Group Blog
 
 
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
วาทกรรมทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งกับประชาธิปไตยยุคระบอบทักษิณ



เทวฤทธิ์ มณีฉาย
15/8/49

ความนำ
จากปัญหาทางตันทางการเมืองในรอบหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ณ ปัจจุบันเริ่มมองแสงสว่างในถ้ำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ามันเป็นทางออกหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2549 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่อันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2549 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2549 ทั้งนี้ไม่แน่ว่าจะมีการเลื่อนออกไปหรือไม่ หลังจากที่ได้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต)ชุดใหม่ที่จะมาจัดการการเลือกตั้ง เนื่องด้วยผู้เขียนเขียนบทความนี้ก่อนข้อยุติดังกล่าว แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับบทความนี้เท่าไหร่ ประเด็นคือการที่หลายคนมองไปที่แสงสว่างนั้นคือการมีการเลือกตั้งที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมาลงกันอย่างพร้อมหน้า คือคำว่าการเลือกตั้งซึ่งเป็นคำที่ถูกกล่าวขานกันมากในสังคมการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยถ้าหากไปสืบค้นคำคำนี้ใน Google.com นั้นจะได้รายการของคำค้น ทั้งหมดประมาณ 99,100 รายการของคำค้น โดยเฉพาะในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา ถึงแม้เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2549 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้อง โดยที่ประชุมได้มีมติ 8 ต่อ 6 ชี้ว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย.49 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่(สยามธุรกิจ, 2459)ก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นจะเห็นถึงปรากฏการณ์ทางการเมืองคือมีการรณรงค์ว่า 2 เมษา เดินหน้ารักษาประชาธิปไตย การชุมนุมของคาราวาลรถอีเต๋นคนจนที่สวนจตุจักร และการปักหลักประท้วงของร.ต.ฉลาด วรฉัตรที่หน้ารัฐสภาว่าให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนมิฉะนั้นจะฆ่าตัวตายเพื่อรักษาประชาธิปไตย จะเห็นว่าคำว่า “การเลือกตั้ง” นั้นถือว่าเป็นคำที่มีบทบาททางการเมืองมาก ทั้งนี้บทความนี้จะศึกษาว่าคำว่า “การเลือกตั้ง” ที่ถูกระบบการเมืองและกระบวนการทางการเมืองของไทยสร้าง(constitute) ความหมายและเอกลักษณ์(identity)โดยมิได้เจาะไปที่ตัวเทคนิคของระบบการเลือกตั้ง

ว่าด้วยการเลือกตั้งกับประชาธิปไตย

ซึ่งโดยหลักการที่เป็นแนวคิดทั่วไปนั้นการเลือกตั้งนั้นเป็นกิจการทางการเมืองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้มีส่วนร่วมทางการเมือง(Political Participation) อันเป็นกลไกที่แสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชนที่เรียกร้องหรือสนับสนุนให้มีการกระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมืองหรือการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน โดยประชาชนทั่วไปเลือกผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ นโยบายและวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับตนด้วยความคาดหวังว่าผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่ตนเลือกให้ไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนนั้น จะนำอุดมการณ์และนโยบายไปเป็นแนวนโยบายในการบริหารประเทศและทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ตนเอง การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือกในทางการเมืองการปกครองของประชาชนนั่นเอง(วัชรา ไชยสาร, 2544:10-11)

ส่วนความสำคัญของการเลือกตั้งต่อระบอบประชาธิปไตยในแนวคิดทั่วไปนั้น ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2548:243-247) กล่าวไว้สรุปได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนคือระบอบการปกครองที่ประชาชนมิได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองด้วยตนเองโดยตรง แต่ประชาชนเป็นผู้เลือกตัวแทนให้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนตน ทั้งนี้เพราะในสังคมการเมืองยุคใหม่รัฐต่างๆประกอบด้วยประชาชนจำนวนมากจึงไม่สะดวกต่อการที่ประชาชนจะเข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองตนเอง ดังนั้นเป็นความจำเป็นจะต้องใช้ระบบตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจแทนตนโดยตัวแทนนี้เพียงจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประชาชนทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเนื่องด้วยความจำเป็นของรัฐสมัยใหม่ จึงส่งผลให้เกิดการนำเอารูปแบบตัวแทนมาใช้เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการตัดสินใจ เป็นลักษณะของการปกครองด้วยคนส่วนน้อยแต่มีคนส่วนใหญ่คอยควบคุม

