" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
004.Chaos Land : เรื่องราวเกี่ยวกับ อาณาจักรฟูนัน

เรื่องราวเกี่ยวกับ อาณาจักรฟูนัน
คัดลอกมาจาก
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต : อาณาจักรโบราณ
อาณาจักรฟูนัน

บทนำ






ศูนย์กลางอาณาจักรฟูนัน สันนิษฐานว่า อาจเป็นแห่งใดแห่งหนึ่งจาก 2 แห่งคือ ที่ราบลุ่มปากน้ำโขงในกัมพูชาปัจจุบัน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

บรรพบุรุษของฟูนันอพยพมาจากอินเดียได้นำวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม
ประเพณีแบบพราหมณ์ - ฮินดู และระบบการปกครองแบบเทวราชเข้ามา หลักฐานที่เป็นวัฒนธรรมของอาณาจักรฟูนันที่ขุดค้นพบ ในประเทศไทยได้แก่ เครื่องประดับ พระพุทธรูป แม่พิมพ์ ตราประทับ เหรียญกษาปณ์


การก่อตั้งอาณาจักรฟูนัน





อาณาจักรฟูนันปรากฏชื่อในบันทึกของนักเดินเรือและ พระชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกล่าวถึง อาณาจักรฟูนัน ว่าเป็นอาณาจักรในดินแดนแถบนี้

คำว่า ฟูนัน หมายถึง พนม ที่แปลว่า ภูเขา อาณาจักรฟูนัน คังไถ

ทูตจีนที่มา ฟูนันได้กล่าวว่า เมื่อโกฑัญญะกษัตริย์จาก ต่างแดนเข้ามารบชนะและ ได้แต่งงานกับพระนางหลิวเย้ นางพญา ของชน ชาวพื้นเมือง โกฑัญญะปกครองเป็น พระราชาองค์แรกของอาณาจักรฟูนัน มีเชื้อสาย
มาจากชาวอินเดีย

อิทธิพลทางวัฒนธรรมของอาณาจักร ฟูนันได้แพร ่กระจายไปอย่างกว้างขวางในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จดหมายเหตุจีนสมัยต่างๆ ที่บันทึกเรื่องราวของฟูนันระยะแรก มีดังนี้

1. จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง กล่าวถึงการตั้งราชวงศ์ของฟูนันว่าอยู่ราว คริสต์-ศตวรรษที่ 1 และกล่าวถึงเรื่องทูตที่ฟูนันส่งไปในจีนหลายครั้ง

2. จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น กล่าวถึงอาณาจักรฟูนัน ว่าอยู่ริมทะเล ห่างจากประเทศลินยี่ (จามปา) ไปทางตะวันตกกว่า 3,000 ลี้ (1 ลี้ = 576 เมตร) มีความกว้างของอาณาจักร 3,000 ลี้ เมืองซึ่งมี กำแพงพระราชวังและบ้านเมืองของราษฎรประชาชนชอบแกะสลักตัวหนังสือ

3. หนังสือนานจิวยิวูเจของวันเจน ซึ่งมีชีวิตอยู่ระยะคริสต์ศตวรรษที่ 3กล่าวว่า ฟูนันอยู่ห่างลินยี่ไปทางตะวันตกกว่า 3,000 ลี้


ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน




ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน

ปัจจุบันนักวิชาการยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนันอยู่บริเวณใด มีข้อสันนิษฐานดังนี้ คืออยู่ทางใต้ของเขมรในปัจจุบัน บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ออกแก้วหรือบาพนม หรืออยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)หรือนครปฐมโบราณ จึงเป็นไปได้ว่าศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนันมีการเคลื่อนย้ายมิได้ตั้งอยู่
ู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว อยู่ในประเทศเวียดนามปัจจุบัน

