Group Blog
มีนาคม 2565

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยว - รุ่งอรุณแห่งความสุข - วัดพระพายหลวง อุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย เมืองเก่า สุโขทัย
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดพระพายหลวง อุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย เมืองเก่า สุโขทัย, สุโขทัย Thailand
พิกัด GPS : 17° 1' 45.11" N 99° 41' 58.19" E


 



บล็อกในปีนี้ก็ยังเป็นการนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้เคยไปเที่ยวมามาโพสเหมือนปีที่แล้วครับ  เนื่องจากเจ้าของบล็อกกักตัวเองอยู่กับบ้านมาเป็นปีแล้วครับ  ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
 
 




 
บล็อกนี้จะพาไปเที่ยวโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  อำเภอเมือง  สุโขทัย  กันนะครับ 
 




 
พื้นที่ที่เราคุ้นเคยกันว่าเป็นเมืองเก่าสุโขทัยก็จะเป็นพื้นที่ที่เป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ภายในกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย   แต่จริงๆแล้วยังมีโบราณสถานอีกมากมากที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั้งในกำแพงเมืองเก่าที่เป็นพื้นที่มรดกโลก  รวมไปถึงโบราณสถานนอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย  และรวมไปถึงโบราณสถานที่อยู่ในเขตอรัญญิก  (วัดป่าบนเนินเขา)  ล้วนแต่น่าสนใจน่าไปเที่ยวชมมากครับ
 




 
บล็อกนี้จะเป็นบล็อกสุดท้ายที่เจ้าของบล็อกจะพาไปเที่ยวชมโบราณสถานทั้งที่อยู่ในกำแพงเมืองเก่า  และอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า  เป็นโบราณสถานที่หลายคนคงจะคุ้นตาเป็นอย่างดีครับ
 




 
เจ้าของบล็อกคิดว่ารูปโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัยคงหมด  stock  แล้วนะครับ  (ถ้ามีหลงหูหลงตาก็คงได้เอามาโพสอีก)  เจ้าของบล็อกหวังลึกๆว่าจะได้มีโอกาสไปถ่ายรูปโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัยอีกครับ  เพราะยังมีโบราณสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่งครับ  ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวในบล็อก  “ท่องเที่ยวไทย”  ในบล็อกหน้าจะพาไปเที่ยวที่ไหนต้องติดตามชมกันนะครับ
 




 
 

วัดพระพายหลวง  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 
ต.เมืองเก่า  อ.เมือง  จ.สุโขทัย

 
 




 

วัดพระพายหลวง  ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย  ห่างจากประตูศาลหลวงซึ่งเป็นประตูทางทิศเหนือประมาณ  1  กิโลเมตร   เป็นโบราณสถานที่ยังมีชีวิตอยู่  คือ  เป็นวัดที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  โดยกลุ่มอาคารและศาสนสถานที่ยังใช้งานอยู่จะอยู่ทางทิศใต้ของกลุ่มโบราณสถาน
 



 

วัดพระพายหลวง  มีเนื้อที่ทั้งหมด  26  ไร่  3  งาน  20  ตารางวา  ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ  2  ครั้ง  คือ  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  52  ตอน  75  วันที่  8  มีนาคม  พ.ศ.  2478  และ  เล่ม  79  ตอน  58  วันที่  26  มีนาคม  พ.ศ.  2505
 
 



 
ตามพระราชนิพนธ์ 
“เที่ยวเมืองพระร่วง”  ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ระบุว่า  “ชื่อวัดพระพายหลวง    มีที่มาจากการที่ชาวบ้านเรียก”
 






 
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโบราณสถานในวัดพระพายหลวงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีคูน้ำล้อมรอบ  3  ชั้น  คูน้ำชั้นนอกสุดเรียกกันว่า 
“คูแม่โจน”  เป็นส่วนหนึ่งของระบบชลประทานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
 
 




 
จากสำรวจและขุดแต่งทำให้เรารู้ว่าพื้นที่บริเวณที่เป็นวัดพระพายหลวงได้ถูกใช้งานมาก่อนสร้างเมืองสุโขทัย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ในพระราชนิพนธ์  “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ใน  พ.ศ. 2450  เมื่อครั้งยังทรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชว่า 


 

 
“คงเคยเป็นเทวสถานมาก่อน  เนื่อจากพบฐานประติมากรรมที่เชื่อว่าเป็นฐานศิวลึงค์  และบรรพแถลงประดับชั้นหลังคาทำเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ”