ทั้งนี้กลไกสำคัญของระบอบนี้ในการรักษาอำนาจการควบคุมดังกล่าวอันจะทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อประชาชนคือการเลือกตั้ง โดยการมีการกำหนดวาระการดำรงตำแน่งของผู้นำต่างๆเพื่อเป็นหลักประกันต่อความรับผิดชอบต่อประชาชนของผู้แทน ด้วยเหตุนี้สังคมประชาธิปไตยจึงต้องพัฒนาให้ประชาชนมีโอกาสพิจารณาเลือกตั้งผู้นำทางการเมืองของตนผ่านระบบพรรคการเมือง ซึ่งมีหน้าที่ในการเสนอคู่แข่งทางการเมืองให้ประชาชนเป็นผู้คัดเลือก และสิ่งสำคัญของการเลือกตั้งต้องโดยเสรี รวมทั้งการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนนั้นจะต้องให้ ปัจเจคบุคคลมีโอกาสเสนอตัวเข้าแข่งขันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม คือประชาชนต้องมีเสรีภาพทางการเมืองอย่างเสมอภาคบวกกับต้องต้องเป็นการเลือกตั้งที่จะต้องจัดให้มีขึ้นตามกติกาที่แน่นอน นอกจากนี้แล้วภายใต้ระบอบดังกล่าวจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการตัดสินใจของผู้ปกครองในกรณีสำคัญต่างๆเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความสมมาตรของข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน

ถึงแม้จะเป็นประชาธิปไตยโดยตัวแทนก็ยังมีกระบวนการอื่นอีกนอกจากการเลือกตั้งคือประชาชนสามารถเรียกร้องหรือผลักดันความต้องการของตนผ่านกระบวนการทางการเมืองด้วย ดังนั้นระบบจะต้องให้อำนาจแก่ประชาชนในการควบคุมผู้นำของตน เพื่อเป็นหลักประกันนอกเหนือจากการให้มีการเลือกตั้งว่าผู้นำหรือตัวแทนจะรับผิดชอบในการกระทำต่อประชาชนเพราะถ้าไม่มีหลักประกันดังกล่าวแล้วระบอบก็จะมิใช่ประชาธิปไตยแต่เป็นเผด็จการจากการเลือกตั้งคือเป็นเผด็จการของคณะบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งไป

ดังที่รุสโซ(Jean Jacgues Rousseau)มีความเห็นสรุปได้ว่าการเลือกผู้แทนราษฎร คือ จุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้แทน เพราะในไม่ช้าตัวแทนจะช่วงชิงอำนาจไปจากประชาชน(สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 2548:198-199)

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นคือลักษณะของประชาธิปไตยโดยตัวแทนและความสำคัญของการเลือกตั้งในฐานะกลไกสำคัญของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน อันเป็นหลักประกันในการรักษาอำนาจการควบคุมของประชาชนต่อผู้นำทางการเมือง จะเห็นว่าโดยหลักการข้างต้นนั้นการเลือกตั้งเป็นแค่กลไกหรือวิธีการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโดยหลักการแล้วการเลือกตั้งเป็นแค่สับเซตหนึ่งของประชาธิปไตยที่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งนั้นอาจมิได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตยเสมอไป นั่นคือคำว่าการเลือกตั้งในแง่ของหลักการหรือแนวคิด แต่สำหรับสังคมการเมืองไทยนั้นคำว่าการเลือกตั้งมันถูกระบบและกระบวนการทางการเมืองแบบไทยๆให้ความหมายหรือความสำคัญอาจจะต่างไปจากแนวคิดบ้างด้วยกระบวนการทางสังคมการเมืองดังกล่าว

วาทกรรมทางการเมือง(Political Discourse)

ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์คำว่าการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นวาทกรรมทางการเมืองคำหนึ่งในสังคมการเมืองไทยนั่นเอง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2549)อธิบายว่าวาทกรรม (Discourse) คือรูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสถาบันและมีการสืบทอด "ซึ่งแสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง/ประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ" เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งลักษณะของวาทกรรม และการปรับเปลี่ยนลักษณะของวาทกรรมนั้น ๆ

วาทกรรมแต่ละเรื่องมีระบบความคิด และเหตุผลของตน ในการอธิบายหรือมอง "ความจริง" ซึ่งวาทกรรมเรื่องเดียวกัน แต่ต่างระบบความคิดและเหตุผลก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ในการให้อรรถาธิบายต่อเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นในเรื่องเดียวกันจึงมีวาทกรรมหลายชุดที่เกี่ยวข้องและวาทกรรมแต่ละชุดก็มีความขัดแย้ง หรือปฏิเสธ "ความจริง" ของวาทกรรมอีกชุดหนึ่งได้

