บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
3 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
จากโรงเกลือมุ่งสู่ปราสาทเขาพนมรุ้งและหมู่บ้านด่านเกวียนโคราช






ภาพจากบล็อกของคุณชานไม้ชายเขา

แล้วชีพจรก็ลงเท้าอีกในยามที่เงินในกระเป๋าก็ไม่ค่อยจะมี แต่เมื่ออยากจะโลดแล่นขับรถไปไกล ๆ ก็พลันได้นึกถึงถิ่นเก่าที่เคยได้ไปเยือน "ปอยเปต" ที่เคยได้ไปเยือนในห้วงเวลานานมาแล้ว กับภาพที่ไม่ค่อยสบายใจนักกับพิษของสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในเขมรยุคพอลพต ได้เห็นภาพทหารขาขาดและเด็กนั่งขอทานยามที่ก้าวเท้าเดินเข้าไปในปอยเปต นั่นคือสภาพเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา

แต่ปัจจุบันชายแดนอรัญประเทศถูกแทนที่ด้วย"โรงเกลือ" แหล่งฃื้อหาสินค้าที่มาจากจีนและเวียดนาม รวมทั้งสินค้ามือสองจากเกาหลี ไปคราวนี้ไม่ได้รองเท้าหัวเหล็กและกางเกงยีนไปฝากเพื่อนร่วมงาน แต่ได้รองเท้ากีฬาหลายคู่และอุปกรเดินป่าจำนวนหนึ่ง และที่ขาดไม่ได้สำหรับสุภาพสตรีถ้าได้เห็นคงจะเป็นสินค้ากอปปี้แบรนด์ดังประเภทกระเป๋าเกรดเอจากจีน

หลังจากใช้เวลาพอสมควรแล้วก็วางแผนจะไประยองแต่พอเห็นป้ายบุรีรัมย์ก็ทำให้นึกถึงปราสาทเขาพนมรุ้งที่คิดอยากไปมานาน ด้วยระยะทางประมาณ 170 กว่า กม. ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ยากว่ายังไงก็ต้องไปเห็นให้ได้ ตัดสินใจนอนที่อำเภอนางรองที่ดูจะใกล้กับปราสาทมากกว่า เพราะเป็นอำเภอที่เจริญพอควรและทำท่าจะเป็นจังหวัดในไม่ช้า เห็นฝรั่งเดินผ่านในตัวอำเภอหลายกลุ่มอยู่เหมือนกัน

สาย ๆ วันรุ่งขึ้นขับรถแบบสบาย ๆ ไม่เกินครึ่งชั่วโมงก็ถึง มีรถทัวร์จากทางใต้วิ่งเข้าไปสองสามคัน เห็นเยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนใต้มาเที่ยวกันด้วย

เดินขึ้นบันไดไปอย่างไม่ลำบากมากนัก แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับผู้สูงอายุ ที่เห็น ๆ อยู่หลายคนที่อายุเลยเลข 7ไปแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าคุณยายขึ้นไปได้อย่างไร เห็นแล้วก็ทึ่ง ถ้าเป็นเราคงไม่มีปัญญาเป็นแน่แท้ถ้ารอให้อายุถึงเลข 7 จริง ๆ นะ ระยะทางเดินกว่าจะถึงปราสาทก็ราว ๆ 500 เมตร ไกลไม่ใช่เล้นเหมือนกันนะ

แต่ช้าก่อนพอได้เห็นปราสาทแล้วก็หายเหนื่อยและทึ่งกับประวัติการสร้างถวายพระศิวะของกษัตริย์ขอมสมัยก่อนที่ใช้เวลาสร้างสองสามศตวรรษกว่าจะแล้วเสร็จ และที่นี่ก็คือปราสาทที่นารายณ์บรรทมสินธุ์ถูกคนขโมยไปและต้องไปซื้อคืนกลับมา(มารู้ตอนลงมาแล้ว เพราะเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่และซื้อหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กลับมาอ่าน)

พรุ้งนี้จะมาโพสต์ต่อเกี่ยวกับเรื่องราวของหมู่บ้านด่านเกวียนนะครับ



ภาพจากบล็อกคุณชมจันทร์
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=sineenart&month=25-10-2007&group=7&gblog=8



ลิ้งค์หมู่บ้านด่านเกวียน คลิกที่นี่

หมู่บ้านด่านเกวียน
ด่านเกวียน เป็นหมู่บ้านหนึ่งของ ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 224 นม. - โชคชัย ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน ซึ่งมีร้านค้าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเรียงรายอยู่สองฟากฝั่งและมีลำน้ำมูลทอดขนานอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก

ประวัติ แต่เดิมนั้นพ่อค้าจากนางรอง-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ขุนหาญ-ขุขันธ์ เรื่อยไปจนถึงเขมรจะเดินทางมาเข้าติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวโคราชและมักจะพักกองคาราวานเกวียนกันเป็นประจำจนได้ชื่อว่าหมู่บ้านว่า 'บ้านด่านเกวียน' และในขณะพักกองเกวียน พ่อค้าเหล่านั้นก็มักจะนำดินจากสองฟากฝั่งลำน้ำมูลมาทำภาชนะใช้สอยต่างๆ เช่น โอ่ง อ่าง ไหปลาร้า ฯลฯ โดยลอกเลียนแบบจากชนชาวข่าว ซึ่งเป็นกล่มชนที่อาศัยในพื้นที่แต่เก่าก่อน หลังจากนั้นเมื่อนำภาชนะเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาของตนและด้วยคุณภาพพิเศษของภาชนะทั้งในด้านสีสัน ความคงทนต่อการใช้งาน จึงทำให้ภาชนะด่านเกวียนเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนจนได้รับการเผยแพร่มากขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งได้รับความสนใจยิ่งจนกลายเป็นสินค้าหนึ่งในการค้าขายกันในยุคอดีตจนปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนนั้นอยู่ที่ดินที่นำมาใช้ กล่าวคือ ดินด่านเกวียนเป็นดินเหนียว เนื้อละเอียดที่ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล(ซึ่งห่างออกไปจากทางหลวง 224 ประมาณื 2-3 กม.) ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า 'กุด' หรือแม่น้ำด้วน (ลักษณะลำน้ำที่คดเคี้ยว กัดเซาะตลิ่งจนขาดและเกิดลำน้ำด้วนขึ้น ส่วนที่เป็นแนวกัดเซาะจะกลายเป็นแหล่งทับถมดิน ดินดังกล่าวนี้เป็นดินซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษง่ายต่อการขึ้นรูป ทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกง่าย และที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ดินนี้เมื่อถูกเผาจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีแดงซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก หรือสนิมเหล็กที่มีอยู่จำนวนมากในเนื้อดิน



//www.ttt.co.th/tclub/news/newsdetail.php?NewsID=86

ลิ้งค์โอทอปสุดคลาสสิกที่ด่านเกวียน คลิกที่นี่








บล็อกที่แล้ว คลิกที่นี่








autostart="true"loop="0"hidden="true">





Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2551 17:01:40 น. 14 comments
Counter : 1129 Pageviews.

 


ค่ะแล้วพรุ่งนี้จะแวะมาชมด่านเกวียนต่อ
ราตรีสวัสดิ์


โดย: อุ้มสี วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:01:45 น.  

 

ยินดีต้อนรับสู่เมืองคุณย่าโม โคราชครับ



เก็บภาพตอนไปเที่ยวที่ไร่ฟักทองยักษ์ในฟาร์มจิม ทอมป์สันมาฝากด้วยครับ
อยากดูแบบเต็มๆ Click ที่ภาพได้เลยนะ

ตอนที่ 5 แ ว ะ เ ที่ ย ว ช ม ไ ร่ ฟั ก ท อ ง ยั ก ษ์




โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:03:11 น.  

 

สวัสดีตอนบ่าย ของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า






** มีความสุขกับวันแรกของการทำงานนะจ้า **



มาเที่ยวชม ด่านเกวียนด้วยคนจ้า ..


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:48:54 น.  

 
ตามมาอ่านค่ะ

Happy Chinese New Year 2008
Wishing You Good Luck Good Fortune And Good Times!





โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:3:06:51 น.  

 





ซินเจี่ยยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้
อังเปาตั่วตั่วไก้

มีร่างกายแข็งแกร่ง จิตใจแข็งแรง
เงินทองมากมี เศรษฐีเร็ววันนะค่ะ
มีความสุขทุกๆวันเวลาเสมอค่ะ

ชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยความรักที่มีให้กับทุกคน
คือชีวิตที่สมบรูณ์และมั่งคั่ง เป็นชีวิตที่งดงาม
และมีพลังไม่สิ้นสุดเสมอ








โดย: catt.&.cattleya.. IP: 58.9.66.189 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:37:11 น.  

 
ตัดจากกรุงเพธุรกิจ



Happiness



ดร. วิมลกานต์ โกสุมาศ


จริต 6 ฉบับฝรั่ง

คนเราเกิดมา ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด สถานะไหนในสังคม เงื่อนไขของการประสบความสำเร็จในด้านการงาน การเงิน และการมีชีวิตอย่างเป็นสุข ก็คือ "การรู้เท่าทันตนเองและเท่าทันผู้อื่น"

Carol S. Pearson นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันแบ่งจริตคนเป็น 6 ประเภท ซึ่งหากถ้าเราได้เข้าใจ จริตมนุษย์ทั้ง 6 ประเภทนี้ไม่เพียงจะทำให้เรารู้จักระบบวิธีคิด แนวโน้มพฤติกรรมซ้ำๆ ของตนเองและของคนอื่น แต่ยังจะทำให้เราสามารถรู้จุดอ่อนจุดแข็ง และแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองได้ด้วย

ในขณะที่จริต 6 แบบพุทธประกอบด้วย โทสจริต โมหจริต วิตรรกจริต ศรัทธาจริต ราคจริต และพุทธิจริต จริต 6 ของ Pearson ประกอบด้วยเด็กกำพร้า (Orphan) นักเดินทาง (wanderer) นักรบ (warrior) ผู้เสียสละ (altruist) เด็กไร้เดียงสา (innocent) และนักมายากล (magician)

จริตเด็กกำพร้า

คือคนที่รู้สึกว่าตนเองอ่อนแอขาดที่พึ่ง ไม่มีอะไรดีในตนเอง ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นอยู่ตลอด อาจเกิดจากการที่ไม่ได้รับความอบอุ่นในวัยเด็ก ถูกรังแก หรือไม่ได้รับการเอาใจใส่จากบิดามารดา ถูกทำให้ผิดหวัง ถูกปลดออกจากงาน ถูกไล่ออกจากโรงเรียน จนทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง

ข้อเด่นของจริตนี้คือ เป็นคนที่มีความอดทน อดกลั้น

จุดอ่อน คือการชอบโทษคนอื่น หรืออดีตที่เกิดขึ้นกับตนเอง ว่าเป็นสาเหตุของความผิดพลาดในชีวิต อย่างเช่น ที่เรียนหนังสือไม่ดี เพราะพ่อ แม่ไม่รัก หรือสามีที่ตบตีภรรยา แล้วบอกว่าทำไปเพราะได้รับอิทธิพลจากพ่อแม่ ซึ่งเคยทำร้ายร่างกายตนในวัยเด็ก

จริตนักเดินทาง

ธรรมชาติของนักเดินทางคือ การรักอิสระ เสรีภาพ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ เบื่อง่าย จะต้องหาอะไรแปลกใหม่ในชีวิตให้ทดลองอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำอะไรนานๆ จะรู้สึกว่าถูกคุมขัง ไม่ชอบระเบียบวินัย ไม่ชอบทำอะไรเหมือนๆ คนอื่น จุดแข็งของคนประเภทนี้มักจะมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ได้ตลอดเวลา แต่ก็จะมีจุดอ่อนในด้านทำอะไรจับจด ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

จริตนักรบ

ได้แก่คนที่มีความสุขกับการเป็นหนึ่ง และการได้ชัยชนะเหนือคนอื่นอยู่ตลอด ทำอะไรก็ต้องทำให้ได้ดีแบบถึงที่สุด มีจุดแข็งตรงที่หยิ่งในเกียรติ มีความสุขสนุกสนานกับการทำงาน และจะไม่ยั่นที่จะต่อสู้ตอบโต้ทันทีถ้ามีใครมารังแกหรือเอาเปรียบ จึงมักจะสามารถปกป้องตนเองและครอบครัวจากภยันตรายทั้งปวง

ข้อเสียคือ จะเป็นคนถือตนเองเป็นที่ตั้งแบบหัวชนฝาเข้าขั้น self-centered ถึงจะเก่งกล้าสามารถอย่างไร ก็คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่มีเวลาทำอะไรให้คนอื่น หมกมุ่นอยู่แต่กับเรื่องงาน และผลประโยชน์ด้านเงินทอง

จริตผู้เสียสละ

คือคนที่มีความสุขกับการทำอะไรให้คนอื่น ทำเพื่ออุดมการณ์ เพื่อสังคม ไม่สนใจความก้าวหน้าด้านการงาน ชื่อเสียงเงินทอง หรือผลสำเร็จส่วนตัว ต้องการจะช่วยคนอื่นอยู่ตลอดเวลา คนประเภทนี้มีจิตใจแสนจะดีงาม แต่จุดอ่อนคือ มักจะเป็นคนที่ไม่รู้จักตนเอง ปฏิเสธความต้องการของตนเอง และอาจจะเกิดอาการเกลียดโลก เกลียดสังคมในที่สุดเมื่อพบว่าทุ่มเทกำลังกายใจให้แล้ว แต่โลกและสังคมไม่เป็นไปตามที่คิด

เด็กไร้เดียงสา

เด็กๆ จะเชื่อว่า ไม่ว่าจะทำอะไร มีปัญหาที่ไหน ในที่สุดพ่อแม่ก็จะคอยมาปกป้องเรา คนที่มีจริตไร้เดียงสา มักจะเชื่อว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็จะมีพลังศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องคุ้มครองอยู่ตลอดเวลาถ้าเราทำตัวเป็นคนดี จุดแข็งของคนประเภทนี้คือ เวลามีอุปสรรคต่างๆ นานาในชีวิต จะฝ่าฟันไปได้ เพราะเชื่อว่าทำดี ได้ดี มี positive thinking อยู่ตลอด ทั้งยังเชื่อด้วยว่าเราเป็นคนเลือกสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง ถ้าเราเลือกจะมีความสุข เราก็จะสุข ถ้าเราเลือกจะทุกข์ เราก็จะเป็นทุกข์ แต่ใครที่มีจริตเช่นนี้จะมีจุดอ่อน คือ มองโลกเป็นสีชมพูไปเสียหมด ไม่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้ดูคนผิด ประเมินสถานการณ์ผิดแล้วผิดเองอยู่เรื่อยไป

จริตนักมายากล

ธรรมชาติของนักมายากลคือ ชอบที่จะทำสิ่งที่ยากเย็นเข็ญใจที่ใครๆ เขาทำไม่ได้ให้เป็นจริงขึ้นมา เพราะชอบแก้ปัญหา และพลิกฟื้นสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

ข้อดี คือ เป็นคนมองโลกกลางๆ ไม่ดำ ไม่ขาว มีทั้งดี ไม่ดี เป็นคนมีจุดยืน และถ้าทำได้ก็พร้อมที่จะปกป้องจุดยืนของตนเอง รวมทั้งมีปัญญาเห็นข้อดี ข้อเสียขอตนเองอย่างครบถ้วน

ข้อเสียคือ เป็นคนที่ไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่น ยอมรับข้อผิดพลาดของคนอื่นไม่ได้ เพราะตนเองเกิดมามีปัญญาสูง คิดได้ ทำได้ มาโดยตลอด ทำให้ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นจึงคิดพลาด ทำพลาด

การพลิกแพลงใช้ประโยชน์จากจริต 6

Pearson เห็นว่ามีแต่คนไม่ฉลาดที่จะยึดมั่นกับจริตเดิมของตนเอง เมื่อเรารู้จักชนิดของจริตแล้ว เราสามารถเลือกรับจริตต่างๆ มาใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกันได้

อย่างเช่นในยามตกงาน เราต้องหาทางเปลี่ยนจริตจากเด็กกำพร้า มาคิดแบบจริตนักรบ

หรือคนที่มีจริตนักรบ ก็ต้องรู้ตัวว่าสถานการณ์บางอย่างไม่ควรต่อสู้ดิ้นรน แต่ต้องใช้กลยุทธ์ให้ความร่วมมือ หรือเมื่อจริตนักรับต้องไปทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่น ก็จะต้องหันไปรับจริตแบบผู้เสียสละบ้าง นอกจากนี้ในแต่ละช่วงชีวิต เราต้องปรับจริตไม่เหมือนกัน เช่นในวัยเด็กควรมีจริตแบบเด็กกำพร้า ซึ่งยอมโอนอ่อนผ่อนตามผู้ใหญ่ เพราะเรายังขาดประสบการณ์ในชีวิตและยังพึ่งตนเองทางการเงินไม่ได้

ส่วนในวัยหนุ่มสาว เราต้องการจริตแบบนักเดินทาง จะได้คิด แสวงหาว่าเราอยากเป็นอะไร ต้องการอะไรในชีวิตในวัยนี้ เรายังต้องการจริตแบบนักรบด้วย เพื่อจะได้ต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรคในด้านการเรียนและการงาน

เมื่อถึงวัยกลางคน บรรลุความสำเร็จทางโลกแห่งวัตถุแล้ว เราก็ควรจะหันมาใส่ใจเรื่องจิตวิญญาณ และหัดทำอะไรเพื่อคนอื่น และเพื่อสังคมบ้าง ซึ่งก็คือจริตแบบผู้เสียสละและนักมายากล

สิ่งที่ต้องแก้ไข

เด็กกำพร้า ต้องแก้เรื่องขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องหัดทิ้งอดีต และบอกตนเองว่าเราไม่ใช่เด็กแล้ว เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบ หมดเวลาที่จะโทษพ่อแม่ สภาพแวดล้อม เพราะเราคือมนุษย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้

นักเดินทาง ต้องแก้ไขเรื่องไม่ค่อยมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว สนใจแต่ตนเอง

นักรบ ต้องแก้ไขเรื่องการขาดความใส่ใจต่อผู้คนรอบข้าง และครอบครัว หรือที่เรียกว่าอยู่ในข่าย แล้งน้ำใจ

ผู้เสียสละ ต้องฟังเสียงภายในของตนเอง และหัดรู้จักตนเองให้มากขึ้น

เด็กไร้เดียงสา ต้องหัดแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาของตนเอง แทนที่จะใช้ศรัทธาอย่างเดียว

นักมายากล ต้องหัดเห็นอกเห็นใจคนอื่นให้มากๆ


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:07:01 น.  

 
(ต่อ)

Fusion life



พงษ์ ผาวิจิตร (pong@thinkfact.com)

เป็นคนดีต้นทุนแพงกว่าเป็นคนเลว

ลูกสาวผู้เขียนเล่าให้ฟังตอนเรียนอยู่ประถม 6 ว่า ครูเอาเทปเรื่อง 'คนโกงลิง' มาฉายให้ดู โดยสอนให้ลิงเล่นไพ่เป็นอย่างถูกกติกา เสร็จแล้วก็ทำเป็นชะโงกหน้าดูไพ่ในมือของลิง ปรากฏว่าลิงอ้าปากค้าง งง!ในพฤติกรรมของมนุษย์ขี้ฉ้อ เมื่อนักวิทยาศาสตร์เพิ่มดีกรีความงี่เง่ามากยิ่งขึ้น โดยให้คนคนหนึ่งเดินอ้อมหลังลิง พร้อมกับส่งสัญญาณให้กับคนที่เล่นไพ่กับลิงว่า ไพ่ในมือของลิงมีเบอร์อะไรบ้าง ปรากฏว่า ครั้งนี้ลิงเลิกเล่น เดินหนีพร้อมกับส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว แสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่เราเรียกว่าเดรัจฉานนั้น เกลียดการโกง..

เรื่องทำนองนี้คล้ายๆ กับเรื่องที่ผู้เขียนเคยอ่านเจอว่า นักวิทยาศาสตร์สอนให้ลิงรู้จักการให้และรับอย่างเป็นธรรม โดยทุกครั้งที่คนให้อาหารลิง ลิงก็จะให้ลูกหินกลับเป็นการแลกเปลี่ยน แต่แล้วจู่ๆ นักวิทยาศาสตร์ก็เปลี่ยนเกม โดยการเอาลิงมาอีกตัวหนึ่ง แล้วก็ให้อาหารกับลิงตัวใหม่โดยเสน่หา ปรากฏว่าตอนแรกลิงตัวที่ต้องแลกเปลี่ยนอาหารด้วยลูกหิน ทำนองผลประโยชน์ต่างตอบแทน แสดงอาการไม่พอใจ ครั้นนักวิทยาศาสตร์มีพฤติกรรมเอื้อผลประโยชน์ต่อลิงอีกตัวต่อไป ปรากฏว่าลิงตัวแรกหยุดการแลกเปลี่ยนเฉยๆ เรียกว่ายอมอดตายดีกว่ายอมรับความอดสูจากความไม่เป็นธรรม นี่แสดงให้เห็นว่าสัตว์เดรัจฉานที่ใกล้มนุษย์ที่สุด เกลียดความไม่เป็นธรรม..

