Group Blog
มีนาคม 2563

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยว ... เวลาเดินช้าที่ .. น่าน - วัดต้นแหลง อ.ปัว จ.น่าน
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดต้นแหลง อ.ปัว จ.น่าน, น่าน Thailand
พิกัด GPS : 19° 11' 19.87" N 100° 54' 22.93" E





สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดน่านในบล็อกนี้และบล็อกต่อๆไป  3-4  บล็อก  จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทวัดในอำเภอปัว  จังหวัดน่านนะครับ  เจ้าของบล็อกใช้เวลาครึ่งวันในการท่องเที่ยวในอำเภอปัว  และอีกหนึ่งวัดในอำเภอท่าวังผาครับ 
 
 




วัดต้นแหลง  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน
 



 
การเดินทางไป
วัดต้นแหลงก็ไม่ยากเลยครับ  จากตัวเมืองน่านมุ่งหน้าอำเภอปัว  พอถึงอำเภอปัวให้เล็งห้างแว่นท็อปเจริญ  เซเว่น – อีเลฟเว่น  ไว้  พอเห็นห้างทองชำนาญศิลป์และป้ายร้านสุเกียวให้เลี้ยวซ้าย  ขับตรงไปเรื่อยๆพอเจอวงเวียนแล้วเลี้ยวซ้าย  ขับผ่านวัดปรางค์ทางขวามือ  ขับตรงไปเรื่อยๆ  พอสุดบ้านคนจะเลี้ยวซ้ายอีกที  ตรงนี้มีป้ายบอกทางไปวัดต้นแหลง  ขับตรงไปเรื่อยๆในชุมชนจะเห็นวัดต้นแหลงครับ
 

 

วัดบ้านต้นแหลง  หรือ  วัดต้นแหลง  ตั้งอยู่ที่  หมู่ ๒ ตำบลไทยวัฒนา  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน   เป็นอีกหนึ่งวัดที่แสดงออกถึงความงดงามของวัฒนธรรมไทลื้อ ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน  สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2127 หรือประมาณ 422 ปี โดยช่างชาวไทลื้อ


 
ที่มาของชื่อ 
"ต้นแหลง"  นั้น มาจากไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ทางภาคกลางเรียกว่า  "ต้นยวงผึ้ง"  ในอดีตในหมู่บ้านนี้มีต้นแหลงเป็นจำนวนมาก 


 
ได้เคยเล่าให้ฟังในบล็อก  “วัดภูมินทร์”  แล้วว่า  “ชาวไทลื้อ เป็นชนกลุ่มน้อยมีถิ่นฐานดั้งเดินอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา  หลวงพระบาง  และล้านช้าง  ได้อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองน่านตั้งแต่สมัยที่เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์  (ผู้ครองนครน่านองค์ที่  40)  ทำสงครามกับเชียงใหม่  (ภายใต้การปกครองของพม่า)  หลายครั้ง บางครั้งก็แพ้ บางครั้งก็ชนะ เมื่อแพ้จะหลบหนีไปอยู่ที่ลานช้างแล้วก็นำทัพจากเมืองลานช้างและหงสา เข้ามาตีเอาเมืองน่านกลับคืน   ซึ่งตอนนี้นี่เองอาจมีชาวไทลื้อจากเมืองลานชางเข้ามาอยู่เมืองน่าน 


 
อีกช่วงหนึ่งที่ชาวไทลื้อได้อพยพเข้ามาในเมืองน่านเป็นจำนวนมากก็คือในยุคของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ  เป็นเจ้าเมืองน่าน   ตามพงศาวดารเมืองน่านระบุว่า  ช่วง พ.ศ.2399  พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ยกทัพไปกวาดต้อนครอบครัวไทลื้อราว 2,000 คน มาจากเมืองพงษ์ในเขตสิบสองปันนา และญาติพี่น้องของคนกลุ่มนี้ก็อพยพตามกันลงมาอีก ปัจจุบันชาวไทลื้อตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ในอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอท่าวังผา และอำเภอปัว  จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์มากที่สุดของชาวน่าน
 
 
เมื่อชาวไทยลื้อเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองน่านก็เริ่มสร้างบ้านเรือนเพื่ออยู่อาศัย  และสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ชาวไทยลื้อที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านต้นแหลงนี้ก็ได้ร่วมกันสร้าง  
วัดต้นแหลง  ขึ้นมา  สันนิษฐานว่าตัววัดคงสร้างขึ้นราวๆ  พ.ศ.  2400  กว่า  (เมื่อคราวทีชาวไทยลื้ออพยพครั้งใหญ่มาอยู่ที่เมืองน่าน)  หรืออาจจะก่อนนั้นคือในสมัยที่เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เป็นผู้ครองนครน่าน  (ประมาณ  พ.ศ. 2134 – 2146)   ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรระบุว่า  วัดต้นแหลง  ปีสร้างเมื่อ  พ.ศ. 2390  


