"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
15 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ดิเกร์ ฮูลู (ภาษามาเลย์:Dikir Hulu)




ดิเกร์ ฮูลู (ภาษามาเลย์:Dikir Hulu) เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดิเกร์มาจากภาษาอาหรับว่า ดิเกร์อาวัล หรือดิเกร์อาวา ซึ่งหมายถึงการสวดหรือการร้องเพลง

คำว่าฮูลู เป็นภาษามาเลย์ หมายถึง ยุคก่อนหรือจุดเริ่มต้นพัฒนามาจากพิธีกรรมประกอบดนตรี เพื่อรักษาผู้ป่วยที่เชื่อว่าเกิดจากการกระทำของภูตผี ตั้งแต่สมัยที่ผู้คนในบริเวณนี้ยังนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานหรือศาสนาฮินดู

ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชวา ภายหลังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามจึงได้นำการกล่าวสรรเสริญพระเจ้าในศาสนาอิสลามแทน

พัฒนาการของดิเกร์ ฮูลู

ดิเกร์ ฮูลูเริ่มมาจากเพลงพื้นบ้านที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในสมัยที่นับถือศาสนาฮินดู-พุทธ และได้พัฒนาเป็นการละเล่น เพื่อความสนุกสนานเมื่อเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม

โดยนำการสวดหรือกล่าวสรรเสริญศาสดา ในศาสนาอิสลามเข้าผสมในการประกอบพิธีกรรม แล้วตั้งเป็นวงหรือคณะขึ้น นำดนตรีมาประกอบ นิยมละเล่นในงานแก้บน สะเดาะเคราะห์ งานแต่งงานและงานเข้าสุหนัต เรียกการละเล่นที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ว่าดิเกร์ฮูลู

ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2043-2328 ศาสนาอิสลามได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง จนปัตตานีเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านศาสนาอิสลามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการศึกษาศาสนาในปอเนาะ

นักปราชญ์และผู้รู้ศาสนาอิสลาม มองว่าการละเล่นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการละเล่นอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า ดิเกร์ปายะซึ่งคล้ายกับดิเกร์ฮูลู แต่ได้ตัดส่วนที่เห็นว่าขัดกับหลักศาสนาอิสลามออกไป

คือเริ่มต้นด้วยการร้องสรรเสริญศาสดาในศาสนาอิสลาม ใช้การตบมือแทนเครื่องดนตรี นั่งล้อมเป็นวงกลมโยกตัวตามจังหวะ เนื้อหาของเพลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามแบบอย่างมุสลิมที่ดี

ลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบปันตุนหรือปาตงเช่นเดียวกับดิเกร์ฮูลู นิยมร้องเล่นในปอเนาะ และละเล่นเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานวันฮารีรายอ

ร้องเล่นในขบวนแห่บนบ้านและเวที ต่อมาดิเกร์ปายะได้ตั้งเป็นวงหรือคณะขึ้นเช่นเดียวกับดิเกร์ฮูลู ต่อมาทั้งดิเกร์ปายะและดิเกร์ฮูลูจึงผสมผสานกัน และมักเรียกว่าดิเกร์ฮูลู

เมื่อกองทัพสยามได้รับชัยชนะในการปราบความขัดแย้ง ในหัวเมืองปักษ์ใต้และกวาดต้อนผู้คนชาวปัตตานีมากรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ชาวปัตตานีได้นำการละเล่นที่มีลักษณะอย่างดิเกร์ฮูลู ดิเกร์ปายะติดตามไปด้วย

ชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงนิยมเรียกว่า ดิเกร์เรียบ ลิเกเลียบ หรือลิเกกลอง ซึ่งดิเกร์เรียบ ตรงกับดิเกร์ ปายะ ส่วนดิเกร์ฮูลูมักเรียกว่า ลำตัดมลายู

ดิเกร์ฮูลูได้พัฒนาเป็นการละเล่นที่เป็นการแสดง มีขั้นตอนการแสดงที่ชัดเจน ตั้งเป็นวงหรือคณะขึ้น ในปี พ.ศ. 2470-2480 พบว่า มีคณะดิเกร์ฮูลู “มะ กายูบอเกาะ” ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และคณะ “อาแว กือจิ” ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นคณะแรกที่แสดงประชันกัน และได้รับความนิยมอย่างสูง

ในช่วงปี พ.ศ. 2481-2485 ดิเกร์ฮูลูได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและมีคณะดิเกร์ฮูลู ที่ถือเป็นต้นแบบแก่นักแสดงในรุ่นหลังทั้งทางด้านท่วงทำนองเพลงร้องแบบปัตตานี (ฆาโระตานิง) และแบบกลันตัน (ฆาโระกลาแต) ดิเกร์ฮูลูได้แพร่ขยายไปยังรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ด้วย

ดิเกร์ฮูลูซบเซาลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนหนึ่งที่เกิดจากนโยบายรัฐนิยมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และกรมศิลปากรได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมการละเล่นพื้นบ้าน รวมทั้งได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น ทำให้ดิเกร์ฮูลูเกือบจะสูญหายไป

ในช่วงปี พ.ศ. 2495-2515 ดิเกร์ฮูลูได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดย เป็นสื่อชาวบ้านให้กับรัฐบาลในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ มีการพัฒนาการเล่นโดยได้นำทำนองเพลงอินเดียมาใช้ร้อง ในมีท่วงทำนองกลอนสดแบบแยกี เกิดขึ้น และนำเพลงวาวบูแลมาใช้เป้นเพลงสุดท้าย ซึ่งยังเป็นธรรมเนียมจนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอนการแสดง

การแสดงแบบคู่ ผู้แสดงนั่งล้อมเป็นวงกลม 2 วง การแสดงแบบเดี่ยว ลูกคู่นั่งเรียงแถวหน้ากระดานด้านหน้าเวที
ตะโบะ หรือการบรรเลงดนตรีโหมโรง

ปาตงเป็นการเริ่มต้นร้องเพลงด้วยทำนองช้า ๆ ทักทายผู้ชม
ลาฆูหรือการร้องเพลงโดยนักร้องประจำคณะ หรือที่รับเชิญมา 2 – 3 เพลง
จีแจ หรือการเล่นเบ็ดเตล็ด เป็นการพูดคุยให้สนุกสนานตลกโปกฮาเหมือนการแสดงตลก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสวัฒนสิริค่ะ


Create Date : 15 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 10:27:50 น. 0 comments
Counter : 1468 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.