bloggang.com mainmenu search


กิจกรรมเดินย้อนรอยพิพิธศิลปวัฒนธรรม อภิเนาว์สถานวังเจ้า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา


สวัสดีค่ะ ความเดิมตอนที่แล้ว...ออกจากโรงหล่อเทียน เค้าปล่อยให้ซื้อของที่ร้านจิตรลดาภายในโครงการ เราก็ซื้อของกลับบ้านค่ะ แต่เอาเป้ไปใบเดียวใส่ทั้งกล้องทั้งของใช้ส่วนตัวรวมในนั้นหมด เลยเลือกซื้อแบบที่น้ำหนักไม่มาก และไม่เยอะ เพราะทริปวันนี้ยังไม่ถึงครึ่งวันเลยค่ะ ต่อจากนั้นก็ไปรวมกันที่ศาลามหามงคลกันอีกรอบ วันนี้ชมกันต่อค่ะ

รายละเอียดของกิจกรรม ตาม link เลยค่ะ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=276503719117214&set=a.266155126818740.43653.227233897377530&type=1&theater

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
พระราชวังดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๓

โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๘๒ ๗๑๗๑-๔ หรือ ๐ ๒๒๘๒ ๑๑๕๐-๑
งานธุรการ ต่อ ๔๑๐๓-๕
งานนำชม ต่อ ๔๑๐๖-๗
งานจัดจำหน่าย ต่อ ๔๒๐๑, ๔๒๑๒, ๔๒๑๖
งานประชาสัมพันธ์ ๐ ๒๒๘๑ ๗๙๙๙ ต่อ ๒๑๐๓, ๒๑๒๔
งานฝึกอบรม ๐ ๒๒๘๑ ๗๙๙๙ ต่อ ๒๑๓๑


โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มุ่งเน้นการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยกระบวนการผลิตที่ง่าย แต่มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย โดยดำเนินการภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษา ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและผลการศึกษา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และดำเนินการต่อมาด้วยรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งจากการทูลเกล้าฯ ถวายเงินสนับสนุน และการน้อมเกล้าฯ ถวายอาคาร เครื่องมือ และคำแนะนำต่าง ๆ จึงเป็นหน่วยงานราชการเพียงหน่วยงานเดียวที่สามารถบริหารจัดการด้านบัญชีและการเงินเอง โดยไม่ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุน แต่ละโรงงานจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง มีบัญชีเบิกจ่ายแยกกันไปในแต่ละโรงงาน

จากพระราชประสงค์ให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นโครงการศึกษาทดลอง และเป็นโครงการตัวอย่าง จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมกิจการ รวมทั้งฝึกปฏิบัติงาน เพื่อนำความรู้ไปเป็นแบบอย่างหรือแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ มีคณะพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ คณะบุคคลสำคัญ ข้าราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เกษตรกร รวมทั้งผู้สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นจำนวนมาก








ภายในร้านจิตรลดาค่ะ มุมอื่นไม่ได้ถ่ายมา คนแน่นไปหมด เราเองก็ซื้อของด้วย...






กลับเข้ามารวมกันที่ศาลามหามงคล คุณปู-ประธานชมรมพิพิธสยาม มอบของที่ระลึกและกล่าวขอบคุณตัวแทนโครงการฯ






ไปชมจุดต่อไปค่ะ






คู่หาบเงินและคู่หาบทอง ที่ใช้จริงในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เราจำปี พ.ศ. ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ปีล่าสุดค่ะ





สีเขียว - เครื่องไถพรวน ผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓


สีเหลือง - เครื่องทุ่นแรง (ควายเหล็ก) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล นำควายเหล็กหรือรถไถแบบสี่ล้อ ใช้เครื่องยนต์ ๔.๕ แรงม้า ไปใช้ในการเตรียมดิน
และได้พระราชทานคำแนะนำปรับปรุง "ควายเหล็ก" ให้ได้รูปแบบเหมาะสมในการใช้งานและผลิตในประเทศไทย
ซึ่งตอนนั้นพระองค์ทรงขับรถไถนาควายเหล็ก เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว ตลอดทั้งทรงหว่านข้าว และทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง











เครื่องซ้อมข้าวด้วยไฟฟ้า นายสว่าง จารุศร น้อมเกล้าฯ ถวายพร้อมเครื่องสีข้าวปิ่นแก้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖






เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเกี่ยวข้าวเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔







ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว






จุดต่อไป...เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

โครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชทีหายากและเป็นการขยายพันธุ์พืชไม่ให้กลายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญคือห้องเตรียมอาหาร ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ และห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเป้าหมายของโครงการคือ สมอไทย ขนุน พุดสวน มณฑา และยี่หุบ








ถ่ายผ่านห้องกระจกด้านนอกค่ะ "ม่วงเทพรัตน์"






ม้าวิ่ง






กุหลาบ mini rose






อัสดรจรัล






ว่านชักมดลูก






"ม่วงเทพรัตน์" ถ้าจำไม่ผิด ๖๕ บาทค่ะ






นำไปปลูก จะได้แบบนี้ค่ะ






ดอนญ่าควีนสิริกิติ์





















จุดต่อไป...โรงบดแกลบ

ทำหน้าที่ผลิตแกลบอัดแท่งและเผาถ่านจากแกลบอัดเพื่อจำหน่ายและใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไอน้ำของโรงกลั่นแอลกอฮอล์
















นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวไปเข้าเครื่องอัดแกลบ เพื่ออัดออกมาเป็นแท่งฟืนสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง






ถ่านอัดแท่งจากแกลบนี้ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอไม่มีควันรบกวน ทนทาน ใช้ได้นาน






แกลบอัดแท่ง เมื่อนำมาทำให้เป็นเชื้อเพลิงจะมีควันมาก จึงต้องกำจัดควันโดยการนำแกลบอัดแท่งเข้าเตาเผาให้เป็นถ่าน






แกลบอัดแท่งจะอยู่ในเตาเผาประมาณ ๔ วันเมื่อได้ถ่านแล้วจึงนำถ่านออกจากเตา










จุดต่อไป...โรงสีข้าวตัวอย่าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อทำการทดลองสีข้าวและสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกแบบต่าง ๆ และในปัจจุบันได้ดัดแปลงยุ้งฉางแบบสหกรณ์ให้สามารถนำข้าวเปลือกเข้าและออกจากยุ้งไปสีโดยไม่ต้องใช้คนแบกขน












ฉางไม้แบบสหกรณ์ พุทธศักราช ๒๕๑๕ ความจุ ๔๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม






โครงการทดลองผลิตแก๊สโซฮอล์

งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะในอนาคตอาจเกินเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาต่ำ การนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้







โรงนมเม็ด

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เคยผลิตนมเม็ดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้จัดทำโรงนมเม็ดขึ้นใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อเป็นการแนะนำการผลิตนมเม็ดขึ้นในประเทศ ปัจจุบันสามารถผลิตนมเม็ดได้วันละ ๗,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ซองต่อวัน มีทั้งสิ้น ๓ รส คือรสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง






โรงนมผงสวนดุสิต

โรงนมผงสวนดุสิตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื่องจากเกิดภาวะนมสดล้นตลาด สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขนาดย่อมขึ้น เพื่อผลิตนมผงเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาด
















บ่อ พ่อ-แม่ พันธุ์ปลานิล






โครงการบ้านพลังงานแสงอาทิตย์














ไม่น่าเชื่อว่าโครงการทั้งหมดนี้อยู่ภายในสวนจิตรลดาเลยนะคะ เยอะมาก...






เขตพระราชฐาน






มองตรงไป...ขออนุญาตพี่ทหารแล้วค่ะ ถ่ายรูปได้






ถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกค่ะ











คุณปู ประธานชมรมพิพิธสยาม มอบของที่ระลึกแก่คุณสาวิตรี สุมาลา เจ้าหน้าที่ผู้บรรยายค่ะ






ไปกันแล้วค่ะ






แยกย้ายกันกินข้าวกลางวัน แล้วนัดรวมกันอีกทีที่วัดเบญจมพิตร ในเวลาบ่ายโมงตรงค่ะ











ภาพสุดท้ายของบล็อก...เราข้ามถนน เดินไปวัดเบญฯ กันค่ะ






Create Date :05 เมษายน 2556 Last Update :5 เมษายน 2556 5:43:13 น. Counter : 18867 Pageviews. Comments :51