ฟูนันมีเมืองขึ้นหลายเมือง อยู่กระจัดกระจายแถบปากแม่น้ำโขง จามปา รวมทั้งดินแดนเจนละแถบแม่น้ำมูล ดินแดนทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและที่สำคัญมากชื่อ ตุนสุน ซึ่งนักโบราณคดีตีความว่าอาณาจักรตุนสุนน่าจะเป็นทวารวดีในสมัยต่อมาในช่วงเวลาที่ฟูนันเริ่มแตกสลายเพราะว่าช่วงเวลาติดต่อกันพอดีแต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ดินแดนที่ฟูนันได้ไว้ในอำนาจมักจะอยู่แถบไซ่ง่อนและด้านเหนือขี้นไป จนถึงอาณาจักรจามปา ซึ่งบางคราว
ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของฟูนันด้วย


ความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและอินเดีย

ฟูนันเป็นอาณาจักรใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 - 8 สิ้นสุดลงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ ชึ่งตั้งอยู่ใกล้เนินบาพนม และหมู่บ้านบานามในจังหวัดแวง ของประเทศเขมร และได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับทั้งจีนและอินเดีย โดยส่งทูตไป
เจริญสัมพันธไมตรี หลายครั้ง

จดหมายเหตุจีนสมัยสามก๊ก กล่าวว่าใน พ.ศ.786 อาณาจักรฟูนันได้ส่ง
คณะทูตมายังจีนพร้อมด้วย นักดนตรีและนำพืชผลในอาณาจักรมาเป็นเครื่องบรรณาการ กำหนดส่ง 3 ปีต่อครั้ง อาณาจักรฟูนันเป็นผู้ริเริ่ม ส่งบรรณาการไปจีน


อาณาเขตของอาณาจักรฟูนัน

อาณาเขต อาณาจักรฟูนันมีความเจริญสูงสุดประมาณ พ.ศ. 800 -900 โดยมีอิทธิพลเหนืออาณาจักรต่างๆในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และอาณาจักรทางใต้ไปจนถึงปลายแหลมมลายู นอกจากนี้อาณาจักรฟูนันยังมีอำนาจไปถึงดินแดนบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนใต้ของเวียดนามหลักฐานส่วนใหญ่ทีใช้ศึกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรฟูนัน ใช้หลักฐานจากบันทึกของจีนโดยคำว่า “ ฟูนัน ” เป็นคำในภาษาจีนปัจจุบันที่มาจากภาษาจีนโบราณว่า “ บุยหนำ ” ซึ่งใช้เรียกรัฐที่ตั้งขึ้นก่อนอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีที่ตั้งอยู่ตามลำน้ำโขงตั้งแต่เมืองโชดก (เขตแดนกัมพูชา – เวียดนาม) จนถึงเมืองพนมเปญ(กัมพูชา) คำว่า บุยหนำ จีนใช้เรียกตามชื่อตำแหน่งประมุขรัฐ


การสร้างบ้านเรือนของอาณาจักรฟูนัน

ชาวฟูนันอาศัยในบ้านใต้ถุนสูงมุงด้วยใบไม้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ใช้ร่วมกัน เมืองต่างๆ ของฟูนันมีกำแพงเมืองล้อมรอบ ในเมืองจะมีพระราชวัง และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยการสร้างบ้านเรือนประชาชนธรรมดาสร้างแบบใต้ถุนสูง สร้างด้วยอิฐฉาบปูนสำหรับสถานที่ราชการ และมีการสร้างกำแพงอิฐฉาบปูนรอบเมืองหลวง กษัตริย์ประทับบนปราสาทราชมนเทียรหลายชั้น สร้างด้วยไม้หายาก ตกแต่งหรูหรา

ชาวฟูนันรู้จักใช้เรือ ซึ่งลักษณะรูปร่างปรากฏคล้ายกับภาพบนกลองสัมฤทธิ์ เป็นเรือขุดแคบๆ ยาวๆ หัวเรือเป็นรูปสัตว์ เช่น ปลา พญานาค ขนาดยาวประมาณ 80-90 ฟุต กว้าง 6-7 ฟุต คงใช้ในการติดต่อค้าขาย หรือรุกรานดินแดนอื่น