 
 
สมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานคำอธิบายเอาไว้ว่า  วัดพระพายหลวงคงเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนในช่วงที่ขอมยังปกครองก่อนตั้งกรุงสุโขทัย  ในศิลาจารึกหลักที่  1  ก็มีการกล่าวถึงวัดพระพายหลวงไว้แล้ว  รูปแบบปราสาทและคูน้ำล้อมรอบศาสนสถานก็ล้วนแต่เป็นรูปแบบของวัฒนธรรมเขมร
 



 
ศาตราจารย์ยอร์ช  เซเดย์  ศาตราจารย์ฌ็อง  บวสเซอลีเยร์  อเล็กซานเดอร์  บี  กริสโวลด์  (A.B. Griswold)และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิส  ดิศกุล  ก็ล้วนกำหนดอายุให้ปราสาทวัดพระพายหลวงมีอายุตรงกับช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่  7  ตรงกับศิลปสมัยบายน  ช่วงพุทธศตวรรษที่  17 – 18 
 
 



ปัจจุบันนี้การศึกษาประวัติศาสตร์มีขอมูลมากขึ้น  ได้มีการศึกษารูปแบบของศิลปกรรมควบคู่ไปกับตัวแปรเรื่องระยะเวลาและปัจจัยอื่นๆ  ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับวัดพระพายหลวงว่าน่าจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่  18  เป็นต้นไป
 
 




จากรูปแบบศิลปะที่คล้ายกับศิลปะบายนแต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว  เช่น  ชั้นซ้อนของปราสาทที่ค่อนข้างสูง  กรอบหน้าบันตอนล่างหยักแหลมลง  ไม่มีใบระกาขนาดเล็กแทรกที่ส่วนโค้งของกรอบหน้าบัน  ลวดลายปูนปั้นมีเค้าว่าเป็นงานของช่างไทย  ฯลฯ  ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานใหม่ว่า 
 
 


 
“ปราสาทวัดพระพายหลวงสร้างโดยช่างฝีมือคนไทยโดยการควบคุมของขอม”  หรือ  “ปราสาทวัดพระพายหลวงเป็นงานของช่างไทยทั้งหมดภายหลังเมื่อสิ้นอำนาจขอมแล้ว”
 
 


 
จริงๆแล้วหน้าวัดพระพายหลวงอยู่ด้านถนนสายเมืองเก่า – หนองตาโชติ  ครับ  แต่ถ้าเราขับรถมาชมวัดพระพายหลวงกันเองส่วนใหญ่เราจะเข้ามาทางด้านหลังโบราณสถาน  ถ้าเข้ามาจากด้านหน้าวัดจะผ่านวิหารพระนั่ง  มณฑปพระสี่อิริยาบถ  เจดีย์ประธาน  วิหาร  ปรางค์แบบขอม  พระอุโบสถ  และพระวิหารอีกแห่งนึงตามลำดับจากหน้าวัด  ไปหลังวัดครับ
 
 



 
โบราณสถานที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของวัดพระพายหลวงได้แก่  ปรางค์แบบขอม  3  องค์เรียงกัน  ตั้งอยู่ค่อนไปทางหลังวัด  สร้างเรียงกันในแนวเหนือ – ใต้  ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานไพทีเดียวกัน  เราจะเห็นฐานหน้ากระดานบน  ชั้นบัวหงาย  และส่วนท้องไม้โผล่พ้นผิวดินขึ้นมา
 
 












 
ปรางค์ประธานและปรางค์ทางทิศใต้  (องค์ที่ติดกับพระอุโบสถ)  หักพังลงเหลือแต่ฐานและเหนือชั้นฐานเล็กน้อย  ที่ปราสาทหลังกลางพบร่องรอยของการก่อศิลาแลงปิดประตูด้านตะวันออก  และใช้ประตูทางด้านตะวันตกเป็นทางเข้า – ออก  แทน












 
 
ปรางค์องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือยังค่อนข้างสมบูรณ์อยู่มาก  เห็นได้ชัดว่าก่อด้วยศิลาแลงแล้วมีการฉาบปูน  ประดับตกแต่งด้วยปูนปั้น


















 
 
ด้านตะวันออก  (ด้านหน้า)  ของปรางค์ทั้ง  3  องค์  มี  วิหาร  สร้างต่อเนื่องมา  (ที่บอกว่าสร้างต่อเนื่องก็เพราะสร้างชนกับฐานไพทีของปรางค์พอดี)  เป็นวิหารขนาด  6  ห้อง  ส่วนบนของวิหารพังทลายหมดแล้ว 


