เดิม  
วัดต้นแหลง  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชน  ริมแม่น้ำปัว  แต่วัดประสบปัญหาถูกน้ำท่วมเซาะตลิ่งพังเพราะมีแม่น้ำล้อมรอบหมู่บ้าน  (แม่น้ำขว้างกับแม่น้ำปัว)  จึงได้ย้ายวัดไปตั้งชั่วคราวในป่าริมหมู่บ้านหนาด ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว  (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปัว)  เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาเมื่อน้ำลดลงและไม่ท่วมเซาะพังหมู่บ้านแล้ว จึงได้มาสร้างวัดในสถานที่เหมาะสม ในกลางหมู่บ้าน คือสถานที่ตั้งวัดปัจจุบัน  ส่วนวิหารหลังปัจจุบันสร้างเมื่อราวพ.ศ. 2425 หรือเมื่อกว่า 100 ปีก่อน
 


ในพ.ศ. 2469 ได้มีพระครูญาณธาดา อดีตเจ้าคณะแขวงปัวเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ได้พร้อมกับขุนสถานสุทธารักษ์  อดีตกำนันตำบลสถานและคณะศรัทธาราษฎรในหมู่บ้านพร้อมกับจ้างนายช่างมาก่อสร้างพระประธานองค์ใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 108 นิ้ว สูง 156 นิ้ว และทำแท่นแก้วพระประธานโดยนายมอญเป็นช่างผู้ก่อสร้าง ประมาณ  2  ปีจึงแล้วเสร็จ ได้ทำการสมโภชพุทธาภิเษกพระประธาน  ต่อมาในปีพ.ศ. 2471 ได้ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาและทำการผูกพัทธสีมา เมื่อ 9 มีนาคม 2474


 
พ.ศ. 2493  พระสวัสดิ์ สุภทโท  เจ้าอาวาส  ได้แนะนำศรัทธาราษฎรในหมู่บ้านปั้นอิฐเพื่อต่อเติมเสริมผนังซึ่งเดิมเป็นไม้ จนถึง พ.ศ. 2494  ก็ยังไม่เสร็จและได้ลาสิกขาบทไปเมื่อ พ.ศ. 2495  เจ้าอธิการส่วย เวปุลโล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ทำการก่อสร้างฝาผนังและพระอุโบสถเพิ่มเติมที่ค้างไว้เป็นเวลาอีก  1  ปี  และในปีนี้เองได้แนะนำศรัทธารื้อกุฏิอีก  2  หลัง ซึ่งทรุดโทรมมากเพื่อสร้างใหม่และสร้างเสร็จในปีต่อมา

 
 
พ.ศ.2499  ก็ได้ทำการบูรณะฝาผนังพระอุโบสถที่ค้างไว้จนเสร็จและพร้อมกันนี้ได้ร่วมกับศรัทธาในหมู่บ้านทำการบูรณะหลังคาอุโบสถที่ชำรุดเป็นกระเบื้องไม้  โดยมีนายวงค์ เขื่อนธนะ มาทำการช่วยเหลือและเป็นนายช่างทำช่อฟ้า ใบระกา จนเสร็จเรียบร้อย และได้ทำการสมโภชเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2500








 
เรามาถึง  
วัดต้นแหลง  แต่เช้ามากครับ  ยังไม่มีนักท่องเที่ยวซักคนเดียว  อาจจะเป็นเพราะวัดต้นแหลงอยู่ไกลจากเส้นทางหลักและวันที่เจ้าของบล็อกไปวัดต้นแหลงเป็นวันธรรมดาด้วยครับ  เลยยังไม่มีนักท่องเที่ยวมากนักครับ
 
 
วิหาร  
วัดต้นแหลง  สวยงามแปลกตาไปกว่าวิหารทางภาคเหนือทั่วๆไป  ด้วยเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อแท้ๆสร้างโดยช่างชาวไทยลื้อยุคแรกๆที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน  และนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
 
