Group Blog
 
 
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2550
 
All Blogs
 

คอร์รัปชั่น รัฐประหาร ประชาธิปไตยกับพัฒนาการทางการเมืองภายใต้ระบอบทักษิณ



เทวฤทธิ์ มณีฉาย
22/09/49



การเมืองไทยตลอดระยะเวลาที่นายกทักษิณขึ้นครองอำนาจ และแล้วเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทยโดยเฉพาะระบอบทักษิณหรือแง่หนึ่งระบอบเลือกตั้งหรือบางคนถือเป็นบทสุดท้ายหรือจุดจบของระบอบทักษิณ(อาจเป็นได้ถ้ามองระบอบทักษิณแค่ตัวทักษิณและบริวารเท่านั้น ผู้เขียนจึงขอตั้งคำถามว่าเป็นจุดจบจริงหรือ?) เหตุการณ์นั้นคือเมื่อวันดังกล่าวเวลา 22.20 น. สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ได้แพร่ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อ่านแถลงการณ์จากมหานครนิวยอร์ก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ตามมาด้วยการแถลงการณ์ ฉ.2 ที่มีคำสั่งให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และ ฉ.3 มีคำสั่งให้ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นหัวหน้ารับผิดชอบและมีอำนาจแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

แต่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อนำไปสู่การปฏิวัติตนเองนั้นก็ต้องชะงักไปเพราะเมื่อ 23.50 น.วันเดียวกัน พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาคที่ปรึกษา ผอ.ททบ.5 ได้อ่านแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อันเป็นการแถลงการณ์ของคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการดังกล่าว มีการอ้างถึงความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากเหตุความประพฤติมิชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้มีการยืนยันว่าจะไม่เข้ามาเป็นผู้บริหารแผ่นดิน แต่จะได้คืนอำนาจการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลับสู่ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด จะเห็นได้ว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดปรากฏการนี้คือการคอร์รัปชั่นและปรากฏการณ์ที่มีการใช้เงื่อนไขการคอร์รัปชั่นมาเป็นส่วนหนึ่งของการคอร์รัปชั่นมาเป็นข้ออ้างส่วนหนึ่งของการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินนั้นมีมานานแล้วจนหลายคนเรียกมันว่าเป็นวัฏจักรไปแล้ว

แต่ครั้งนี้ก็มีหลายฝ่ายให้ข้อสังเกตว่ามันน่าจะไม่เหมือนกับครั้งก่อนในอดีต เป็นการถอย 1 ก้าวเพื่อก้าวไปข้างหน้าอีก 100 ก้าว(แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมบทเรียนทางประวัติศาสตร์สมัย รสช.) และนี่คือกระบวนการทางการเมืองที่มีจุดเชื่อมโยงมาจากประวัติศาสตร์ บทความนี้จะวิเคราะห์การคอรัปชั่นในบริบททางการเมืองในระบอบทักษิณหรือระบอบเลือกตั้ง เพื่อพยายามตอบคำถามว่าทำไมประเทศไทยยังไม่พ้นวงจรหรือวัฎจักรดังกล่าวโดยจะเอาแนวคิดพัฒนาการทางการเมืองมาปรับใช้ในการวิเคราะห์

คอรัปชั่น
ความหมายของคอร์รัปชั่นนั้นอาจมีลายละเอียดต่างกันตามแต่ละสังคม และจะสังเกตุได้ว่าเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษจึงมีวัฒนธรรมของตะวันตกห่อหุ้มอยู่มาก แต่ถึงอย่างไรมันมีลักษณะร่วมที่เป็นหลักอยู่ดังที่ คาร์ล ฟรีดริค อธิบายคอร์รัปชั่นว่าเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งซึ่งเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่มีอยู่จริงหรือเชื่อว่ามีฐานะเป็นกติกาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นเรื่องการเมือง เป็นต้น เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจพิเศษ คือแรงจูงใจที่จะหาผลประโยชน์ส่วนตัวบนพื้นฐานในความเสียหายของส่วนรวม ดังนั้นสิ่งสำคัญอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนตัว(รวมทั้งพวกพ้องด้วย)นั้นได้มาด้วยความเสียหายของส่วนรวม(ชัยอนันต์ สมุทวณิชและเจมส์ ซี. สก๊อตต์, บรรณาธิการ. 2531:1-3)

