Group Blog
 
All blogs
 

91. วัดวิหารสูง จ.ราชบุรี

ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี











 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 19:55:32 น.
Counter : 2145 Pageviews.  

92. วัดกลาง จ.ราชบุรี

ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

วัดกลางคลองข่อย สร้างในสมัยรัชกาลใดไม่มีผู้ใดทราบ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ณ วัดแห่งนี้สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้สร้างพระพุทธรูปยืน บางอุ้มบาตร โดยหันหน้าสู่แม่น้ำให้เหล่าเทพเทวาและมนุษย์สักการะประจำทางด้านทิศตะวันตก การก่อสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ท่านได้อธิฐานจิตนั่งทำสมาธิพิจารณาสถานที่ก่อสร้างพระประจำทิศ ณ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ (ปัจจุบันต้นโพธิ์ยังอยู่และเล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก) ในขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าท่านคงสร้างเป็นปางไสยาสน์ (พระนอน) มากกว่า เพราะในวิหารหลังพระพุทธรูปยืนซึ่งปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้ว และกำลังบูรณะก่อสร้างใหม่ ภายในวิหารมีภาพพระพุทธรูปนอนเป็นหลักฐาน แต่เนื่องจากบริเวณเนื้อที่ก่อสร้างไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาเป็นการสร้างพระยืนแทน เพราะมีรอยแนวการเรียงอิฐอยู่ ประกอบสมัยนั้นวัดเป็นป่ารกชัฏ ไม่มีคนช่วยถากถาง ท่านจึงได้เอาเงินโปรยหว่านไปทั่วบริเวณป่า พอชาวบ้านรู้ว่ามีพระเอาเงินมาหว่านในป่าก็เลยพากันมาถางป่าเพื่อหาเงิน จึงทำให้บริเวณนั้นกลายเป็นที่โล่งเตียนจนได้สร้างพระพุทธรูปยืนสำเร็จ ว่ากันว่าเป็นเงินตราเก่าๆด้วย และในตอนที่จะสร้างพระนี้ ท่านต้องการไม้ไผ่ เผอิญมีผู้ล่องแพไม้ไผ่มาทางนั้นท่านไม่มีเงินจึงไปที่ต้นโพธิ์บริเวณนั้น ก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ตามประสงค์ ส่วนต้นโพธิ์นั้นในปัจจุบันนี้ยังมีปรากฏอยู่









 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 20:02:39 น.
Counter : 1187 Pageviews.  

93. วัดคณิกาผล กรุงเทพฯ

ถนนพลับพลาไชย ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

วัดคณิกาผล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดย คุณยายแฟง วัดมีชื่อเดิมว่า วัดใหม่ยายแฟง ตามชื่อผู้สร้าง คุณยายแฟง มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็นแม่เล้า เจ้าของซ่องนางโลมด้วย
ต่อมาขอพระราชทานนามใหม่ รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า วัดคณิกาผล มีความหมายว่า วัดที่สร้างจากผลประโยชน์ของหญิงคณิกา
บริเวณกำแพงหลังพระอุโบสถ มีซุ้มประดิษฐานรูปปั้นครึ่งตัวของ คุณยายแฟง และยังมีของดั้งเดิมตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัดหลายอย่าง ได้แก่ พระประธาน พระวิหาร พระระเบียง พระปรางค์เล็ก ๑ องค์ ตู้ลายรดน้ำของเก่าหลายใบ พื้นลายกนกเปลว เขียนเรื่องรามเกียรติ์ หอระฆังก่ออิฐถือปูนแบบเก่า หลังคาประดับลายปูนปั้นเขียนสีตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ นอกจากนั้นเป็นของใหม่ทั้งสิ้น

























 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 20:11:20 น.
Counter : 1823 Pageviews.  

94. วัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพฯ

ถนนเจริญกรุง ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกชัยภูมิที่ตั้งวัด และโปรดฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เล่าเกี้ยงเฮง) ชักนำพุทธศาสนิกชนชาวจีนสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 8 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ ให้ชื่อว่า "วัดเล่งเน่ยยี่" นับเป็นสังฆารามตามลัทธิและศิลปะมหายานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในยุคนั้น และโปรดฯให้นิมนต์พระอาจารย์สกเห็ง แห่งวัดบำเพ็ญจีนพรต (กวนอิมเก็ง หรือศาจเจ้ากวนอิม ) มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า วัด "วัดมังกรกมลาวาส " และพระราชทานสมณศักดิ์ แก่พระอาจารย์สกเห็ง เป็น "พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร" เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายจีนนิกายรูปแรกแห่งประเทศไทย

พุทธศาสนิกชนชาวจีน ถือว่า พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (สกเห็ง) เป็นปฐมบูรพาจารย์แห่งวัดมังกรกมลาวาส และแห่งคณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทย

การพัฒนาวัดในยุคต่อมา สมัยพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(กวยหงอ) เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ เป็นศิษย์และผู้ร่วมก่อสร้างวัดมังกรกมลาวาสกับพระอาจารย์สกเห็งได้ก่อสร้างวิหาร เพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่งภายในบริเวณวัดด้านซ้าย

จนกระทั่งเมื่อพระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) ย้ายมาครองวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2497 จึงได้เริ่มดำเนินการพัฒนา วัดอย่างจริงจัง นับว่าได้สร้างความเจริญให้แก่วัดอย่างมากมาย กล่าวคือบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุที่สร้างมาช้านาน เพื่อให้คืนสภาพดีดังเดิม และปรับปรุงโดยใช้โมเสสทั้งหมดติดผนังทั้งภายในและภายนอกอาคาร ส่วนพื้นก็เทปูนขัดพื้นหินอ่อน ทั้งสิ้นจึงทำให้เกิดความคงทนและสวยงามสะอาดตามาจนทุกวันนี้

ภายหลังที่ท่านย้ายไปครองวัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านก็มิได้ทอดทิ้งธุระกิจการของวัดมังกรกมลาวาส ท่านพิจารณา เห็นว่าสภาพหน้าวัดซึ่งมีอาคารเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมและคับแคบ จึงตั้งปณิธานว่า จะรื้ออาคารเก่าออกแล้วสร้างเป็นตึก 9 ชั้น เพื่อความสง่างามของวัด และ เพื่อเป็นกิตยานุสรณ์เฉลิมฉลองพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ท่านจึง ประชุมคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกาย ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ทราบก็ได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการสร้างอาคารดังกล่าว เพื่อเป็นหลักของวัดมังกรกมลาวาสและคณะสงฆ์จีนนิกายสืบไป โดยให้ชื่อว่า "ตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุธรรม" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อปีพุทธศักราช 2521









 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 20:16:16 น.
Counter : 471 Pageviews.  

95. วัดหัวลำโพง กรุงเทพฯ

พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ถนนพระราม ๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา

ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในที่สุดได้เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๑๐ ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ การสงครามครั้งนี้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน

ต่อมาจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตามวิสัยอันดีงามเช่น บรรพบุรุษชาวพุทธทั้งหลาย และให้ชื่อว่า วัดวัวลำพอง ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านกับวัดส่วนใหญ่ของไทยเรา มักมีชื่อเหมือนกัน หรือมีความหมายเดียวกันปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือที่ประชาชนทั่วประเทศพร้อมใจกันขนานพระนามพระองค์ท่านว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาประเทศชาติในระบบใหม่ ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือจากสถานีกรุงเทพฯ ขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงเกษม พระราชทานนามว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ราวเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูกาลทอดกฐิน จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินในครั้งนั้น วันเดียวกันถึง ๓ วัด ตามลำดับดังนี้ คือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง) ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดวัวลำพองนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า วัดหัวลำโพง



























 

Create Date : 22 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 20:35:22 น.
Counter : 977 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.