 
มีลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมคือการวางรูปทรงวิหารให้เตี้ยแจ้เป็นทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อน 3 ชั้น ตามลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทยลื้อแถบสิบสองปันนาเรียกกันว่า  “ฮ่างหงส์”  ถ้าลองใส่จินตนาการเข้าไปหน่อยแล้วจะเห็นว่ามีลักษณะเหมือนหงส์กางปีก  คงได้รับวิวัฒนาการมาจากวิหารไม้หลังเดิม
 
 
 
วิหารทรงโรง  ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมล้านนา  เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะไทยลื้อ  มีการวางแปลนให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด  7  ห้อง  กว้าง 11.40  เมตร  ยาว  19  เมตร  ไม่มีมุขหน้าวิหาร  ผนังวิหารสูงเท่ากันทุกด้าน  วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  พื้นอุโบสถยกสูงจากระดับพื้นดินประมาณ  1.20  เมตร  มีเหตุผลที่ทำเช่นนี้เพราะบริเวณที่ตั้งวัดต้นแหลงนี้เป็นบริเวณที่ลุ่มเมื่อถึงฤดูฝนถ้ามีน้ำป่าหลากจะเกิดน้ำท่วมขังในบริเวณนี้  จึงมีการยกพื้นให้สูงขึ้น  บริเวณฐานพระอุโบสถที่ยกสูงขึ้นทำเป็นฐานวิหารเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายซ้อนชั้นเหลื่อมกันแบบขั้นบันได ทอดแนวยาวต่อเนื่องระดับเดียวกันโดยรอบ ลดสอบเข้าหาผนังวิหาร  พระวิหารมีทางเข้าออกด้านหน้า ด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้  ช่องประตูและหน้าต่างไม่มีซุ้มประดับ







 
 
ที่ทางเข้าพระวิหารทีสิงห์เฝ้าอยู่  1  คู่  เป็นสิงห์แบบพม่านะครับ  มีการทาสีตกแต่งอย่างสวยงาม .... ไม่อยากจะบอกว่า ... ปั้นได้เหมือนจริงมากกกกกกก  ฮ่าๆๆๆๆๆ









 



 
หลังคาพระวิหารเป็นทรงหลังคาปีกนกทั้งสี่ด้าน  เรียกว่า 
“หลังผัด”  มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด   (ของเดิมเสื่อมสภาพไปหมดแล้ว  ที่เห็นอยู่นี้เป็นของใหม่ที่ทำการมุงเมื่อ  พ.ศ.  2499)  หลังคาซ้อนกัน  3  ชั้น  ชั้นบนสุดเป็นหลังคาทรงจั่วเรียกว่า  “หาน”   เดิมช่อฟ้าเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ศีรษะเป็นช้าง ตัวหงส์  (ข้อมูลที่หามาบอกนะครับ  แต่ว่าดูจากรูปเป็นช่อฟ้าแบบภาคกลางทำด้วยไม้  น่าจะมีการบูรณะเมื่อไม่นานมานี้)    หางหงส์ชั้นบนสุดเป็นนาคเศียรเดียว  ชั้นที่สองกับชั้นล่างเป็นนาคเบือนสามเศียรคล้ายๆกับการประดับตกแต่งโบสถ์  วิหาร  ในประเทศลาว 
 

หน้าบัน หรือ หน้าแหนบ ใช้แผ่นไม้ยาวตีแนวเฉียงเลียนแบบรัศมีของดวงตะวัน  มีรูปดอกไม้ครึ่งซีกอยู่ตรงกลาง  ในตำแหน่งของคอสองหน้าแหนบตีไม้แบ่งช่องเลียนแบบช่องลูกฟัก  แต่ละช่องประดับดอกไม้หนึ่งดอก  ตกแต่งด้วยสีสันเรียบง่าย คือ เหลือง น้ำตาล ฟ้า และขาว รอบชายคาของหลังคาชั้นกลางและชั้นบนทำ แป้นน้ำย้อย เป็นแผ่นไม้แกะสลักรูปคล้ายใบหอก  มีดอกไม้ติดอยู่เป็นระยะๆ














เมื่อเข้ามาด้านในพระวิหาร  เมื่อมองขึ้นไปด้านบนจะเห็นโครงสร้างส่วนบนเป็นไม้ ใช้วิธีการเข้าไม้ หรือ ต่อไม้  ผนังวิหารก่ออิฐถือปูน  ผนังทำหน้าที่รับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาร่วมกับเสาหน้าต่างมีขนาดเล็กและแคบ แสงเข้าได้น้อยมาก ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น   บรรยากาศภายในจึงมือสลัว  เมื่อเปิดหน้าต่างออกหมดถึงจะมีแสงสว่างเข้ามาอย่างเต็มที่  ด้านทิศตะวันตก  (ด้านหลังพระประธาน)  ไม่มีทางเข้าออก มีช่องหน้าต่าง 1 ช่องตรงกึ่งกลางผนัง ผนังด้านทิศเหนือมี 1 ช่องประตู