ส่วน วิคเตอร์ ที เลอไวน์ กล่าวถึงการคอร์รัปชั่นทางการเมือง ว่าเป็นการให้ทรัพยากรทางการเมืองและ/หรือสินค้าทางการเมืองของสาธารณะ(คือสิ่งที่เป็นที่ต้องการอย่างยิ่งที่รัฐบาลโดยผ่านตัวแทนอยู่ในฐานะพิเศษที่จะแจกจ่ายของบางอย่างโดยเฉพาะสิ่งที่เป็นคุณค่าของสังคมต่างๆ)เพื่อจุดมุ่งหมายส่วนตัว ดังนั้นการคอร์รัปชั่นจึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ในระบบการเมืองที่มีแบบแผนทางการ แต่ไม่ได้หมายความว่าการคอร์รัปชั่นทางการเมืองจะมีขอบข่ายการปฎิบัติการอยู่เฉพาะในระบบการเมืองที่มีแบบแผนเท่านั้น ความจริงแล้วยังเกี่ยวพันกับสถาบัน กลุ่มบุคคลและบุคคลที่ดำเนินการอยู่กับระบบการเมืองที่มีแบบแผนทางการ(ชัยอนันต์ สมุทวณิชและเจมส์ ซี. สก๊อตต์, บรรณาธิการ. 2531:28-30) ทั้งนี้ผู้เขียนจะเปรียบเทียบกับรัฐประหาร

รัฐประหาร
รัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état อ่านว่า คู-เด-ต้า) หมายถึงการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐเสมอไป และมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เยี่ยงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2549)ซึ่งในบทความนี้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าผู้เขียนจะใช้แนวคิดการพัฒนาการทางการเมืองเป็นแนวคิดนำในการวิเคราะห์

การพัฒนาการทางการเมือง(Political development)
การพัฒนาการทางการเมืองนั้น ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์(2548:329-341) กล่าวไว้สรุปได้ว่า การพัฒนาการทางการเมืองเป็นเป้าหมายและกระบวนการทางการเมืองที่สังคมต่างๆพึงประสงค์ เพราะสังคมส่วนใหญ่ล้วนต้องการได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่มีระดับการพัฒนาการทางการเมืองสูง และในขณะเดียวกันด้านที่เป็นกระบวนการทางการเมืองคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางการเมืองและกิจกรรมทางการเมือง ที่จะนำไปสูการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่ปรารถนา โดยพัฒนาการทางการเมืองนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญที่เป็นเสมือนองค์ประกอบของพัฒนาการทางการเมืองได้แก่

1. ความเสมอภาค(Equality) ประชาชนต้องมีความเสมอภาคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในการใช้สิทธิทางการเมืองและในการร่วมกิจกรรมทางการเมือง สิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงนอกจากความเสมอภาคทางการเมืองแล้ว ประชาชนต้องมีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายด้วย

2. ความสามารถของระบบการเมือง(Capacity)หมายถึงความสามารถของระบบการเมืองที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (ซึ่งความสามารถของระบบการเมืองนี้ผู้เขียนจะใช้ในการวิเคราะห์บทความนี้เป็นหลัก)

3. การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างและมีความชำนาญเฉพาะ(Differentiation and specialization) สรปได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาการทางการเมืองจะต้องเสริมสร้างให้โครงสร้างทางการเมืองมีความแตกต่างตามภาระกิจ และมีความชำนาญเฉพาะรวมทั้งสามารถประสานงานกันในการปฏิบัติภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

4. การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุผล(Secularization of political culture) ในการปกครองแบบอำนาจนิยมมักจะปลูกฝังให้ประชาชนยึดมั่นในจารีตประเพณีแบบไม่มีเหตุผล ยึดถือโชคลาง ปลูกฝังให้ประชาชนเห็นว่าผู้ปกครองเป็นผู้มีบุญบารมี ส่วนประชาชนที่ยากจนอดอยากเป็นเพราะกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อน ดังนั้นพัฒนาการทางการเมืองจึงมุ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและตรวจสอบระบบการเมืองอย่างใกล้ชิด คือส่งเสริมให้วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมนั่นเอง

