Group Blog
 
<<
มีนาคม 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
15 มีนาคม 2561
 
All Blogs
 
ฟิลลิป ฟิชเชอร์ : ต้นแบบแห่ง Growth Investment

.
.
.
==========================================
ฟิลลิป ฟิชเชอร์
(1907-2004)
โดย ... ชัชวนันท์ สันธิเดช
==========================================


ฟิลลิป ฟิชเชอร์ เป็นผู้จุดประกายให้วิถีทาง “การลงทุนแบบเน้นการเติบโต” และเป็นหนึ่งในสองบุคคลที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ยึดเป็นแบบอย่างในการลงทุน อีกคนหนึ่งที่บัฟเฟตต์ยึดถือเป็นแม่แบบก็คือ “เบนจามิน เกรแฮม”

ฟิชเชอร์มีใจรักในการลงทุนมาต้ังแต่เด็ก ชอบฟังญาติผู้ใหญ่คุยกันเรื่องหุ้น เมื่อโตขึ้น เขาได้เข้าศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยในหลักสูตรที่เรียน อาจารย์ผู้สอนจะพานักศึกษาไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัทต่างๆ ทุกสัปดาห์ ทำให้เขาพัฒนาความคิดในการวิเคราะห์ธุรกิจขึ้นมานับตั้งแต่นั้น

เมื่อเรียนจบแล้ว ฟิชเชอร์ได้ไปทำงานธนาคารอยู่หลายปี และสั่งสมความรู้ด้านการลงทุนเพิ่มเติม ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทจัดการกองทุนของตัวเอง ชื่อ “ฟิชเชอร์ แอนด์ โค” (Fisher & Co.)

“การลงทุนแบบเน้นการเติบโต” (Growth Investment) ตามหลักของฟิชเชอร์นั้น หมายถึงการเข้าไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ที่จริงแล้ว ต้องถือว่าการลงทุนประเภทนี้ แยกไม่ออกจาก “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” (Value Investment) เพราะทั้งสองวิธีล้วนต้องศึกษามูลค่าพื้นฐานของกิจการให้ถ่องแท้ก่อนจะเข้าไปลงทุน

ประเด็นสำคัญที่สุดที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของฟิชเชอร์ก็คือ เขาให้ความสำคัญกับ “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” สูงมาก ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์คุณลักษณะของบริษัทในแง่ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น การตลาด การขาย ความสามารถและจริยธรรมของผู้บริหาร ความได้เปรียบในการแข่งขัน การวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือแม้แต่แบรนด์และเฟรนไชส์ของบริษัท ฯลฯ

ฟิชเชอร์มองว่า บริษัทที่น่าลงทุน ต้องไม่เพียงผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ แต่ต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค และการจะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องมี “การตลาด” ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวฟิชเชอร์เองก็อาจถือได้ว่าเป็น “นักการตลาด” ที่ยอดเยี่ยมและมีสายตาอันเฉียบคมคนหนึ่ง

วิธีค้นคว้าหาข้อมูลของธุรกิจที่ฟิชเชอร์ใช้และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ เทคนิค “การล้วงลึก” (Scuttlebutt) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกเป็นหลัก อาทิ ไปสัมภาษณ์ผู้บริหาร สัมภาษณ์อดีตพนักงานของบริษัท ตลอดจนสัมภาษณ์พนักงานของบริษัทคู่แข่ง ฯลฯ แล้วเอาข้อมูลมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

ที่สำคัญก็คือ ฟิชเชอร์แนะให้ “มุ่งเน้น” (Focus) คือให้ลงทุนในบริษัทที่ “ดีที่สุด” จำนวน “น้อยบริษัท” แทนที่จะลงทุนในบริษัทที่ “ดีปานกลาง” จำนวนมากมายหลายบริษัท

เขาเชื่อว่ายิ่งกระจายการลงทุนมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เรามีเวลาสำหรับบริษัทแต่ละบริษัทที่เข้าไปลงทุนน้อยลงเท่านั้น อีกทั้งยังทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลง เพราะถูกถัวเฉลี่ยไปในหุ้นหลายตัว

การมุ่งเน้น ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฟิชเชอร์ที่แตกต่างจาก เบน เกรแฮม โดยสิ้นเชิง เขาย้ำว่า นักลงทุนควรเลือกลงทุนเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ตนเองมีความชำนาญ

ที่สำคัญก็คือ ฟิชเชอร์บอกไว้ในหนังสือ “Common Stocks and Uncommon Profits” ที่เขาเขียนว่า …

เมื่อตัดสินใจลงทุนในบริษัทใดแล้ว ก็ควรถือหุ้นไว้ตลอดไปโดยไม่จำเป็นต้องขาย เว้นเสียแต่จะพบทีหลังว่าตัวเองวิเคราะห์ผิดพลาด หรือปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับฟิชเชอร์ เขาถนัดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นพิเศษ ตรงกันข้ามกับบัฟเฟตต์ที่ไม่ยอมข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเลย สุดยอดการลงทุนครั้งหนึ่งของฟิชเชอร์ คือการเข้าไปซื้อบริษัทเทคโนโลยีนอกสายตาที่ชื่อว่า “โมโตโรล่า” (Motorola) และบริษัทนี้ก็กลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักกันดีในทุกวันนี้

บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการลงทุนแบบเน้นการเติบโตไม่สนใจ “ราคาหุ้น” ขอเพียงเป็นกิจการพื้นฐานดีที่กำลังโตก็เข้าไปซื้อได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ที่จริงแล้ว ฟิชเชอร์ เน้นเสมอว่า ราคาของ “หุ้นเติบโต” (Growth Stock)ที่จะเข้าไปลงทุนนั้น ต้องเป็น “ราคาเหมาะสม” (Fair Price) แต่ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเท่าไร เขาจึงเคยซื้อหุ้นของบริษัท ณ ราคาซึ่งพีอีเกิน 30 เท่ามาแล้ว

แม้บัฟเฟตต์จะบอกว่า ตัวเขาเป็นส่วนผสมของ “เกรแฮม 85 เปอร์เซ็นต์ และฟิชเชอร์ 15 เปอร์เซ็นต์” แต่หลายคนมองว่า อัตราส่วนนั้นน่าจะกลับกัน เพราะบัฟเฟตต์ลงทุนเหมือนฟิชเชอร์ยิ่งกว่าเกรแฮมเสียอีก

ไม่ว่าเราจะเรียกฟิชเชอร์ว่า “นักลงทุนแบบเน้นการเติบโต” (Growth Investor) หรือ “นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า” (Value Investor) ก็ตาม แต่วิธีลงทุนของเขาก็ถือเป็นแบบอย่างที่วีไอทุกคนควรเรียนรู้และปฏิบัติตาม หากมิได้ต้องการแค่ “ขจัดความเสี่ยง” แต่ “หวังผลเลิศ” และ “ขุมทรัพย์มหาศาล” จากการลงทุน

==========================================
ภาพประกอบ : wikipedia.org (qualifies as fair use under United States copyright law)
==========================================


Create Date : 15 มีนาคม 2561
Last Update : 15 มีนาคม 2561 6:57:59 น. 0 comments
Counter : 281 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.