นอกจากนี้แล้วการเกิดขึ้นของวาทกรรมแต่ละชุดในแต่ละเรื่องย่อมมีจุดประสงค์ ตัวอย่างเช่นวาทกรรมของกลุ่มที่ต่อต้านเกย์ ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะต่อต้านชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม และยังเป็นการละเมิดบรรทัดฐานของสังคม ตลอดจนถือว่าพฤติกรรมเช่นนี้เป็นสิ่งผิดปกติและสมควรที่จะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นต้น

มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault) นักคิดชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้ความหมายของวาทกรรมข้างต้นนี้ วาทกรรมในทัศนะของฟูโกต์ เป็นมากกว่าเรื่องของภาษา คำพูด การตีความ ภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม ( Discursive Practice ) จะรวมเอาจารีตปฏิบัติ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และสถาบันต่างๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ไว้ด้วย(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2549)

ส่วนคำว่า "วาทกรรมการเมือง" (Political Discourse) นั้น รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (อ้างอิงในวัชรพล พุทธรักษา. 2547) ได้ให้แนวคิดโดยสรุปไว้ว่า แนวคิดเรื่องวาทกรรมการเมืองนั้น เป็นแนวคิดที่ให้ความสนใจและความสำคัญในกิจกรรมของการสื่อความหมายทางภาษา การแสดงความคิดทางการเมือง และกลไกในการควบคุมระบบการสื่อความหมาย ของการแสดงความคิดทางการเมืองนั้น โดยมีการถ่ายทอดและอบรมสั่งสอนเพื่อการบังคับ ดำรงรักษา หรือนำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ดังนั้น วาทกรรมการเมืองไม่อาจแยกออกจาก "อำนาจ" ในสังคมการเมืองได้เลย ทั้งนี้โดยเชื่อว่า อำนาจนั้นมีกระจายอยู่โดยทั่วไปในทุกระดับของสังคมการเมือง โดยมีพลังแสดงผ่านปฏิบัติการของวาทกรรมการเมือง ซึ่งวาทกรรมการเมืองแต่ละชุดหรือแต่ละแบบแผนนั้น จะมีระบบการคิดและการให้เหตุผลเป็นการเฉพาะของวาทกรรมนั้นๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดกรอบและรูปแบบของความจริง ความเชื่อ ความอยากรู้ การคิด ทัศนคติ ค่านิยม และการจัดตำแหน่งแห่งที่ให้มนุษย์ ซึ่งหากพิจารณาในแง่นี้ วาทกรรมการเมือง จึงเป็นกิจกรรมทางการเมืองทั้งในทางความคิดจิตใจและในทางปฏิบัติอีกด้วย

วาทกรรมทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งกับการเมืองไทย

คำว่าการเลือกตั้งในสังคมการเมืองไทยเป็นวาทกรรมทางการเมืองคำหนึ่ง โดยหลังจากวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่ได้มีการปฏิวัติซึ่งนำโดยข้าราชการทหารกับข้าราชการพลเรือนล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และได้มีการสร้างระบบการปกครองแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นพระบาทสมเด็จ พระปกกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทางรัฐธรรมนูญให้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2476 ก็มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ระบบประชาธิปไตยนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันกล่าวได้ว่ามีลักษณะที่ไม่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง มีการสลับระหว่างการเลือกตั้งและรัฐบาลแบบประชาธิปไตยหรือกึ่งประชาธิปไตย จากนั้นก็นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองเนื่องจากการขัดกันทางผลประโยชน์ของกลุ่มที่ทรงอำนาจ ซึ่งก็จะนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารเลิกล้มรัฐธรรมนูญและมีการเลือกตั้งเพื่อให้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินต่อไป และก็จะดำเนินต่อไปเป็นวัฎจักรหรือวงจรอุบาทว์ โดยในระหว่างที่มีการต่อสู้ทางการเมืองนั้นหรือระหว่างที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือระบบเผด็จการจะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งออกมาในรูปของการกบฏ การปฏิวัติหรือรัฐประหารเพื่อล้มระบอบประชาธิปไตย แล้วก็นำไปสู่การลุกฮือของประชาชนเพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง(ลิขิต ธีรเวคิน, 2546:381) จากวัฏจักรดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่แสดงถึงประชาธิปไตยหรือความเป็นรูปธรรมของประชาธิปไตยนั้นนอกจากการมีรัฐธรรมนูญแล้วสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเลือกตั้ง