สภาพสังคมและวิถีชีวิตของชาวอาณาจักรฟูนัน

อาณาจักรฟูนันมีความเจริญทางอารยธรรม มากที่สุดผู้ปกครองของฟูนันมีรายได้มาจากการค้าทางเรือ สินค้าของฟูนันคือสินค้าพื้นเมือง ชาวฟูนันมีฝีมือทางแกะสลักไม้ ทำเครื่องทองรูปพรรณได้สวยงามมาก เศรษฐกิจ ของฟูนันขึ้นอยู่กับการค้าและการเกษตร






ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวอาณาจักรฟูนัน

ชาวเมืองมีอาชีพกสิกรรม รู้จักการชลประทาน ขุดคลองเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก รู้จักทำเครื่องปั้น ดินเผา การแกะสลัก ทำเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่างๆ รู้จักการต่อเรือ ราษฎรต้องเสียภาษีให้รัฐเป็นทองคำ ไข่มุก และเครื่องหอม พืชที่ปลูกคือ ข้าว ฝ้ายและอ้อย กีฬาที่สำคัญ คือ ชนไก่และชนหมู

ฟูนันมีการส่งทูตติดต่อกับจีน ครั้งแรกในสมัย ของฟันซิมัน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ตรงกับสมัยจีนแบ่งเป็น 3 ก๊ก พวกก๊กทางใต้สุดแถบกวางตุ้งเห็นความสำคัญในการติดต่อกับทางแหลมอินโดจีนทางการค้ามาก จึงมีไมตรีอันดีต่อกันอยู่เสมอ จีนได้ส่งทูตมาฟูนันด้วยแต่เป็นการ
ติดต่อทางการค้ากันเป็นส่วนใหญ่














ลักษณะความเป็นอยู่ของอาณาจักรฟูนัน

ชาวฟูนันมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ มีความซื่อสัตย์ ไม่ลักเล็กขโมยน้อย มีการแบ่งชนชั้น ของสังคม พวกชนชั้นสูงจะสวมโสร่ง ผู้หญิงใช้ผ้าคลุมศีรษะ ประชาชนทั่วไปใช้ผ้าพันกายเพียงผืนเดียว ไม่นิยมสวมรองเท้า แต่นิยมใช้
เครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ทองคำ และไข่มุกลักษณะหน้าตาของชาวฟูนัน ได้แก่ ตัวเล็ก ผิวดำผมหยิก สันนิษฐานว่าคงเป็นพวกผสมกับคน
พื้นเมืองดั้งเดิม


ลักษณะการเมืองการปกครองของอาณาจักรฟูนัน

ได้รับอิทธิพลจากอินเดียตามคติ เทวราชา ถือว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้า มีลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีสถานภาพเป็นสมมติเทพ มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบัญชาการทางทหาร และการพิพากษาคดีเลียนแบบกฎหมายมนูธรรมศาสตร์ของชาวอินเดียมาใช้เป็นแบบอย่างกฎหมายของตน แต่เพื่อความสงบสุขของอาณาจักรได้ส่งคณะทูตและบรรณาการไปยังประเทศจีนทำให้ไม่ถูกจีนรุกรานและจีนไม่ได้ส่งข้าหลวงจีนมาปกครองคงปล่อยให้กษัตริย์ปกครอง
บ้านเมืองอย่างเป็นอิสระ การตัดสินคดีความ ใช้วิธีถือเหล็กเผาไฟจนสุกแดงแล้วเดินไป 7 ก้าว ถ้ามือไม่ไหม้พองก็ถือว่าบริสุทธิ์ ผู้ถูกกล่าวหาต้องถือศีลก่อน 3 วัน แล้วจึงจะเอามาพิสูจน์ ในฟูนันไม่มีคุกตาราง ใช้วิธีตัดสินเลย











