Group Blog
มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
27
28
29
30
31
 
 
เล่น เล่น เล่น ของลูกน้อย
เล่น เล่น เล่น  ตอนที่ ๑ ตอนที่ 1 อย่างไรที่เรียกว่าเล่น ???????

มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยเล่นกับลูก อีกจำนวนหนึ่งไม่ค่อยได้เล่น อีกจำนวนหนึ่งบอกว่าเล่นแต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทำอยู่กับลูกไม่ใช่การเล่น และอีกจำนวนหนึ่งคือเล่นกับสิ่งที่เรียกว่าเป็นการเล่นกับลูกจริง ๆ

ที่เน้นว่าเล่นต้องเป็นเล่นจริง ๆ เพราะมีพ่อแม่ส่วนหนึ่งพอให้แสดงการเล่นกันกับลูกให้ดู (1) แม่ก็ไปหยิบปากกากะดินสอ และกระดาษ มาบอกให้เด็กเขียนตาม “ไหนเขียน ก.ไก่” “ไหนวาดปลาสิ ปลา ปลา” “ไหนเขียน 1-10 ให้ดูหน่อย” หรือ (2)เอาหนังสือมาแล้วบอกว่า “ชี้กระต่ายหน่อย” “ไหนกระต่ายสีอะไร” “หมูภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรลูก” หรือ (3) พ่อแม่หยิบชุดขายของมาแล้วบอกเด็ก “ไปเดี๋ยวเราจะเล่นทำกับข้าวกัน อ้าวลูกไปหยิบกระทะมา” “หยิบไข่ เจียวไข่ให้แม่ด้วย” โดยเด็กทำตามคำสั่งคือเจียวไข่ให้แม่ หรือ (4) พ่อบอกว่า “อ้าวมาเล่นรถแข่งกัน หยิบรถมาเลยลูก” “บรืน บรืน” เสียงพ่อปนเสียงลูกตามมาเบา ๆ (5) แม่นั่งดูลูกเงียบ ๆ ระหว่างที่เด็กเดินสำรวจของเล่นในห้อง เด็กหยิบตุ๊กตาขึ้นมา 2 ตัว 1 ตัวยื่นให้แม่ แล้วบอกว่า “แม่เล่นพี่น้องกัน” จากนั้นแม่จึงเริ่มเล่น

มีสถานการณ์ไหนบ้างที่เรียกว่าการเล่นจริง ๆที่ ตรงกันกับนิยามของการเล่น ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กสนุก เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นด้วยตัวเอง ในบรรยากาศที่สนุกสนานและผ่อนคลาย

2 สถานการณ์แรกเป็นน่าจะเป็นการสอนเสริมหรือการสอนพิเศษมากกว่าการเล่น ส่วนสถานการณ์ที่ 3 และ 4 เริ่มคล้ายกับการเล่นขึ้นมาแต่พบว่าไม่มีตรงไหนเลยที่เด็กได้คิดเอง เด็กทำตามสิ่งที่พ่อแม่อยากเล่น และในที่สุดก็จะเล่นต่อด้วยกันได้ไม่นานเพราะพ่อแม่เกิดความเบื่อ และเด็กก็ไม่ได้อยากเล่นสิ่งที่พ่อแม่เล่น สถานการณ์ที่ 5 ต่างหากที่เรียกว่าเป็นการเล่น เด็กริ่เริ่มด้วยตนเอง โดยเริ่มจากสำรวจของเล่นในห้อง หยิบของเล่นที่เค้าสนใจและ ชวนให้แม่มาเล่นด้วยกัน จากนั้นแม่ก็เล่นตามบทของลู

