" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

008. ปราสาทขอม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปราสาทขอม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ขอม

จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติขอมเริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้) และแม่น้ำโขงตอนใต้ (กัมพูชา) จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออกแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม) เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา

อาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก

พุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนฬา ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศเขมร และราชธานีของอาณาจักรเจนฬาคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนฬามีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย

พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนฬาได้ยึดวยาธปุระจากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนฬาได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม

จนล่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนฬาได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน จึงทำให้เจนฬาแตกออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนฬาบก และ เจนฬาน้ำ ส่วนของเจนฬาน้ำนั้นถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรขอม

ต่อมาในปี พ.ศ. 1350 ชัยวรมันที่ 2 ได้ยกทัพขึ้นมาประกาศเอกราชจากอาณาจักรชวา และยังรวมอาณาจักรเจนฬาบกเจนฬาน้ำที่แตกแยกเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักรขอมใหม่ และขนานนามใหม่ว่า เมืองกัมโพชน์ตะวันออก โดยแยกตัวมาจากอาณาจักรลโวทย หรือละโว้ หรือปัจจุบันเรียกว่า ลพบุรี ซึ่งมีกัมโพชน์อยู่แล้ว

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเลือกตั้งราชธานีของเมืองกัมโพชน์ในบริเวณทางเหนือของทะเลสาบเขมร พระองค์ทรงขยายพระราชอำนาจขยายเข้าไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำ บริเวณอีสานใต้ของประเทศไทยด้วย


ลัทธิเทวราชา และการก่อสร้างปราสาทขอม

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาลัทธิเทวราชา คือยกฐานะกษัตริย์ให้เป็นเทพเจ้าหรือเทวาราชา (Deva-Raja) เป็นกษัตริย์สูงสุด จึงเป็นการปูพื้นฐานระบบเทวราชาให้อาณาจักรอื่นๆเอาเป็นแบบอย่าง รวมถึงสยามของเราก็รับระบบนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน ระบบเทวราชานี้มีส่วนทำให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญศิลปศาสตร์ต่างๆ และประกอบพิธีราชาภิเษกให้กับกษัตริย์

ลัทธิเทวราชาหรือระบบเทวราชา ต่างจากลัทธิไศวนิกายแลไวษณพนิกาย คือ ก่อนหน้านั้นกษัตริย์เป็นเพียงมนุษย์ที่นับถือเทพเจ้า แต่ลัทธิราชานั้นถือว่ากษัตริย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพเจ้าคือเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาจุติเป็นกษัตริย์นั่นเอง เมื่อกษัตริย์เสวยราชย์แล้วต้องกระทำ ๓ สิ่ง คือ

ขุดสระชลประทานหรือที่เรียกว่า บาราย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขมรมีความยิ่งใหญ่ เพราะเนื่องจากเขมรก็ไม่นิยมตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำเท่าใดนัก ที่เมืองพระนครก็มีบารายขนาดใหญ่หลายบาราย เช่น บารายอินทรฏกะ มะละกอเต้นระบำ
กษัตริย์ต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเตี้ยๆ อุทิศถวายบรรพบุรุษ หรือปราสาทขอมสร้างบนฐานเตี้ยๆเพียงชั้นเดียว เช่น ปราสาทพะโค ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษของพระองค์
และยังต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเป็นชั้น หรือปราสาทขอมแบบยกฐานเป็นชั้นสูงหลายชั้นเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า หากเป็นศาสนาพรหมณ์ลัทธิไศวนิกายก็จะประดิษฐานศิวลึงค์ทองสัญลักษณ์แห่งองค์พระอิศวร หรือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานเทว รูปพระวิษณุ และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์วิญญาณของพระองค์จะไปเสด็จรวมกับเทพเจ้าที่ปราสาทที่พระองค์สร้างไว้นั่นเอง เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงสร้างปราสาทขอมนครวัด อุทิศถวายแด่องค์พระวิษณุ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ก็ทรงมีพระนามว่า บรมพิษณุโลก
จากเหตุผล 2 ข้อหลังนี้เองที่เป็นประเพณีที่กษัตริย์เขมรทุกพระองค์จะต้องสร้างปราสาทขอมอย่างน้อยที่สุด ๒ หลัง ส่วนรูปแบบของปราสาทขอมนั้น ก็พัฒนารูปแบบมาจากศาสนสถานในประเทศอินเดียที่เรียกกันว่า ศิขร เป็นศาสนสถานของศิลปะอินเดียในภาคเหนือ และ วิมาน เป็นศาสนาสถานของอินเดียภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังได้รับอิทธิพลของ จันฑิ ศาสนาสถานในศิลปะชวาเมื่อครั้งที่อาณาจักรเจนฬาตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรชวาด้วย

ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จึงก่อให้เกิดรูปแบบงานศิลปกรรมเขมรที่เรียกกันว่า ปราสาทขอม หรือก็คือ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่มีความสวยงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องด้วยปราสาทขอมเหล่านี้สร้างด้วยวัสดุที่เป็นอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง ((เป็นต้น)) ซึ่งเป็นถาวรวัตถุจึงทำให้มีความคงทนจนถึงในปัจจุบัน

แต่ว่าปราสาทขอมก็มิได้มีเพียงในเขตของประเทศเขมรเท่านั้น ยังพบในบริเวณภาคอีสานของประเทศไทยก็มีปราสาทขอมอยู่มากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจากในบางช่วงเวลาพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่เมืองพระนครมีความเข้มแข็ง ทำให้อำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณที่มีเหนือดินแดนประเทศไทยขยายเข้ามา ด้วยเหตุนี้ปราสาทขอมจึงถูกสร้างขึ้นในดินแดนของประเทศไทยด้วย



รูปแบบศิลปะ

Source://th.wikipedia.org/wiki




 

Create Date : 18 มกราคม 2553
2 comments
Last Update : 18 มกราคม 2553 22:37:33 น.
Counter : 1124 Pageviews.

 

whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

 

โดย: da IP: 203.144.144.165 9 กุมภาพันธ์ 2553 0:05:09 น.  

 

ขอบใจมาก

 

โดย: พพดเ IP: 180.180.143.57 19 สิงหาคม 2553 22:29:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.