" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
001. นครวัด


ภาพพาโนรามาตั้งแต่ทางเข้าจนเห็นตัวปราสาทอยู่ไกลๆ


นครวัด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นครวัด (เขมร:) ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์

เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน

ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร




AngkorWat_Delaporte1880.jpg‎


ประวัติ

ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม

ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา (Antonio da Magdalena) เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา

ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก




คำอธิบายภาพ :The temple of Angkor Wat, Cambodia from the air
ผู้สร้างสรรค์ : Charles J Sharp


ขนาดและการก่อสร้าง

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี

หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก (ราว 50 องศา) แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด




คำอธิบายโดยย่อ:รูปสลักนูนสูง รูปนางอัปสร ที่ปราสาทนครวัด - By A.Aruninta


รูปสลักและงานประติมากรรม

ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ

รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย


มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจาม มีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจากสุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้



คำอธิบายโดยย่อ : หอสูงและบันไดทางขึ้น ศูนย์กลางของปราสาทนครวัด - By A.Aruninta

Source: //th.wikipedia.org

***********************************************















Moonfleet ได้ชม "พระนคร" ได้ชื่นชมการสร้างบุญบารมี่ของพระเจ้าชัยสุริยวรมัน ที่ 2 และ ที่ 7 และ สิ่งที่ดึงดูดใจมากเป็นพิเศษก็คือ รูปแกะสลักนางอัปสร ที่เขาว่ามีจำนวนถึง 1,635 นาง เมื่อได้ชมไปจะเห็นความสวยงาม ความงดงามของแต่ละนาง ที่มีความสวยงาม มีเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป





ขณะที่กำลังมองนางหนึ่งอยู่นั้น นางก็แย้มยิ้มเล็กน้อยแล้ว กล่าวขึ้นมาว่า เอาแต่จ้องมองอยู่นั้นแหละ ช่วยพูดขึ้นมาบ้างซิ ฉันไม่ได้คุยกับใครมานานแล้ว คนที่มาชมก็ได้แต่มาดูและมาถ่ายภาพเท่านั้นเอง




Moonfleet จึงได้พูดว่า "ทำไมจึงต้องสวยด้วย"

นางอัปสรจึงพูดว่า นี่ถ้าไม่สวยงามเขาก็คงไม่เลือกให้มาเป็นนางรำประดับพระนครหรอกนะ แล้วคุณทำไมจึงมาที่นี้ละ มาชมสาวงาม คือ ความสวยงามแห่งเมืองพระนคร

Moonfleet ตอบว่าที่มานี้ต้องการที่จะมาชมโบราณสถานเก่าแก่ ซึ่งเป็นปฐมแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ จึงอยากจะทราบว่า ใครเป็นผู้สร้าง และ อะไรเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง เพราะมนุษย์เรานั้นเป็นทั้งผู้สร้างที่เยี่ยมยอดและผู้ทำลายที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน

นางอัปสรจึงตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านควรที่จะต้องไปถาม "พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2" เอง

ว่าแต่ว่า ท่านไม่สนใจในความสวยงามของดิฉัน หรือ เหล่าบรรดานางอัปสรเหล่านี้บ้างหรือ ?




Moonfleet : เป็นธรรมดาของบุรุษที่จะต้องชอบสตรีอยู่แล้ว แต่ว่า เคยได้ยิน "เวตาล" บอกว่า อัน สุราหนึ่ง การพนันหนึ่ง และ สตรีหนึ่ง นั้น ถ้าบุรุษได้เหยียบย่างลงไปบนทางสามสายเหล่านี้แล้วชีวิตของเขาก็ไม่อาจจะพยากรณ์ได้

นางอัปสร: อ๋อ เจ้าเวตาล เจ้าเลห์นั้นนะเหรอ สักวันคงได้เห็นดีกัน
เชิญท่านได้ไปทำความรู้จักและสอบถาม "พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2" เองเถอะ




5 ภาพสุดท้าย ขอรับรองได้ว่า ไม่ได้นำมาจาก วิกิพีเดีย แต่ นำมาจาก //www.


เรื่องราวของ "พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2"




รูปสลักนูนพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ในปราสาทนครวัด


พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (หรือ สุริยวรรมันที่ 2 ) กษัตริย์เขมร ครองราชย์ ในช่วง พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1693 เป็นพระโอรสของพระเจ้ากษิตินทราทิตย์ และพระนางนเรนทราลักษมี ทรงมีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างศาสนสถานและปฏิรูปศาสนา ในรัชสมัยของพระองค์ยังได้ทรงสร้างปราสาทนครวัด อันเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ขึ้นครองราชย์

พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ทรงเอาชนะผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ นั่นคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 และเสด็จขึ้นครองราชย์ ผนวกดินแดนต่างๆ หลังจากแตกแยกกันไปกว่า 50 ปี ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 1656 โดยมีพระมหาราชครูผู้ทรงอำนาจ คือ ทิวกรปัณฑิต เป็นพราหมณ์ผู้ทำพิธี พระเจ้าสูรยวรมันทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปฏิรูปศาสนา โดยผสมผสานลัทธิบูชาพระวิษณุและพระศิวะเข้าด้วยกัน และบังเกิดเป็นไวษณพนิกายขึ้น แทนที่จะเป็นพุทธศาสนามหายาน ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้ไม่นานนัก


