" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
021. เขตปกครองตนเองทิเบต

เมื่อวาน (จันทร์ 31 พฤาษภาคม 2553) เพื่อน โทรมาบอกว่า พี่ ผมถึงกลับมาประเทศไทย ผมได้ไปประเทศเนปาล และ ทิเบตมา.....

การเดินทางท่องเที่ยวมีได้หลายแบบ ดีที่สุดคือเดินทางไปด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้เราสามารถได้รับประสบการณ์จริงแห่งชีวิต

เมื่อไปเองไม่ได้อีกแบบหนึ่งถือ ถอดจิตหรือหายตัวไป ซึ่งก็ไม่ได้มีฤทธิ์มากถึงเพียงนั้น

แบบที่ง่ายที่สุด คือ ท่องเที่ยวไปกับหนังสือ หรือ ในยุคนี้ก็คือ โลกแห่งใยแมงมุม หรือ //www.


เขตปกครองตนเองทิเบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






China - Tibet
เขตปกครองตนเองทิเบต
ชื่อย่อ: 藏 (จ้าง)

ข้อมูลทั่วไป

ประเภทเขตปกครอง เขตปกครองตนเอง
เมืองเอก ลาซา
เลขาธิการพรรค จาง ชิงลี่
ผู้ว่าการ จัมปา พันซอก (向巴平措)

พื้นที่ 1,228,400 ตร.กม. (อันดับที่ 2)
ประชากร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547)
- จำนวน 2,740,000 (อันดับที่ 31)
- ความหนาแน่น 2.2 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 31)
GDP
(พ.ศ. 2547) 21.15 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 31)
- ต่อหัว 7,720 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 25)
HDI (พ.ศ. 2548) 0.586 ปานกลาง (อันดับที่ 31)
กลุ่มชาติพันธุ์ ทิเบต - 92.8 %
ฮั่น - 6.1 %
หุย - 0.3 %
เหมินป้า - 0.3 %
อื่นๆ - 0.3 %
จำนวนจังหวัด 7
จำนวนเมือง/อำเภอ 73
จำนวนตำบล 692
ISO 3166-2 CN-54
เว็บไซต์ //www.xizang.gov.cn/


เขตปกครองตนเองทิเบต หรือ ธิเบต

(ทิเบต:བོད་- โบด์; จีน: 西藏 ซีจ้าง)

เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย

พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma)

ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa)


เขตปกครองตนเองทิเบตมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)

ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐกะฉิ่น (ประเทศพม่า) รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ (ประเทศอินเดีย) ในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้ ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ รัฐชัมมูและแคชเมียร์ (ประเทศอินเดีย) และประเทศปากีสถาน


ประวัติ





ธงชาติทิเบต


บทความหลัก: ประวัติศาสตร์ทิเบต, ทิเบตภายใต้การปกครองของจีน
ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มีการไปมาหาสู่กันกับชนชาติฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน เผ่าชนต่างๆ ของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็ค่อยๆ รวมกันเป็นเอกภาพ และกลายเป็นชนชาติทิเบตในปัจจุบัน

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน 300 กว่าปีได้สิ้นสุดลง ขณะเดียวกัน วีรบุรุษ ซงจั้นกันปู้ ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ถู่ปัวอย่างเป็นทางการขึ้น และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ในช่วงปกครองประเทศ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของราชวงค์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่างๆ กับราชวงค์ถังไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงค์ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองประเทศ และเปลี่ยนอำนาจรัฐหลายครั้ง แต่ทิเบตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางมาโดยตลอดไม่ว่าราชวงค์ใด

หลังจากราชวงศ์ชิงได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกครองควบคุมทิเบตอย่างใกล้ชิด ทำให้อำนาจการบริหารปกครองของรัฐบาลกลางเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) ราชวงค์ชิงได้ส่งเสนาบดีไปประจำทิเบต เพื่อเป็นตัวแทนของส่วนกลางกำกับดูแลกิจกรรมบริหารส่วนท้องถิ่นของทิเบต

เมื่อปี พ.ศ. 2501 จีนบุกเข้าทิเบตและก่อตั้งเขตปกครองพิเศษขึ้น

ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตคือ องค์ทะไลลามะ องค์ปัจจุบัน


การแบ่งเขตการปกครอง

ขออภัย ไม่ได้นำมาลงไว้ ณ.ที่นี้ กรุณาไปอ่านได้ที่ วิกิพีเดียครับ



พระราชวังโปตาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





พระราชวังโปตาลา

พระราชวังโปตาลา (ภาษาทิเบต : པོ་ཏ་ལ།, การแปลโดยระบบไวลี: Po ta la ; อักษรจีนตัวย่อ: 布达拉宫; อักษรจีนตัวเต็ม : 布達拉宮)

ตั้งอยู่ที่กรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน พระราชวังแห่งนี้อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 3,600 เมตร บนที่ราบสูงทิเบต พระราชวังซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ และ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17 บนที่ตั้งปราสาทในสมัยพระเจ้าสองสันกัมโป ปราสาทถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งหลายคราว จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 5 ใน ค.ศ. 1617 - 82 มีพระบัญชาให้สร้างปราสาทนี้ในลักษณะของวังซ้อนวัง พระราชวังวงนอกเรียกว่า วังขาว เพราะทาสีขาว สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1648 พระราชวังชั้นในเรียกว่า วังแดง ได้ชื่อตามผนังที่ทาสีแดง ซึ่งสร้างที่หลังวังขาวเกือบ 50 ปี พระราชวังโปตาลามีระเบียงที่มีภาพเขียนสีเรียงซับซ้อน มีทั้งบันไดไม้บันไดหิน มีห้องสวดมนต์ที่ตกแต่งสวยงาม มีรูปเคารพเกือบสองแสนองค์ ปัจจุบันพระราชวังโปตาลากลายเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานสักการะ ภายในวังขาว มีสำนักงาน โรงเรียนศาสนา ส่วนวังแดงเป็นส่วนที่ยังใช้ประกอบพิธีกรรมอยู่ เป็นศูนย์รวมใจของโปตาลา


กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





พระราชวังโปตาลา


กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซา คือแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในนครลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) และมีการลงทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องข้างเคียงอีกในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 (ค.ศ. 2000, 2001)


ประวัติ

เนื่องจากลาซานั้นเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรม โดยมีองค์ทะไลลามะเป็นผู้นำของพุทธศาสนาแบบทิเบต ลาซาจึงสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองในแบบวัฒนธรรมของตน อีกทั้งยังส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมหรือสถาปัตยกรรมไปยังประเทศรายรอบ เช่น อินเดีย เนปาล ภูฏาน และจีนอีกด้วย


เกณฑ์การพิจารณา

พระราชวังโปตาลาและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยผ่านเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

(i) - เป็นตัวแทนของการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์





Create Date : 02 มิถุนายน 2553
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 11:10:13 น. 1 comments
Counter : 4324 Pageviews.

 
ตามเที่ยวจากเน็ทเช่นกันค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 2 มิถุนายน 2553 เวลา:13:22:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.