Group Blog
 
All blogs
 

81. วัดโรงช้าง จ.ราชบุรี

ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี









 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:48:50 น.
Counter : 1726 Pageviews.  

82. วัดเขาวัง จ.ราชบุรี

ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กม. มีทางรถยนต์จากเชิงเขาถึงยอดเขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังบนเขานี้ เหมือนเช่นเดียวกับที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับสั่งให้สร้างนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี พระราชวังบนเขาวังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับครั้งเดียว เมื่อ พ.ศ. 2420 เพื่อออกรับราชทูตโปรตุเกส หลังจากนั้นไม่ได้เสด็จไปประทับอีกเลยจนตลอดรัชกาลต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ อุทิศให้เป็นธรณีสงฆ์ ซึ่งได้มีผู้มีศรัทธาได้ซ่อมแซมบางส่วนดัดแปลงตำหนักต่างๆ เป็นโบสถ์และกุฏิสงฆ์ ต่อมาได้ยกขึ้นเป็นวัดเรียกว่า วัดเขาวัง









 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:50:30 น.
Counter : 771 Pageviews.  

83. วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.ราชบุรี

ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

สร้างตั้งแต่สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 เดิมเรียกว่า "วัดหน้าพระธาตุ" "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" มีพระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงสูง 12 วา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์ และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก 3 องค์บนฐานเดียวกัน

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2338 พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ในที่สุด วัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน

พระปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 และได้รับการซ่อมแซมเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนต้นตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้านตะวันออก และภาพจิตรกรรมภายใน ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและพระปรางค์บริวาร 3 องค์บนฐานเดียวกันมีการตกแต่งองค์พระปรางค์ทั้งหมดด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาน ด้านตะวันออกของพระปรางค์ประธานมีบันไดและขึ้นมุขยื่น ภายในเป็นคูหาเชื่อมต่อกับพระปรางค์ ผนังภายในองค์พระปรางค์ทุกด้านมีภาพจิตรกรรมรูปพระอดีตพุทะเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างองค์พระปรางค์ พระวิหารหลวง อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคด เป็นซากอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานด้านล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามีมุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่ แต่พังทลายลงหมด บนฐานวิหารมีอาคารไม้โล่ง หลังคาเครื่องไม่มุงสังกะสี อาคารหลังนี้กล่าวกันว่า นายหยินบิดาของขุนสิทธิสุวรรณพงศ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 พระวิหารนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมราชบุรี ภายในอาคารพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่แสดงปางมารวิชัย 2 องค์ ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน พุทธศิลปะแบบอยุยาตอนต้น ด้านข้างทั้งสองและด้านหน้าของพระวิหารที่มุมด้านตะวันออกแยงเหนือและด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกันคล้ายกับพระพุทธรูปบนพระวิหารหลวง

พระอุโบสถ สันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมว่าสร้างขึ้นตอนปลายสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด 2 ชั้น 3 ตับ เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าและด้านหลังทำพาไลยื่นรองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนจำนวน 3 ตับ ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ ฐานอาคารมีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย คือแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาหรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นปูนประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัว ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ

พระมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้วปัจจุบันอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์ ผนังรอบด้านมีซุ้มหน้าต่างทรงมณฑปด้านละ 1 ซุ้ม เว้นด้านตะวันออกเป็นซุ้มประตูทางเข้ามีบันไดขึ้น – ลง เครื่องหลังคาของพระมณฑปพังทลายลงหมดแล้ว ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำด้วยหินทรายสีแดง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์ และตอนผจญกองทัพพญามาร ปัจจุบันมีสภาพลบเลือนเกือบหมด เพราะไม่มีหลังคาคลุมทำให้น้ำฝนชะล้างสีจนภาพเลอะเลือน พระมณฑปหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระเจดีย์ เป็นเจดีย์รายเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑปจำนวน 5 องค์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน 4 องค์ และพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอีก 1 องค์ ทั้งหมดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ฐานของพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีจารึกบนแผ่นหินอ่อนความว่า พ.ศ. 2462













 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:52:40 น.
Counter : 797 Pageviews.  

84. วัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) จ.ราชบุรี

ตำบลหลุมดิน อำเภอเมืองราชบุรี
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

วัดสุรชายาราม เดิมชื่อวัดหลุมดิน สันนิฐานว่าคงสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือก่อนหน้านั้น เนื่องจากที่ตั้งของวัดนี้ปรากฏว่าอยู่ในบริเวณค่ายเก่า ห่างจากคูเมืองเพียง 3 เส้นเศษ และคูเมืองนี้ได้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

การที่วัดนี้มีชื่อเดิมว่าหลุมดินนั้น สันนิฐานว่าเหตุเพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปากคลองหลุมดิน ริมแม่น้ำแม่กลองตรงข้ามกับ วัดโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณวัดโคกหม้อเป็นที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น หม้อ โอ่ง ไห เศษดินของเครื่องปั้นถูกนำไปสุมกองไว้จนเป็นเนินสูง (ปัจจุบันทางวัดได้สร้างเป็นมณฑปครอบพระพุทธบาทจำลองเอาไว้) โรงทำเครื่องปั้นดินเผาจึงอยู่บริเวณฝั่งวัดโคกหม้อ ส่วนฝั่งวัดหลุมดินสมัยก่อนเป็นที่ลุ่มมาก ปีหนึ่งๆ จะถูกน้ำท่วมขังเสียหลายเดือน (ปัจจุบันกรมชลประทานได้ทำเขื่อนปิดคลอง สร้างประตูระบายน้ำเพื่อเกษตรกรรมน้ำไม่ท่วมแล้ว) เวลาจะสร้างหม้อ ไห จึงมีหน้าที่ต้องขุดขนดินใส่เรือข้ามฟากไปผลิตกันที่ฝั่งตรงข้าม ทำให้พื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดหลุมดิน และเรียกบริเวณนี้ว่าตำบลหลุมดิน

ต่อมาท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค ภริยาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์พิพัฒนาศักดิ์ (วร บุนนาค) และเป็นมารดาของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ) ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้พบวัดหลุมดินอยู่ในสภาพวัดร้าง จึงได้สร้างอุโบสถและเสนาสนะขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2427 และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสุรชายาราม พร้อมทั้งสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2427





















 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:57:57 น.
Counter : 3246 Pageviews.  

85. วัดอรัญญิกาวาส จ.ราชบุรี

ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

เดิมชื่อ “วัดเจริญธรรมวิหาร” เป็นวัดที่สร้างมาแต่สมัย โบราณ ปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่ 73 ไร่ 2 งาน 48 วา วัดนี้ เป็นวัดโบราณสมัยขอม ประมาณศตวรรษที่ 10 ถึง 16 มีปูชนียสถาน คือ ปรางค์ขอม-เขมร ที่นับถือศาสนาพราหมณ์

พระปรางค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2030-2035 เป็นเจดีย์ 4 องค์ แบบบัวผันสร้างว้า 4 มุมรอบพระปรางค์ ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือทางทิศใต้เท่านั้น ลักษณะเป็นหินทราย ผู้สร้าง ขุญหาญ บุญไทย บูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2425-2440 จึงแล้วเสร็จ

พระนอน สร้างเมือ พ.ศ.2030-2035 ลักษณะเป็นหินทรายแดง มีความยาว 15 วา ทำการบูรณะซ่อมแซมโดยการสร้างครอบองค์จริง องค์ที่สร้างใหม่มีความยาว 30 วา ทำการบูรณะโดยพระพุทธปาพจนบดี ปี พ.ศ. 2505 ยังไม่แล้วเสร็จ จนถึงปัจจุบันนี้ โดยท่ายเจ้าคุณ พระมหาสมณวงศ์ (แท่น) ครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2515 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ

รอบๆ พระปรางค์ จะมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้านโดยจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่เป็นแนว ซึ่งทำให้เห็นว่าการนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานรอบๆ แนวกำแพงมีมานานหลายร้อยปีแล้ว แต่สำหรับที่วัดอรัญญิกาวาสจะพิเศษกว่าที่เคยเห็นจากที่ไหนๆ คือพระพุทธรูปที่ประดิษฐานต่างมีลักษณะแตกต่างกัน (ปกติจะประดิษฐานปางเดียวกันหมด) อาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชน ถวายให้กับวัด ซึ่งแต่ละคนก็สร้างมาตามแบบที่ตัวเองต้องการถวาย ทำให้ไม่เหมือนกันทั้งหมด







 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:59:15 น.
Counter : 699 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.