"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ลัทธิความเป็นอคติต่อชาวยิว (Antisemitism)






การ์ตูนเยาะหยันชาวยิวจากฝรั่งเศส ค.ศ. 1898





ลัทธิความเป็นอคติต่อชาวเซมิติค หรือ ลัทธิความเป็นอคติต่อชาวยิว (Antisemitism หรือ Anti-semitism หรือ anti-Semitism หรือ Judeophobia) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายความเป็นอคติ (prejudice) ต่อหรือความรู้สึกต่อต้านชาวยิว ที่มักจะมาจากความมีอคติต่อศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ของชาวยิว

แม้ว่าที่มาของคำว่า “ลัทธิความเป็นอคติต่อเซมิติค” ในภาษาอังกฤษ “Antisemitism” ตามอักขระแล้วจะหมายถึงความเป็นอคติต่อชนเซมิติค (Semitic peoples) แต่โดยทั่วไปคำนี้จะหมายถึงเฉพาะความเป็นอคติต่อชาวยิวตั้งแต่เริ่มใช้กันมา

ความเป็นอคติต่อชาวยิวอาจจะออกมาในรูปแบบหลายอย่าง ตั้งแต่การแสดงการต่อต้านหรือความชิงชัง อย่างไม่มีเหตุผลอันเหมาะสมต่อชาวยิวเพียงคนเดียว ที่แสดงออกโดยการแสดงความเกลียดชังหรือการเลือกปฏิบัติ ไปจนถึงการรวมตัวของกลุ่มชนที่บางครั้งก็อาจจะถึงระดับรัฐ ตำรวจ หรือทหารในการสร้างความเสียหายและทำร้าย (pogroms) กลุ่มชนชาวยิวทั้งกลุ่ม

เหตุการณ์การไล่ทำร้ายและสังหาร (persecution) ที่เป็นที่รู้จักกันก็รวมทั้งสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1096
การขับไล่ชาวยิวออกจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1290
การไต่สวนศรัทธาของเสปน (Spanish Inquisition)
การขับไล่ชาวยิวออกจากเสปน (Alhambra decree) ในปี ค.ศ. 1492 การขับไล่ชาวยิวออกจากโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1497
และที่สำคัญที่สุดคือโครงการการล้างชาติพันธุ์ภายใต้การนำของ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในนาซีเยอรมนี


ลักษณะ

นักประวัติศาสตร์โรมันคาทอลิกเอ็ดเวิร์ด แฟลนเนอรี (Edward Flannery) แบ่งลักษณะของความเป็นอคติต่อชาวยิวเป็นสี่อย่าง

ความอคติทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ เช่นโดยซิเซโรและชาร์ลส์ ลินด์เบิร์ก (Charles Lindbergh)

ความอคติทางศาสนาที่บางครั้งก็เรียกว่า “ลัทธิการต่อต้านศาสนายูดาย” (anti-Judaism)

ความอคติในความเป็นชาติของชาวยิว เช่น โดยวอลแตร์และนักคิดของยุคเรืองปัญญาคนอื่นๆ ผู้กล่าวโจมตีชาวยิวตรงที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ไม่เหมือนกลุ่มชนอื่นเช่น

ในเรื่องของความโลภและความจองหอง และการรักษาวัฒนธรรมอย่างมั่นคง เช่นกฎแคชรูท (kashrut) ที่เกี่ยวกับการรักษากฎเกี่ยวกับอาหารการกิน และการรักษาประเพณีวันชาบัต (Shabbat)

ความอคติทางชาติพันธุ์ต่อชาวยิว (racial antisemitism) เช่นในการพยายามทำลายล้างชาติพันธุ์ให้หมดสิ้น ในนาซีเยอรมนีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 นักเขียนบางคน ก็อ้างว่าพบหัวข้อความอคติใหม่อีกลักษณะหนึ่งที่ออกมาในรูปของความเป็นอคติที่มาจากทั้งนักการเมืองทั้งฝ่ายซ้ายจัด ฝ่ายขวาจัด และฝ่ายอิสลามหัวรุนแรงพร้อมๆ กัน

ซึ่งความอคติจากกลุ่มนี้เน้นความเป็นปฏิปักษ์ต่อไซออนนิสม์ และการตั้งถิ่นฐานในมาตุภูมิของชาวยิวในประเทศอิสราเอล