นครวัด

ปราสาทนครวัดนั้น ก็สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุ โดยเริ่มสร้างขึ้นในช่วงต้นของรัชสมัยของพระองค์ และก่อสร้างต่อไปกระทั่งเสด็จสวรรคต แต่ก็ยังสร้างไม่เสร็จ ปราสาทนครวัดนั้นมีกำแพงและบารายล้อมรอบ ตัวอาคารเองยังประดับประดาด้วยพระรูปของพระเจ้าสูรยวรมัน ในภาคของพระวิษณุ เป็นภาพพระองค์กำลังทอดพระเนตรกองทัพ ออกว่าราชการ และกระทำพิธีต่างๆ พระเจ้าสูรยวรมันยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสาทหินอื่นๆ อีกหลายแห่ง ในลักษณะคล้ายนครวัด ในรัชสมัยของพระองค์ ยังได้ทรงสร้างปราสาทวัดภู (ปัจจุบันอยู่ในแขวงจำปาศักดิ์ ของ ส.ป.ป. ลาว) ต่อจากรัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (แต่ก็ไม่สำเร็จสมบูรณ์)


ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 1659 พระเจ้าสูรยวรมันได้ทรงรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ซึ่งความสัมพันธ์ร้าวฉานลงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน

นับแต่ พ.ศ. 1666 ถึง พ.ศ. 1679 พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ได้ทรงยกทัพไปโจมตีไดเวียต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาณาจักรเวียดนามในเวลานั้นได้ประกาศเอกราชจากจีน เมื่อ พ.ศ. 1482 และในปี พ.ศ. 1671 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้ส่งกองกำลังราว 20,000 คนไปรบไดเวียด ที่เมืองเญอัน แต่ก็ถูกต่อต้านพ่ายแพ้กลับมา ไม่กี่เดือนต่อมา กองทัพเรือกว่า 700 ลำก็เริ่มเดินทางไปตลอดชายฝั่งเลียบอ่าวตังเกี๋ย พระเจ้าสูรยวรมันทรงบังคับให้อาณาจักรจามปาสนับสนุน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 1675 ทรงรวบกำลังของกัมพูชาและจามปาเข้าด้วยกัน เพื่อบุกเมืองเญอัน แต่ก็พ่ายแพ้ ครั้นใน พ.ศ. 1679 กษัตริย์จามปา ทรงพระนามว่า ชัยอินทรวรมันที่ 3 ได้ผูกความสัมพันธ์กับอาณาจักรไดเวียต และไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าสุริยวรมันอีกต่อไป

เมื่อปี พ.ศ. 1687 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้โจมตีและครอบครองอาณาจักรจามปาสำเร็จ เพราะเห็นว่าจามปาทรยศหักหลัง ในปีต่อมาจึงได้ผนวกจามปาเข้ากับอาณาจักรกัมพูชา และให้พระเจ้าหริเทว ซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ขึ้นครองบัลลังก์จาม ที่เมืองวิชัย ครั้นเมื่อ พ.ศ. 1690 จามปาได้สถาปนากษัตริย์ของตนขึ้น คือ พระเจ้าชัยหริวรมันที่ 1 เมื่อพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ทรงทราบข่าว ก็ส่งกองทัพจามและกัมพูชาจากเมืองวิชัยไปปราบ พระเจ้าชัยหริวรมันที่ 1 ออกมาตั้งรับ ครั้นได้รับชัยชนะ ก็ส่งกองทัพเคลื่อนขึ้นทางเหนือไปยึดเมืองวิชัย และสังหารทหารทั้งหมดของจามและกัมพูชา ที่เมืองมหิส หริเทวและทหารทั้งหมดถูกสังหารเช่นกัน


เสด็จสวรรคต

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1693 ขณะกำลังยกทัพไปโจมตีจามปา ในภายหลัง ได้รับการสถาปนาพระนามาภิไธยเป็น พระเจ้าปรมวิษณุโลก และยังได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของเขมร ในฐานะที่ได้สถาปนาและปฏิรูปศาสนาขึ้น สำหรับสงครามกับต่างประเทศนั้น ไม่ประสบความสำเร็จเลยในรัชสมัยของพระองค์ กษัตริย์ผู้ครองราชเป็นองค์ต่อไปคือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 (ธรณินทรวรรมันที่ 2)









Create Date : 01 มกราคม 2553
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2556 20:10:33 น. 3 comments
Counter : 7674 Pageviews.

 
สุดยอดดดดดดดดดดดดด


เปนไรที่อะเมซิ่งมาก


ชอบนางอัปสราที่ซู้ดดดดดดดดดดดเลยคร้า


โดย: คนคลั่งมนดำ IP: 112.142.232.254 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:50:59 น.  

 
Classical Cambodian Ballet: Apsara





mboogiedown | October 16, 2006
Apsara dance.

Category:
Travel & Events

Source://www.youtube.com/watch?v=tctP_i1KI-c&feature=related


โดย: Classical Cambodian Ballet: Apsara (moonfleet ) วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:29:34 น.  

 
ชอบมาก


โดย: แอม IP: 182.93.188.196 วันที่: 28 มิถุนายน 2554 เวลา:8:48:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.