ถึงแม้วัฎจักรดังกล่าวจะหมุนไปเลื่อยๆตามกระบวนการทางประวัติศาสตร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนที่ผ่านมาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้นยังอยู่ในกรอบเดิมๆ นั่นคือรัฐโดยผู้แทนหรือผู้ปกครองจะบันดาลความสุขความเจริญให้ ขจัดปัดเป่าปัญหาให้ ประชาชนในวัฒนธรรมประชาธิปไตยไทยก็อยู่ในกรอบเดียวกัน คือฝากความหวังให้รัฐรับผิดชอบ รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จึงไม่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในแง่การสนับสนุนให้ประชาชนมีอำนาจ ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการเข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจรัฐศูนย์กลาง กิจกรรมทางการเมืองก็เป็นเรื่องนี้

แม้การลุกฮือของประชาชนเมื่อ 14 ตุลา 16 ก่อให้เกิดการเมืองแบบมวลชน จนเป็นปัจจัยหนึ่งใน 3 ส่วนของประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา แต่วัฒนธรรมการเมืองของไทยไม่ไว้ใจ และไม่สนับสนุนให้ประชาชนเติบโตจัดตั้งก่อตัวเป็นพลังทางสังคม ที่สามารถมีอำนาจจัดการดูแลตนเอง มวลชนในประชาธิปไตยของไทยคือ ราษฎรปัจเจกภาพ ต่างคนต่างอยู่ แต่ใส่ใจปฏิบัติตามการนำของรัฐ ร่วมมือในกิจกรรมที่รัฐปรารถนา การใช้อำนาจของประชาชนหมายถึงขณะที่หย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น หลังจากนั้นมักถือว่าประชาชนได้มอบหมายอำนาจสิทธิ์ขาดให้กับผู้แทนในสภาฯ และให้กับรัฐบาลไป โดยมวลชนไม่ควรไปก่อความวุ่นวายกวนใจรัฐอีก จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในเมื่อไม่ไว้ใจว่าประชาชนมีความสามารถจัดตั้งกันเอง สงสัยและเชื่อเป็นตุเป็นตะว่าต้องมีมือที่สาม (หมายถึงคนนอกที่ประสงค์ร้าย) ยุยงชาวบ้านให้กระด้างกระเดื่อง คิดเช่นนี้จึงไม่สนใจรับฟังประชาชนจริงจัง บวกกับวัฒนธรรมการใช้อำนาจแบบบนลงล่าง จึงไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่เชื่อมั่นและไม่มองในแง่ดีว่า ประชาชนเป็นเจ้าของและมีอำนาจในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ โดยรัฐมีส่วนร่วมและสนับสนุนตามจำเป็น (ธงชัย วินิจจะกูล. 2548)

ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นกิจกรรม เป็นสัญญาลักษณะหรือวาทกรรมทางการเมืองสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึง และรับรู้ถึงความเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัณ ด้วยด้วยการผลิตซ้ำ(reproduction)ของวาทกรรมดังกล่าวเลื่อยมาภายกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้บทบาททางการเมืองจึงถูกจำกัดอยู่แค่กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจของผู้นำทางการเมือง ไม่อาจก้าวล่วงไปถึงกระบวนการใช้และพ้นจากอำนาจทางการเมืองมากนัก จึงไม่แปลกใจเลยที่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่ผ่านมานั้นถึงแม้จะเป็นโมฆะก็ตาม แต่เป็นปรากฏการณ์ให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงภาคปฎิบัติการของวาทกรรม( Discursive Practice ) ทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งเป็นอย่างดี จากการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฉกฉวยความได้เปรียบประกาศยุบสภา เพื่อใช้อำนาจของวาทกรรมดังกล่าวในการสถาปนาตนเองเป็นวีรบุรุษรักษาประชาธิปไตย เป็นการบิดเบือนขอสงสัยของสังคมที่มีต่อการใช้อำนาจของตนที่ผ่านมา เป็นการหลีกเลี่ยงกระบวนการยุติธรรม โดยอาศัยความได้เปรียบของการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลยุคนี้มีความชำนาญมากกับกระบวนการผลิตวาทกรรมทางการเมืองต่างๆเนื่องจากการนำเอากลวิธีทางการตลาด(Marketing) การโฆษณาชวนเชื่อ (Advertising) มาใช้ทางการเมือง เป็นภาคปฎิบัติการจริงของวาทกรรม ( Discursive Practice) เพื่อตอกย้ำผลจากประวัติศาสตร์ดังกล่าว เช่นการรณรงค์ให้ไปเลือกตั้ง 2 เมษา เพื่อรักษาประชาธิปไตย รวมทั้งมีการทำลายวาทกรรมของทางการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามหรือพวกนักวิชาการ นักสือสารมวลชน นักเคลี่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มประชาชนต่างๆที่ออกมาดำเนินการต่อต้านระบอบทักษิณ(รวมกลุ่มที่กลุ่มที่มองการเลือกตั้งไม่ต่างจากทักษิณด้วย แต่มารวมกับกลุ่มนี้เพราะต้านระบอบทักษิณในฐานะตัวทักษิณและบริวาร) ว่าเป็นพวกขาประจำบ้าง นักวิชาเกินบ้าง เป็นพวกอนาธิปไตยบ้าง เป็นพวกกลุ่มที่เสียผลประโยชน์จากการดำเนินนโยบายของตัวเองบ้าง เป็นพวกขี้อิจฉาบ้าง เป็นพวกถูกจ้างมาบ้าง แพ้แล้วไม่ยอมแพ้บ้าง เป็นพวกก่อกวนบ้าง เป็นพวกถอยหลังเข้าคลองบ้าง เป็นพวกไม่เคารพกติกาบ้างและที่สำคัญคือกล่าวหาว่าเป็นพวกทำลายประชาธิปไตย(ทั้งนี้ผู้เขียนมิได้ปฏิเสธว่าไม่มี) จะเห็นได้ว่าเป็นการสร้างความลื่นไหล(elusive)จากอำนาจของตนที่ครอบครองอำนาจรัฐ รวมทั้งอำนาจจากการระบอบการเลือกตั้งที่ใช้อ้างมากหน่อยเนื่องจากได้เสียงข้างมากมากกว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งชุดก่อนๆคือใช้ตรรกอ้าง 19 หรือ16 ล้านเสียงว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน อ้างประชาชน เป็นประชาธิปไตย จะเห็นว่ามีทั้งการสร้าง ทำลายและใช้อำนาจของวาทกรรมทางการเมืองเหล่านี้ เพื่อสร้างความชอบธรรมของระบอบตนเอง