ที่มา

ที่มาของคำว่า “ความเป็นอคติต่อชาวยิว” ในภาษาอังกฤษ “antisemitic” (antisemitisch) อาจจะใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1860 โดยผู้คงแก่เรียนชาวออสเตรียยิว มอริทซ์ ชไตน์ชไนเดอร์ (Moritz Steinschneider) ในวลี “antisemitic prejudices” (เยอรมัน: "antisemitische Vorurteile") (ความมีอคติต่อชาวเซมิติค)

ชไตน์ชไนเดอร์ใช้วลีนี้ ในการบรรยายความคิดของเอิร์นเนสต์ เรนัน (Ernest Renan) ที่กล่าวถึงสาเหตุที่ว่า “ชนเซมิติค” มีลักษณะต่ำกว่า “ชนอารยัน” ทฤษฎีเคลือบแคลงทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และ “ความก้าวหน้า” เหล่านี้แพร่หลายไปทั่งยุโรปในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19

โดยเฉพาะเมื่อนักประวัติศาสตร์ชาตินิยมชาวปรัสเซีย ไฮน์ริค ฟอน ไทรท์สเคอ (Heinrich von Treitschke) เผยแพร่ปรัชญาการดูถูกชาติพันธุ์อย่างกว้างขวาง สำหรับไทรท์สเคอแล้วคำว่า “เซมิติค” ก็คือไวพจน์ของคำว่า “ชนยิว”

ในปี ค.ศ. 1873 นักหนังสือพิมพ์ชาวเยอรมันวิลเฮล์ม มารร์ (Wilhelm Marr) พิมพ์จุลสารชื่อ “ชัยชนะของของความเป็นยิวต่อของความเป็นเยอรมัน. ข้อสังเกตจากความเห็นนอกกรอบความคิดทางศาสนา” (“Der Sieg des Judenthums über das Germanenthum. Vom nicht confessionellen Standpunkt aus betrachtet”)

ที่มารร์ใช้คำว่า “ชนเซมิติค” (Semitismus) และคำว่า “ชนยิว” แลกเปลี่ยนกัน แม้ว่ามารร์จะไม่ได้ใช้คำว่า “Antisemitismus” หรือ “ความมีอคติต่อชนเซมิติค” ในจุลสาร การใช้คำหลังนี้ก็ตามมาโดยธรรมชาติจากคำว่า “Semitismus” ที่เป็นการแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อชนยิวในฐานะกลุ่มชน หรือความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นยิว หรือความเป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาของความเป็นยิว

ที่มารร์เห็นว่าเป็นสิ่งที่แทรกซึมเข้ามาในวัฒนธรรมเยอรมัน ในจุลสารฉบับต่อมา “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” (The Way to Victory of the Germanic Spirit over the Jewish Spirit) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1880 มารร์ขยายความคิดเพิ่มขึ้นและเริ่มใช้คำภาษาเยอรมัน “Antisemitismus” (ความมีอคติต่อชาวเซมิติค) ที่มาจากคำว่า “Semitismus” ที่ใช้ในจุลสารฉบับแรก

จุลสารกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ในปีเดียวกันมารร์ก็ก่อตั้ง “กลุ่มสันนิบาตผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อเซมิติค” (Antisemiten-Liga) ซึ่งเป็นองค์การเยอรมันองค์การแรก

ที่มีจุดประสงค์ในการต่อต้านสิ่งที่กลุ่มเห็นว่าเป็นอันตรายต่อประเทศเยอรมนี และวัฒนธรรมเยอรมันที่มาจากชาวยิวและอิทธิพลของชาวยิว และสนับสนุนโครงการโยกย้ายประชากร (Population transfer) ด้วยกำลังออกจากเยอรมนี

เท่าที่ทราบคำว่า “ความมีอคติต่อชาวเซมิติค” เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1881 เมื่อมารร์พิมพ์ “Zwanglose Antisemitische Hefte” และวิลเฮล์ม เชอร์เรอร์ ใช้คำว่า “Antisemiten” ใน “สิ่งพิมพ์เสรีใหม่” (Neue Freie Presse) ฉบับเดือนมกราคม


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ


Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 กรกฎาคม 2553 0:27:52 น. 0 comments
Counter : 1783 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.