 




พื้นวิหารปูด้วยศิลาแลง





เสาวิหารทำจากศิลาแลงตัดเป็นก้อนทรงกระบอก  นำมาซ้อนๆกัน  แล้วโกลนเป็นเสา  ปลายเสาจะเรียวกว่าโคนเสาเล็กน้อย  ยังสามารถเห็นช่องที่เจาะศิลาแลงสำหรับสอดเครื่องหลังคาที่คงจะเป็นไม้อยู่ที่เสาเกือบทุกต้น
 
 
 

ด้านซ้ายของวิหารที่เสาแถวนอกสุดยกพื้นขึ้นมาเป็นอาสนสงฆ์ 
 
 



ในสุดของพระวิหารมีฐานชุกชี้สูงแต่ไม่เต็มพื้นที่  ยังสามารถเดินได้รอบ








 
 






 
ที่แนวชายคาของวิหารมีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็ก  ก่อด้วยศิลาแลง  ตั้งเรียงรายขนานกันไปทั้ง  2  ด้าน  เจดีย์แต่ละองค์มีฐานบัวค่อนข้างสูง  องค์ระฆังคอดที่ส่วนล่าง  (เอว)  โป่งที่ด้านบน  เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์  มีปล้องไฉนที่ดูคล้ายฉัตรซ้อนกัน  ต่อด้วยปลีสั้นทรงกรวยแหลม 
 















 
ถัดออกไปทางด้านทิศตะวันออก  (ด้านหน้าวัด)  มีเจดีย์ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีชั้นซ้อนลดระดับขึ้นไป  3  ชั้น  แต่ละชั้นประดับด้วยซุ้มพระพุทธรูปนั่ง  ชั้นล่างสุดมีด้านละ  7  ซุ้ม  ชั้นที่  2  มี  6  ซุ้ม  และชั้นที่  3  มี  5  ซุ้ม  เหนือชั้นซุ้มพระชั้นที่  3  ขึ้นไปหักพังหมดแล้ว 
 
 

 
สันนิษฐานว่าเจดีย์ได้มีการบูรณะมาตลอดในมัยสุโขทัย  โดย  ครั้งที่แรกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  (พ.ศ. 1822 - 1862)  มีการสร้างเจดีย์ประธาน  เจดีย์ทิศ  และเจดีย์มุม
 
 



ในสมัยที่  2  น่าจะเพิ่มเติมซุ้มลด  และเชื่อมเนื้อที่ของฐานเจดีย์ให้เป็นฐานเดียวกันด้วยชุดบัวลูกฟักในสมัยพญาเลอไท



 
สมัยที่  3  สร้างวิหารทางตะวันออกของเจดีย์ประธาน  และสร้างระเบียงคด  ในสมัยพญาลิไท


 
 
สมัยที่  4  ปลายสมัยพญาลิไท  มีการถมช่องทำทางเดินรอบเจดีย์ประธาน  โดยถมดินให้อยู่ในระดับเดียวกับฐานเจดีย์ทิศและเจดีย์มุม  มีการก่ออิฐปิดซุ้มพระตรงกลางทั้ง  4  ด้าน  แล้วสร้างเป็นซุ้มขนาดใหญ่  ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่


 
 
สมัยที่  5  ประมาณพุทธศตวรรษที่  20  มีการก่ออิฐปิดภาพปูนปั้นเทวดาซึ่งประดับอยู่ที่ส่วนล่างของระเบียงคด  และขยายฐานชุกชีท้ายวิหาร






















 
 
เนื่องจากส่วนยอดของเจดีย์ประธานได้หักพังลงมาหมดแล้ว  จึงมีข้อสันนิษฐานถึงรูปแบบของยอดของเจดีย์ประธานได้เป็น  3  รูปแบบ
 




 
1. เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบายน  (พ.ศ. 1800 - 1825)  ซึ่งต่อมามีร่องรอยการบูรณะเล็กน้อย  แต่ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้  เมื่อมีการบูรณะครั้งใหญ่  ช่างได้เปลี่ยนรูปแบบศิลปะเกือบทั้งสิ้น  กลายมาเป็นศิลปะแบบสุโขทัย