 
ถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นว่าประตูทางทิศตะวันออกจะมีความสูงและความกว้างมากกว่าประตูทางทิศเหนือและทิศใต้  คาดว่าจะได้รับแนวคิดมาจากอินเดีย  และคงเป็นเจตนาซ่อนเร้นของช่างที่หมายจะให้แสงแดดแรกในแต่ละวันพุ่งตรงไปยังพระประธานก่อน











 








 



ภายในวิหาร เสาหลวงเป็นเสากลมสีแดงดำ  ไม่มีลวดลาย ประดับปลายเสาด้วยบัวกลีบยาว  แขวน 
“ผ้าเช็ดหลวง”   ... (เช็ด แปลว่า ทอ , หลวงแปลว่ายิ่งใหญ่)  ใช้ในพิธีกรรมการถวายทานเป็นพุทธบูชาเพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ  มีลักษณะคล้ายตุงของทางภาคเหนือ








 

 
ด้านข้างทิศใต้ติดผนังเป็นอาสนสงฆ์ ยกพื้นสูงขึ้นมาจากพื้นวิหาร 20 เซนติเมตร ก่ออิฐลาดปูน







 
 
พระประธานปางมารวิชัย  พุทธลักษณะมีกลิ่นอายของพม่า  ไทยใหญ่เล็กน้อย  ประทับบนแท่นแก้ว  (ฐานชุกชี)  ประดับกระจก  ตั้งลอยตัว เดินได้รอบ  ทั้งสองข้างเป็นเครื่องสูงเพื่อเป็นพุทธบูชา













ด้านหน้าพระประธาน เป็นขั้นไดแก้ว หรือ บันไดแก้ว  - เชิงเทียนที่มีที่ปักเทียน 7 อัน  เป็นสัตตภัณฑ์ของไทลื้อ  







 
 
ขวามือของพระประธาน เป็นธรรมมาสบุษบก  ตอนล่างก่ออิฐถือปูนประดับกระจก  ตอนบนเป็นไม้ประดับลวดลาดสีทอง  และหีบพระธรรมลงรักปิดทอง










ด้านหลังยังมีพระวิหารหลังเล็ก  ไม่แน่ใจว่ากำลังบูรณะหรือสร้างใหม่นะครับ  รูปร่างเหมือนกันทุกอย่าง  ต่างกันที่แป้นน้ำย้อยครับ

















 
  
วัดต้นแหลง  ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยล้านนา ที่สมควรได้รับการเผยแพร่ ประปี 2552 ประเภทอาคารทางศานาจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
 
 
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดต้นแหลงเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2533
 
 
 

ขอบคุณพี่ 
 tuk-tuk@korat  สำหรับข้อมูลดีๆด้วยครับ



วิหารไทลื้อ ... วัดต้นแหลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน


https://pantip.com/topic/38045565











 
 
 
 

อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม  “ทนายอ้วนพาเที่ยว”  นะครับ
 



 

Chubby Lawyer Tour  -  ทนายอ้วนพาเที่ยว
 
 
 https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/
 



 

Chubby Lawyer Tour ………………….. เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน

 
140136138



Create Date : 23 มีนาคม 2563
Last Update : 23 มีนาคม 2563 15:55:59 น.
Counter : 1693 Pageviews.

22 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสองแผ่นดิน, คุณtuk-tuk@korat, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณSai Eeuu, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkae+aoe, คุณnonnoiGiwGiw, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณเริงฤดีนะ, คุณ**mp5**, คุณสาวไกด์ใจซื่อ

  
ขอขอบคุณผู้ที่เขียนบล็อกต่อไปนี้สำหรับข้อมูลดีๆครับ .... ทำให้การเที่ยวของเราสนุกขึ้นอีกเยอะเลยคราบ


https://www.paiduaykan.com/province/north/nan/watbantonl
aeng.html

//nantourism.go.th/travel-detail.php?id=13

https://www.emagtravel.com/archive/wat-tonlang.html

https://pantip.com/topic/38045565

https://www.voicetv.co.th/read/535159

//www.zthailand.com/place/wat-ton-laeng-temple-nan/

//www.lannatouring.com/Nan/Interesting-article/Wat-
Tonlang-Nan.htm

https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1204726
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:15:57:59 น.
  