5. ความเป็นอิสระของระบบย่อย(Subsystem autonomy)คือเน้นกระจายอำนาจ(Decentralization) เพื่อจะทำให้ระบบย่อยมีความเป็นอิสระ ซึ่งหมายรวมถึงความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง เพื่อพิจารณาปัญหาและความต้องการของตน ตลอดจนความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมกับชีวิตและชุมชนของตน

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการทางการเมืองนั้นมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่สังคมประชาธิปไตย ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบการเมืองให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมมากขึ้นนั่นเอง

เมื่อนำเอาแนวคิดในเรื่องพัฒนาการทางการเมืองโดยเฉพาะในเรื่องความสามารถของระบบ(Capacity) มาวิเคราะห์การคอร์รัปชั่นกับการรัฐประหารนั้น จะพบว่าการคอร์รัปชั่นในฐานะการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการใช้อำนาจยักยอกมาจากผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย แต่เนื่องด้วยข้อบกพร่องของความสามารถของระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยโดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการของประชาชน ประชาชนจึงยังยอมรับระบบการแลกเปลียนทางการเมืองแบบเดิมที่สืบทอดมาเป็นวัฒนธรรมที่ฝังลึกคือระบบอุปถัมภ์ ที่มีค่านิยมต่างๆในสังคมรองรับอยู่ แทนที่จะยอมรับการแลกเปลียนทางการเมืองภายใต้ระบบตลาดทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่คำนึงถึงกติกาในระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบรัฐธรรมนูญมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนตัว

ดังนั้นเมื่อการแลกเปลียนทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังไม่ได้รับการยอมรับ อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมทางการเมืองและความสามารถของระบบการเมืองดังกล่าว จึงส่งผลให้ระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นระบบที่รองรับการคอร์รัปชั่นอยู่ยังคงอยู่และการคอร์รัปชั่นก็ถูกนำมาใช้อุดช่องโหวให้กับความสามารถของระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทยเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนที่ยังคงมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไฟร่ฟ้าและระบบอุปถัมภ์

นอกจากนี้ระบบอุปถัมภ์ที่เอามาใช่รองรับการคอร์รัปชั่นกับระบอบประชาธิปไตยไทยในส่วนของการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจนั้น ระบบอุปถัมภ์ในฐานะการใช้อำนาจทางการเมือง เพื่อแลกเปลียนผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้รับอุปถัมภ์ที่มีลักษณะอำนาจนิยมยังถูกนำมาใช้ในกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองไทยอีก โดยเฉพาะการเข้าไปแทรกซึมในกลไกการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้จากระบอบทักษิรหรือระบอบเลือกตั้งที่เอาระบบอุปถัมภ์มาใช้เป็นกลยทธในการเอาชนะทางการเมืองผ่านกลไกการเลือกตั้ง ดั่งที่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์(2549)กล่าวไว้สรุปได้ว่าการที่พรรคไทยรักไทยประสบความสำเร็จในการประสานกลไก 2 อย่างของของการเลือกตั้ง คือ กลไกนักการเมืองนักเลือกตั้งที่มีเครือข่ายหัวคะแนนท้องถิ่นต่างๆ และอันที่ 2 คือการสร้างกลไกใหม่สำหรับประชาชนที่อยู่นอกเครือข่ายอุปถัมภ์ของหัวคะแนนด้วยเทคนิคการตลาดแบบใหม่(อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบอุปถัมภ์ในระดับชาติผ่านนโยบายประชานิยมหรือโครงการเอื่ออาทรต่างๆ) ซึ่งพรรคอื่นๆก็ไม่ต่างกันแต่ทุนหรือกลวิธียังพัฒนาสู้พรรคไทยรักไทยไม่ได้ก็เท่านั้นเอง