ถ้าอย่างนั้น พวกที่ชอบเอาเปรียบและโกง ก็พึงสังวรไว้ว่า วันหนึ่งคนที่ท่านเอาเปรียบจะลุกขึ้นมาต่อต้านแบบลิงกำลังจะมาถึงแล้ว โดยเฉพาะหากเกิดกับคนไทยแล้ว จะเป็นเหมือนสายน้ำที่ไม่มีวันหวนกลับ เนื่องจากคนที่มีวัฒนธรรมอดทนสูง ชอบประนีประนอมอย่างพวกเรา ไม่ต่างกับวัฒนธรรมมุสลิมแนวอนุรักษนิยมที่ไม่สุงสิงกับใคร แต่เมื่อผ่านจุดเดือดแล้วก็ยากที่จะเยียวยาในภายหลัง ผิดกับวัฒนธรรมที่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตะวันตก ที่มีโอกาสกลับไปเยียวยาได้ง่ายกว่าของเรา

ดูง่ายๆ คือคนที่ติ๋มๆ เงียบๆ ที่ถูกคนรอบข้างกดดัน พอบ้าขึ้นมา ก็เอาปืนออกมากราดยิงแบบไม่มีเหตุผลอย่างที่เป็นข่าวทั้งในและต่างประเทศ ปรากฏการณ์อย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องจริยธรรม ศีลธรรม แต่เป็นสัญชาตญาณที่ฝังอยู่ในดีเอ็นเอของสัตว์ หาใช่ว่าลิงนั้นมีจริยธรรมเกลียดการโกง หรือความไม่เป็นธรรม แต่ด้วยวัฒนธรรมกบกดเงียบเฉยประนีประนอมแบบไทยๆ ต่างหากที่เป็นเรื่องของวัฒนธรรม จริยธรรมที่ทำให้เราทนได้นานกว่า หาใช่ทนได้ตลอดไปไม่ แต่เมื่อระเบิดก็จะระเบิดได้แรงกว่าเช่นกัน ตามกฎของพลังงานที่ไม่สูญหายไปไหน

ถ้าท่านไม่เชื่อจะยกปรากฏการณ์บางอย่างในสังคมไทยให้ดู...

... ปัญหารัฐบาลทักษิณ 2 หาใช่เกิดจากเรื่องการขายหุ้นไม่ แต่เกิดจากการสะสมความไม่พอใจหลายๆ เรื่องในอดีต จนปัญหาเรื่องหุ้นเป็นฟางเส้นสุดท้าย

....เช่นเดียวกับปัญหาคอมมิวนิสต์ในอดีตที่คนเข้าป่า เพราะความไม่เป็นธรรมในสังคมอันเกิดจากอำนาจรัฐ เฉกเช่นที่เกิดจากปัญหาชายแดนภาคใต้ของเรา ที่ในอดีตเรามักทำโทษข้าราชการเลวๆ โดยส่งไปประจำชายแดน แล้วท่านก็จินตนาการเอาเองว่า คนที่ไกลปืนเที่ยง ขาดคนควบคุมจะไปก่อกรรมทำเข็ญได้มากขนาดไหน อันส่งผลถึงความไม่สงบในปัจจุบัน มะเร็งกว่าจะก่อตัวต้องใช้เวลานานฉันใด การรักษามะเร็งก็ต้องใช้เวลานานฉันนั้น หากไม่ตายเสียก่อน

....ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารอาคารสูง ในช่วงนั้น ผู้เขียนเกี่ยวข้องกับตลาดนี้ พบว่าหากผู้อยู่อาศัยเกิน 20% ไม่ยอมให้ความร่วมมือจ่ายค่าบริการส่วนกลาง อีก 80% ที่เป็นคนดีจ่ายตลอด ก็จะเริ่มเบี้ยว

ท่านลองสังเกตตัวเองว่า วันไหน หากมีรถขับปาดหน้าไปแทรกข้างหน้าเยอะๆ เข้า เราเองก็อดขับไปแทรกกับเขาด้วย เพราะไม่มีใครยอมเป็นคนดีที่โง่ให้คนอื่นเอาเปรียบ เช่นเดียวกับปัญหาของสรรพากรที่หากเอื้อให้กลุ่มใดไม่ต้องเสียภาษี คนกลุ่มอื่นๆ ก็จะเริ่มหลบภาษีเช่นกัน

ปัญหาใหญ่ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ในสังคมไทยคือ พวกเราทำให้ต้นทุนของการเป็นคนดีแพงกว่าเป็นคนเลว ที่ไหนๆ ในโลกเขาก็ทำให้คนเลวมีต้นทุนแพงทั้งนั้น ยกเว้นประเทศนี้ที่ออกกฎหมาย ระเบียบหยุมหยิมมากำราบคนดี เพราะคนเลวเขาก็ไม่สนใจกฎหมายอยู่แล้ว เพราะกฎหมายบ้านเราเอาไว้ขู่คนดี อาจเป็นเพราะว่าพวกเราเป็นนักการตลาดหัวก้าวหน้ากระมัง จึงหากินกับคนดีที่มีมากกว่าในสังคม โดยละเลยคนเลวที่มีเพียงหยิบมือ แต่ก็ขอให้เราเตือนตัวเองว่า ให้หันไปดูเรื่องลิง ที่ปรากฏการณ์ระเบิดกำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ขอยกตัวอย่างต้นทุนการเป็นคนดีของสังคมไทย..

... การจราจร - หากท่านสังเกตให้ดี วันดีคืนดี ทางเลี้ยวที่ถูกกฎหมายของเราก็จะกลายเป็นผิดกฎหมาย โดยไม่มีการเตือน แล้วก็จะมีจราจรมาจับเราเหมือนกับโจร ผู้เขียนเคยเป็นคนดีแถวๆ เพชรเกษม ปรากฏว่า ยูเทิร์นที่ห้ามเลี้ยวในวันนั้น ทำให้ผู้เขียนมีต้นทุนต้องขับไปไกลอีก 18 กม. ถึงจะเลี้ยวกลับมาได้ แล้วอย่างนี้ใครที่ไหนอยากจะเป็นคนดี เราจึงมี "ชาวสวน" คือพวกชอบขับรถสวนเยอะขึ้นทุกวัน โดยตำรวจไม่ทำอะไร อีกหน่อยพวกเราก็จะทำตามบ้าง

... ภาษี - คนที่อยู่ในระบบภาษี มักจะถูกสรรพากรตามล้าง หากเสียภาษีขาดไปก็จะมีบทปรับ แต่เสียเกิน ไม่เห็นเราปรับสรรพากรได้บ้าง ดีหน่อยที่มีดอกเบี้ยให้ แต่ก็ต่ำกว่าค่าปรับหลายเท่า พอร้องเรียนก็ว่า มันเป็นกฎหมาย

....พวกอิทธิพล - ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่ คิวมอร์เตอร์ไซค์ แท็กซี่ โรงเลื่อยไม้ ที่ทำผิดกฎหมายด้วยต้นทุนการทำถูกกฎหมายของพวกเรา แถมต้องเสียภาษี แต่พวกทำผิดกฎหมายไม่ได้เสียภาษีให้รัฐอยู่แล้ว กลับได้ใช้สมบัติสาธารณะอย่างไม่มีต้นทุน

...การสอบเข้าเรียนต่อ- เด็กที่สอบเข้าเรียนต่อในระดับต่างๆ มักเจอปัญหาคนเส้นใหญ่ที่ไม่ต้องสอบแต่อาศัยการฝากเข้า แล้วอย่างนี้จะไปขยันเรียนทำไม เพราะการขยันเรียนหมายถึงการแข่งขันกับคนอีกหลายพันหลายหมื่น สู้ขยันเลียผู้มีอำนาจเพียงคนเดียวมิง่ายกว่าหรือ

...การป้องกันตนเอง- หากเราพกปืน จะผิดกฎหมาย แต่พวกทำผิดกฎหมายกลับมีปืน และผู้ที่มีหน้าที่ป้องกันเรา ก็ต้องรอให้เราเป็นใหญ่เป็นโตเสียก่อน ถึงจะมาดูแลเรา ยิ่งการทะเลาะวิวาทด้วยแล้ว เรียกว่า เราตีหัวเขาก่อน ก็เสียแค่ค่าปรับ 500-1,000 บาท

... การใช้ที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการรุกล้ำทางน้ำ สวนสาธารณะ จอดรถกีดขวาง โดยมีผู้มีอิทธิพลให้การปกป้อง แม้แต่การได้สิทธิในสัมปทานบางอย่างอย่างไม่เป็นธรรม

ท่านลองร้องเรียนดูซิ คำตอบที่ได้คือ มันเป็นกฎหมาย (แปลว่า หากเราอยากได้ความเป็นธรรมเอง ก็ต้องไม่ทำตามกฎหมาย) ไปทำเรื่องร้องเรียนเอาซิ (โดยเราต้องร้องเรียนกับคู่กรณี เหมือนกับเราฟ้องโจรว่าโจรแกล้งเรา อย่างนี้เขาจะฟังเราหรือ) หนักหน่อย ก็คือ ต้องร้องเรียนศาลปกครอง ที่มีต้นทุนมหาศาลสำหรับพวกหาเช้ากินค่ำอย่างเรา แถมมีวัฒนธรรมประนีประนอมเสียอีก

ดังเรื่องที่เพื่อนผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า มีแหม่มรัสเซียไปขโมยของสมาชิกในสปอร์ตคลับแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่จับได้ จึงต้องแจ้งความกับตำรวจ แหม่มสาวรายนั้น ก็นั่งรอตำรวจอย่างทองไม่รู้ร้อน เพราะรู้ว่าคนไทยกลัวเรื่องโรง เรื่องศาลมาก ปรากฏว่าเป็นไปตามคาด หญิงสมาชิกชาวไทยพอรู้ว่าต้องไปโรงพักยุ่งเกี่ยวกับตำรวจ ก็ไม่เอาเรื่อง แหม่มสาวก็ลอยนวล

และก็เรื่องที่ชาวแท็กซี่โทรเข้ามาในรายการวิทยุอยู่บ่อยครั้งว่า เจอข้อหารับชาวต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งแสดงถึงความไม่เป็นธรรมอีกเหมือนกัน เพราะใครจะไปรู้ว่าเป็นชาวต่างด้าวผิดกฎหมาย ในเมื่อเรามีกฎหมายเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ และแท็กซี่ก็ไม่มีหน้าที่ไปขอดูพาสปอร์ตใครได้

ด้วยสื่อที่แพร่หลายอย่างปัจจุบันนี้ เชื่อว่า Smart Mobs กำลังจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยในเร็วๆ นี้ ดังที่เขาเล่าในหนังสือชื่อ Tipping Point เขียนโดยนายมัลคอล์ม แกลดเวลล์ ที่มีคนแปลเป็นภาษาไทยแล้ว และอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก็ได้ทำวิจัยว่าด้วยเรื่องการเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ทำงานมาหลายปีแล้ว

สำหรับสังคมไทย ความพยายามในเรื่องนี้มีมากขึ้น อย่างสื่ออิสระแบบ //www.prachathai.com , //www.pantip.com หรืออย่าง //www.prachapiti.org ที่พยายามทำตัวเป็นสื่อกลาง ในการสร้างอำนาจต่อรองเรียกร้องความเป็นธรรม ในประเด็นของการใช้สมบัติสาธารณะ

เรื่องนี้ดูเหมือนไกลตัว แต่มันใกล้ตัวสำหรับวิถีชีวิตของคนตัวเล็กๆ ที่เลือกจะอยู่อย่างเรียบง่าย ก็ต้องมีกลไกการป้องกันตัวเรา เพราะไม่มีอำนาจต่อรองของสถาบันต้นสังกัดคุ้มกะลาหัวเรา


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:09:26 น.  

