กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2566
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
19 มีนาคม 2566
space
space
space

ความสุข คือ อะไร เอ่ย



ภาคหลักการ
 
ความสุข คือ อะไร
 
   เมื่อจะพัฒนาความสุข  ก็มาดูความหมายของความสุขเสียก่อนว่า  ความสุขมีความหมายว่าอย่างไร
 
   ความสุข คือ การได้สนองความต้องการ หรือใช้ภาษาง่ายๆว่า  คือ  ความสมอยากสมปรารถนา
 
   ขอทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า  นี่ยังไม่ใช่ความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด  แต่ครอบคลุมในระดับพื้นฐานที่มีขอบเขตกว้างมาก  เป็นความหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง  ความสุขที่คนทั่วๆไป  รู้จัก  ก็อยู่แค่ความหมายนี้
 
   เราอยากอาบน้ำแล้ว ได้อาบน้ำ  ก็มีความสุข อยากรับประทานอะไรแล้ว  ได้รับประทาน  ก็มีความสุข  เด็กอยากเล่นแล้ว  ได้เล่น  ก็มีความสุข นี่ก็คือได้สนองความต้องการ  หรือสนองความอยากความปรารถนานั่นเอง*
 
   ตรงนี้  ขอแทรกเรื่องปัญหาทางภาษา  เวลานี้  คำว่า “ต้องการ”   กับ  “ปรารถนา”  กับ  “อยาก”  บางทีก็ต้องระวังการใช้  เนื่องจากในทางวิชาการสมัยใหม่บางสาขา  มีการใช้โดยแยกความหมายให้แตกต่างกัน  โดยเฉพาะระหว่างความต้องการ กับความอยาก ให้มีความหมายเป็นคนละอย่าง
 
   สำหรับในที่นี้  จะใช้คำว่าต้องการ กับ ปรารถนา แบบปนกันไปเลย  ไม่แยก  ให้เหมือนกับว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน  ถ้าเทียบกับคำภาษาอังกฤษ  ให้ถือว่าเท่ากับ  desire  ทั้งนั้น
 
   เมื่อบอกว่า  ความสุข  คือการได้สนองความต้องการ  หรือการได้สมอยากสมปรารถนา  เรื่องก็เลยโยงไปหาคำว่า   ต้องการ  หรือปรารถนา  ซึ่งต้องมาทำความเข้าใจกัน
 
   ความต้องการ หรือความปรารถนานี้  เป็นเรื่องใหญ่มาก   ขอยกพุทธพจน์มาตั้งเป็นหลัก  พระองค์ตรัสว่า “ฉนฺทมูลกา  สพฺเพ  ธมฺมา”   แปลว่า  ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล  หมายความว่า   เรื่องของมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่าง  มีความต้องการเป็นมูล   มีความอยากเป็นต้นทาง
 
   เพราะฉะนั้น 
 
   ๑. เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องความอยาก ความปรารถนา  ความต้องการนี้ ให้ชัดเจน
 
   ๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ  หรือได้สนองความปรารถนา  มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น   ก็ต้องพัฒนาความอยาก  พัฒนาความปรารถนา หรือพัฒนาความต้องการด้วย  มิฉะนั้น  การพัฒนาความสุข  ก็จะไม่สำเร็จ
 
   เป็นอันว่า  ความต้องการนี้  เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา
 
   ก็จึงทำความเข้าใจเรื่องความต้องการ  หรือความอยากกันต่อไป  ขอให้ถือหลักความต้องการนี้ว่าเป็นเรื่องใหญ่  ไม่ควรไปหลบไปเลี่ยงที่จะศึกษามัน
 
   ความคลุมเครือพร่ามัวในหลักความอยากความต้องการนี้  ทำให้มองอะไรไม่ชัด  พัฒนาไม่เดินหน้า  แก้ปัญหาไม่สำเร็จ   ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา  จริยธรรม  วิชาการ  หรือกิจการอะไรก็ตาม  ถ้าจับจุดนี้ไม่ได้   ก็เป็นอันว่าไปไม่ถึงไหน  ไม่ถึงเนื้อตัวไม่ถึงสาระของเรื่องนั้นๆ
 
 

* บางทีเราใช้คำว่าความต้องการให้ตรงกับคำว่า need  อย่างในเศรษฐศาสตร์  คล้ายจะบัญญัติให้ให้แปลคำนามพหูพจน์ของคำนี้   คือ  needs  ว่า  “ความต้องการจำเป็น”  ส่วนความอยากความปรารถนา ก็หมายถึง  desire เป็นต้น  ทำให้ดูเหมือนกับว่า  ในภาษาไทยไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับ need  ของฝรั่ง  จึงต้องมาคิดกันใหม่   และหาคำตรงแท้ไม่ได้  ก็เลยต้องใช้เป็นข้อความหรือวลี
 
   คำว่าต้องการเชิงจำเป็นนี้  น่าจะตรงกับคำเก่าที่เคยใช้มาก่อนว่า “จำปรารถนา”   เช่น  ภาษิตว่า  สติ  สพฺพตฺถ   ปตฺติยา  แปลว่า  “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง”  หมายความว่า  สติเป็นธรรมที่ต้องใช้หรือจำเป็นในทุกกรณี  “จำปรารถนา”  ก็ใกล้ๆ  กับคำว่า จำเป็น   แต่ไม่ตรงกันแท้  เช่น  ในตัวอย่างว่า  ในกระท่อมหลังหนึ่ง  ที่เราจะไปนอน  ไม่มีอะไรเลย  นอกจากพื้นดินที่เฉอะแฉะ   และขรุขระ  เราก็บอกว่า  จำปรารถนาเตียง  นี่ก็คือ  ไม่ว่าเราจะอยากได้หรือไม่  แต่ก็จำปรารถนา  อย่างคนเจ็บป่วยก็จำปรารถนายา  ดังนี้เป็นต้น  โบราณมีคำนี้   จึงไม่สับสนระหว่างคำว่า ต้องการ  กับ  ปรารถนา



 


Create Date : 19 มีนาคม 2566
Last Update : 19 มีนาคม 2566 12:02:26 น. 0 comments
Counter : 50 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space