ที่เน้นเรื่องความสำคัญของการเล่นจริง ๆ ระหว่างพ่อแม่กับลูกเพราะ ตรงส่วนที่เป็นการเล่นจริง ๆ เท่านั้นที่จะเป็นส่วนเพิ่มพัฒนาการของลูกอย่างมหาศาล การทั้ง 5 ตย ได้เรื่องสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก มีการพูดคุยกัน ถามตอบกัน 2 ตย แรกมีแต่สัมพันธภาพ ตย ที่ 3 และ 4 เริ่มมีความสนุกเพิ่มขึ้นมาจากการที่มีอุปกรณ์คือของเล่นเป็นตัวกระตุ้น รวมถึงท่าทีของพ่อแม่ที่พร้อมเล่น การเล่นตย ที่ 5 มีครบทั้งสัมพันธภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรของเด็ก แม่ที่ยอมรับการตัดสินใจของลูกให้โอกาสลูกได้เลือก โดยที่แม่เป็นผู้เล่นตามในเรื่อง ตรงนี้เองจะฝึกเรื่องการสร้างความคิดจินตนาการ ความกล้าตัดสินใจของเด็ก เพราะตรงนี้แม่ได้เป็นผู้พิสูจน์ในการเลือกการเล่นของเขาให้เขาเห็นแล้วว่าแม่ยอมรับในสิ่งที่เค้าเลือกเล่น และแม่ยอมรับที่จะเป็นผู้ตามเค้าในการเล่น (ขอย้ำว่าในการเล่น)

ลองกลับไปทบทวนดูนะคะว่าตอนนี้เราเล่นกับลูกยังไง อยากเน้นย้ำอีกทีว่าการเล่นที่เป็นการเล่นจริง ๆ เท่านั้นที่จะทำให้พ่อแม่ต่อยอดพัฒนาการของลูก ของคุณได้

@หมอมินอินเตอร์@

.......................................................................

เล่น เล่น  เล่น   ตอนที่ ๒ ประโยชน์ของการเล่น

พ่อแม่หลายคนที่ไม่เคยเล่นและไม่ค่อยได้เล่น มักให้เหตุผลว่า เหนื่อยแล้ว หมดแรง อยากพักบ้าง ต้องทำงานบ้าน เล่นไม่เป็น ไม่รู้จะเล่นอะไร เด็กมันก็เล่นของมันเองคนเดียวได้อยู่แล้ว เด็กเค้ามีเพื่อนเล่นอยู่แล้ว เด็กเค้าเล่นกับพี่กับน้องของเค้าอยู่แล้ว พี่เลี้ยงเล่นกับเค้าอยู่แล้ว แม่เค้าเล่นเก่งกว่า หรือ พ่อเค้าเล่นเก่งกว่า ฯลฯ

มีสิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกคุณพ่อคุณแม่ที่บางทีขี้เกียจหรือเบื่อที่จะเล่นกับลูก
ว่า การที่เด็กได้เล่นกับผู้ใหญ่มีประโยชน์กับเค้าและกับเราอย่างไรบ้าง

1) เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว บรรยากาศการเล่นมักเป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีเสียงหัวเราะ มีรอยยิ้ม ทุกคนสนุกสนาน ตรงนี้เองที่เป็นตัวสร้างสายใย ที่ทำให้ครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง โดยผ่านการเล่นที่เป็นบรรยากาศผ่อนคลาย เด็กจะรู้สึกมีความสบายใจ ในบรรยากาศที่เป็นกันเองที่เป็นการเล่น เค้าก็จะมีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น กล้าพูด กล้าคุยกับพ่อแม่ กล้าเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงรับรู้ว่า พ่อแม่เป็นเพื่อนกันกับเค้าได้ (สิ่งเหล่านี้จะซึมซับติดกับตัวเค้าไปจนถึงเค้าเข้าวัยรุ่น ทำให้เค้ายังคงไว้ใจพ่อแม่และอยากที่จะเล่าอะไรให้ฟังอยู่เหมือนเดิม)

2) ช่วยต่อยอดพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก (พ่อแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านพัฒนาการพื้นฐานและรู้ว่าการเล่นอะไรจะต่อยอดอะไรให้กับเค้าได้) สิ่งนี้การที่เด็กเล่นด้วยกันเอง มักจะขาดเพราะเด็กแต่ละคนก็ไม่รู้ว่าเด็กอีกคนขาดพัฒนาการด้านอะไร และควรจะต่อยอดอะไรให้แก่กั

3) เป็นแบบอย่างของการรู้แพ้ รู้อภัย เนื่องจากเวลาที่ผู้ใหญ่เล่นกันกับเด็ก ผู้ใหญ่มักไม่ได้หวังที่จะชนะเด็ก ดังนั้น บางทีที่ผู้ใหญ่เองแพ้เด็ก โดยที่ผู้ใหญ่เป็นผู้แพ้ ผู้ใหญ่จึงไม่โกรธเด็ก หรือ โวยวายใส่เด็ก ตรงนี้เด็กจะได้เห็นแบบอย่างของการเป็นผู้แพ้ที่ ไม่โกรธ ไม่ฟูมฟาย ยินดีกับผู้ชนะ และเริ่มเล่นด้วยกันต่อรอบใหม่ บรรยากาศตรงนี้จะต่างจากการที่ปล่อยให้เด็กเล่นด้วยกันเอง เพราะเด็กแต่ละคนหวังจะเป็นผู้ชนะ ทำให้ไม่ได้เห็นแบบอย่างของการแพ้แบบที่ยินดีกับผู้ชนะ