2. เจดีย์ได้รับรูปแบบศิลปะมอญและหริภุญไชย  (คล้ายๆเจดีย์พระนางจามเทวี  จ.ลำพูน  สุวรรณเจดีย์  จ.ลำพูน  เจดีย์วัดพญาวัด  จ.น่าน)










(สุวรรณเจดีย์  จ.ลำพูน)













3.  เจดีย์มีหลายส่วนที่คล้ายกับเจดีย์วัดป่าสัก  อ.เชียงแสน  จ.เชียงราย






 
 


 
 
ส่วนซากอาคารที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกสุด  (ด้านหน้าสุด)  ที่ใกล้กับเจดีย์ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส  เรียกกันว่า 
“มณฑปพระสี่อิริยาบถ”
 
 


จากการศึกษา  ขุดค้น  สามารถกำหนดอายุของสิ่งก่อสร้างได้ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่  19  เป็นวิวัฒนาการในระยะแรกๆของการสร้างมณฑปพระสี่อิริยาบท
 


 
ตามปกติแล้วในมณฑปพระสี่อิริยาบถจะประกอบไปด้วยพระพุทธรูป  4  องค์  ประทับขั่งขัดสมาธิ  ประทับนอนตะแคงข้าง  ประทับยืน  และพระพุทธรูปปางลีลาแสดงถึงการเดิน  แต่จะสร้างโดยมีแกนกลางเดียวกัน  โดยมีพระพุทธรูปปางต่างๆ  4  ด้าน


 
 
แต่ที่บอกว่ามณฑปพระสี่อิริยาบถ  ที่วัดพระพายหลวง  นี้เป็นวิวัฒนาการในระยะแรกๆของการสร้างมณฑปพระสี่อิริยาบทเพราะ  มีการสร้างพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิกับปางไสยยาสน์ (นอนตะแคง)  แยกออกจากพระพุทธรูปปางประทับยืนและปางลีลา  ซึ่งอาจจะแสดงถึงการที่ช่างยังไม่สามารถรวมพระพุทธรูป  4  แบบ  ที่มีสัดส่วนที่ต่างกันรวมเข้าไว้อยู่ในแกนเดียวกันได้  (แต่ที่
วัดเชตุพน  สุโขทัย  หรือที่วัดพระสี่อิริยาบถ  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร  ที่สร้างในสมัยหลังสามารถรวมให้พระพุทธรูปทั้งสี่ปางอยู่ร่วมแกนเดียวกันได้แล้ว )















 

พระอุโบสถ  อยู่ด้านในสุด  สร้างบนฐานสูงก่อด้วยศิลาแลง  มีบันไดทางขึ้นทั้งซ้ายและขวา  รอบๆฐานมีเสาสำหรับรองรับชายคาพระอุโบสถที่ลาดต่ำลงมา
 


 
ตัวพระอุโบสถสร้างบนฐานศิลาแลงสูงให้มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย  มีมุขหน้า  ทางขึ้นข้างมุขหน้าซ้าย – ขวา  เสาพระอุโบสถทำจากศิลาแลงตัดเป็นทรงกระบอก  เรียงซ้อนกัน  แล้วโกลนเป็นรูปเสา  โดยให้ปลายเสาเรียวกว่าโคนเสาเล็กน้อย



 
 
ด้านท้ายพระอุโบสถมีฐานชุกชีในผังย่อมุม  แต่ไม่เต็มพื้นที่  ยังสามารถเดินได้รอบฐานชุกชี 
 



 
รอบๆพระอุโบสถมีเสมาหินชนวน























 


139138137​​​​​​​
 



Create Date : 21 มีนาคม 2565
Last Update : 21 มีนาคม 2565 11:36:43 น.
Counter : 1740 Pageviews.

19 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณSleepless Sea, คุณกะว่าก๋า, คุณtuk-tuk@korat, คุณnonnoiGiwGiw, คุณThe Kop Civil, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเนินน้ำ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณSweet_pills, คุณhaiku, คุณtoor36, คุณKavanich96, คุณเริงฤดีนะ, คุณซองขาวเบอร์ 9

  
สมัยเป็นนักศึกษา
เวลาอาจารย์พาไปอุทยานประวัติศาสตร์
อาจารย์จะบอกว่าให้หลับตาแล้วลองจินตนาการดู
ว่าที่นี่เคยสวยงามและยิ่งใหญ่เพียงใด
ถึงแม้จะเหลือแต่โครงสร้าง ฐานหรือเสาก็ตาม

ในหลายภาพที่คุณบอลถ่ายมา
ยังเห็นรายละเอียดของส่วนตกแต่งอย่างชัดเจนเลยนะครับ
งานละเอียด และสวยงามมากครับ

ปล. กรุงเทพฝนตกหนักเลย
เชียงใหม่ไม่มีฝน อากาศร้อนมากครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:14:29:50 น.
  
