"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
18 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ประวัติคาพะโดเคีย






บัลลูนอากาศร้อนเหนือคาพะโดเคีย





แท่งหินธรรมชาติในคาพะโดเคีย





ประวัติ

คาพะโดเคียเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ฮัตติ” ในปลายยุคสำริด และเป็นศูนย์กลางทางอำนาจของชนฮิทไทท์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮัททุชา หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิทไทท์ และความเสื่อมโทรมของอารยธรรมซีเรีย-คาพะโดเคีย

หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์โครซัสแห่งลีเดีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แล้ว คาพะโดเคียก็ปกครองโดยขุนนางกึ่งระบบศักดินา ที่อยู่อาศัยกันตามที่มั่นที่เป็นปราสาทต่างๆ

โดยมีไพร่ติดแผ่นดินเป็นบริวาร ซึ่งต่อมาเป็นสภาวะที่เหมาะ กับการวิวัฒนาการมาเป็นระบบทาสต่างประเทศ คาพะโดเคียจัดเป็นแคว้นของจักรวรรดิเปอร์เซียสมัยที่สาม ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช

แต่ยังคงได้รับการอนุญาตให้มีประมุขปกครองตนเอง แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจมากพอที่จะปกครองได้ทั้งภูมิภาค

ราชอาณาจักรคาพะโดเคีย

หลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชนำมาซึ่งการล่มสลาย ของจักรวรรดิเปอร์เซียแล้ว พระองค์ก็ทรงพยายามที่จะปกครองคาพะโดเคีย โดยการส่งผู้แทนพระองค์มาปกครอง

แต่อาเรียร์ทีสผู้เป็นขุนนางเปอร์เซียกลับกลายมาเป็นกษัตริย์ แห่งคาพะโดเคียแทนที่ อาเรียร์ทีสที่ 1 แห่งคาพะโดเคีย (332—322 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงทำการขยายดินแดน ของราชอาณาจักรคาพะโดเคียออกไปถึงทะเลดำ

ราชอาณาจักรคาพะโดเคีย ตั้งอยู่ในความสงบสุขมา จนกระทั่งการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อจักรวรรดิถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นส่วนๆ

คาพะโดเคียตกไปเป็นของยูเมนีส ยูเมนีสขึ้นมามีอำนาจโดยความช่วยเหลือของขุนพลเพอร์ดิคคัส ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการของอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้จับอาเรียร์ทีสตรึงกางเขน

แต่หลังจากที่เพอร์ดิคคัสถูกลอบสังหาร และยูเมนีสถูกประหารชีวิต บุตรชายของอาเรียร์ทีสก็ได้คาพะโดเคียคืน และทำการปกครองต่อมาโดยกษัตริย์ที่สืบเชื้อสายต่อมา

เมื่อมาถึงรัชสมัยของอาเรียร์ทีสที่ 4 แห่งคาพะโดเคีย (220—163 ก่อนคริสต์ศักราช) คาพะโดเคียก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับโรม ที่เริ่มด้วยการเป็นศัตรูในการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราช

และต่อมาหันมาเป็นพันธมิตรในการต่อต้าน เพอร์เซียสแห่งมาซิดอน ซึ่งก็เท่ากับทรงวางตนเป็นศัตรูกับ จักรวรรดิเซลูซิดที่เคยทรงส่งบรรณาการเป็นครั้งคราวอย่างเต็มพระองค์

อาเรียร์ทีสที่ 5 แห่งคาพะโดเคีย (163—130 ก่อนคริสต์ศักราช) ทรงนำทัพร่วมกับกงสุลโรมันพิวเบลียส ลิซิเนียส คราซัส ดิเวส มูเชียนัสในการต่อสู้กับยูเมนีสที่ 3 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เพอร์กามอน

แต่พระองค์ก็ทรงได้รับความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน และสิ้นพระชนม์ในปี 130 ก่อนคริสต์ศักราช ภาวะของความสับสนวุ่นวายที่ตามมา หลังจากการเสียชีวิตของอาเรียร์ทีสที่ 5 นำไปสู่การแทรกแซงของพอนทัสที่รุ่งเรืองขึ้นมา