จะเห็นว่าคนที่จะชนะการเลือกตั้งหาใช่คนดีคนเก่งเสมอไปไม่หากแต่จะเป็นคนที่สามารถช่วงชิ่งความได้เปรียบของกลไกดังกล่าวมากกว่า และการดำรงอยู่ได้ของระบบอุปถัมภ์ก็จำเป็นต้องมีผลประโยชน์หรือส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่ระบบการเมืองดังกล่าวยักยอกมาจากสังคมเพื่อหล่อเลี้ยงสายสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์และวิธีการได้มีซึ่งสิ่งหล่อเลื่อนนั้นก็คือการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นการยักยอกสินค้าหรือทรัพยากรต่างๆทางการเมืองเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ จะเห็นได้ว่าระบบอุปถัมภ์กับการคอร์รัปชั่นนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ตราบเท่าที่การเมืองบ้านเรายังจำกัดอยู่แค่กระบวนการแสวงหาคนดีคนเก่งมาปกครองเท่านั้น

จากกระบวนการทางการเมืองดังกล่าวถึงแม้รัฐธรรมนูณ 2540 จะพยายามลดการใช้เงินในระบบการเมือง แต่นั่นก็เป็นแค่การพยายามตัดระบบอุปถัมภ์ในแง่ของรูปธรรมซึ่งมีอำนาจน้อยกว่าในแง่ของนามธรรมที่เป็นตัวของค่านิยมและวัฒนธรรม จึงทำให้ระบบดังกล่าวยังดำรงอยู่และเพิ่มมากขึ้นภายใต้ค่านิยมแบบศรีธณนชัยของผู้อุปถัมภ์รวมทั้งผู้รับอุปถัมภ์ด้วยที่มาส่งเสริม

ส่วนรัฐประหารที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นผลมาจากความสามารถของระบอบประชาธิปไตยและระบอบรัฐธรรมนูญไทยที่ถูกยักยอกโดยระบอบทักษิณ ดังที่แก้วสรร อติโพธิและคณะ(2549:3-7)กล่าวไว้สรุปได้ว่า องค์กรอิสระถูกครอบงำจนไร้พลังในการตรวจสอบควบคุมรัฐบาล ระบอบทักษิณไม่เคารพรัฐธรรมนูญ จากข้อสงสัยในเรื่องของการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มทุนสิงค์โปร แทนที่นายกทักษิณจะยืนยันต่อสู้ทั้งศาลรัฐธรรมนูญหรือที่ประชุมรัฐสภา(ถึงแม้กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลดังกล่าวจะถูกครอบงำเกือบหมดแล้วก็ตาม) กลับใช้อำนาจยุบสภาอ้าวว่าจะให้ประชาชนตัดสิน แถมยังกำหนดให้เลือกตั้งด้วยเวลาอันเร่งรัดเอาเปรียบฝ่ายค้านจนต้องบอยขอตไม่ส่งคนรับสมัครเลือกตั้ง ฝ่ายยานกทักษิณและบริวารก็แอบอ้างยึดรัฐธรรมนูญมาเป็นของตน กล่าวหาฝ่ายอืนว่าใช้กฏหมู่ไม่เคารพกติกา นี่คือพฤติกรรมยักยอกรัฐธรรมนูญยึดครองประชาธิปไตย เป็นการใช้สิทธิยุบสภาหนีคดีผิดวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ไทยรักไทยยึดครองอำนาจมาก็มีการครอบงำสถาบันต่างๆในระบอบประชาธิปไตยที่จะใช้ตรวจสอบถ่วงดุลตามรัฐธรรมนูญ 40 และวิถีทางประชาธิปไตย เช่นรัฐสภา องค์กรอิสระ สือ และ การเมืองภาคประชาชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งระบบราชการ ประชาธิปไตยในระบอบทักษิณ(ซึ่งมีมาก่อนรัฐบาลทักษิณด้วยซ้ำ) พยายามจำกัดวงอยู่แค่การเลือกตั้งหรือกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น ซึ่งสอดครองกับวัฒนธรรมทางการเมืองไทยส่วนใหญ่ที่มีลักษณะแบบไพร่ฟ้าหรือระบบอุปถัมภ์ มองการเมืองเพื่อหาคนมาปกครองตนเองมาอุปถัมภ์ตนเอง จึงทำให้หลายคนยังยอมรับการใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวอยู่ แต่ที่บางคนในกลุ่มนี้ออกมาคัดค้านระบอบทักษิณก็มองแค่ตัวทักษิณและบริวารในฐานะบุคคลมิใช่ตัวระบอบ

