WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-คงคาเดือด

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Arfeuillea-Arborescens.jpg




ดอกคงคาเดือดนั้นเล็ก และจะมีสีม่วง ๆ เหลือง
จะออกดอกเวลาทิ้งใบและจะมีกลิ่นหอมไปไกลมาก



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arfeuillea
Arborescens


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : คงคา
เดือด , หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง); ช้างเผือก (ลำปาง); ตะไล (ราชบุรี);
ตะไลคงคา (ชัยนาท); สมุยกุย (นครราชสีมา)


ชื่อวงศ์ :
SAPINDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คงคาเดือดเป็น
พรรณไม้ยืนต้น มีลำต้นโตเท่าต้นมะพร้าว
และใหญ่กว่าต้นมะพร้าวก็มีลำต้นมีความสูง ประมาณ 10 ถึง 12
เมตรผิวของลำต้นนั้นจะมีสีหม่น ๆและจะมีด่างเป็นดวงขาว ๆ ทั่วไปตาม ลำต้น
กิ่งอ่อนนั้นจะเป็นสีเขียว


ใบ : ใบคงคาเดือดนั้น
คล้ายใบมะเฟือง หรือใบมะตูม ใบมีความยาวประมาณ 5 ถึง 16
ซม.และมีความกว้างประมาณ 3.5 ถึง6 ซม.
ส่วนตรงก้านใบนั้นจะสั้นใบจะมีลักษณะบางและอ่อน จะมีขนาดไม่เท่ากัน


ดอก : ดอกคงคาเดือดนั้น
เล็ก และจะมีสีม่วง ๆ เหลือง จะออกดอกเวลาทิ้งใบและจะมีกลิ่นหอมไปไกลมาก


ส่วนที่ใช้ :
เนื้อไม้ และเปลือก ของคงคาเดือด ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


เนื้อไม้ นำเนื้อไม้คงคา
เดือด
มาฝนกินเป็นยาฆ่าพยาธิ


เปลือก นำเปลือกคงคา
เดือด
มาต้มเอาน้ำมาอาบรักษาอาการคันและรักษาโรคทรางตัวร้อนและแสบร้อน
ตามผิวกิน เป็นยาพิษรักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษไข้และให้เจริญอาหาร


ถิ่นที่อยู่ : พรรณ
ไม้นี้มีขี้นประปรายตามป่าราบในจังหวัด สระบุรี และที่กรุงเทพฯ
เคยพบในวัดพระเชตุพน หนึ่งต้น
จะปลูกไว้ข้างเจ้าพ่อศิวลึงค์แต่เวลานี้ได้หลุดมือไปเสียแล้ว
โดยทนการถากเปลือกไม่ไหว







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:51:22 น.
Counter : 1065 Pageviews.  

คูน

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/koon.jpg




ดอกคูน
ใช้สดหรือตากแห้งเป็นยาสมุนไพร ใช้เป็นยาถ่าย สำหรับหล่อลื่นลำไส้
รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และแผล เรื้อรัง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Cassia fistula Linn.


ชื่อสามัญ :
Golden Shower, Indian Laburnm, Puddingping Tree, Purging Cassiai


ชื่อวงศ์ :
CAESALPINIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ลมแล้ง ( ภาคเหนือ ) , ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลักเคย , ลักเกลือ
(ปัตตานี ), กีเพยะ (กะเหรี่ยง), ปูโย, ปีอยู, เปอโช, แมะหล่าหยู่
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เช็งเชียชัวเพียงเต่า, อาเหล็กปก(จีน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คูนเป็น
พรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15 เมตร


ใบ : ใบคูนเป็นใบประกอบ
ตรงปลายก้านของมันจะเป็นใบคู่ ใบย่อยมี
4-8คู่ใบย่อยนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่มีความยาวประมาณ 6-15 ซม.
และกว้างประมาณ3.5-5 ซม.
ปลายใบจะแหลมส่วนโคนก้านใบร่วมบริเวณที่ติดกับกิ่งจะพองออกเล็กน้อย


ดอก : ดอกคูนนี้
จะออกเป็นช่อห้อยระย้าลงมาจากง่ามใบ ดอกจะมีสีเหลือง ปลายมน
จะเห็นลายเส้นเจน ดอกมีเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ซม.


รังไข่ : รังไข่นั้นจะมี
ลักษณะเป็นเส้นยาวและงอขึ้น


เมล็ด (ผล) : ผลคูนมี
ลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว
ตรงปลายของมันจะแหลมและสั้นเมื่อฝักยังอ่อนจะมีสีเขียวเมื่อแก่เต็มที่ก็จะ
เปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีดำจับดูเปลือกนอกจะแข็งเหมือนไม้ มีความยาวประมาณ
30-60ซม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.5-2 ซม.
ภายในฝักนั้นจะมีแผ่นกั้นเป็นห้องๆ ตามขวาง ในแต่และห้อง จะมีเมล็ดอยู่ 1
เมล็ด จะมีลักษณะกลมแบนส่วนผิวนอกมีสารอ่อนนุ่มสีดำหุ้มเมล็ด