และการสงครามที่เกิดขึ้น ที่นำมาซึ่งความหายนะของราชวงศ์ที่ปกครองคาพะโดเคีย

จังหวัดคาพะโดเคียของโรมัน

ชาวคาพะโดเคียได้รับการสนับสนุนจากโรม ในการเป็นโค่นมิธราดีสที่ 4 แห่งพอนทัส และแทนที่ด้วยอริโอบาร์ซานีสที่ 1 ฟิลโลโรมาอิออสแห่งคาพะโดเคีย ในปี 93 ก่อนคริสต์ศักราช

แต่ในปีเดียวกันกองทัพอาร์เมเนีย ภายใต้การนำของพระเจ้าไทกราเนสมหาราชก็ทรงนำทัพเข้ามารุกรานคาพะโดเคีย ทรงทำการถอดอริโอบาร์ซานีสจากราชบัลลังก์ และทรงแต่งตั้งให้กอร์เดียสแห่งคาพะโดเคียขึ้นครองเป็นกษัตริย์บริวารแทนที่

การสร้างคาพะโดเคียขึ้นเป็นอาณาจักรบริวารของพระเจ้าไทกราเนส ก็เท่ากับเป็นการสร้างบริเวณฉนวน เพื่อยับยั้งความก้าวร้าวของสาธารณรัฐโรมันที่คืบเข้ามาในภูมิภาค

เมื่อโรมถอดกษัตริย์พอนทัสและกษัตริย์อาร์เมเนียจากราชบัลลังก์ อริโอบาร์ซานีสที่ 1 ฟิลโลโรมาอิออสแห่งคาพะโดเคีย จึงได้กลับมาขึ้นครองคาพะโดเคียอีกครั้งหนึ่งในปี 63 ก่อนคริสต์ศักราช

ในระหว่างสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในโรม คาพะโดเคียก็เปลี่ยนการสนับสนุนเรื่อยมาตั้งแต่สนับสนุนพอมเพย์ ต่อมาก็จูเลียส ซีซาร์ ต่อมามาร์ค แอนโทนี และหันมาเป็นปฏิปักษ์ท้ายที่สุด

ราชวงศ์อริโอบาร์ซานีสมาสิ้นสุดลง ในสมัยของอาร์คีลอสแห่งคาพะโดเคียผู้หนุนหลังมาร์ค แอนโทนี และหันมาเป็นปฏิปักษ์ ผู้ปกครองเป็นอิสระมาจนกระทั่งปี 17 ก่อนคริสต์ศักราช

เมื่อจักรพรรดิไทบีเรียสทรงลดฐานะของคาพะโดเคียลงมา เป็นเพียงจังหวัดของโรมัน หลังจากการสิ้นพระชนม์ของอาร์คีลอสอย่างอัปยศ ต่อมาอีกเป็นเวลานาน คาพะโดเคียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์

คาพะโดเคียประกอบด้วยเมืองใต้ดินหลายเมือง ที่ใช้โดยชาวคริสเตียนในยุคแรกในการเป็นที่หลบหนีภัยจากการไล่ทำร้าย และสังหารก่อนที่คริสต์ศาสนา จะเป็นศาสนาที่ได้รับการประกาศว่า เป็นศาสนาของจักรวรรดิ

คริสต์ศาสนปราชญ์แห่งคาพะโดเคีย (Cappadocian Fathers) ของคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นองค์ประกอบสำคัญของประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนปรัชญาในยุคแรก

นักคริสต์ศาสนปรัชญาคนสำคัญ ก็รวมทั้งจอห์นคาพะโดเคียผู้เป็นพระสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล ระหว่างปี ค.ศ. 517 ถึง ค.ศ. 520 ในช่วงการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ คาพะโดเคียปลอดจากความขัดแย้งของบริเวณนี้ กับจักรวรรดิซาสซานิยะห์

แต่มาเป็นบริเวณดินแดนพรมแดนอันสำคัญต่อมา ในสมัยการพิชิตดินแดนของมุสลิมต่อมา คาพะโดเคียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองไบแซนไทน์แห่งอาร์เมเนีย (Armeniac Theme) และต่อมาเขตการปกครองคาร์เซียนอน และในที่สุด เขตการปกครองไบแซนไทน์แห่งคาพะโดเคีย (Cappadocia Theme)

ความสัมพันธ์ระหว่างคาพะโดเคียและอาร์เมเนีย ที่ตั้งอยู่ติดกันเป็นความสัมพันธ์อันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักประวัติศาสตร์อาหรับอบู อัล ฟารัจกล่าวถึงชาวอาร์เมเนียผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ซิวาสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ว่า

