เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 
วันฉัตรมงคล..พระบารมีปกเกล้าฯ


Rama_IX

ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ ได้ทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙  แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย  โดยรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้า ฯ

จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ดังนั้น ตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา พสกนิกรไทยจึงได้ถือเอาวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

king99

     ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ในโอกาสมหามงคลวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นวันฉัตรมงคล กระผมขอนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญและความเป็นมาของวันฉัตรมงคล ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังนี้ครับ

ประวัติความเป็นมาของการจัดพิธีบรมราชาภิเษก : การจัดพิธีบรมราชาภิเษกนั้นถือเป็นพิธีที่จัดต้อนรับหรือรับรองฐานะความเป็นประมุขของสังคม อย่างเป็นกิจจลักษณะ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพ่อขุนผาเมือง ได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ดังปรากฏในหลักฐานในศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท

chutmonkol1

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาติทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งนี้ พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า “พระบาท” นำหน้า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า “พระบรมราชโองการ” และที่สำคัญประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร ๙ ชั้น

e21

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณ ในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เป็นวันจุดเทียนชัย และวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ถือเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก : เป็นพระราชพิธีที่ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่

ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นขั้นเตรียมงานพระราชพิธี มีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่สำคัญต่างๆ ๑๘ แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษก ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง และทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป

136

ขั้นตอนนี้จะเริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายบสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ ใช้น้ำจากแม่น้ำ ๕ สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมภูทวีป หรือที่เรียกว่า”ปัญจมหานที” แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมภูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ ๑๘ แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร

138

ทั้งนี้ มีพระพุทธพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง ๑๘ แห่งในประเทศไทย ได้แก่ (๑) พระพุทธบาท (จังหวัดสระบุรี) (๒) วัดพระศรีมหาธาตุ (จังหวัดพิษณุโลก) (๓) วัดพระมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย) (๔) พระปฐมเจดีย์ (จังหวัดนครปฐม) (๕) วัดพระมหาธาตุ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) (๖) วัดพระธาตุหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) (๗) วัดพระธาตุพนม (จังหวัดนครพนม) (๘) วัดพระธาตุแช่แห้ง (จังหวัดน่าน) (๙) วัดบึงพระลานชัย (จังหวัดร้อยเอ็ด) (๑๐) วัดมหาธาตุ (จังหวัดเพชรบุรี) (๑๑) วัดพระบรมธาตุ (จังหวัดชัยนาท) (๑๒) วัดโสธร (จังหวัดฉะเชิงเทรา) (๑๓) วัดพระนรายณ์มหาราช (จังหวัดนครราชสีมา) (๑๔) วัดศรีทอง (จังหวัดอุบลราชธานี) (๑๕) วัดพลับ (จังหวัดจันทบุรี) (๑๖) วัดมหาธาตุ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) (๑๗) วัดตานีณรสโมสร (จังหวัดปัตตานี) และ (๑๘) วัดทอง (จังหวัดภูเก็ต) นอกจากนี้ ยังมีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎดวงพระบรมราชสมภพ (ดวงเกิด) และแกะพระราชลัญจกร (ดวงตราประจำรัชกาล)

       โดยได้มีการประกอบพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๔๙๓ ในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม

ขั้นตอนที่สอง มีพิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้วย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ และมีการตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก

134

ขั้นตอนที่สาม เป็นพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก โดยเริ่มต้นจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง ๘ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ไดแก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจักร หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

ds3

ขั้นตอนที่สี่ เป็นพิธีเบื้องปลาย เกิดขึ้นเมื่อเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาภิเษกและตั้งแต่รัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง

800px-Bhumibol_Establish_of_Queen

ขั้นตอนที่ห้า เป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสด็จพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี

     ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดี อีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี.

art093A

1313819859

K8663941-7

Rmstory

……………………………………….

 

//www.chaoprayanews.com/2015/05/06/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%89%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a5-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b9%80/




Create Date : 09 พฤษภาคม 2558
Last Update : 9 พฤษภาคม 2558 1:36:59 น. 0 comments
Counter : 4506 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.