รูปแบบศิลปกรรมของอาณาจักรฟูนัน

หลักฐานทางโบราณคดี ที่พบในอาณาจักรฟูนัน เป็นพระพุทธรูปแบบคุปตะของอินเดียและประติมากรรม รูปพระวิษณุสวมหมวกทรงกระบอก เหรียญเงินและเครื่องงา แบบอินเดีย ลูกปัด เศษเครื่องถ้วยชาม เครื่องประดับทำด้วยโลหะ พบที่เมืองออกแก้ว บริเวณปากแม่น้ำโขงภาคใต้ ประเทศเวียดนามปัจจุบัน สันนิษฐานว่า เมืองออกแก้วเป็นเมืองท่าของอาณาจักรฟูนัน

ในประเทศไทยพบบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำมูล เมืองสำคัญต่างๆคือ จันเสน(นครสวรรค์) อู่ทอง(สุพรรณบุรี) นครชัยศรี(นครปฐม) ศรีมโหสถ(ปราจีนบุรี) โนนสูง(นครราชสีมา) ศรีเทพ(เพชรบูรณ์)
และละโว้(ลพบุรี)โดยเฉพาะที่เมืองอู่ทองและศรีมโหสถ ทั้งสองเมืองอาจเป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อค้าขายทางทะเลเพราะปรากฏร่องน้ำใหญ่ที่เรือเดินทะเลสามารถเข้าจอดได้โบราณวัตถุที่พบในบริเวณนี้ เป็นของจากต่างประเทศที่มีลักษณะร่วมสมัยกับสิ่งของที่อาณาจักรฟูนัน เช่น ลูกปัด ดวงตรา เหรียญเงิน เครื่องประดับและเครื่องใช้จากอินเดีย กรีก โรมัน
ตะวันออกกลางและจีน


สถาปัตยกรรมของอาณาจักรฟูนัน

ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาณาจักรฟูนัน ส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ ดังนั้น จึงมีเหลืออยู่น้อยมาก ที่ยังพบเห็นได้ในปัจจุบันบริเวณเมืองออกแก้ว เป็นสิ่งก่อสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมยุคก่อนเมืองพระนคร เป็นอาคารที่สร้างด้วยหิน ก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยกพื้นสูงประมาณ 75 – 100 เซนติเมตร หน้าต่างเป็นวงโค้งขนาดย่อมหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นเล็กๆ


ความเจริญด้านวัฒนธรรม ศาสนาและภาษาของอาณาจักรฟูนัน

ชาวฟูนันนับถือศาสนาหลายนิกายมีทั้งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายานศาสนาพราหมณ์ไศวะนิกาย มีการบูชาพระมเหศวร (พระศิวะ) และไวษณพนิกาย บูชาพระนารายณ์(พระวิษณุ)ชนชั้นปกครองของฟูนันนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนิกายไศวะที่บูชาพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกชนพื้นเมืองนับถือนิกายไวษณพที่บูชาพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด และนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน และยังมีการนับถือบูชาเทพเจ้าอีกหลายองค์ เช่น เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าเทพเจ้าแห่งฝน พ.ศ. 1078-1088 ราชสำนักจีนได้ส่งราชทูตมายังอาณาจักรฟูนัน เพื่อขอให้รวบรวม
คัมภีร์ของพระพุทธศาสนาและส่งภิกษุที่เป็นครูให้เดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในประเทศจีน

ภาษา ชาวฟูนันมีภาษาและอักษรของตนเอง มีวิวัฒนาการมาจากตัวอักษรของอินเดียนอกจากนั้นยังใช้ภาษาสันสกฤตด้วย


ความเจริญของอาณาจักรฟูนัน

อาณาจักรฟูนันได้เจริญในระยะศตวรรษที่ 5 และได้ถ่ายทอดความเชื่อถือเกี่ยวกับการนับถือภูเขาว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และผู้ปกครองนั้นอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขาให้กับพวกในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ความเชื่อนี้ฟูนันรับมาจากอินเดียเรื่องเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