 



โดย: คนสาธารณะ วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:37:45 น.  

 
คัดจากคมชัดลึก

"สมัคร"อ่วมพวกกันเองถล่ม "อดิศร"จี้ ขอโทษประชาชน


เตือนอย่านำเหตุการณ์ 6 ตุลา มาเป็นเรื่องล้อเล่น เปรียบฆ่าหมู่กรือเซะ รมต.ก็ไม่ได้สั่งยิง สาปส่งตัวการต้องชดใช้หนี้กรรม เด็ก พปช.ชี้หากเป็นมวย ก็เหมือน "สมัคร" โดนน็อก ด้านคนตุลาในรัฐบาลแนะตั้ง กก.ชำระประวัติศาสตร์ "อภิสิทธิ์" โต้รุม-ปัดก้าวร้าวผู้ใหญ่ ขณะที่ กกต.นัดลงมติใบแดง "ยงยุทธ" 26 ก.พ.นี้


วิวาทะระหว่าง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการพาดพิงไปถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนทำให้นายสมัครออกมาท้าสาบานว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์นั้น ไม่เพียงแต่จะมีฝ่ายค้านเท่านั้นที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ แม้แต่บุคคลในพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มคนเดือนตุลา ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีของนายสมัครเช่นกัน

นายอดิศร เพียงเกษ หนึ่งใน 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และอดีตแกนนำนักศึกษาที่เข้าร่วมเหตุการณ์เดือนตุลา กล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 นั้น ฝ่ายเผด็จการได้เข้าปราบปรามประชาชนครั้งยิ่งใหญ่และโหดร้ายที่สุดของประเทศไทย และเมื่อวันนี้มีการพูดถึงกันมาก ก็ควรที่ใช้จะโอกาสนี้ชำระประวัติศาสตร์ ซึ่งสมัยตนเป็น รมช.ศึกษาธิการ ได้พยายามชำระประวัติศาสตร์ 3 เรื่อง แต่สำเร็จไปเรื่องเดียว คือ กรณีเสรีไทยที่ทุกฝ่ายมีความเห็นทางประวัติศาสตร์ตรงกัน ส่วนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 นั้น ไม่สามารถชำระประวัติศาสตร์ได้ เพราะมีความเห็นที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเท็จจริง

นายอดิศร กล่าวว่า สำหรับตนนั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 มากกว่า 6 ตุลา 2519 แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการปกครองแบบเผด็จการหลัง 6 ตุลา ยุคนั้นต้องเข้าป่ากับครอบครัว จนน้องชาย คือ “สหายหมอก” เสียชีวิตในป่า และวันนี้ยังหากระดูกไม่เจอ

“เหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกันเล่นๆ หรือพูดแล้วมีความสุข เพราะเป็นเหตุการณ์แห่งความสูญเสีย จึงอยากให้ทุกฝ่ายสงบสติอารมณ์ สงบปากสงบคำเพื่อร่วมกันสร้างความเป็นจริง โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวและนักศึกษาที่ต้องเสียชีวิตจำนวนมาก” อดีตแกนนำนักศึกษา กล่าว

นายอดิศร กล่าวว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสังหารในเหตุการณ์ 6 ตุลา ต้องชดใช้กรรม ชดใช้หนี้ และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่การฟื้นฝอยหาตะเข็บ เพราะประวัติศาสตร์ที่เป็นบาดแผลสังคมควรได้รับการสะสาง เนื่องจากถ้าคิดว่าเป็นการฟื้นฝอยนั้น เราก็จะลืมเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 หรือลืมเรื่องกบฏบวรเดช อย่างประเทศเวียดนาม เขาก็ปิดประวัติศาสตร์ตัวเองไปแล้วว่า ชนะอเมริกา แต่เรายังมีประวัติศาสตร์ที่คาใจกันอยู่ ทำให้เวียดนามแซงเราไปแล้ว และที่พูดเรื่องนี้ก็ไม่ใช่การโค่นล้มรัฐบาลด้วย

“ที่นายสมัครสาบานว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารนักศึกษาในเหตุการณ์นี้นั้น ความจริงกรณีสังหารประชาชนในมัสยิดกรือเซะ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเขาก็ไม่ได้สั่งให้ยิงประชาชนโดยตรง เรื่องนี้ไม่ควรเอาศพวีรชนมาพูดเล่นๆ มีเรื่องอื่นมากมายที่นายสมัครควรจะพูด ไม่เข้าใจทำไมถึงพูดเรื่องนี้บ่อยๆ ระวังมิตรจะกลายเป็นศัตรู เพราะพูดไปแล้วก็ไม่ได้สร้างความปรองดองให้กับประเทศ ขอร้องอย่ามาล้อเล่นกับประวัติศาสตร์ วันนี้น่าจะขอโทษประชาชนมากกว่า ส่วนที่นายสมัครระบุว่ามีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวนั้น ทุกอย่างก็สะท้อนจากภาพ คนตายฟรีมีจำนวนมาก” นายอดิศร กล่าว

นายอดิศร กล่าวอีกว่า หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ตั้งรัฐบาลหอยเข้ามาปกครองประเทศ ถือเป็นยุคเผด็จการน่ากลัวที่สุด รัฐบาลหอยได้จ้องทำลายกวาดล้างเสรีภาพประชาชน ขนาดพ่อตนแม้จะหนีเข้าป่าแต่ก็เกือบเสียชีวิต เพราะมีการตามล่า เช่นเดียวกับผู้นำชาวกรรมการจำนวนมาก ดังนั้น วันนี้ผู้ที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลา น่าจะเป็นคนกลาง เช่น สื่อมวลชน หรือองค์กรสากลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ก็อาจมีปัญหาว่า เป็นการสูญเสียอธิปไตยของชาติหรือไม่ เพราะหากจะให้นายสมัครในฐานะผู้นำรัฐบาลเป็นผู้ริเริ่ม ก็อาจถูกมองได้ว่า ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยเหลือตัวเองโดยไม่ควรเอาคนที่อยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา มาเกี่ยวข้อง เพราะพวกเราถูกมองว่าเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ไปแล้ว ที่พ่ายแพ้ต่ออุดมการณ์ในการต่อสู้กับขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์ในป่า

"สมศักดิ์"แนะตั้งกก.ชำระประวัติศาสตร์

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะคนเดือนตุลา กล่าวถึงการตอบโต้เรื่อง 6 ตุลา 2519 ระหว่างนายสมัครกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนคิดว่าส่วนหนึ่งประชาชนที่ไม่ได้มีส่วนร่วม หรือคนรุ่นหลังได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลในบางส่วน แต่ประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ที่จะต้องมีการชำระให้เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครบิดเบือนได้

“ผมเชื่อว่า การชำระประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 16 ก็ดี หรือ 6 ตุลา 19 ก็ดี มันต้องมีการชำระสะสางแน่นอน เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง มีข้อมูลครบมูลและรอบด้าน ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีใครเหนี่ยวรั้งและขัดขวางได้ มันต้องเป็นไปตามกระบวนการชำระประวัติศาสตร์อยู่แล้ว” นายสมศักดิ์ กล่าวและว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ควรจะทำ ถ้าหากสังคมยังเคลือบแคลง อยากเห็นความจริง ก็น่าจะร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นความจริงของแผ่นดิน

ต่อข้อถามว่า ที่นายสมัครบอกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา มีคนเสียชีวิต 1 คน จริงหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ก็เป็นความคิดเห็นข้อมูลของนายสมัคร ซึ่งตนเชื่อว่า สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์นั้นก็จะปรากฏออกมา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นายสมัครก็พูดว่า นายสมัครเห็นคนเดียวที่สนามหลวง ถามว่าผิดหรือไม่ก็คงไม่ผิด ถ้านายสมัครเห็นของตอนนั้น แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้น ตนคิดว่าสื่อมวลชนและประวัติศาสตร์ก็คงจะบอกได้

"เฉลิม"โยนถาม"สุธรรม"ชี้รู้เรื่อง6ตุลาดีสุด

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวถึงการหารือกับนายสมัครในช่วงที่นายสมัครไปรับประทานอาหารที่โรงอาหารรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ว่า ไม่มีอะไร ไม่มีการปรับทุกข์ เพราะเป็นนักการเมืองต้องแข็งแกร่ง

เมื่อถามว่า มองเหตุการณ์ที่นายสมัครตอบโต้นายอภิสิทธิ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 อย่างไร รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ที่พูดกันมานั้นไม่รู้จริง ช่วงนั้นตนเป็น ร.ต.อ. สังกัดกองปราบปราม โดยอยู่ฝั่งตรงข้ามหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาเหตุของเรื่องนี้ คือ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี บวชเณรเข้าประเทศ และจำวัดที่วัดบวรนิเวศฯ เดิมนั้นมีการประท้วงที่ท้องสนามหลวง จากนั้นก็ย้ายมาที่ลานโพธิ์ แล้วก็มีภาพแขวนคอ ตอนนั้นตนอยู่แถวนั้น และช่วงเช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตำรวจกองปราบปรามคนหนึ่งที่ตายไปแล้ว วันนั้นเมาเหล้าแล้วทำปืนลั่น ฉะนั้น คนที่กล่าวหานายสมัครจึงเข้าใจผิด เพราะเหตุเกิดช่วงเช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตอนนั้นนายสมัครยังไม่ได้เป็น รมว.มหาดไทย เมื่อเกิดการปฏิรูปฯ โดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ จากนั้นแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสมัครก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น รมว.มหาดไทย ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ภาพแขวนคอนั้นตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยมาจากการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ จ.นครปฐม ฉะนั้น คนที่พูดก็เพ้อเจ้อ เลอะเทอะ

“คนพูดนั้นเลอะเทอะ พูดไม่รู้เรื่อง รู้ไหมใครรู้เรื่องดีที่สุด คือ นายสุธรรม แสงประทุม อดีตเลขาธิการ สนนท. ที่โดนจับไปขังที่กองปราบฯ สามยอด ผมไปเยี่ยมนายสุธรรมเป็นคนแรก เอาข้าวและน้ำไปให้ เอาเสื้อผ้าไปให้เปลี่ยน เพราะไม่มีใครกล้าไปเยี่ยม ผมพูดได้เพราะเคยตามนายสุธรรมในช่วงนั้น” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