555555 สุดยอดครับพี่ เอามาแนะนำจนหมด Stock กันเลยทีเดียว
แต่พี่บอลทำบล๊อกเที่ยวสุโขทัยได้ละเอียดมากครับ ใครอยากไปมาอ่านได้ก่อนเลยครับ ทำการบ้านก่อนไปได้ดีเลย

จากบล๊อก
เครียดนี่แย่เลยนะครับพี่บอล ยังไงก็รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
หลายคนกักตัวทีก็ทานข้าวได้น้อยลงเหมือนกัน เพราะพอไม่ได้ออกไปทานข้าวข้างนอก ก็ไม่ต้องทานเยอะเกินไป ทานได้น้อยลงกระเพราะก็หดลง เลยทานได้น้อย ถ้ายังได้รับสารอาหารครบก็เป็นผลพลอยได้ครับที่ทานน้อยลงได้ ^^
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:15:03:03 น.
  
มาเที่ยวสุโขทัยด้วยครับ ถ่ายรูปสวยน่าไปบ้างครับ
ขอบคุณนะครับ

โดย: Sleepless Sea วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:15:16:08 น.
  
ตามมาเที่ยวค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:15:43:27 น.
  
เห็นรูปแล้วอยากย้อนเวลาเดินทางไปในยุคโน้นจริง ๆ ครับ
โดย: The Kop Civil วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:17:11:08 น.
  
คุณบอลเก็บ เรื่องราวได้เยอะ ดีครับ... แค่ผมเดินคงจะเพลียแน่เลยดู
กว้างมากนะครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:18:31:32 น.
  
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ ในอดีตคงงดงามมาก ๆ เลย
โดย: เนินน้ำ วันที่: 21 มีนาคม 2565 เวลา:21:00:25 น.
  
ตามมาเที่ยวด้วยคนครับ บล็อกวันนี้เก็บรายละเอียดมาได้ละเอียดมากเลยครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:0:00:05 น.
  
ปรางค์องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือยังค่อนข้างสมบูรณ์นะคะ
นึกตามรูปแบบสันนิษฐานแล้ว ในอดีตคงงดงามเรืองรองมาก
ขอบคุณคุณบอลที่พาชมโบราณสถานทรงคุณค่าค่ะ

ขอบคุณกำลังใจค่ะคุณบอล

โดย: Sweet_pills วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:0:24:17 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:4:54:08 น.
  

สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:7:19:04 น.
  
ทักทายสวัสดีครับ
เที่ยวชมวัดพระพายหลวง อุทยานยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ด้วยคนครับ
ยังมีความขลัง ของสถาปัตยกรรมเก่า ๆ สมัยสุโขทัย ชวนให้อยากไปเที่ยวชมกันอีกด้วยครับ
โดย: ถปรร วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:7:48:46 น.
  
ปักหมุดไว้นะคะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:8:53:43 น.
  
มาส่งกำลังใจให้คนทำกับข้าวเก่งค่ะ
โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:9:14:25 น.
  
ที่แวะไปคุย
ถ้าเล่นแบบทั่วไปมีแค่ ค้อน กรรไกร กระดาษ แต่มันมีแบบแอ๊ดวานซ์มีเป็น 10 ชนิดเลยครับ แล้วมันมีตารางโยงอะไรชนะอะไรเต็มไปหมด เห็นแล้วชวนปวดหัวครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:11:38:48 น.
  
วันก่อนนั่งฟังคลิปสัมภาษณ์มหาเศรษฐี
เขาบอกว่า
ขอสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
และขอให้ครอบครัวรักกัน
ฟังดูจากที่พูด
ดูเหมือนลูกจะไม่รักเขาเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:17:42:08 น.
  
สวัสดีครับคุณบอล

ตามมาเที่ยวชมโบราณสถานวัดพระพายหลวงครับ
ชอบลวดลายหน้าบัน ละเอียด สวยงามครับ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบล็อกด้วยนะครับ
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:20:27:59 น.
  


ด้วยความยินดีครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มีนาคม 2565 เวลา:23:13:57 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มีนาคม 2565 เวลา:6:07:59 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]