ดังนั้นการเมืองไทยก่อนการรัฐประหารที่พบทางตันนั้นก็เป็นเพราะความสามารถของระบบการเมือง โดยเฉพาะกลไลในการตรวจสอบถ่วงดุลถูกยักยอยไปโดยรัฐบาลดังกล่าว บวกกับวัฒนธรรทางการเมืองที่เป็นทุนเดิมเอื่อต่อการยักยอกนั้น ทำให้ระบอบรัฐประหารต้องกลับมาเพื่ออุดช่องว่างในความสามารถของระบบที่ถูกยักยอกไปจะโดยตัวทักษิณหรือระบอบทักษิณหรือวัฒนธรรมทางการเมืองไทยก็ตาม จึงไม่แปลกที่ผลโพลของสวนดุสิตโพลออกมาว่าประชาชน 83.98% สนับสนุนการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) 75.04% เชื่อว่าการยึดอำนาจจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้น มีเพียง 16.08% ที่คัดค้านการยึดอำนาจและมีเพียง 4.74% ที่เชื่อว่าจะทำให้การเมืองแย่ลง จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ(ไทยรัฐ, 2549:3)

จะสังเกตุเห็นว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่จะยกการคอร์รัปชั่นมาอ้างเป็นเงื่อนไขหนึ่งเพื่อสร้างความชอบธรรม ก็เพราะทั้งการรัฐประหารและการคอร์รัปชั่น รวมทั้งระบบอุปถัมภ์นั้นยังคงเป็นตัวที่มาอุช่องโหว่ของระบบการเมืองไทย เป็นช่องโหว่ในความสามารถของระบบที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชน และก็ยังเป็นความพ่ายแพ้ของระบบที่มีต่อวัฒนธรรมทางการเมืองไทยทีผลิตซ้ำตัวเองมาแต่อดีต ระบอบดังกล่าวจึงยังคงเป็นวาทกรรมหลักในสังคมไทยที่แซกซึมและกัดกร่อนระบอบประชาธิปไตยอยู่

ดังนั้นการรัฐประหารอาจมีทั้งคุณและโทษในตัวเดียวกันในฐานะที่เอาระบอบอื่นมาใช้ในระบอบประชาธิปไตยหรือบางคนเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดการผลิตซ้ำของตัวมันเอง ทำให้ประชาชนเลือกที่จะพึ่งคนอื่นระบบอื่นมากกว่าตัวเองหรือระบอบประชาธิปไตยหรือรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ทั้งนี้ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญก็คือระบบประชาธิปไตยของไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการตรวจสอบการใช้อำนาจ อันเนื่องมาจากการยักยอกกลไกดังกล่าวของรัฐบาลทักษิณที่สามารถสร้างวาทกรรมทางการเมืองต่างๆ เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากประชาชนที่มีความโน้มเอียงหรือวัฒนธรรมทางการเมืองที่จะยอมรับอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าการคอร์รัปชั่น ระบบอุปถัมภ์ ระบอบรัฐประหาร ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นักการเมืองนักเลือกตั้งหรือธนกิจการเมืองหรือระบอบทักษิณ และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ ฯลฯ เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันทั้งนั้น วัฏจักรดังกล่าวผู้เขียนคิดว่ามันเปรียบเสมือนขดลวดสปริงมากกว่าที่จะหมุนอยู่กับที่ คือถึงแม้จะหมุนและมีการผลิตซ้ำตัวเอง แต่ก็มีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า

เมื่อเป็นเช่นนี้การป้องกันการหมุนของขดลวดไม่ให้ไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองที่จะทำลายบ้านเมืองอีก คณะผู้ก่อการต้องจัดการกับสายทางวัฒนธรรมที่เป็ฯตัวเชื่อมโยงให้เกิดการหมุนของขดลวดสปริงดังกล่าว โดยเริ่มจากคณะผู้ก่อการต้องไม่ยึดติดในอำนาจเพื่อป้องกันมิให้ขอลวดหมุนต่อไปพบกับเหตุการณ์ดังพฤษภาทมิฬอีก ซึ่งคณะผู้ก่อการก็ได้ให้สัญญาไว้แล้ว ดังจะเห็ฯได้จากการที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (หน.คปค.) แถลงข่าวชี้แจงถึงผลการปฏิบัติงานของ คปค. ที่ห้องรับรอง 211 กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เมื่อเวลา 08.40 น. วันที่ 26 กันยายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 สัปดาห์ที่ ได้นำกำลังทหารทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ พล.อ.สนธิได้ยืนให้สัมภาษณ์ที่โพเดี่ยมกับผู้สื่อข่าวอย่างเป็นกันเอง พร้อมกับแสดงตารางเวลาทำงานในช่วง 2 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 4 ตุลาคม โดยพล.อ.สนธิกล่าวว่า ความจริงแล้วได้ทำเวลาถอยหลังจาก 19 กันยายน-4 ตุลาคม ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่พูดไว้(มติชน,2549)