งามมากครับ
หลงไหลในมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมของภาคเหนือเช่นกันครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:16:28:14 น.
  
ถ่ายรูปสวยมาก ๆ ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:17:03:54 น.
  
เรียบง่าย ดีงาม เป็นเอกลักษณ์
เก็บภาพได้ละเอียดดีจังค่ะ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:17:14:50 น.
  
55555555+++

แวะมาทักทายแต่โหวตหมดแย้ว แปะใจไว้ก่อนเด้อออ
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:18:30:25 น.
  
ขอไห้วพระตรงนี้เลยค่ะ เพราะอาทิตย์นี้งด
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:18:40:47 น.
  
เห็นโบสถ์หรือศาลาทรงแบบนั้น คงเป็นการสร้างสมัยหลายร้อยปี
คือทรงเตี้ย ผนังไม่สูงมาจาก แถวนั้นความหนาวเย็นเยอะ

ไทยลื้อ...ที่ผมรู้จักก็มี คุณจินแห่งร้านเต้ยติ่มซำเชียงใหม่บ้านอยู่
อ.สะเมิงเชียงใหม่บ้านหลังเดิมของอุ้ยแม่หญิงเป็น แบบไทยลื้อ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:20:27:09 น.
  
โบสถ์และข้างใน ฉูดฉาดมากๆ เลยค่ะ น้องบอล
โดย: Sai Eeuu วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:21:12:35 น.
  
จองที่ก่อนนะคะ

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:21:41:14 น.
  
สถาปัตยกรรมแบบไทลื้องดงามมากค่ะคุณบอล
ขอบคุณคุณบอลที่พาเที่ยวนะคะ
ภาพสวยมากค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 23 มีนาคม 2563 เวลา:23:43:04 น.
  

เคยไปน่าน ไม่เคยไปวัดนี้เลยค่ะ
ภาพสวย ได้ชมเหมือนได้ไปเองเลย
โดย: newyorknurse วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:3:26:04 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:4:58:48 น.
  
สาธุ ตามมาไหว้พระด้วยค่ะ
โดย: kae+aoe วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:8:42:20 น.
  
พี่ว่า ฝรั่งส่วนมาก จะเลือกทำอะไรโดยมีแพสชั่นนำเป็นหลักหละ

เราเลยเจอคนแบบนี้ได้ทั่วไปสำหรับฝรั่งที่ทำงานด้านใดด้านหนึ่ง
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:11:02:11 น.
  
อ้อ ลืมไป โควต้าหมด ไว้พี่เข้าบล็อกอีกเมื่อไหร่มาโหวตให้เน้อ
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:11:07:36 น.
  


น่านนะแหละ ก็น่านนะสิ ที่อยากไปเที่ยว ..อิอิ
โดย: สันตะวาใบข้าว วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:16:22:54 น.
  
เพิ่งเห็นว่าบ้านนี้เข้าไปโหวตอาหารให้เค้า
เอิ๊กกก นี่กำลังพยายามจะอัพอีก
เป็นเมนูอาหารรวบยอด แต่...................
มันคือบล็อกลดน้ำหนักไง งง ใน งง

กร๊ากกกกกกก
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:17:09:45 น.
  
มาเรื่องสลัดซีซ่าร์ ปกติ ป้าอิ๋วชอบใช้ขนมปัง ciabatta ค่ะ ถ้าเวลาปกติก็จะแจ้นไปซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างเร็ว ถ้าจังหวะโควิทนี่ มีอะไรก็ใส่ไปก่อนแหละค่ะ ความกรอบมันไม่ได้ถึงใจนัก แต่ก็แก้ขัดค่ะ และถ้าได้เข้าเตาอบด้วยล่ะก็ อบเท่าไรก็ไม่พอค่ะ
โดย: Sai Eeuu วันที่: 24 มีนาคม 2563 เวลา:21:42:03 น.
  
สวยงามๆ
ไว้Covid19จาง
และเรายังแข็งแรงดีอยู่
จะตามไปเที่ยวค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 มีนาคม 2563 เวลา:5:04:51 น.
  
สวัสดียามเช้าค่ะ สวยงามมากค่ะ
โดย: kae+aoe วันที่: 25 มีนาคม 2563 เวลา:8:54:41 น.
  
ส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 25 มีนาคม 2563 เวลา:10:36:47 น.
  
มาโหวตแระน้า เพิ่งจะได้เข้าบล็อกเนี่ย

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
nonnoiGiwGiw Photo Blog ดู Blog
Sai Eeuu Food Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 30 มีนาคม 2563 เวลา:12:25:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]