4) เห็นการเล่นในส่วนที่มีความยืดหยุ่น ตรงนี้หมายความว่า ในเด็กส่วนมากเวลาเล่นสมมุติหรืออะไรก็ตามจะมีแต่ส่วนที่เป็นขาวกับดำ คือได้กับไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการด้านความคิดของเค้ายังจำกัด ทำให้คิดในส่วนที่เป็นความยืดหยุ่นไม่เป็น พอไม่มีส่วนที่เป็นความประนีประนอมเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดการเล่นที่ไม่ยอมกัน ต้องมีคนหนึ่งผิด หรือ มีคนหนึ่งถูกเสมอ หรือต้องมีคนหนึ่งไปทำสิ่งหนึ่งให้ได้เสมอ และนั่นนำไปสู่การเป็นชนวนที่ทำให้ทะเลาะกัน การเสริมส่วนที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นจะทำให้เด็กรู้จักการประณีประนอม เกิดการคิดแก้ปัญหาที่หลากหลายในสถานการณ์ เดียวกัน
การเสริมในส่วนของการเล่นที่มีความยืดหยุ่นเช่น การเล่นขายของเด็กมาซื้อของที่เค้าต้องการ แล้วเราตอบว่าไม่มี หรือ มีไม่พอเท่ากับที่เค้าต้องการ ส่วนนี้จะทำให้เค้าคิดต่อว่าถ้าไม่มีสิ่งที่เค้าต้องการแล้ว เค้าจะเอาอย่างไรดี สถานการณ์แบบนี้จะทำให้เค้าเกิดความคิดที่หลากหลายขึ้นในการแก้ปัญหาว่าในสถานการณ์เดียว ไม่จำเป็นต้องมีทางเลือกเดียว รวมถึงสิ่งที่เค้าเลือกในทางเลือกนั้น เค้าก็อาจจะไม่ได้ตามที่ต้องการ สถานการณ์การเล่นแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใหญ่เล่นกับเด็กและสร้างสถานการณ์ให้ หรือเด็กเล่นกับเด็กที่วัยโตกว่า แต่มักไม่ค่อยเกิดขึ้นกับเด็กในวัยเดียวกันที่เล่นด้วยกันเอง

..............................................................................
เล่น เล่น เล่น ตอนที่ ๓ ตอนที่ 3 เล่นกับเด็กทารกและเด็กเล็กที่ยังไม่มีภาษา

ในเด็กทารกยังไม่มีภาษาพูด การรับรู้ การตอบสนองของเด็กในเรื่องของปฏิสัมพันธ์และการเล่นต่าง ๆ จะอยู่ที่ภาษาท่าทางหรือการใช้น้ำเสียงเป็นหลัก ดังนั้นในการเล่นกับเด็กทารก เวลาเล่นเราจะใช้ใบหน้า เคลื่อนไหวอยู่ในระดับสายตาของเด็ก หรือของเล่นให้อยู่ในระดับสายตาของเด็ก แล้วเล่นโดยใช้น้ำเสียงเป็นหลัก ทำเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงหัวเราะ เสียงจังหวะต่างๆ หรือฮัมเพลง ฮัมเป็นเสียงดนตรี ก็จะทำให้เรียกความสนใจและเล่นกับเด็กได้ การเล่นกับเด็กวัยนี้เน้นเรื่องความสนุกโดยการใช้เสียง และ การมีปฏิกริยาตอบโต้กับพ่อแม่เป็นหลักค่ะ การเล่นที่จะทำให้เราได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาและการคิดแก้ปัญหาของเด็กคือเอาของมาล่อ แล้วให้เค้าหยิบจับคว้าค่ะ ตรงนี้เราจะเห็นเค้าแก้ปัญหาได้หลายวิธีตั้งแต่ 1) เอามือเขี่ย 2) ยืดตัวขึ้นเอามือเขี่ย 3) เอาขาเขี่ย 4) เอาสองมือขึ้นมา 5) พยามพลิกตัว บิดไปมาแล้วยืดมือพยายามจับ เค้าก็จะพยายามอยู่แบบนั้นแหละค่ะ เมื่อรู้สึกว่ามันเกือบจะได้ แต่ถ้าหมดหวังเมื่อไหร่ก็จะเลิกทันที ดังนั้นหลักการคือ ทำให้เหมือนกับจะได้ แต่ไม่ต้องรีบให้ เพราะถ้ารีบให้ก็จะยังไม่ทันเห็นวิธีการคิดแก้ปัญหาแบบอื่น แต่ถ้านานเกินไปเด็กหมดหวัง เด็กจะเลิกสนใจ และก็อาจจะหงุดหงิดตามมา