เพราะถ้าคณะผู้ก่อการไม่ทำเช่นนั้นการกระทำดังกล่าวก็มีค่าไม่มากไปกว่าการขับไล่ระบอบทักษิณในฐานะเป็นตัวบุคคลมิใช่ตัวระบอบ และถ้าเป็นเช่นนั้นขดลวดสปริงแห่งประวัติศาสตร์ดังกล่าวก็ยังหมุนต่อไป ผลิตซ้ำตัวเองต่อไปเป็นวัฏจักรภายในสังคมการเมืองไทยในอนาคตต่อไป ประเทศไทยก็ต้องเสียต้นทุนในการหมุนตามเส้นรอบวงของวัฎจักรถึงแม้จะไปข้างหน้าก็ตาม

ระบอบประชาธิปไตยก็ยังพึ่งพาระบอบอื่นมากกว่ายืนได้ด้วยระบอบตนเองอย่างยั่งยืน จึงไม่อาจก่อให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองที่ยังยืนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ในที่นี้จะคนแย้งว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งผู้เขียนก็สงสัยอยู่ว่าแล้วใครที่ได้ประโยชน์? ถึงแม้การกระทำดังกล่าวของคณะผู้ก่อการจะมีข้อเสียจากการไม่ผ่านพิธีกรรมของการได้มาซึ่งอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย แต่อดีตแก้ไขไม่ได้ คำตอบน่าจะอยู่ที่ปัจจุบันและอนาคตอยู่ที่การใช้อำนาจว่าจะทำให้เกิดการปฏิรูปหรือพัฒนาการของประชาธิปไตยดังที่กล่าวอ้างนอกจากปัญหาการคอร์รัปชั่นและความขัดแย้งของสังคม นั่นคือสิ่งที่จะพิสูจน์คณะผู้ก่อการ อย่าให้ประชาธิปไตยเป็นแค่ข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมของตนอย่างที่ระบอบทักษิณหรือชนชั้นนำทางการเมืองไทยโดยเฉพาะนักการเมืองนักเลือกตั้งมักทำกัน เพราะนั่นจะเป็นการคงช่องโหว่ของระบบการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองที่คอยสนับสนุนไว้เพื่อรอวันที่ การคอร์รัปชั่น และการรัฐประหารจะกลับมาทำหน้าที่อุดช่องโหว่ต่อไป


เอกสารอ้างอิง

แก้วสรร อติโพธิและคณะ. 2549. หยุดระบอบทักษิณ. กรุงเทพฯ:พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ชัยอนันต์ สมุทวณิชและเจมส์ ซี. สก๊อตต์, บรรณาธิการ. 2531. คอร์รัปชั่น. กรุงเทพฯ:คบไฟ
ไทยรัฐ. ปีที่ 57 ฉบับที่17777 เสาร์ที่ 23 กันยายน 2549
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2549. ทางตันของระบอบเลือกตั้งสืบค้นจาก//www.midnightuniv.org /index.htm 11 ก.ย. 2549
มติชน. 2549. คปค.โชว์ไม่สืบทอดอำนาจ เว้นวรรค2ปี ระบุในรธน.ห้ามลงส.ส.-ส.ว.สืบค้นจาก ttp://www.matichon.co.th/ 27 กันยายน 2549
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2548. การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2549. รัฐประหาร สืบค้นจาก //www.wikipedia.org 28 กันยายน 2549




 

Create Date : 25 เมษายน 2550
4 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2550 14:18:43 น.
Counter : 1790 Pageviews.