ดังนั้นผู้ปกครองของฟูนันและผู้ปกครองอาณาจักรอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีการจ้างพราหมณ์ไว้ในราชสำนักในฐานะที่พราหมณ์เป็นผู้รู้ความเป็นไปของสุริยจักรวาล เป็นผู้ที่สามารถตั้งศูนย์กลางของจักรวาล (สัญลักษณ์ของจักรวาลคือภูเขา) และประกอบพิธีกรรมการสถาปนากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะเทวดาผู้สิงสถิตอยู่บนยอดเขา ทำให้ฐานะของกษัตริย์มีความมั่นคงทางการเมืองเพิ่มขึ้น พวกเขมรใช้คำว่า พนม นำหน้าชื่อเมืองหลวง


ความเสื่อมของอาณาจักรฟูนัน

ความเสื่อมของอาณาจักรฟูนัน เกิดจากพวกเขมรที่อยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนันได้มีกำลังเข้มแข็งขึ้นทำให้อาณาจักรฟูนันเสื่อมลง กษัตริย์เขมรชื่อ ภววรมัน ยกทัพมาตี จนอาณาจักรฟูนันต้องได้รับความพ่ายแพ้แพ้เมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันได้ตั้งตนเป็นอิสระและตั้งแต่นั้นมาฟูนันก็ถูกเขมรกลืนชาติจนหมดอย่างไรก็ตามเขมรก็ได้รับเอาอารยธรรมต่างๆ
มาจากอาณาจักรฟูนัน


มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรฟูนัน

มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรฟูนัน มีการสืบทอดรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง หลังคาอาคารที่เป็นชั้นซ้อนกันเตี้ย ๆ ตัวอย่างเช่น การทำหลังคาโบสถ์และวิหารในปัจจุบัน ส่วนรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงอิทธิพลของศิลปะอมราวดีของอินเดีย เครื่องประดับพบว่า ได้มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเครื่องประดับทวารวดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับประเภทลูกปัดและเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะทั้งทองคำและสำริดเช่น ต่างหู และแหวน ลักษณะของโบราณวัตถุเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบในเขตเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่จันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และ ศิลปกรรมรุ่นศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์














การแต่งกายของชาวฟูนัน

เครื่องประดับของชาวฟูนัน มีเช่นเดียวกับรัฐ ที่เจริญแล้ว มีการนุ่งห่มด้วยผ้าอย่างสวยงาม พวกชนชั้นสูงมีเครื่องนุ่งห่มทอด้วยไหมเงินไหมทอง พวกผู้หญิงใช้ผ้าคลุมศีรษะชนิดหนึ่งคล้ายหมวกแขก คนจนก็มีผ้านุ่งนอกจากนี้ยังมีการใช้ผ้าปูลาดตรงที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรฟูนันมีการใช้ผ้ารูปแบบต่างๆ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม และผ้าแพร ชาวฟูนันยังนำผ้าประดับที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้อื่นๆ อีกด้วย บุรุษนุ่งโจงกระเบนยาวคลุมหัวเข่าคาดเข็มขัดและพับขอบผ้านุ่ง ชักชายผ้าออกมาค่อนข้างมากปิดหัวเข็มขัด และเครื่องประดับร่างกายมีทั้งศิราภรณ์
กรองศอ ต่างหู พาหุรัด กำไลข้อมือและเข็มขัดทั้งบุรุษและสตรีน่าจะไว้ผมยาวเกล้าผมมุ่นเป็นมวยไว้กลางกระหม่อม และมีเครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ พวงดอกไม้รัดรอบมวยผม เกี้ยว สำหรับประดับรอบมวยผม กะบังหน้า
หรือ เทริด ด้านหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมยอดแหลม ตรงกลางเทริดประกอบด้วยลายดอกไม้ขนาดใหญ่ 1 ดอก ชฎามกุฎ ทรงกรวย ยอดตัดด้านหน้าทำเป็นกรอบพักตร์มีลายคล้ายกระจังอยู่ตรงกลาง หวีสับน่าจะมีการใช้หวีรูปยาว ซึ่งขอบสลักเป็นรูปลายดอกไม้ หรือรูปสัตว์อย่างสวยงามมาก หวีติดอยู่บนศรีษะใช้เป็นเครื่องประดับแบบหนึ่ง ตามแบบอินเดีย กรองศอ มีใช้ทั้งบุรุษและสตรี ที่ปรากฏในรูปสลักจะเป็นแถบกว้าง ตรงกลางกว้างกว่าด้านข้าง และเรียวไปทางด้านหลัง ตรงกลางส่วนที่กว้างทำเป็นลายดอกไม้
ส่วนด้านล่างเป็นพู่คล้ายอุบะสั้นๆ เรียงร้อยกันไปตลอด