“ซิวาสในคาพะโดเคียเต็มไปด้วยชาวอาร์เมเนีย ที่มีจำนวนมากจนกระทั่งกลายเป็นส่วนสำคัญของกองทัพของราชอาณาจักร กองทหารอาร์เมเนียเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้ายามตามป้อมที่สำคัญๆ ที่ยึดมาได้จากอาหรับ

ทหารอาร์เมเนียมีชื่อเสียงจากการเป็นทหารราบ ผู้มีประสบการณ์และมักจะแสดงความสามารถในการต่อสู้อย่างกล้าหาญ และประสบกับความสำเร็จเคียงข้างทหารโรมัน หรือที่เรียกว่าทหารไบแซนไทน์”

การรณรงค์ทางการทหารของไบแซนไทน์ และการรุกรานของเซลจุค ในอาร์เมเนียทำให้ชาวอาร์เมเนีย ขยายตัวเข้ามาในคาพะโดเคียและออกไปทางตะวันออกจากซิลิเคีย ไปยังดินแดนที่เป็นหุบเขาทางตอนเหนือของซีเรีย และ เมโสโปเตเมีย

จนกระทั่งได้ก่อตั้งราชอาณาจักรอาร์เมเนียแห่งซิลิเคียขึ้น การอพยพของชาวอาร์เมเนียเพิ่มจำนวนขึ้น หลังจากการเสื่อมโทรมอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และการขยายตัวของอาณาจักรครูเสดหลังสงครามครูเสดครั้งที่ 4

สำหรับนักรบครูเสดแล้วคาพะโดเคียคือ “terra Hermeniorum” (ดินแดนของชาวอาร์เมเนีย) เพราะเป็นดินแดนที่ขณะนั้นเต็มไปด้วยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอาร์เมเนีย

หลังจากยุทธการมันซิเคิร์ตในปี ค.ศ. 1071 แล้วกลุ่มตุรกีต่างๆ ภายใต้การนำของเซลจุคก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอานาโตเลีย การค่อยขยายตัวทางอำนาจของเซลจุคอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ในที่สุดก็ทำให้คาพะโดเคียกลายเป็นรัฐบริวารของรัฐตุรกี ที่ก่อตั้งขึ้นทางตะวันออกและตะวันตกของภูมิภาค และประชากรบางส่วนของบริเวณนี้ก็เปลี่ยนไปถือศาสนาอิสลาม

เมื่อมาถึงตอนปลายของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เซลจุคแห่งอานาโตเลียก็กลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในภูมิภาคคาพะโดเคีย ต่อมาเมื่ออำนาจของเซลจุคที่ตั้งอยู่ที่คอนยาอ่อนตัวลงในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 13 เบยิคตุรกีแห่งอานาโตเลียน (Anatolian Turkish Beyliks) ที่มีฐานอำนาจอยู่ที่คารามานก็เข้ามามีอำนาจแทนที่

และในที่สุดกลุ่มที่ว่านี้ก็มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 คาพะโดเคียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีต่อมา

ในปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐตุรกี ความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของภูมิภาคนี้เกิดขึ้นเมื่อ บริเวณเมือง Nevşehir ได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมหาเสนาบดีผู้มีถิ่นฐานดั้งเดิมมาจากบริเวณนี้ก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองหลวงของภูมิภาค และยังคงเป็นมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ในขณะเดียวกันชาวคาพะโดเคียก็เริ่มเปลี่ยนไปพูดภาษาตุรกี ที่เขียนด้วยอักษรกรีกที่เรียกว่า “Karamanlıca” และในบริเวณที่ยังคงพูดภาษากรีก

อิทธิพลของภาษาตุรกีรอบข้างก็เริ่มจะเพิ่มขึ้น ภาษากรีกที่พูดกันในภูมิภาคคาพะโดเคียเรียกกันว่า “ภาษากรีกคาพะโดเคีย”

หลังจากการแลกเปลี่ยนประชากรระหว่างกรีซและตุรกีในปี ค.ศ. 1923 แล้วก็เหลือผู้พูดภาษากรีกคาพะโดเคียอยู่เพียงไม่กี่คน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ


Create Date : 18 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 10:11:17 น. 0 comments
Counter : 896 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.