ต่อข้อถามว่า ในช่วงนั้นนายสมัครจัดรายการวิทยุยานเกราะ และปลุกระดมมวลชนไปทำร้ายนักศึกษา ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า การโจมตีว่า นายสมัครใช้อำนาจปราบปรามนักศึกษานั้นไม่มี เพราะช่วงนั้นนายสมัครยังไม่ได้เป็น รมว.มหาดไทย แต่การจัดรายการวิทยุยานเกราะในช่วงนั้น คือ นายอาคม มกรานนท์ ทมยันตี พ.อ.อุทาน สนิทวงศ์ และนายอุทิศ นาคสวัสดิ์ ที่ใช้สถานีวิทยุแห่งนั้นปลุกระดม ไม่ใช่นายสมัคร อย่างไรก็ตาม เรื่องมันจบแล้วก็ขอให้เลิกกัน ขอให้สมานฉันท์

ชี้ถ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงคงเจอดี

นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคนเดือนตุลา กล่าวถึงกรณีที่นายสมัครระบุว่า มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เพียงคนเดียว ว่า นายกฯ กำลังเบี่ยงข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ทั้งหมด และที่นายกฯ บอกว่า ไปยืนดูที่ท้องสนามหลวง แล้วเห็นคนลากศพไปมาเพียงศพเดียว แล้วก็เอาไปพูดกับต่างชาติว่ามีคนตายคนเดียวนั้น นายกฯ กำลังโกหก ทั้งที่ตัวท่านรู้ดีว่ามีคนตายมากกว่า 1 คน และในฐานะที่ตนเป็นพยานบุคคลที่ยังหลงเหลือจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เฉพาะที่ตนโดนยิงในเหตุการณ์ในขณะนั้นก็มีคนถูกยิงเสียชีวิตข้างๆ ตนอีก 5 คน และตอนที่ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ก็เห็นผู้เสียชีวิตอีกมากมาย คงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนตายเพียงคนเดียว ข้อเท็จจริงคนเขารู้กันทั้งโลก มีคนตายเกินกว่า 30 คนอย่างที่ระบุไว้ในประวัติศาสตร์ และผู้ที่รู้เรื่องนี้ดีก็ยังมีอีกเยอะ โดยเฉพาะสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทั้ง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.การคลัง หรือนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

"ผมว่านายกฯ กำลังกินปูนร้อนท้อง อาจเพราะรู้สึกว่าถ้ามีภาพคนตายเยอะอาจมีผลเกี่ยวข้องกับตัวเอง เพราะในขณะนั้นท่านได้ลาออกจาก รมว.มหาดไทย และได้ไปจัดรายการวิทยุด่านักศึกษา เป็นชนวนของความรุนแรงทั้งหมด และที่ท่านบอกว่า ไปยืนดูเหตุการณ์ที่สนามหลวง ผมอยากจะบอกว่า คนที่สนามหลวงนั่นแหละที่เป็นพวกที่เข้าไปฆ่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงไม่ต้องสงสัยว่า นายกฯ อยู่ฝ่ายไหน ไม่ว่านายกฯ จะสาบานอย่างไรก็ตาม หรือจะแกล้งว่าเห็นคนตายคนเดียว ผมก็คิดว่านายกฯ โกหกตัวเอง พูดไม่จริง และที่นายกฯ สาบาน ผมก็คิดว่าถ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง นายกฯ ก็คงโดนดีสักที" นายวิทยา กล่าว

"มาร์ค"โต้-ปัดก้าวร้าว

นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ช่วงที่มีการตอบโต้กับนายสมัคร ว่า สิ่งที่ตนนำเสนอทั้งหมด เป็นช่วงที่นายกฯ อาจติดใจ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประคับประคองประชาธิปไตย และทำอย่างไรให้ระบบการเมืองของเราเดินไปได้ โดยมีเรื่องสำคัญที่เป็นเรื่องพื้นฐานของประชาชนด้วย คือ เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ไม่ทราบว่านายกฯ มีเหตุผลอะไรที่จะเลือกเปลี่ยนบรรยากาศ ให้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

ส่วนที่นายสมัครระบุว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นเด็กแต่กลับพยายามมาอบรมผู้ใหญ่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะในเนื้อหาสาระทั้งหมดและนโยบาย นายกฯ ไม่ได้ตอบอะไรเลย

"ถ้าท่านอ้างว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วมีที่ไหนห้ามคนอายุ 43 แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่างสุจริต สุภาพ แต่ไม่ถูกใจคนอายุมากกว่า ผมให้ความเคารพผู้อาวุโส แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของผมนั้น เสนอทุกอย่างไปตามข้อเท็จจริง ไม่มีอะไรที่ผมพูดแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงที่ท่านบอกว่า ผมเด็กเกินไปอาจจำไม่ได้ ก็ถูก แต่เมื่อคนรุ่นเดียวกับท่านเตือนว่า ท่านลืมไปแล้ว แต่ผมศึกษาประวัติศาสตร์ต่อ ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะเรื่องอะไรที่อายุมากกว่าเราก็ไม่มีสิทธิจะรู้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงหรือไม่ที่อาจถูกมองว่าก้าวร้าวผู้ใหญ่ นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า คงไม่ใช่การก้าวร้าว ไปเปิดเทปดูได้ว่าการวางตัว การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ที่สำคัญเป็นการพูดเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ว่าอันตราย หรือความล่อแหลมในทางการเมืองยังมีอยู่ และจะแก้ไขอย่างไร

ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ รุมนายสมัครนั้น นายอภิสิทธิ์ โต้ว่า ไม่มีเรื่องรุม แต่บังเอิญนายสมัครตอบโต้ตนว่า คงอายุน้อยเกินไปที่จะรู้ ตนจึงบอกว่าได้ศึกษาจากประวัติศาสตร์ ท่านก็ได้ไปพาดพิงนายชวนเอง นายชวนจึงต้องออกมาชี้แจง สิ่งที่เกิดขึ้นตนคิดว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรีในการที่จะใช้อารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่อย่างน้อยท่านก็ฟังและชี้แจง ซึ่งถ้ากระบวนการทำงานเป็นอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรและไม่ยืดเยื้อ ไม่มีการประท้วงยืดยาวเหมือนก่อน

"สุเทพ"เปรียบยอดฝีมือ 2 ฝ่ายต่อสู้กัน

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนเข้าประชุมรัฐสภาในการแถลงนโยบายรัฐบาลถึงการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ว่า ถือว่าดี แต่ละฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อเสนอแนะอย่างตรงไปตรงมา ฝ่ายค้านก็ได้ทำหน้าที่สมศักดิ์ศรี เสนอแนะอยู่ในกรอบของกฎเกณฑ์กติกามารยาท

ส่วนกรณีที่สื่อมวลชนเสนอข่าวว่า มีการปะทะ สอนมวยกันระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าอาจจะเป็นมุมมองของแต่ละฝ่ายที่เห็นภาพการพูดจาอย่างนั้นกลายเป็นการปะทะกันไป แต่สำหรับตนที่อยู่กับการเมืองมา 30 ปี เห็นว่าทั้งสองฝ่ายได้พูดจาอภิปรายอยู่ในกรอบไม่ได้ลุแก่โมหะ โทสะ

“ถ้าอ่านหนังสือกำลังภายในก็บอกว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างยอดฝีมือของบู๊ลิ้มทั้งฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ส่วนใครจะเป็นฝ่ายธรรมะกับอธรรม ผู้ชมก็เป็นผู้ตัดสินใจเอาเอง” นายสุเทพ กล่าว

ส่วนมุมมองที่ว่าการอภิปรายของฝ่ายค้านไม่ใช่เป็นการอภิปรายในนโยบายรัฐบาล นายสุเทพ กล่าวว่า การอภิปรายนโยบายตามรัฐธรรมนูญระบุว่าให้อภิปรายได้ถึงเนื้อหาสาระของนโยบายว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่ อย่างไร รวมถึงผู้ที่ปฏิบัติตามนโยบายนั้น ซึ่งการพูดถึงเหตุการณ์เดือนตุลา เป็นเพราะนายสมัครไปให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ที่มีคนตายหนึ่งคน ซึ่งเมื่อนายสมัครพูดไม่จริงฝ่ ายค้านก็ต้องทักท้วง เพราะคนเป็นนายกฯ ต้องพูดเรื่องจริง ต้องไม่โกหก ไม่บิดเบือน

เมื่อถามว่า นายสมัครบอกว่าไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นายสุเทพ กล่าวว่า ก็ให้คนไทยคนอื่นๆ ได้ตระหนักว่า นายกฯ พูดอย่างนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง ที่สำคัญก็คือว่าคนที่เคยถูกตามฆ่าถูกไล่ล่า ก็มานั่งตาสลอนอยู่ในรัฐบาล ไม่รู้สึกอับอายกันเองก็ช่วยไม่ได้

พปช.รับ"สมัคร"ถูกน็อกกลางสภา

เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 2 (สมัยสามัญทั่วไป) โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธาน เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเป็นวันที่สอง

นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง พรรคพลังประชาชน ได้ขอหารือถึงเหตุการณ์ที่เกิดในการประชุมเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ได้อภิปรายตอบโต้กัน ถือเป็นวิวาทวาทะ และเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย วันนี้ทุกภาคส่วนกำลังจับตาดูได้รับรู้ ซึ่งไม่ทราบเรื่องนี้จะได้ข้อยุติอย่างไรในประเด็นนี้ เรากำลังจะมีคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองเพื่อเข้ามาศึกษา แต่คิดว่าเรื่องครั้งนี้ก็ทำให้ประวัติศาสตร์ชัดเจนมากขึ้น

"เพราะเมื่อฟังจบ ถ้าเป็นมวยก็เหมือนโดนน็อก" นายอิทธิรัตน์ ระบุ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอหารือทันทีว่า เท่าที่ฟังก็รู้สึกไม่สบายใจ การอภิปรายดังกล่าวไม่ถือเป็นการแสดงวิวาทวาทะ ไม่มีใครน็อกใคร ทุกคนต้องยอมรับความจริงว่าในสภามีการใช้ปัญญา แต่หากไม่มีปัญญาก็อยู่ที่ตัวบุคคล ซึ่งความจริงบางเรื่องผ่านมา 20-30 ปี ก็ต้องบอกลูกหลานให้รับรู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะกลัวจะลืมกำพืดและยังไม่มีใครถูกน็อกด้วย



โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:30:39 น.  

