Group Blog
 
All blogs
 

221. วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ.น่าน

ตั้งอยู่ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
พระอารามหลวง

อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัติ ของพระองค์ว่า "ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏก ในบริเวณวัดช้างค้ำ 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สัก ทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว 2 ข้าง และเพดาน ทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง กับจีนอิ๋วจีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท

ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้า คู่กับ พระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสาราย รับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบัน ใช้แผ่นไม้เรียงต่อกัน เป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลักลายกนก เป็นรูปสามเหลี่ยม สลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บ พระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี











 

Create Date : 07 ตุลาคม 2556    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 17:30:19 น.
Counter : 1794 Pageviews.  

222. วัดป่าคอวัง จ.น่าน

เป็นสาขาที่ ๙๙ ของวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หรือที่รู้จักกันในนามของวัดป่าที่เป็นสถานปฏิบัติธรรมของ “หลวงพ่อชา สุภัทโท” (พระโพธิญาณเถร) ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เริ่มแรกได้เลือกพื้นที่สาธารณะของบ้านคอวังเป็นที่ตั้ง เนื่องจากขณะนั้นบ้านคอวังยังไม่มีวัด จึงได้ใช้สถานที่สาธารณะที่อยู่บริเวณป่าสุสานของหมู่บ้านเป็นที่จัดตั้งสำนักสงฆ์ ซึ่งมีสภาพเป็นป่าและอยู่ห่างจากหมู่บ้านพอสมควร ตามลักษณะของวัดป่า และวัดในสมัยพุทธกาล มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ได้จัดตั้งเป็นเพิงพักของสงฆ์แบบทรงหมาแหงนแบบเรียบง่าย ลักษณะชัยภูมิที่อยู่ในป่าสุสาน เป็นพื้นที่เงียบสงบภายนอก เป็นองค์ประกอบความเงียบสงบภายนอกที่เอื้อต่อการฝึกปฏิบัติเพื่อความสงบภายใน ความสงบจากจิตวิญญาณยิ่งนัก การตั้งอยู่ในบริเวณป่าสุสาน เป็นการอยู่เพื่อให้เห็นสัจธรรมของชีวิตเห็นกฎของการเปลี่ยนแปลง เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่เป็นสิ่งที่แน่แท้ของชีวิต พิจารณาให้เห็น ดูให้เป็น

การพัฒนาของสำนักสงฆ์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดยพระอาจารย์และเหล่าบรรดาญาติโยมด้วยความศรัทธา จากสำนักสงฆ์เล็กๆ ได้ขยายตัวไปทีละน้อยๆ พร้อมๆ กับความสงบ สว่าง ที่ผุดเกิดในใจของศรัทธาญาติโยม
ปี ๒๕๓๕ สำนักสงฆ์คอวัง ก็ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น “วัด” อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งวัดของกรมศาสนา
ปี ๒๕๔๑ หลังจากที่วัดมีการพัฒนาและขยับขยายพื้นที่ออกไปอย่างต่อเนื่องจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน ทำให้มีการจัดระบบผังของวัดใหม่ เพื่อให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติ โดยกำหนดเขตบริเวณวัดไว้เป็น ๓ ส่วน คือ ๑) เขตพุทธาวาส เป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า นั่นคือเขตพื้นที่สำหรับการปฏิบัติธรรม ๒) เขตพระสงฆ์ เป็นที่ตั้งของกุฏิของพระสงฆ์ ๓) เขตที่พักของญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรม













 

Create Date : 07 ตุลาคม 2556    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 17:32:17 น.
Counter : 2050 Pageviews.  

223. วัดร้องเข็ม จ.แพร่

ตั้งอยู่ หมู่ 2 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่













 

Create Date : 07 ตุลาคม 2556    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 17:36:37 น.
Counter : 1744 Pageviews.  

224. วัดแพร่ธรรมาราม จ.แพร่

ตั้งอยู่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ทางเข้าวัดอยู่ห่างจากสถานีรถไฟเด่นชัย ๕๐๐ เมตรเท่านั้น

เป็นวัดป่า ร่มรื่นด้วยเงาไม้ป่านานาชนิดเงียบสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรม เจ้าอาวาสคือหลวงพ่อกัณหาสุขกาโม ปัจจุบันท่านไปสร้างวัดอยู่ที่ บ้านบุเจ้าคุณ ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ชื่อวัดป่าทรัพย์ทวี ให้พระอาจารย์เอกราชเขมานันโท เป็นประธานสงฆ์ดูแลวัดแทน ปกติในระหว่างเข้าพรรษาจะมีพระจำพรรษาอยู่ประมาณ๒๐-๓๐รูป เมื่อออกพรรษาแล้วก็ลดลงไป ส่วนหนึ่งก็ลาสิกขา บางส่วนไปจำวัดที่วัดสาขาที่มีอยู่หลายวัดทั้งภาคเหนือและอีสาน











 

Create Date : 07 ตุลาคม 2556    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 17:40:23 น.
Counter : 1128 Pageviews.  

225. วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์

ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดหลวงพ่อเพ็ชร์ ชื่อเดิม วัดวังเตาหม้อ ได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๒

หลวงพ่อเพ็ชร์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่งเกตุบัวตูม สังฆาฎิสั้นเหนือราวนมด้านซ้าย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๑ นิ้ว เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดทั่วไป หลวงพ่อเพ็ชร์เจ้าอาวาส ได้อันเชิญมาจากวัดไผ่ล้อม ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถหลังเก่า (วัดวังเตาหม้อเดิม) ด้วยพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร จึงเป็นที่รู้จักและเรียกขานกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อเพ็ชร์” พระพุทธรูปองค์นี้ในช่วงสมัย ร.ศ. ๑๑๙ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดอันเชิญไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ จนถึง ร.ศ. ๑๒๙ หลวงนฤนาถเสนี (พัน) (จุภรรยา) หรือพระนฤบาลบดี (ต้นสกุลศรีพัน) อัญเชิญมาประดิษฐานไว้วัดท่าถนน (หรือวัดวังเตาหม้อเดิม)











 

Create Date : 07 ตุลาคม 2556    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2560 17:42:18 น.
Counter : 1653 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.