 

เอกสารอ้างอิง

แก้วสรร อติโพธิและคณะ


แก้วสรร อติโพธิ ถ้าบุคคลคนนี้มีความเป็นกลาง จะไม่ว่าเลย ที่นำความคิดเห็นของคนนี้มาเป็นเอกสารอ้างอิง

บุคคลนี้ เกลียดชังทักษิณ ทุกคนก้อรู้กันอยู่ จนบัดนี้ ระบอบทักษิณ ไม่มีมาครอบงำองค์กรอิสระแล้ว แต่ทำไม ยังหาความผิดให้ทักษิณไม่ได้สักทีเล่า.............

ไหนว่า นายแก้วสรร และคณะรัฐประหาร บอกว่า ความผิดของทักษิณมีเยอะแยะมากมาย ทั้งคอรัปชั่น หมิ่นพระบรมฯ ครอบงำองค์กรต่างๆ และอีกมากมายที่อ้างมา เมื่อคณะรัฐประหารบอกเช่นนี้ จึงทำการ "รัฐประหาร" แล้วทำไม เมื่อเสร็จสิ้น จึงไม่เอาหลักฐาน ความผิดทั้งหมดมาเอาผิดล่ะ

คงจะบอกอีกละสิว่า ทักษิณเก่ง โกงกินจนไม่เหลือซากให้ตามจับ

ไร้เหตุผลสิ้นดี

ถ้าเจ้าของบล็อคยังมีสติคิดอยู่ ควรจะพิจารณาด้วยมันสมองของตนเองให้ถี่ด้วน ไม่ใช่นำความของนายแก้วสรร มาใส่สมองโดยไม่ไตร่ตรอง

ขอโทษนะจ๊ะ ที่พูดแรงไป คุยเรื่องการเมืองก้ออย่างเนี่ยแหละ ไม่เข้าใครออกใคร

หวังว่าคงจะไม่รบความคิดเห็นของเราออกไปนะ จะได้ให้คนที่อยากตาสว่าง เข้ามาอ่านบ้าง ดังเช่นคุณเจ้าของบล็อค

 

โดย: ผ่านมา IP: 125.24.80.67 25 เมษายน 2550 19:14:46 น.  

 

ขอบคุณครับที่ comment พอดีบทความดังกล่าวเขียนขึ้นนานแล้วครับ พึ่งเอามาลง แต่ต้องขอขอบคุณที่ให้คำติชมนะครับ

 

โดย: Darksingha 25 เมษายน 2550 20:15:50 น.  

 

หมอยุ่นขอ.คิด ,

หมอยุ่นขอ..เขียน ,

หมอยุ่นขอ...พูด (บ้าง)

-----------------------------------------------------------
หมอยุ่นขอ..เขียน (6)
-----------------------------------------------------------


วิกฤติทางการบ้าน , การเมือง

ทางออกอย่างไร...ดี ?


ขณะนี้ คมช. + รัฐบาล ให้น้ำหนักในการ

กำจัดขั้วอำนาจเก่า อย่างไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ,

ให้อยู่เมืองไทยไม่ได้ ชนิดทำทุกขั้นทุกตอน

รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2550

ก็ล้วนแล้วเดินหน้าไปสู่ การกำจัดตัวบุคคล

คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสำคัญ


ดังนั้น จึงขาดสัมมาทิฏฐิ

ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการมุ่ง.... สู่

การแก้ปัญหาของประเทศชาติ ซึ่งมีมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง , ความปลอดภัยของชีวิต และ

ทรัพย์สิน , ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ทรุดตัวอย่างมาก ,

ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มต่างๆ เป็นต้น


ความศรัทธาต่อ คมช. + รัฐบาล

จึงลดฮวบฮาบ , เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มที่กลุ่มมวลชนจัดตั้งออกมาแสดงพลัง

จึงปรากฏให้เห็นมากขึ้น , ถี่ขึ้นเรื่อยๆ



วิกฤติของบ้านเมือง จะหาทางออกอย่างไร ?


1. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ,

ทุกวิชาชีพ , ทุกชนชั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อรับฟังแล้ว

ให้รีบดำเนินการทันที เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของ

ประชาชน , ลดความวุ่นวายในบ้านเมือง , การแสดง

พลังของม็อบจะลดน้อยลง


2. หยุดการกล่าวหา แบบแผ่นเสียงตกร่อง ที่ว่า

เป็นคลื่นใต้น้ำ , เป็นขั้วอำนาจเก่า , ได้รับการหนุน

ทางการเงินจากกลุ่มนั้น , กลุ่มนี้ เป็นต้น

เพื่อลดวิวาทะ , ความขัดแย้ง

เมื่อหยุดการมุ่งทำลายล้าง , การต่อต้านจะลดลง


3. รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ร่างนี้ ถ้าไม่ผ่าน ประชามติ

ก็ต้องออกมายืนยันให้ชัดเจนว่า

จะกลับไปใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

เพื่อจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด , อย่างช้าสิ้นปีนี้

อย่าให้เกิดกระแสต่อต้าน คมช. อย่างรุนแรง ต่อการ

นำรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. อื่นๆ มาประกาศใช้ในช่วง

เดือนกันยายน 2550 จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ,

ประเทศชาติเสียหายไปกว่านี้

เกินกว่าที่คมช.จะรับผิดชอบได้


4. หยุดการมุ่งทำลาย

ตัวบุคคลและครอบครัว ของ อดีตนายกรัฐมนตรี

พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร,

ข้อกล่าวหามากมาย , คดีความต่างๆ ให้เป็นไปตาม

กฎหมายบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม


5. ทุ่มเทสรรพกำลังมุ่งในการ แก้ปัญหาต่างๆ

ของประเทศชาติ , ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน


6. ให้ตั้งมั่นใน สัมมาทิฏฐิ ซึ่งนำไปสู่ สัมมาข้ออื่นๆ

ดังใน อริยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งจะก่อให้เกิดสมานฉันท์

โดยไม่ต้องไปกลัวภัยต่างๆหลังจากได้รัฐบาลใหม่หลัง

การเลือกตั้ง เนื่องจาก การกระทำต่างๆที่ถูกต้อง ,

สุจริต , ยุติธรรม จะช่วยปกป้อง คมช. + รัฐบาล


7. ให้รักษาวาจาที่ให้ไว้อย่าง ไม่บิดพลิ้ว ซึ่งจะเป็น

จุดชนวนต่อ การเกิดความวุ่นวาย ,

ความรุนแรงในบ้านเมือง


8. คมช. + รัฐบาล ต้องประคับประคองร่วมกัน

ป้องปรามไม่ให้เกิดรัฐประหารซ้ำ / รัฐประหารซ้อน

ก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากการก่อรัฐประหารอีกครั้งจะ

เป็นการทำลายประเทศชาติให้ย่อยยับ


9. นับถอยหลัง สู่ การเลือกตั้งให้ได้ในปีนี้

เพื่อ รักษาระบอบประชาธิปไตย ให้อำนาจอธิปไตย

เป็นของปวงชนชาวไทย เพื่อตัดสินทิศทางของประเทศ

โดยไม่ต้องไปหวั่นว่า เลือกตั้งแล้ว ใคร ? จะไป , จะมา

ให้เป็นไปตามครรลอง แล้วไปแก้ปัญหาต่างๆตาม

ระบอบประชาธิปไตย ในรัฐสภา อย่างสันติวิธี


" ผมยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

มากกว่า การรัฐประหาร "




หมอยุ่น ษัษฐบุตร พฤทธิพันธุ์

นักสุขศึกษาดีเด่น ปี 2536 - 2537

โดย

สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข


//www.esnips.com/web/moryoonthink
//www.esnips.com/web/moryoonweb
//www.esnips.com/web/moryoonwebsite
//moryoon.blogspot.com
//moryoon.tapee.ac.th

 

โดย: หมอยุ่น ตามรอยพุทธทาส IP: 202.149.102.4 28 เมษายน 2550 18:50:59 น.  

 

5555++คนจะผิดไม่ได้ตัดสิน1-2 วันนะคะ เป็นไงล่ะบานตะไท รักประเทศไทยเราคงมีสติไม่รักคนที่ทำให้ประเทศชาติวุ่นวาย มีเงินมากมายไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้ก่อแต่ความวุ่นวายประเทศชาติจะฉิบหายอยู่แล้ว..คุณๆ ขา

 

โดย: smile IP: 125.24.5.44 6 มีนาคม 2553 16:52:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.