เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
ภูมิบ้านภูมิเมือง : วัดพระปรางค์เหลือง ภูมิตำราเหยียบฉ่าสมัยรัชกาลที่๕


พระปรางค์สร้างใหม่ที่เห็นจากแม่น้ำ

จากแคมเปญ “หลงรักประเทศไทย” เพื่อเปิดให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศตามเส้นทางต่างๆ นั้น ทำให้การท่องเที่ยวประเทศไทยได้จัดคาราวานไปยังภูมิภาคต่างๆ เป็นประจำตามวาระถึง ๖ ครั้งตามโครงการ อาทิตย์นี้ได้เดินทางไปตามรอยเสด็จประพาสต้นไปตามเส้นทางนครสวรรค์-อุทัยธานีกับ “เพื่อนธรรมชาติ” ไปที่วัดสำคัญริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ วัดนี้ชื่อ วัดพระปรางค์เหลืองเป็นวัดเก่าครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย (ประมาณพ.ศ.๒๓๐๕) ที่ชำรุดทรุดโทรมเหลือแต่โบราณสถานที่บูรณะใหม่กับซากเจดีย์เก่ากองพะเนินอยู่ริมแม่น้ำ เดิมจะชื่อวัด อะไรนั้นไม่มีหลักฐานแต่มาเรียกว่า วัดพระปรางค์เหลือง ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ขึ้นใหม่ และก็คงเป็นพระปรางค์สีเหลืองจนปรากฏชัดแก่ผู้เดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยา

รัชกาลที่ ๕ ทรงชุดประพาสต้นเป็นช่างถ่ายรูป

ความสำคัญของวัดนี้ในสมัยอยุธยานั้นสืบค้นข้อมูลไม่ได้มาก แต่ด้วยที่เป็นวัดที่อยู่ใกล้บริเวณแหล่งโบราณสถานสมัยทวารวดี ๒ แห่งที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ คือเมืองบนหรือเมืองอู่บน และโบราณสถานที่บ้านโคกไม้เดน จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นวัดของชุมชน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมี หินกังสดารและวัตถุอื่นๆ มาไว้อยู่วัดนี้ ส่วนที่รู้จักกันจนกลายเป็นกิจกรรมสำคัญของวัดก็คือเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จฯทรงแวะเยี่ยมเจ้าอาวาสหรือผ่านวัดนี้ถึง ๓ คราวคือ ครั้งแรกเมื่อเสด็จฯตรวจราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๔๔ ครั้งเสด็จประพาสต้น พ.ศ. ๒๔๔๙ และครั้งเสด็จฯสำรวจลำแม่น้ำมะขามเฒ่า พ.ศ. ๒๔๕๑ นั้นเรือได้หลงเข้าไปจนถึงวัดน้ำทรง จึงต้องกลับออกมาทางบางผี แล้วออกมาแม่น้ำใหญ่
ผ่านวัดแห่งนี้และล่องจอดเรือที่จอดพักที่วัดหัวหาดหรือหาดพิกุลงาม อำเภอมโนรมย์ เมืองชัยนาท หาใช่ออกทางแม่น้ำสะแกกรังไม่ ด้วยเหตุที่มีขบวนเรือล่วงหน้าไปรอที่แม่น้ำใหญ่แล้ว จึงได้แต่เล่าไว้เป็นข้อศึกษาว่า จากคลองบางหวายนั้นมีคลองแยก
ออกมาทางบางผีทางหนึ่ง ที่แยกไปทางแควตากแดดที่ไหลออกไปต่อกับแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งมีโขดเขินอยู่เป็นห้วงๆ และไม้รก จึงมีแต่เรือเป็ดกินน้ำตื้นออกไปขายข้าวทางแม่น้ำสะแกกรังเท่านั้น ไม่ได้ออกไปขายที่แม่น้ำใหญ่ แม่น้ำสะแกกรังในหน้าแล้งนั้นกลางน้ำลึกเพียง ๕-๖ วา เป็นดินเลนและมีจระเข้ชุกชุม หน้าน้ำจระเข้จึงเข้าป่าไป