จากปรากฏการณ์ดังการอาศัยอำนาจของการเลือกตั้งเพื่อสถาปนาตนเองเป็นผู้รักษาประชาธิปไตย ซึ่ง ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์(2549) กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้สรุปได้ว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่รัฐบาลทักษิณครองอำนาจแทบไม่ได้ส่งเสริมประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืงเลย รัฐบาลคิดเองหมดไม่สะท้อนความคิดของประชาชน เพราะประชาธิปไตยของไทยรักไทยมีความหมายแค่การเลือกตั้งเพื่อหา “คนดี” มาบริหารบ้านเมือง ไม่ได้หมายถึงการใช้อำนาจหรือกระบวนการบริหารบ้านเมือง ซึ่งก็ไม่ต่างจากฝ่ายตรงข้ามระบอบทักษิณอีกหลายกลุ่มที่ก็คิดแบบเดียวกัน มองระบอบทักษิณแค่ตัวทักษิณและบริวาร หาใช่หมายถึงการที่ระบอบทักษิณทำลายและทำให้องค์กรและกลไกของระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งกระบวนการของประชาธิปไตยไม่อาจดำเนินไปได้ มองบทบาทประชาชนเหมือนไทยรักไทยคือผู้หย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงระบอบทักษิณหรือระบอบเผด็จการของนักการเมืองนักเลือกตั้งนั้นมีมาก่อนที่พรรคไทยรักไทยเกิดขึ้นนานแล้ว และทักษิณก็มิใช่คนแรกที่อ้างสิทธิธรรมในการปกครองประเทศจากผลหรืออำนาจของการเลือกตั้งหรือมติของสภา นายกที่มิได้มาจากการรัฐประหารทำมาแล้วทั้งนั้นแต่ทักษิณทำมากหน่อยเพราะได้รับการเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น การเมืองไทยจึงมีความหมายแค่การเลือกตั้ง กว่าค่อนของชนชั้นนำไทยคิดแค่นี้คือไม่เกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาธิปไตยก็แค่การเลือกตั้ง เมื่อคนส่วนมากเชื่อแค่นี้กลไกที่จะเอาชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดจึงเป็นหัวใจสำคัญของการยึดอำนาจบ้านเมืองไปได้นั่นเอง

ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่พรรคไทยรักไทยประสบความสำเร็จในการประสานกลไก 2 อย่างของของการเลือกตั้ง คือ กลไกนักการเมืองนักเลือกตั้งที่มีเครือข่ายหัวคะแนนท้องถิ่นต่างๆ และอันที่ 2 คือการสร้างกลไกใหม่สำหรับประชาชนที่อยู่นอกเครือข่ายอุปถัมภ์ของหัวคะแนนด้วยเทคนิคการตลาดแบบใหม่ ซึ่งพรรคอื่นๆก็ไม่ต่างกันแต่ทุนหรือกลวิธียังพัฒนาสู้พรรคไทยรักไทยไม่ได้ก็เท่านั้นเอง ดังนั้นการเลือกตั้งอีกในภายหน้าคนที่จะเข้ามาบริหารบ้านเมืองก็จะเป็นคนที่กุมกลไกการเลือกตั้งมากที่สุดไม่ใช่คนที่ดีที่สุด และก็แน่นอนมิใช่คนที่ปล่อยให้กลไกประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือกระบวนการทางสังคมเติบโตขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจของตน

และสุดท้าย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้สรุปได้ว่า คนไทยยังจะตั้งคำถามที่เหมือนลึกซึ้งหนักแน่นว่าถ้าไม่ใช่ชวนแล้วเอาใคร ถ้าไม่ใช่ทักษิณแล้วเอาใคร ถ้าไม่ใช่นั่นนี่แล้วเอาใคร เพราะคิดอยู่แต่ว่าจะหา “คนดี” มาปกครองบ้านเมืองโดยผ่านการเลือกตั้ง แต่เราไม่เคยคิดว่าจะทำอย่างไรสังคมจึงสามารถควบคุมนายกได้ต่างหาก เราไม่ได้พบทางตันเพราะประชาธิปไตย แต่เราพบทางตันเพราะเราไม่เป็นประชาธิปไตย คิดอยู่แค่ระบอบเลือกตั้ง

จะเห็นได้ว่าปัญหาหรือทางตันส่วนหนึ่งคือความเข้าใจในคำว่าการเลือกตั้ง ยังมีการเข้าใจในความหมายและการนำเอาคำว่าการเลือกตั้งไปเชื่อมโยงกับแนวคิดต่างๆทางการเมืองที่ต่างกันอยู่ เป็นผลมาจากการผลิตโดยชนชั้นนำต่างๆทางการเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มเจ้านาย กลุ่มนักธุรกิจและโดยเพราะพระเอกของเราคือนักการเมืองนักเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากระบอบเลือกตั้งมากที่สุดและผลิตความหมายความสำคัญของคำว่าการเลือกตั้งเพื่อใช้ครอบงำกลุ่มต่างๆในสังคม เพราะนักการเมืองส่วนมากชอบใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรม ที่นำไปสู่ผลประโยชน์แต่พวกตน โดยไม่สนใจความถูกต้องตามหลักเหตุผล เพื่อดำรงอำนาจของกลุ่มตนไว้ทั้งนี้เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้วผู้ที่มีอำนาจก็มักจะพยายามรักษามันไว้ให้นานที่สุด

ดังนั้นเมื่อมองในมิติทางสังคมวิทยาการเมืองจะเห็นได้ว่าภายในสังคมการเมืองเดียวกันแต่มีคนที่รับรู้หรือมีความโน้มเอียงทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นสองนคราประชาธิปไตย ดังที่ รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เคยเสนอใช่อธิบายการเมืองไทย และในที่นี้ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นสองนคราการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย คือกลุ่มระบอบเลือกตั้งมองว่าประชาธิปไตยคือการได้ “คนดีคนเก่ง” มาปกครองบ้านเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักการเมืองนักเลือกตั้ง ดังนั้นกลุ่มนี้จึงมองประชาธิปไตยไม่มีอะไรมากไปกว่าการเลือกตั้ง มีแนวโน้มที่จะเป็นเผด็จการจากการเลือกตั้ง อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่มองคำว่าการเลือก เป็นแค่ส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้นบทบาทของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจึงไม่จำกัดแค่กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของผู้นำเท่านั้น แต่รวมไปถึงการมีบทบาททางการเมืองในกระบวนการใช้อำนาจและการพ้นจากอำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมืองด้วย เน้นบทบาทของประชาชนที่มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าแค่การเลือกตั้งโดยเฉพาะการมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจ และมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดทิศทางชตากรรมของบ้านเมืองได้อย่างแท้จริง แต่กลุ่มนี้มักถูกโดดเดี่ยวเข้าถึงอำนาจรัฐสู้กลุ่มแรกไม่ได้ที่ถือเป็นวาทกรรมหลักในสังคมการเมืองไทยขณะนี้ จึงสามารถอุปถัมภ์ส่วนล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองสอดคล้องกับวาทกรรมหลักดังกล่าวได้ จะเห็นได้ว่าการรับรู้ ความเข้าใจในคำๆเดียวกันต่างกันผลที่ได้ก็ต่างกัน คำว่าการเลือกตั้งจึงถูกนักการเมืองนักเลือกตั้งในระบอบการเลือกตั้งฉกฉวยนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพียงเพื่ออ้างความชอบธรรมของตนเองในระบอบประชาธิปไตยที่กลายพันธ์

สรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่าปัญหาการเมืองครั้งนี้คือปัญหาที่ส่วนสำคัญเกิดจากระบอบเลือกตั้งและการรับรู้การเข้าใจเกี่ยวกับมันของประชาชน จึงทำให้ผู้เขียนจึงสงสัยในแสงสว่างของถ้ำแต่แรกว่ามันคือทางออกหรือทางเข้ามาตั้งแต่แรกและแน่นอนเมื่อเราเดินตามแสงสว่างนั้นไปเราก็อาจจะยังอยู่ในถ้ำต่อไป ดังนั้นทางออกคือทุกคนอย่าไปหวังผลเลิศของการเลือกตั้งมากเกินไป เพราะอาจถูกวาทกรรมทางการเมืองของนักการเมืองนักเลือกตั้งครอบงำเอาได้ แทนที่จะถามหาผู้แทนหรือผู้นำที่เป็น “คนดีคนเก่ง” ถามหาคนที่มีต่อมจริยธรรมสูง หรือคนที่มีคุณลักษณะราชาปราชณ์(Philosopher King) เพราะขนาดเพลโตเมื่อวัยชราจึงมาตระหนักและเข้าใจแห่งสภาพธรรมชาติของมนุษย์มากขึ้น จึงต้องเขียนนิติรัฐ(Laws)มาแย้งอุดมรัฐ(The Republic)บางส่วน ทางที่ดีคือการตรวจสอบถ่วงดุลผู้มีอำนาจทางการเมืองโดยเฉพาะการเมืองภาคประชาชนภาคประชาสังคม(Civil Society)หรือไปสร้างระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งจะดีกว่าหาต่อมจริยธรรมของผู้นำทางการเมืองจากระบอบเลือกตั้งของไทย เพราะมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับอำนาจจากขาวก็เป็นดำได้และจากดำก็เป็นขาวได้ สรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจลักษณ์ ทางที่ดีคืออย่ามองประชาธิปไตยแค่การเลือกตั้ง และที่สำคัญก็คืออย่ามอง การเลือกตั้งแค่ประชาธิปไตย

เอกสารอ้างอิง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2549. ทางตันของระบอบเลือกตั้งสืบค้นจาก//www.midnightuniv.org
/index.htm 11 ก.ย. 2549
ธงชัย วินิจจะกูล. 2548. ข้อเสนอประชาธิปไตยจากมุมมองประวัติศาสตร์ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา สืบค้นจาก//www.midnightuniv.org/midnight2545/document95268 .html 12 ก.ย. 2549
ลิขิต ธีรเวคิน. 2546. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2549. วาทกรรม สืบค้นจาก //th.wikipedia.org/ 12 ก.ย. 2549
วัชรา ไชยสาร. 2544. ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทยยุคใหม่. กรุงเทพฯ:นิติธรรม
วัชรพล พุทธรักษา. 2547. "หวานเป็นลม-ขมเป็นยา" กับนโยบายทักษิณสืบค้นจาก //www.midnightuniv.org/midnight2545/document9765.html 13 ก.ย. 2549
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2548. การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร
สยามธุรกิจ. 2549. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเลือกตั้ง2เม.ย."โมฆะ" สืบค้นจาก//www.siamturakij .com/book/index.php?option=com_content&task=view&id=5374&Itemid=75 12 ก.ย. 2549



Create Date : 25 เมษายน 2550
Last Update : 15 มิถุนายน 2550 14:24:09 น. 1 comments
Counter : 1427 Pageviews.

 
หมอยุ่นขอ.คิด ,

หมอยุ่นขอ..เขียน ,

หมอยุ่นขอ...พูด (บ้าง)

-----------------------------------------------------------
หมอยุ่นขอ..เขียน (6)
-----------------------------------------------------------


วิกฤติทางการบ้าน , การเมือง

ทางออกอย่างไร...ดี ?


ขณะนี้ คมช. + รัฐบาล ให้น้ำหนักในการ

กำจัดขั้วอำนาจเก่า อย่างไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ,

ให้อยู่เมืองไทยไม่ได้ ชนิดทำทุกขั้นทุกตอน

รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2550

ก็ล้วนแล้วเดินหน้าไปสู่ การกำจัดตัวบุคคล

คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสำคัญ


ดังนั้น จึงขาดสัมมาทิฏฐิ

ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการมุ่ง.... สู่

การแก้ปัญหาของประเทศชาติ ซึ่งมีมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง , ความปลอดภัยของชีวิต และ

ทรัพย์สิน , ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ทรุดตัวอย่างมาก ,

ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มต่างๆ เป็นต้น


ความศรัทธาต่อ คมช. + รัฐบาล

จึงลดฮวบฮาบ , เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มที่กลุ่มมวลชนจัดตั้งออกมาแสดงพลัง

จึงปรากฏให้เห็นมากขึ้น , ถี่ขึ้นเรื่อยๆ



วิกฤติของบ้านเมือง จะหาทางออกอย่างไร ?


1. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ,

ทุกวิชาชีพ , ทุกชนชั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อรับฟังแล้ว

ให้รีบดำเนินการทันที เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของ

ประชาชน , ลดความวุ่นวายในบ้านเมือง , การแสดง

พลังของม็อบจะลดน้อยลง


2. หยุดการกล่าวหา แบบแผ่นเสียงตกร่อง ที่ว่า

เป็นคลื่นใต้น้ำ , เป็นขั้วอำนาจเก่า , ได้รับการหนุน

ทางการเงินจากกลุ่มนั้น , กลุ่มนี้ เป็นต้น

เพื่อลดวิวาทะ , ความขัดแย้ง

เมื่อหยุดการมุ่งทำลายล้าง , การต่อต้านจะลดลง


3. รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ร่างนี้ ถ้าไม่ผ่าน ประชามติ

ก็ต้องออกมายืนยันให้ชัดเจนว่า

จะกลับไปใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

เพื่อจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด , อย่างช้าสิ้นปีนี้

อย่าให้เกิดกระแสต่อต้าน คมช. อย่างรุนแรง ต่อการ

นำรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. อื่นๆ มาประกาศใช้ในช่วง

เดือนกันยายน 2550 จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ,

ประเทศชาติเสียหายไปกว่านี้

เกินกว่าที่คมช.จะรับผิดชอบได้


4. หยุดการมุ่งทำลาย

ตัวบุคคลและครอบครัว ของ อดีตนายกรัฐมนตรี

พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร,

ข้อกล่าวหามากมาย , คดีความต่างๆ ให้เป็นไปตาม

กฎหมายบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม


5. ทุ่มเทสรรพกำลังมุ่งในการ แก้ปัญหาต่างๆ

ของประเทศชาติ , ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน


6. ให้ตั้งมั่นใน สัมมาทิฏฐิ ซึ่งนำไปสู่ สัมมาข้ออื่นๆ

ดังใน อริยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งจะก่อให้เกิดสมานฉันท์

โดยไม่ต้องไปกลัวภัยต่างๆหลังจากได้รัฐบาลใหม่หลัง

การเลือกตั้ง เนื่องจาก การกระทำต่างๆที่ถูกต้อง ,

สุจริต , ยุติธรรม จะช่วยปกป้อง คมช. + รัฐบาล


7. ให้รักษาวาจาที่ให้ไว้อย่าง ไม่บิดพลิ้ว ซึ่งจะเป็น

จุดชนวนต่อ การเกิดความวุ่นวาย ,

ความรุนแรงในบ้านเมือง


8. คมช. + รัฐบาล ต้องประคับประคองร่วมกัน

ป้องปรามไม่ให้เกิดรัฐประหารซ้ำ / รัฐประหารซ้อน

ก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากการก่อรัฐประหารอีกครั้งจะ

เป็นการทำลายประเทศชาติให้ย่อยยับ


9. นับถอยหลัง สู่ การเลือกตั้งให้ได้ในปีนี้

เพื่อ รักษาระบอบประชาธิปไตย ให้อำนาจอธิปไตย

เป็นของปวงชนชาวไทย เพื่อตัดสินทิศทางของประเทศ

โดยไม่ต้องไปหวั่นว่า เลือกตั้งแล้ว ใคร ? จะไป , จะมา

ให้เป็นไปตามครรลอง แล้วไปแก้ปัญหาต่างๆตาม

ระบอบประชาธิปไตย ในรัฐสภา อย่างสันติวิธี


" ผมยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

มากกว่า การรัฐประหาร "




หมอยุ่น ษัษฐบุตร พฤทธิพันธุ์

นักสุขศึกษาดีเด่น ปี 2536 - 2537

โดย

สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข


//www.esnips.com/web/moryoonthink
//www.esnips.com/web/moryoonweb
//www.esnips.com/web/moryoonwebsite
//moryoon.blogspot.com
//moryoon.tapee.ac.th


โดย: หมอยุ่น ตามรอยพุทธทาส IP: 202.149.102.4 วันที่: 28 เมษายน 2550 เวลา:18:51:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.