเป็นบ้านเมืองของผู้นำที่ค่อยๆ รวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าไว้ด้วยกัน และเติบโตสร้างความเป็นปึกแผ่นของแว่นแคว้นเพิ่มขึ้นๆ จนในที่สุดเมืองซึ่งเป็นที่ประทับของผู้นำของแว่นแคว้นก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของอำนาจ
การปกครองดินแดนที่รวบรวมเข้ามาได้
ส่วนกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ก็เป็นเมืองที่มีพื้นฐานอันเป็นเครือข่ายของเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่แต่โบราณแล้ว คือ บ้านเมืองในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณที่ราบลุ่มน้ำมูลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบเดียวกันติดต่อไปถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา
หลังจากที่พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่๑) สวรรคตเกิดความไม่พอใจขึ้น เมื่อราชโอรส
พระเจ้าอู่ทอง คือ สมเด็จพระราเมศวรสืบราชสมบัติต่อ ข้ามหน้าข้ามตาผู้ร่วมก่อตั้งแต่เริ่มอย่าง
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ ซึ่งก็คือ ขุนหลวงพ่องั่ว อีกทั้งมีศักดิ์เป็นพี่มเหสีของ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เท่ากับว่า ลุงยกกองทัพจากเมืองสุพรรณบุรีไล่หลาน (ซึ่งเป็นลูกของน้องสาว) ลงจากราชบัลลังค์ให้ไปครองเมืองลพบุรี
จากนั้นก็เหมือนคำสาป เกิดจากแย่งชิงไปมาของสองราชวงศ์อยู่หลายครั้ง
เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จจากลพบุรีเข้าช่วงชิงราชบัลลังก์จากโอรสของ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์คือสมเด็จพระรามราชาธิราช ก็ได้สืบราชสมบัติต่อไป จนกระทั่งสมัยของสมเด็จนครินทราชาธราช ถือเป็นข้อยุติการแย่งชิงอย่างเด็ดขาดด้วยอำนาจของกรุงศรีอยุธยาก็ตกอยู่กับ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิสืบยาวเรื่อยมา เมื่อเนรเทศสมเด็จพระรามราชาธิราช ไปไกลถึงกัมพูชาในที่สุด


ดังนั้นการบริหารความขัดแย้ง เพียงเพราะการหยิบยกเรื่อง"เราเป็นคนไทยด้วยกัน" ในบริบท
ทางประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก ดีไม่ดียิ่งเป็นการซ้ำเติมเหตุการณ์ในบานปลายในที่สุด
เพราะสำนึกกับวิธีคิดที่แตกต่าง แทบจะเป็นเส้นขนานที่แบ่งตามซีกของสมองให้คิดไปคนละอย่าง
ผมยังเชื่อในเรื่องของการสร้างพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ให้ได้แสดงออกถึงปัญหาและหนทางเจรจา
กันทั้งสองฝ่าย ได้ถกเถียงและหาจุดกึ่งกลางของผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ภายใต้สันติวิธีที่มี
อารยะ การหยิบยกคำพูดหนึ่งพูดใดโดยที่ปัญหานั้นไม่ได้รับการแก้ไขอย่างราบรื่นน่าเป็นการย้ำ
ให้ปัญหานั้นเรื้อรังและทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก เรามีประวัติศาสตร์เป็นเครื่องผูกมัดวิธีให้
มนุษย์ยังอยู่ในกรอบเดิมๆ เอาโต๊ะมากลาง เอาเก้าอี้มาตั้งแล้วพูดคุยกันไม่ดีกว่าเหรอ?




Create Date : 31 พฤษภาคม 2551
Last Update : 31 พฤษภาคม 2551 14:43:32 น. 1 comments
Counter : 1490 Pageviews.

 
จ๊ะ ช่ายแล้ว

ปัญหาอยู่ที่สาเหตุ มนุษย์ด้วยกัน เรียนหนังสือ อ่านออกเขียนได้ มีความรู้

ทำไมพูดกันไม่เข้าใจความอยากได้ อยากเอาชนะ ร้ายจริงๆ

ชาติก็รักอะน่ะ จึงต้องทำมาหากิน กรีดยางตัดปาล์มหาตังค์ดีกว่า ฮิ ฮิ ฮิ

เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น


โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 31 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:46:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.