สรุปอาณาจักรฟูนัน

อาณาจักรฟูนัน เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นไป นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนันน่าจะอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน แต่นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่าอาจอยู่ในแถบจังหวัดร้อยเอ็ดของไทยหรือบริเวณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาณาจักรฟูนัน
เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลระหว่างจีนกับอินเดีย อาณาจักรฟูนันได้รับอารยธรรมอินเดียเข้ามามากมาย เช่น การปกครองแบบเทวราชา การนับถือศาสนาฮินดู และการมีขนบธรรมเนียมตามแบบพราหมณ์-ฮินดู










"การเดินทางคือสหายของฉัน ส่วนการผจญภัยคือแรงบันดาลใจ"

ในยุคปัจจุบันนี้ เราสามารถที่จะไปท่องเที่ยวที่ไหนก็ได้
ผ่านทาง "ลูกแก้ววิเศษ หรือ Google"


Create Date : 03 มกราคม 2553
Last Update : 4 มกราคม 2553 11:09:11 น. 8 comments
Counter : 25529 Pageviews.

 
มาที่นีได้ความรู้ข้อมูลสาระทุกครั้งค่ะ ตั้งใจเข้ามาดูและวางแผนว่าไปเชียงใหม่ครั้งหน้าจะไปเที่ยววัดไหนดีค่ะ


โดย: hellojaae (hellojaae ) วันที่: 15 มกราคม 2553 เวลา:12:01:43 น.  

 
ยาวจัง อ่านไม่หมดง่ะ ย่อให้หน่อยได้ไหมค่ะ


โดย: นิรนาม IP: 118.173.45.73 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:19:51:14 น.  

 
ความรู้ดีจัง มีอาณาจักรอื่นหรือเรื่องอื่นไหมค่ะ ช่วยได้มากเลยค่ะ ขอบคุณค่า...........


โดย: เฟลิโอน่า วาเนบลี IP: 118.173.45.73 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:19:54:53 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ได้ข้อมูลมาทำรายงานเยอะเลยครับ


โดย: 555 อุ๊ดด้าคุง IP: 117.47.196.177 วันที่: 20 มกราคม 2554 เวลา:19:33:51 น.  

 
ไม่ทราบแถวตากใบจังหวัดนราธิวาสเขาว่าเขามีเชื้อสายฟูนันไม่ทราบจริงหรือเปล่าครับ


โดย: สุวัฒน์ IP: 118.173.206.192 วันที่: 21 กันยายน 2554 เวลา:21:23:10 น.  

 
อาณาฟูนันเสื่อมเนื่องจากอะไรคะ


โดย: chompu IP: 1.4.189.42 วันที่: 27 กันยายน 2555 เวลา:9:37:19 น.  

 
ผมว่าคนเขมรทำหน้าตาไม่เหมือนคนแถวสุรินทร์ บุรีรัมย์เลย หน้าตาคนสุริทร์ บุรีรัมย์ออกไปทางแขกๆ ตาของผม และลุง เหมือนแขก สงสัยอาณาจักรฟูนันมั่ง


โดย: แบง IP: 110.77.241.185 วันที่: 8 เมษายน 2556 เวลา:1:53:02 น.  

 
ขอรูปอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


โดย: cocop IP: 49.231.103.14 วันที่: 24 สิงหาคม 2556 เวลา:18:43:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.