 
คัดจากกรุงเทพธุรกิจ

นักวิชาการจวก'สมัคร'ปิดเบือน6ตุลาฯ บันทึก'เบนเนท'คนตาย300คน

20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 01:00:00


"นักวิชาการ"ตั้งวงชำแหละเหตุการณ์ 14 – 6 ตุลา จวก 'สมัคร'บิดเบือน อ้าง"นิโคลัส เบนเนท"บันทึกมีคนตาย 300 คนและอีก 1,100 คนถูกจับข้อหาเป็นภัยกับสังคม เสนอชำระประวัติศาสตร์นำเป็นบทเรียนทางการเมืองไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้จัดเสวนา “จาก 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา และพฤษภาเลือดประวัติศาสตร์บาดแผลกับบท(ไม่เรียน) ของเรา” ซึ่งได้รับความสนใจจาก อาจารย์ นักศึกษา และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ รวมถึงสื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่เรารับรู้ก็คือว่า การพยายามทำให้ประวัติศาสตร์ซึ่งควรจะเป็นบทเรียนของบ้านเมืองของเรา เป็นสิ่งซึ่งถูกทำให้คล้ายเป็นเรื่องไร้สาระ สิ่งที่รัฐได้ทำอยู่ตลอดเวลา ผู้ปกครองได้แสดงความเห็น คือการทำให้เรื่องประวัติศาสตร์ไม่น่าสนใจดีที่สุดคือให้ลืมเสีย สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่คือการเมืองภาครัฐที่ทำให้เราลืมมากกว่าทำให้เราจำ นี้คือสงครามทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา ถ้าเราไม่สามารถตกลงอะไรกับอดีตของเราได้ ตนเชื่อว่า ปัจจุบันไม่ดีอย่างที่เราเป็นและอนาคตก็คงไม่สดใส

นายชาญวิทย์ กล่าว ว่า ทางสมาคมจดหมายเหตุสยามพยายามรวบรวมเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อผู้เสียชีวิต ขณะนี้มี 30 รายชื่อพร้อมทั้งรูปภาพประกอบ ภาพนักศึกษาถูกแขวนคอ และถูกตอกลิ่ม ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่ามีคนตายแค่คนเดียวอย่างที่นายสมัครระบุ

นอกจากนี้ นิโคลัส เบนเนท นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวต่างประเทศได้บันทึกไว้ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา มีคนตาย 300 คน และอีก 11,000 คน ถูกจับข้อหาเป็นภัยกับสังคม ซึ่งเนื้อหาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ด้านนายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกาถานำ” เรื่องประวัติศาสตร์บาดแผลกับบท(ไม่)เรียน” ว่า คนไทยเป็นคนที่มีสำนึกทางประวัติศาสตร์สูงยิ่ง แต่ทำไมถึงมีบางคนจำประวัติศาสตร์บางเรื่องบางตอนในอดีตของตนเองไม่ได้ หรือจำได้อย่างเบลอๆ หรืออาจเรียกว่าอย่างบิดเบี้ยวไปได้ อย่างการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระดับนานาชาติ ของ ฯพณฯ นายกของสยามไทยว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา มีคนเคราะห์ร้ายตายไปเพียงคนเดียวเท่านั้น (ซีเอ็นเอ็น) นอกจากนี้ยังกล่าวถึงนักศึกษาที่ถูกจับไปราว 3,000 คน ต่อสำนักข่าว(อัลจาซีรา)นั้นว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกทำร้าย เป็นแนวประวัติศาสตร์ที่มองโลกในแง่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ลึกลงไปการหลงลืมในเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่นั้น

การเคลื่อนไหวปฎิวัติวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และการปราบปรามการชุมนุมของนักศึกษาอย่างนองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือที่เรียกรวมว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม นั้น บอกหรือแสดงให้เราเห็นอะไรบ้าง ประการแรกคือ หากผู้นำการเมืองและสังคมจนถึงปัจจุบันยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบและเจตนารมณ์ของการลุกขึ้นประท้วงในเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็แสดงว่าระบบและสถาบันการเมืองอันรวมถึงบุคลากรทางการเมืองของเราด้วย มีสายตาสั้น และบิดเบือนอย่างยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่การกระทำและการปฎิวัติทางการเมืองในระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยที่สืบทอดกันมานี้ ถึงเต็มไปด้วยความไร้สาระ และไร้ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างยิ่ง

ส่วนกรณี 14 ตุลา แม้ไม่ใช่การปฎิวัติ แต่ผลจากการเคลื่อนไหวอันใหญ่โตที่มีประชามหาชนทุกชนชั้นทุกวงการเข้าร่วมอย่างกว้างขวางมากที่สุด ได้ส่งผลที่เทียบเท่ากับการปฎิวัติผลักดันระบบชีวิตการเมืองไทย ให้เข้าสู่ช่างการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เฉกเช่นทีได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เป้าหมายอันสำคัญยิ่งในการลุกฮือขึ้นประท้วงและนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการถนอม ประภาส ก็คือระบบราชการที่นำไปสู่การสร้างอภิสิทธิชนและการคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบ” นายธเนศ กล่าว

สามทศวรรษที่ผ่านไป รัฐและสังคมไมได้ดำเนินการคลี่คลายปมปัญหาของความขัดแย้งเหล่านั้นอย่างที่ควรจะเป็น กล่าวคือการทำให้เหตุการณ์เดือนตุลาเป็นเรื่องราวที่สังคมและผู้คนส่วนใหญ่รับรู้ทั้งความหมายและเหตุการณ์อย่างที่มันเป็นจริงเหมือนๆกัน ไม่ใช่ยังเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นความทรงจำของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแน่นอนย่อมเป็นความทรงจำที่ขัดแย้งกันโดยเฉพาะหากผู้กระทำยังเป็นฝ่ายกุมอำนาจรัฐอยู่ ในขณะที่ฝ่ายผู้ที่เคยเป็นเหยื่อก็ยังอยู่ในฐานะของผู้ไร้อำนาจและความชอบธรรม ในการพูดถึงความจริง หากเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ 6 ตุลา ก็ยังไม่อาจเป็นประวัติศาสตร์ได้ และก็ยังเป็นแค่ตำนานเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะที่คนเล่าคือคนสร้างความจริง ไม่ใช่เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นมาแล้วจริงๆ

นายธเนศ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่คาใจและข้องใจคนที่รับรู้ประวัติศาสตร์เดือนตุลา ไม่ว่าจะโดยรูปแบบอะไรก็ตาม คือปัญหาว่า เมื่อไรความจริงของเหตุการณ์เดือนตุลาทั้ง 14 และ 6 ตุลา จึงจะปรากฏออกมาชัดแจ้ง และเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้เก็บบทเรียนกันอย่างจริงจังต่อไปได้ พูดได้ว่า นี้คือปัญหาของระบบการเมืองไทยด้วย ที่ไม่อาจเก็บรับและศึกษาบทเรียนจากความผิดพลาด ในอดีตของตนเองได้ ความจริง ความยุติธรรม และความเป็นธรรมจึงเป็นสิ่งที่หายาก เหมือนควานหาเข็มในมหาสมุทร เมื่อเป็นเช่นนี้กระบวนการสร้างและทำให้ประวัติศาสตร์ที่เป็นของประชาชนผู้เสียเปรียบให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาก็ยิ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปแทบไม่ได้

ต่อมา นางสาว กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปลี่ยนผ่านของอดีตฝ่ายซ้ายในการเมืองปัจจุบัน” ที่มหาวิทยาลัย LSE ประเทศอังกฤษกล่าวปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง” 6 ตุลา-บท (ที่ไม่)เรียนของสังคมไทย” ว่า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยและคนที่ไม่ได้ร่วมสมัย 6 ตุลา เติบโตและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาแบบขาดๆเกินๆ เมื่อเริ่มเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ของเขตความเข้าใจที่คนส่วนใหญ่จะไปได้ถึง คือ ภาพการต่อสู้ระหว่างนักศึกษาก้าวหน้าและฝ่ายซ้าย ผู้รักประชาธิปไตย กับการใช้อำนาจและความรุนแรงของฝ่ายรัฐและฝ่ายขวา มันเป็นภาพการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเสี้ยวเดียวของการเข้าใจ 6 ตุลา ที่แท้จริง แล้วเมื่อเงื่อนไขทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ตัวแสดงต่างๆ ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา เปลี่ยนบทบาท และโฉมหน้าไปแล้ว สังคมและการเมืองต่างก็ซับซ้อนขึ้น การเข้าใจ 6 ตุลายิ่งเป็นเรื่องยากมากสำหรับสังคมโดยรวมและคนรุ่นต่อๆมา

นางสาวกนกรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากฟูมฟายถึงความยากและซับซ้อนของกระบวนการสร้างบทเรียน 6 ตุลาให้กับสังคมแล้ว สิ่งที่ตนพยายามจะทำ ในเวลาสั้นๆที่เหลือ คือ การพยายามตอบคำถามที่ว่า ทำไมประวัติศาสตร์ 6 ตุลาจึงกลายเป็น บท (ที่ไม่) เรียนของสังคมไทย ผ่านปรากฏการณ์วิวาทะระหว่าง คุณสมัครกับแรงต้าน และความไม่พอใจที่มีต่อสิ่งที่คุณสมัครพูด

คำตอบเบื้องต้นต่อคำถามหลักนี้ มี 3 เรื่องใหญ่ๆที่โยงกันอยู่คือ ประเด็นที่หนึ่ง การสังคายนาประวัติศาสตร์ 6 ตุลาเป็นเรื่องยากมาก ทั้งในแง่การกระบวนการเขียนประวัติศาสตร์ ซึ่งขาดกระบวนการค้นหาและและความกล้าในการพูดถึงความจริงของ 6 ตุลาที่มากไปกว่าความรุนแรงและจำนวนตัวเลขคนตาย และในแง่ของกระบวนการต่อสู้เชิงอำนาจในการสร้างการรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ภาคประชาชนของไทย ประเด็นที่สอง ในเงื่อนไขการเมืองปัจจุบัน ทำให้สังคมยากที่จะเชื่อมโยง ประวัตศาสตร์ที่ไม่ชัดเจน กับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้มีส่วนร่วมและบทบาทใน เหตุการณ์ 6 ตุลา ประเด็นที่สาม การใช้วิวาทะทางประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง

นางสาวกนกรัตน์ ระบุว่า เราต้องยอมรับความจริงว่า การเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของคนตัวเล็กตัวน้อยของสังคมไทย เป็นเรื่องใหม่มาก เราไม่ได้กำลังพูดถึงการเรียนการศึกษาในระบบ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่หมายถึงกระบวนการเขียน การเข้าถึง และการผลักดันประวัติศาสตร์เข้าสู่การรับรู้ของผู้คน ที่ผ่านมาการเขียน เนื้อหา และช่องทางในการผลักดันการรับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น เจ้าขุนมูลนาย นักการเมือง หรือ ผู้มีอิทธิพลทางธุรกิจ

เพราะการเขียนประวัติศาสตร์ภาคประชาชน คือ กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่ง ประวัติศาสตร์ทั้งโลกถูกเขียนถูกครอบโดยชนชั้นนำ และอำนาจในการสร้างประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำเพื่อกดทับความจริงในสังคม การให้ได้มาซึ่งประวัติศาสตร์ภาคประชาชนนั้น ซึ่งสำหรับสังคมไทยเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจไม่ได้ว่า ทำไมการเขียนประวัติศาสตร์ 6 ตุลา จึงยังอยู่ในระยะตั้งไข่