ในเด็กเล็กที่พอมีภาษาพูด การรับรู้ของเด็กจะเปิดกว้างมากขึ้น เด็กเริ่มเข้าใจภาษาหรือคำพูดง่าย ๆ แต่หลัก ๆ แล้วก็ยังเป็นเรื่องภาษาท่าทางและน้ำเสียงค่ะ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมวัยนี้ อธิบาย บอกหรือพูดอะไร แล้วถึงไม่ค่อยฟัง ไม่ค่อยจำ ไม่ค่อยทำตาม ปัญหาหนึ่งก็คือว่าเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจค่ะ การเล่นกับวัยนี้ก็ยังเน้นที่ภาษาท่าทางและการใช้น้ำเสียงให้หลากหลายเป็นหลักค่ะ นอกจากนั้นคือวัยนี้เริ่มสำรวจ เริ่มมีความคิดสร้างสรร และเริ่มมีจินตนาการ สังเกตได้จากบางทีเด็กจะเริ่มเล่นเลียนแบบค่ะ เช่น เอาตุ๊กตามานอนเป็นน้อง ห่มผ้าให้ เอาน้องเข้านอน หรือ ป้อนข้าวให้น้อง เรื่องความคิดสร้างสรร ของการเล่นก็ไม่ควรปิดกั้นค่ะ เร็วๆ นี้มีผู้ปกครองถามว่าลูกเล่นแต่เอาตัวต่อมาโรยเต็มไปหมด เล่นอะไรก็ยังไม่เป็น ตรงนี้อยากบอกว่าการที่เล่นตัวต่อเป็นเท่ากับการเอามาต่อเป็นรูปร่างเท่านั้น เป็นความคิดในกรอบของผู้ใหญ่ค่ะ แต่การเอามาเล่นโรยนั้น ตรงนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของจินตนาการหรือการทดลองของเด็กค่ะ ฟังดูอาจจะดูไม่สมเหตุสมผลในฐานะผู้ใหญ่ แต่อยากให้ลองคิดดูว่า เด็กวัยนี้จริง ๆแล้วความคิดยังจำกัดมาก การจะเล่นของให้ถูกตามที่ควรจะเป็นยังต้องการประสบการณ์อีกสักพัก แต่สิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ตอนนี้คือการเล่นที่เค้าคิดขึ้นเอง เป็นจินตนาการที่เค้าสร้างขึ้นเอง ถ้าไม่ได้ทำอะไรเสียหาย คิดว่าการยอมรับวิธีการเล่นของเขา รวมถึงคิดให้นอกกรอบของเราว่าการจะเล่นตัวต่อเท่ากับการต่อเท่านั้น จะเป็นการส่งเสริมจินตนาการของลูกได้มากกว่า

การเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นโดยใช้จินตนาการของเค้าเอง จะเป็นตัวส่งเสริมทำให้เค้ามีความมั่นใจในตัวเองในการคิดต่อยอดค่ะ

@หมอมินอินเตอร์
..............................................................................

ขอฝากไว้ที่นี่ค่ะว่า " Play,especially when self-directed, is not only natural-it is vital for our children's emotional health. Through play babies naturally develop physical and cognitive skills,stretch their imaginations, flex creative muscles, build resiliency and a strong sense of self. Play is the way babies learn best"  Janet Lansbury - Elevating Childcare  





Create Date : 26 มกราคม 2557
Last Update : 28 มกราคม 2557 6:37:52 น.
Counter : 854 Pageviews.

0 comments

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]