พระครูเงิน วัดพระปรางค์เหลือง

ตั้งแต่สมัยอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินได้เคยเสด็จทางน้ำผ่านหน้าวัดอยู่ก่อนแล้วหลายครั้ง หลังสุดในรัชกาลที่ ๔ นั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ พระองค์เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชพร้อมด้วยสามเณรเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากวัดเดิมสมัยอยุธยานั้นถูกน้ำเซาะตลิ่งพังลงและโบราณสถานของวัดก็พังลงไปในแม่น้ำ เหลืออยู่แต่ซากเจดีย์และศาลาหลังเล็ก ภายหลังได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ถัดเข้าด้านใน พร้อมด้วยเสนาสนะต่างๆ สำหรับหลวงพ่อเงินหรือพระครูพยุหานุศาสน์ (เงิน) ผู้เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะเมืองพยุหะคีรีนั้น เป็นพระเถระที่มีคุณวิเศษด้านน้ำพุทธมนต์ที่รู้จักกันว่า “น้ำมนต์มหาจินดา” ในครั้งนั้นพระเถระรูปนี้ได้ถวายการรดน้ำมนต์แด่พระองค์รัชกาลที่ ๕ ด้วย มีความปรากฏเล่าไว้ว่า “เดินดูกุฏิและโบสถ์ที่ทำใหม่ ไม่มีสาระอะไร กลับลงมาร้อนอาบน้ำเลยให้พระครู
รดน้ำมนต์ อยู่ข้างจะเหวสบายมาก” คำว่าเหวนี้หมายถึง ปลื้มในใจ ในวาระนั้นเองพระองค์ได้พบพระหมอที่มีความรู้ด้านการ “เหยียบฉ่า” คือ การนวดด้วยการเอาเท้าที่เหยียบไฟร้อนลงบนผิวหนังที่ลูบด้วยน้ำมันมนต์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรการเหยียบฉ่า



วิหารและพระปรางค์ที่สร้างใหม่

โดยทรงให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นคนไข้ทดลองให้พระเหยียบให้ทรงถ่ายรูป เมื่อสิ้นการทดสอบก็เสด็จฯต่อไปยังเมืองพยุหะคีรีใช้เวลาชั่วโมงเศษ ด้วยต้องแล่นเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไป สิ่งสำคัญในรัชกาลที่ ๕ ที่ปรากฏให้ชมคือศาลาท่าน้ำสำหรับเฝ้าฯรับเสด็จ เมื่อคราวเสด็จฯตรวจราชการมณฑลฝ่ายเหนือที่ยังเหลือเสาไม้จำหลักลวดลายงดงามอยู่บางส่วน นอกนั้นก็เป็นเก๋งเรือสำหรับเจ้าคณะเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ สิ่งก่อสร้างมีกุฎี เจ้าอาวาส โบสถ์และศาลา สำหรับองค์พระปรางค์เหลืองนั้นได้สร้างขึ้นใหม่ในพระอุปถัมภ์ของรัชกาลที่ ๕ โดยยังมีเนินเจดีย์เก่าสมัยอยุธยาอยู่ และศาลาเล็กเก่าได้บูรณะใหม่ให้มีผนังเหมือนวิหารและนำใบเสมาจากที่อื่นมาไว้ให้ศึกษา วัดนี้ ถือเป็นต้นตำรับ “น้ำมนต์มหาจินดา” ที่พระครูเงินได้รดถวายพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเสด็จประพาสต้นมาแล้วและเป็นต้นตำรับ “การเหยียบฉ่า” ที่ร่ำลือไปทั่วคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาทีเดียว



ศาลาท่าน้ำรับเสด็จกับพระปรางเหลือง



ศาลาการเปรียญเก่า


เรือพระที่นั่งใช้เสด็จประพาสต้น


รับเสด็จรัชกาลที่ ๕ ที่แพศาลาท่าน้ำ



การเหยียบฉ่าต่อหน้าพระพักตร์รัชกาลที่ ๕


กุฎีพระครูเงินที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน


ลวดลายที่ศาลาท่าน้ำรับเสด็จ

















//www.naewna.com/lady/114311


Create Date : 27 กรกฎาคม 2557
Last Update : 27 กรกฎาคม 2557 11:11:02 น. 0 comments
Counter : 4471 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.