“ สำคัญไม่แพ้กัน นอกจากความกล้าหาญในการลุกขึ้นมาแย้งความไม่จริงของสิ่งที่คุณสมัครพูดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยตัวและความรุนแรงแล้ว ความกล้าในการอ้าปากพูดถึงประวัติศาสตร์ของตนเของของอดีตนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาให้ไปไกลว่าเรื่องของคนตายและความรุนแรงที่ถูกกระทำโดยรัฐ “ นางสาวกนกรัตน์ ระบุ

นางสาวกนกรัตน์ กล่าวอีกว่า เราต้องยอมรับการเสียที่ว่า 6 ตุลา คือ การต่อสู้เชิงอุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าใครจะยอมรับหรือไม่ว่า ตนเองเคย เรียนรู้ เคยเชื่อ และมีปฏิบัติการทางการเมืองผ่านอุดมการณ์แบบ ขวา ซ้าย แต่นั้นคือสิ่งที่เคยเกิดขึ้น กับพวกเขา หลังการปราบปราม ทุกฝ่ายต่างเต็มไปด้วยบาดแผล การกลับมายืนอีกครั้งในสังคมที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้ทุกฝ่ายไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ ไม่ใช่เฉพาะอดีตฝ่ายซ้าย แม้แต่ฝ่ายขวาอย่างคุณสมัครเอง พยายามหลีกเลี่ยงและสร้างตัวตนใหม่ ความชอบธรรมใหม่ๆทางการเมือง เพื่อเจือจาง ภาพประวัติศาสตร์ในอดีตเขา การจะง้างปากให้คนเล่านี้พูดถึงความจริง เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

อดีตนักศึกษา เองก็ต้องเผชิญกับความอิหลักอิเหลื่อในการพูดถึงตนตนของพวกเขาเองในอดีต เพราะในสังคมแบบนี้มีพื้นที่ให้กับพวกเขาน้อยมาก ความไม่แน่ใจต่อ การยอมรับที่สังคมมีต่อประวัติศาสตร์ของพวกเขา ทำให้พวกเขาเองลดทอนความจริงทางประวัติศาสตร์ที่พวกเค้าพยายามจะสร้าง

การพูดถึงประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องของ การต่อสู้ของนักศึกษาผู้บริสุทธิ์ ซึ่งต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคม กับการใช้ความรุนแรงของรัฐ และฝ่ายอนุรักษ์นิยม การพูดถึงประวัติศาสตร์ ไม่เคยไปไกล กว่า ใครทำอะไรที่ไหน จำนวนคนตาย รูปแบบการใช้ความรุนแรงของรัฐ แต่คำถามว่าจริงๆอะไรที่นำมาสู่การก่อตัวของ 6 ตุลา

แน่นอนว่า มีอาจารย์ และนักวิชาการหลายท่านพยายามเขียนงานวิเคราะห์ที่มีพลังต่อเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ที่ไม่ใช่เรื่องของงานวิชาการแต่เรากำลังพูดถึงกระบวนการเขียนและการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่ต้องสร้างขึ้นโดย การมีส่วนร่วมของคนมากมายในสังคม

“ประสบการณ์ส่วนตัวของดิฉันในการทำงานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนผ่านของอดีตฝ่ายซ้ายในการเมือง ปัจจุบัน ดิฉัน เจอ ปัญหามากมายในการเชื้อเชิญให้อดีตนักศึกษาฝ่ายซ้าย ถ่ายทอดเรื่องราวจริงๆ ของพวกเค้า เกือบทุกคนที่ดิฉันคุยด้วย ต้องเริ่มต้นจากการประเมินท่าทีของดิฉันว่าเป็นใคร มาจากไหน ยอมรับเค้าได้หรือเปล่า ดิฉันต้องสร้างความไว้วางใจจากคนเหล่านี้ ก่อนที่เค้าจะยอมเล่าเรื่องราวของพวกเค้า แต่เมื่อเครื่องติดแล้ว ทุกคนมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่หาอ่านไม่ได้ในหนังสือประวัติศาสตร์ที่ไหน แต่นั้นสะท้อนอะไร มันสะท้อน ว่าเรื่องราวก่อน 6 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา และผลกระทบของ 6 ตุลา ยังคงเป็นเรื่องปิดที่พูดคุยกันในเฉพาะกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ” ดิฉันว่าเราต้องเลิกพูดกันได้แล้วว่า ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ลงตัว เราต้องเลิกโทษนักศึกษา เด็กรุ่นใหม่เสียที ถึงประเด็น 16 ตุลา ใครจะไปรู้ ใครจะไปเข้าใจในเมื่อ จริงๆ ไม่มีอะไรให้เค้าเข้าใจ ไม่อยากจะพูดว่าแม้แต่ตัวดิฉันเอง ถ้าไม่ได้มาทำงานเรื่องนี้ สนใจเรื่องนี้ นั่งไล่ อ่านงานเรื่อง 6 ตุลาซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ก็ ยากที่จะเข้าใจว่า ความจริงคืออะไร” อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามนักวิชาการผู้นี้ กล่าวว่า ที่เป็นปัญหา และที่มาของการทำให้ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาไม่เป็นบทเรียนสังคมไทยคือ กระบวนการเขียนประวัติศาสตร์มันจะมีปัญหาในตัวมันเองแล้ว ในเงื่อนไขการเมืองปัจจุบัน ที่อดีตตัวแสดงในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ได้เปลี่ยนแปลงสถานะภาพบทบาททางการเมือง ไปแล้ว ทำให้เป็นเรื่องยากที่สังคมจะเชื่อมโยงและเข้าใจ และยอมรับที่จะเรียนรู้บทเรียน 6 ตุลา ภายใต้เงื่อนไขและกระแสที่โลกทั้งโลกถูกบังคับให้เชื่อและยอมรับเสรีนิยมประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง อดีตฝ่ายขวาปรับตัวและกลับมาสร้างความชอบธรรมฝ่ายกระบวนการเลือกตั้ง กรณีคุณสมัครเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมาก ใครว่าคุณสมัครยังเหมือนเดิม อดีตฝ่ายขวา ปรับตัวได้ดีมากกลับเงื่อนไขการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เขากลับเข้ามาใช้กระบวนการเลือกตั้ง เป็นบันไดในการกลับมามีบทบาทและสถานะทางการเมือง

“ สิ่งที่คุณสมัครอาจจะไม่เปลี่ยน คือ การใช้ยุทธศาสตร์ propaganda อย่าเพิ่งเข้าใจผิด propaganda ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า โกหก ความหมายของ propaganda ที่แปลว่า โกหกเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ หลังสังคมครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง Nazi แพ้สงคราม ก่อนหน้านี้ propaganda หมายถึงการเผยแพร่ ความเชื่อ แต่หนึ่งในยุทธศาสตร์ของการเผยแพร่ความเชื่อ คือ If you have to lie, you have to give the big one คือ ถ้าคุณต้อง โกหก คุณต้องโกหกคำโต และยืนยันสิ่งที่คุณพูดอย่างหนักแน่น” นักวิชาการผู้นี้กล่าว

นางสาวกนกรัตน์ กล่าวว่า ไม่ใช่เฉพาะเพียงฝ่ายขวาที่เปลี่ยนแปลงไป อดีตฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายซ้ายหลายต่อหลายคนเข้าไปทำงานร่วมกับอดีตฝ่ายขวา ในขณะที่อีกขั้วหนึ่งที่เชื่อว่าตนเองยังคงรักษาจุดยืนไม่เปลี่ยนแปลง คือ ไม่ยอมรับอดีตฝ่ายขวา และยังคงต่อสู้กับการสถาปนาอำนาจของการเมืองแบบชนชั้นนำ หรือ Elite Politics คนเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนมโนทรรศน์ที่สังคมมีต่อเขา ด้วยภาพที่ซ้อนทับกันของ 14 ตุลาและ 6 ตุลา การชูธงประชาธิปไตย การไฮไลประเด็น “นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” หรือ “คนเดือนตุลา” เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คน 6 ตุลาประสบความสำเร็จในการสร้างพื้นที่เล็กๆในการดำรงฐานทางการเมืองของพวกเขา

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าท่ามกลางเงื่อนไขประวัติศาสตร์ 6 ตุลาที่ไม่เคยได้รับการชำระ เนื้อหาที่ไม่เคยไปไกล กว่าความรุนแรงบนท้องถนน และจำนวนคนผู้เสียชีวิต ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายของคนกลุ่มต่างๆ จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายที่สังคมจะสามารถและทำความเข้าใจ เพราะฉะนั้นการถามถึงบทเรียน และบทที่ไม่เรียนของ 6 ตุลา สำหรับตนเองจึงเป็นโจทย์ที่ยากมาก และประเด็นที่สุดท้าย พยายาม พาพวกเรากลับมาสู่ ปรากฎการณ์วิวาทะระหว่าง คุณสมัครกับแรงต้าน และความไม่พอใจที่มีต่อสิ่งที่คุณสมัครพูด

“ ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งถ้าการลุกขึ้นมาทักท้วงเรื่องสิ่งที่คุณสมัครพูดเป็นความพยายามและจะสามารถจุดประกายให้เกิดการสังคยนาประวัติศาสตร์ 6 ตุลาอย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปสู่ย่างก้าวในการสร้างและนำไปสู่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาคประชาชน ในวงกว้าง แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ปรากฎขึ้น คือ ข้อถกเถียงจำกัดอยู่ที่ เรื่องของ จำนวนผู้เสียชีวิต ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลา หรือ การสร้างภาพความเชื่อมโยงการกลับมาของ 6 ตุลาในเงื่อนไขการเมืองโดยมอง 6 ตุลาเป็นเพื่อเรื่องประวัติศาสตร์ แห่งความรุนแรง เพราะสิ่งที่สื่อ และอดีตผู้ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์ 6 ตุลา แย้งต่อคุณสมัครนั้น มันไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้สูญญากาศที่มีเฉพาะความไม่พอใจต่อสิ่งที่คุณสมัครพูด แต่มันเกิดขึ้นท่ามกลาง การสนับสนุน-ต่อสู้ ระบอบทักษิณ การปฏิเสธการยอมรับการรัฐประหาร 19 กันยา การพอใจและเบื่อหน่ายทางการเมืองภายใต้รัฐบาลคุณสมัครที่กึ่งยอมรับความเป็น รัฐบาลนอมินีของคุณทักษิณ” นางสาวกนกรัตน์ กล่าว

นางสาวกนกรัตน์ กล่าวว่า การขึ้นมาของคุณสมัคร เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับว่า แม้แต่อดีตนักศึกษา 6 ตุลา ทั้งที่เชียร์ อยู่ร่วมกับคุณทักษิณ ก็กระอักกระอ่วน เพราะฉะนั้นสำหรับกลุ่มอดีตนักศึกษาในปีกต้านคุณทักษิณ ไม่ต้องพูดถึง ความพลาดของคุณสมัครในการพูดเรื่องจำนวนคนตาย กลายเป็นเรื่องที่ช่วยให้กระบวนการแซะรัฐบาลคุณสมัครเริ่มต้นขึ้น ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาก เรื่อง 6 ตุลา กลายเป็น Hot issue นอกฤดูกาล เดือนตุลา แต่สิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาคือ ถ้าการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ กลายเป็นเพียงยุทธศาสตร์ ที่รองรับการต่อสู้ทางการเมือง ในปัจจุบัน สังคมคงจะไม่ได้เรียนรู้อะไรจาก 6 ตุลา




โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:03:18 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:41:27 น.  

