Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
“กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหามากอยู่แล้ว”

Lese majeste law still problematic , The Nation วันที่ 11 ต.ค.2550

โดย ธงชัย วินิจจะกูล

ผู้แปล: พงศ์เลิศ พงศ์วนานต์



การเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ นี้เลอะเทอะและไม่ฉลาดเอาเสียเลย กฎหมายเท่าที่เป็นอยู่ก็มีปัญหาในหลายแง่มุมมากพออยู่แล้ว



โดยพื้นฐานแล้ว กฎหมายข้อนี้ขัดแย้งกับหลักการในรัฐธรรมนูญที่ว่า “ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย” แต่ประเทศไทยยอมให้ความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ตลอดมาด้วยกลไกและบรรทัดฐานทางกฎหมายที่น่ากังขา



ยิ่งกว่านั้น ปัญหาที่น่าหนักใจก็คือ การฉ้อฉลใช้กฎหมายนี้เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง เพราะกฎหมายอนุญาตให้ใครก็ได้กล่าวหาใครก็ได้ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่างจากกฎหมายหมิ่นประมาท ที่เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้ กฎหมายหมิ่นฯ จึงกลายเป็นอาวุธทางการเมืองที่ฉวยใช้ง่ายเหลือเกิน



ผู้ถูกกล่าวหาโดยคดีหมิ่นฯ ได้รับความเสียหายไปแล้ว ไม่ว่ากระบวนการหรือผลทางกฎหมายจะออกมาเป็นอย่างไร และทั้งๆ ที่กรณีส่วนใหญ่ถูกยกฟ้องหรือไปไม่ถึงศาล ข้อหาหมิ่นฯ จึงถูกใช้อย่างไม่ต้องคิดหรือเป็นการเมืองสามานย์ แทนที่จะได้รับการจัดการอย่างระมัดระวังรอบคอบมากที่สุด



การเสนอแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ละเมิดหลักการทางกฎหมายและขนบธรรมเนียมในหลายแง่ และอาจจะยิ่งทำให้มีการใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนักข้อมากขึ้นไปอีก



ประการแรก การแก้ไขครั้งนี้จะเป็นการยกสถานะคนกลุ่มเล็กๆ (รวมถึงคนที่ไม่ใช่เจ้า) ขึ้นเหนือประชาชนทั่วไป ซึ่งจะสร้างแบบอย่างที่อันตราย เนื่องจากอาจจะมีการออกกฎหมายที่จะสร้างชนชั้นอภิสิทธิ์หรือพวก “firsts among the equals” เพิ่มขึ้นมาอีก



การแบ่งชนชั้นในสังคมอย่างเป็นทางการโดยมีกฎหมายรองรับกลับมากและหนักยิ่งขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่อีก แทนที่จะเป็นไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น



ประการที่สอง การแก้ไขครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้คนกลุ่มเล็กๆ มีสถานะสูงกว่าประชาชนทั่วไปอย่างถูกกฎหมาย แต่ยังเป็นการยกบุคคลบางคนให้มีอภิสิทธิ์และฐานะใกล้เคียงเจ้าอีกด้วย นี่เป็นการไม่สมควรทั้งต่อสถาบันกษัตริย์ ขนบประเพณี และเป็นการลบหลู่หยามหลักประชาธิปไตยของสังคมสมัยใหม่ทุกประการ



การเสนอแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้อาจจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเสียเองด้วยซ้ำ



ประการที่สาม ในโลกสมัยนี้ ที่ทุกคนบนโลกล้วนมีผลประโยชน์ทางวัตถุ ทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจ ความโปร่งใส (transparency) และการสามารถตรวจสอบได้ (accountability) เป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งกว่าเดิม การเสนอแก้ไขครั้งนี้กลับเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม คือทำให้บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งและความรับผิดชอบสูงอยู่ในความเร้นลับและไม่สามารถตรวจสอบได้



ลองนึกดูว่าหากบุคคลดังว่านี้ทำอะไรที่สร้างความเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์ เขาก็จะได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายตามที่แก้ไขครั้งนี้ เพราะตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ หมายความว่า เขาจะไม่ถูกลงโทษจากการสร้างความระคายเคืองต่อสถาบันกษัตริย์



ประการที่สี่ การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของอภิสิทธิ์ชนและพวกพ้องก็จะได้รับการปกป้องโดยกฎหมายตามที่แก้ไขครั้งนี้ ผลกระทบที่จะเกิดแก่สถาบันกษัตริย์นั้นอาจใหญ่โตและอันตรายเกินกว่าจะคิดได้ในขณะนี้



ประการที่ห้า ทำไมถึงจะต้องห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ? เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์หรือว่าเพื่อข่มขู่สื่อไม่ให้นำเสนอข่าวการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ในทางฉ้อฉลกันแน่? สมาชิก สนช.สายสื่อมวลชนที่สนับสนุนการเสนอแก้ไขนี้ควรจะมีความละอายที่ได้ทรยศเพื่อนร่วมวิชาชีพและประชาชน



สุดท้าย เจตนาในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ในครั้งนี้ โดยตัวของมันเองก็เป็นการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ในทางฉ้อฉล นั่นคือเป็นการให้การคุ้มครองคนบางคนที่อยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน นี่เป็นการแก้ไขกฎหมายที่ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว



หากมีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ได้จริงๆ การกล่าวหาและคดีหมิ่นฯ ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างแน่นอน ยิ่งมีคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลมากขึ้นเท่าใด ความสนใจก็จะยิ่งพุ่งไปที่สถาบันกษัตริย์มากขึ้นเท่านั้น แต่จะสร้างอภิสิทธิ์ให้คนบางคน (รวมถึงคนที่ไม่ใช่เจ้า) ทั้งๆ ที่พวกเขากระทำการที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนและไม่สมควรจะได้รับการคุ้มครองพิเศษเหนือกฎหมายแล้วก็ไม่สามารถลงโทษพวกเขาเหล่านั้นได้ แม้กระทั่งหากพวกเขาสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันกษัตริย์ก็ตาม



บทเรียนจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าการมีอภิสิทธิ์มากเกินไปอย่างนี้ ในที่สุดจะนำไปสู่ความไม่พอใจของสาธารณชนและความปั่นป่วนในสังคม



กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เป็นอยู่ก่อผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์ มากกว่าที่จะเป็นผลดี การแก้ไขคราวนี้จะยิ่งก่อผลเสียมากขึ้นไปอีก



การเสนอแก้ไขครั้งนี้ทำกันอย่างไร้ความยั้งคิด ถึงจะยอมถอนร่างแก้ไขออกไป ความคิดและความพยายามผลักดันเรื่องนี้ก็ยังสมควรต้องถูกประณามอยู่ดี



เราจะต้องไม่ยอมให้มันหวนกลับมาอีก


ที่มา : ประชาไท วันที่ : 12/10/2550




Create Date : 12 ตุลาคม 2550
Last Update : 12 ตุลาคม 2550 12:59:40 น. 1 comments
Counter : 1087 Pageviews.

 
Lese majeste law still problematic
Thongchai Winichakul
Professor of History at the University of Wisconsin-Madison.

The proposed amendment to the lese majeste law is careless and unwise. The existing lese majeste law is already problematic in many respects.
Published on October 11, 2007

Fundamentally, it contradicts the constitutional principle that every citizen is equal under the same laws. But Thailand has allowed this contradiction to survive by dubious legal mechanisms and precedents.

The more serious problem for years, moreover, is the continuing abuse of this law for political purposes because the law allows anybody to accuse anybody else of violating the lese majeste principle. Unlike the defamation law, in which only the injured party can bring charges, lese majeste has become an easy political weapon.

As damage is done to the accused regardless of the legal process or outcome, most of the cases are dismissed and never go to trial. Lese majeste has been used as a thoughtless, political "cheap shot", instead of being handled with the utmost care and thoughtfulness.

The proposed amendment violates legal principles and traditions in many respects, and may aggravate the abuses even further.

First of all, the amendment would elevate a small group of citizens, including non-royals, above other citizens. It is a dangerous precedent, as there could be more laws enacted that would create a more privileged class of "firsts among equals".

The hierarchical classes in the same society would be formalised and codified by laws even further, rather than becoming more democratised.

Secondly, in doing the above, not only does this mean that some citizens may become legally elevated above others, but it also grants a few people the privileges and status of near-royalty. This is a blunt affront to the monarchy, to tradition and to every known modern and democratic tenet.

The amendment bill may be in breach of lese majeste itself.

Thirdly, in the modern world - in which everybody on earth has particular material interests, both politically and economically - transparency and accountability are needed more than ever. The amendment goes in the opposite direction, namely to provide secrecy and unaccountability for people with high position and responsibility.

Imagine if such a person did something that injured the reputation and status of the monarchy, he would still be protected by the amended lese majeste law. In other words, his violation of lese majeste could not be punished, thanks to the amended lese majeste law.

Fourthly, the abuse of the amended lese majeste law by privileged people and their servants, for their own interests, would be protected by the lese majeste law. The eventual consequences for the monarchy could be enormous and dangerous beyond our imagination.

Fifth, what is the purpose of prohibiting the media from reporting on cases of lese majeste? Is it to protect the monarchy or to intimidate the media; to prevent them from informing the public about abuses committed under the lese majeste law? Those media professionals in the National Legislative Assembly who supported the amendment bill should be ashamed of themselves for betraying their colleagues and the public.

Last but not least, the intention of the amendment this time itself is also an abuse of the lese majeste law, namely in providing protection to particular individuals in the current political conflict. It is a bad legal amendment from the start.

In the end, if the amendment bill is passed, the revised lese majeste law will certainly increase the number of violations, the number of political cheap shots. Similarly, the number of court cases will put the monarchical institution in the spotlights even more. It will result in special privileges for many people, including non-royals, who act above the public interests and who do not deserve special protection above the law.

Yet they cannot be punished, even when they do harm to the monarchy.

Lessons from all over the world suggest how such unusual privileges eventually led to public dissatisfaction and turmoil.

The lese majeste law has done more harm than good to the monarchy. The amended one would do even more harm.

The proposed amendment is reckless. Despite its withdrawal, the idea and effort behind it should be condemned.

We must not let it be revived again.



โดย: Darksingha วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:16:02:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.