 


คัดจาก//www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=32&d_id=24

6 ตุลาคมรำลึก คอลัมน์ ชั่วๆ ดีๆ

โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล



ในขณะที่ภาครัฐและประชาชนกำลังเตรียมฉลองวาระ 30 ปีของการต่อสู้ 14 ตุลาคม เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 กลับได้รับการเอ่ยถึงน้อยมาก ทั้งๆ ที่สองกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก และส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อเส้นทางประชาธิปไตยของสังคมไทย

กล่าวสำหรับ 14 ตุลาคม ใครๆ ก็รู้อยู่แล้วว่ามันคือการผนึกกำลังกันครั้งใหญ่ของนักศึกษาประชาชนในการลุกขึ้นต้านระบอบเผด็จการ ชัยชนะในครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนดีใจ และคิดว่าแต่นี้ต่อไปเมื่อหน้าบ้านเมืองจะได้เจริญรุ่งเรือง ปวงประชาเป็นสุขสมบูรณ์เสียที

แต่ปรากฏว่า เรื่องมันไม่ง่ายอย่างที่คิดเท่าใด

โดยธรรมชาติของความสัมพันธ์ทางอำนาจ เมื่อศูนย์อำนาจเดิมล่มสลายลง การแข่งขันช่วงชิงอำนาจในหมู่ชนชั้นนำและการยืนยันตน เองของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ย่อมเกิดขึ้น มันเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก และมันเป็นเช่นนั้นอีกหลัง 14 ตุลาคม

พูดกันตามความจริง การพ่ายแพ้ของรัฐบาลเผด็จการในปี 2516 ได้เผยให้เห็นโครงสร้างของสังคมไทยอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก ภายใต้อำนาจเดิมดูเหมือนทุกคนจะเจ็บช้ำน้ำใจจากเรื่องเดียวกัน แต่พอศูนย์อำนาจเก่าพังลง ก็พบว่าแต่ละกลุ่มพลังที่เรียงรายกันอยู่เป็นทิวแถวล้วนมีผลประโยชน์หรือทุกข์โศกแตกต่างกันไป อำนาจอิทธิพลทางสังคมก็ต่างกัน ยังไม่ต้องเอ่ยถึงแนวคิดทางการเมืองและสังคม

ปัญหามันมีอยู่ว่าในห้วงยามนั้นเราไม่มีโครงสร้างการเมืองที่กว้างขวางยืดหยุ่นพอที่จะรองรับความแตกต่างเหลื่อมล้ำเหล่านี้ ไม่มีประเพณีจัดการความขัดแย้งทางการเมืองอยางสันติ ไม่มีแม้แต่วัฒนธรรมในการยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน...

เพราะเราอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมมายาวนาน

จริงอยู่...สถาบันประชาธิปไตยแบบรัฐสภาได้ถูกสร้างขึ้นแทนที่ระบอบเผด็จการอย่างเร่งด่วน แต่มันก็เป็นพื้นที่การเมืองที่แคบเกินไปสำหรับการออกมาเคลื่อนไหวของประชาชนทุกชั้นชน และเชื่องช้าเกินไปในการตอบสนองกลุ่มพลังที่เคยถูกปิดกั้นมาหลายปี

ในปี 2516 คนงานไทยเพิ่งจะได้รับการคุ้มครองค่าแรงขั้นต่ำเป็นครั้งแรก แต่ค่าแรงดังกล่าวถูกตราไว้แค่ 12 บาท ขณะข้าวแกงจานละสามบาท กินมื้อละจานเงินก็หมดแล้ว ด้วยเหตุนี้เสรีภาพของคนงานจึงหมายถึงสิทธิในการนัดหยุดงานเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม และก่อน 2516 จะผ่านพ้น ชนชั้นกรรมกรไทยก็ได้นัดหยุดงานมากกว่า 500 ครั้ง

ชาวนาไทยในช่วงนั้นก็เช่นกัน ปัญหาค่าเช่านาและการขาดแคลนที่ดินทำกินทำให้พวกเขาเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพันธ มิตรของกรรมกรกับนักศึกษาในกระบวนการเรียกร้องสิทธิผลประ โยชน์ของคนยากจนทุกหมู่เหล่า

ในที่สุดการกระทบกระทั่งมันก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการแบ่งขั้วเป็นขวาซ้าย นายทุนเจ้าที่ดินและชนชั้นนำในระบบราชการอยู่ฝ่ายหนึ่ง นักศึกษาปัญญาชนกับชนชั้นผู้เสียเปรียบอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนนักการเมืองก็นึกอะไรไม่ออกนอกจากเล่นการเมือง

แน่ละการเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นอาจจะไม่ได้ถูกต้องสอดคล้องกับความจริงไปทั้งหมด และเนื่องจากความเยาว์วัย บางทีก็เอาความเร่าร้อนทางอุดมคติมาแทนที่การวิเคราะห์ปัญหา แต่ถ้ากล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ก็ยังต้องยืนยันว่าพื้นฐานความเป็นมาทางสังคมของกรณี 6 ตุลาคม เกิดจากโครงสร้างเอารัดเอาเปรียบ และความต้องการที่จะเปิดพื้นที่ทางการเมืองของบรรดาคนยากคนจน

เรื่องทั้งหมดมันจึงนำไปสู่การใช้ความรุนแรงของชนชั้นปกครองที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของขบวนนักศึกษาที่เข้าไปสมทบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังจากฝ่ายรัฐถูกกดดันอย่างหนักด้วยสงครามประชาชนที่มีปัญญาชนเข้าร่วม จึงได้ยอมปรับกระบวนทัศน์คืนสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกในปี 2521

เพราะฉะนั้น หากพิจารณาดูดีๆ เราจะพบว่าเหตการณ์ 14 ตุลาคมยิ่งใหญ่ชวนปลื้มก็จริง แต่บทเรียนสำคัญที่สุดของประเทศยังอยู่ที่กรณีนองเลือด 6 ตุลาคม

ถามว่า 27 ปีผ่านไป เราเรียนรู้อะไรบ้าง พูดตรงๆ ผมไม่แน่ใจเหมือนกัน

ผมไม่ได้คิดหรอกว่าเหตุการณ์ล้อมฆ่าคนกลางเมืองจะเกิดซ้ำ เพราะในบางด้านโลกก็เปลี่ยนไปไกลแล้ว และยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นอีก

แต่ถ้าเรายอมรับว่า กรณีสังหารหมู่ในปี 2519 มีพื้นฐานมาจากโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจที่เอารัดเอาเปรียบอย่างป่าเถื่อน และโครงสร้างประชาธิปไตยที่จำกัดแคบอยู่ในหมู่ชนชั้นนำ ก็ควรจะต้องมองออกว่าทุกวันนี้พื้นฐานดังกล่าวยังไม่ได้หายไปไหนเลย

แน่นอน ผมมองเห็นความพยายามของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการคิดโครงการต่างๆ ขึ้นมาดูแลคนจน แต่การกระจุกตัวของชนชั้นนำในทุกสถาบันการเมืองและโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สุดขั้วยิ่งกว่าเดิม ก็ทำให้อดผมวิตกไม่ได้ว่าปัญหามันคงไม่แก้ง่ายปานนั้น

จากตัวเลขที่ผมมี ตอนนี้คนไทยราว 47 ล้านคน ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ส่วนแบ่งของเกษตรกรรมในจีดีพี เหลือเพียงแค่ 9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหารเฉลี่ยกันออกมาแล้วคนจน 10 เปอร์เซ็นต์ล่างสุด มีรายได้ไม่ถึง 700 บาทต่อเดือน และคนที่มีรายได้ถึงหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน อาจจะมีไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของคนทั้งประเทศ

สภาพเช่นนี้ เมื่อบวกกับความจริงที่กว่าร้อยละ 90 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันมาจากนักธุรกิจและชนชั้นนำวงการต่างๆ ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่าการกระจุกตัวของรายได้กับการกระจุกตัวของอำนาจการเมืองนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

ใช่หรือไม่ว่านี่เป็นระเบิดเวลาที่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ?


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:16:05 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:59:10 น.  

 
พี่ชายที่รัก

พี่ขา ก่อนอื่นหนูต้องขอโทษ อย่างที่สุด ที่ไม่ได้คุยกัน แม้จะรู้ว่า พี่ยังห่วงใยและคิดถึงกัน น้องพิมเพิ่งกลับมาจากปฏิบัติธรรม ..
ได้นอนวัดครั้งนี้ มีท่านอาจารย์ หลวงพ่อนำปฏิบัติ หนูมั่นใจว่าทางเส้นนี้ ของตัวเอง ตรงขึ้น ชัดเจนขึ้น มากทุกที ตัดเรื่องรบกวนใจที่หาสาระไม่ได้ และเพิ่มความเศร้าหมอง อันเป็นกิเลสร้อยรัดใจ เข้าไปอีก

เอาบุญมาฝากพี่ชายนะคะ
หนูก็เป็นห่วงพี่นา รักษาสุขภาพดูแลตัวเอง ทั้งกายทั้งใจดีหรือเปล่า อย่าปล่อยให้จิตอ่อนล้า ไร้พลัง นอกจากขับรถเล่นเที่ยวไทยแบบที่พี่ฝัน ลองไปพักปฏิบัติธรรม ที่สวนโมกข์ ดีไหมพี่คะ หรือวัดป่าที่เมืองกาญจน์ หรือที่ไนห สักแป๊บ ถ้าพี่มีเวลา ....

เรื่องการเมืองตอนนี้ ทำให้หัวใจเศร้าหมองอย่างยิ่ง ค่ะ น้องพิมก็พยายามปล่อยวางนะคะ เชื่อมั่นว่า มหาบารมี ของในหลวงและ พระเมตตา ของพระสยามเทวาธิราช จะคุ้มครองดูแล พวกเรา และ เมืองไทย ค่ะ พี่

รักษา สุขภาพนะคะ
พิมเพิ่งกลับมาวันอาทิตย์ ค่ำ ที่ผ่านมาค่ะพี่


โดย: ประกายดาว วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:5:58:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.