การขยายพันธุ์ :
คูนขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ฝัก ใบ ดอกเปลือกราก แก่น เนื้อในฝัก และรากเป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ฝัก ควรเก็บเมื่อแก่มีสีดำ
นำมาตากให้แห้งเก็บไว้ใช้ ฝักนั้นจะมีรสหวานขมเปรี้ยวเล็กน้อย
มีกลิ่นเหม็น เอียน ๆ เฉพาะตัว ฝักที่ดีควรสมบูรณ์ไม่มีก้าน
เมื่อแห้งแล้วเขย่าจะไม่มีเสียง ควรใช้ฝักประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำกิน
ในฝักจะมีสาร anthraquinone อยู่
ใช้ทำเป็นยาระบายสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ
หญิงมีครรภ์ใช้ฝักคูนเป็นยาระบายได้นอกจากนี้ยังใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ
รักษาเด็กที่เป็นโรคตานขโมย และโรคไข้มาลาเรียด้วย


ใบ ใช้ใบคูนสด
หรือตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่าย รักษาอัมพาตและใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง
ส่วนใบอ่อนใช้เป็นยา รักษาไข้รูมาติค(Rheumatic fever) ใช้สำหรับภายนอก
นำมาตำพอกหรือใช้คั้นเอาน้ำมาทารักษาโรค กลากเกลื้อน
ทาถูนวดบรรรเทาอาการปวดข้อและรักษากล้ามเนื้อบางส่วนบนใบหน้าเป็นอัมพาต
(Facial paralysis)


ดอก ใช้สดหรือตากแห้ง
ใช้เป็นยาถ่าย สำหรับหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
และแผล เรื้อรัง


เปลือกราก ใช้สดหรือแห้ง
ทำเป็นยาระบาย รักษาโรคไข้มาลาเรีย


แก่น
ใช้หรือตากแห้งใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน


เนื้อในฝัก ใช้ฝักแก่ของคูนแกะเปลือกนอกและเมล็ดออก
สกัดด้วยนำร้อนที่กรองและระเหยน้ำออกในที่
มีความดันต่ำจะได้สีดำข้นเหลวนำมาใช้  เนื้อในฝักนั้นจะมีรสหวานเอียน
ใช้เป็นยาถ่ายและยาระบายในคนที่ท้องผูก เป็นประจำรักษาใข้มาลาเรีย
บิดใช้สำหรับภายนอกพอกรักษาอาการปวดข้อ


เมล็ด ใช้ประมาณ 5-6
เม็ดนำมาบดเป็นผงกิน เป็นยาระบาย และเป็นยากระตุ้นช่วยให้อาเจียน


เปลือกต้นใช้เป็นยาช่วย
เร่งคลอดรักษาอาการท้องร่วงนอกจากนี้ยังใช้ย้อมหนังสัตว์ก็ได้


ราก
เป็นยาบำรุงรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ และโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี
และเป็นยาถ่ายอย่างแรงรักษาอาการไข้
ใช้สำหรับภายนอกพอกรักษาอาการปวดตามข้อได้


อื่น ๆ : มักจะพบพรรณไม้
ชนิดนี้ปลูกตามริมถนนเป็นไม้ประดับ
มีดอกออกในฤดูร้อนสีเหลืองทั้งต้นดูสวยงามมาก
หรือพบขึ้นเองตามป่าโปร่งทั่วไปโดยเฉพาะในภาคอีสานจะมีมาก


ถิ่นที่อยู่ : พรรณ
ไม้นี้มีถิ่นกำเนิดในเอเซียเขตร้อน


ตำรับยา:



  1. ใช้เป็นยาถ่ายหรือยาระบายสำหรับ
    ผู้ใหญ่
    ใช้เนื้อในฝักประมาณ 8 กรัมนำไปผสมกับน้ำมะขามเปียก
    หรือน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากันถ้าต้องการให้ถ่ายแรง ควรกินในปริมาณ 30-60
    กรัมปริมาณสูงอาจจะทำให้เกิดอาการปวดมวนท้องคลื่นไส้ และท้องอืดแน่นได้

  2. ใช้เป็นยากระตุ้นให้อาเจียน
    ใช้เมล็ดประมาณ 5-6 เม็ด นำมาบดเป็นผงกินได้

  3. ใช้รักษาโรคกลาก
    และโรคผิดหนังที่เกิดจากเชื้อรา

    เอาใบสดตำให้ละเอียดนำไปพอกหรือใช้ถูทาตามบริเวณที่เป็น

ข้อมูลทางคลีนิค :


รักษาโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้ฝักประมาณ 30
กรัมใส่น้ำนำไปต้มให้เหลือประมาณ10 มล. ให้กินครั้งเดียวหมด วันละ 3 ครั้ง
ปรากฎว่าได้ผลดีมากนอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย รักษาท้องผูก
มีกรดในกระเพาะอาหาร มากเกินไปเบื่ออาหาร ใช้ยานี้ต้มให้เดือดพอควรแล้วกิน
ถ้าต้มนานเกินกว่า 8 ชั่วโมงยานี้จะไม่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
กลับจะทำให้ท้องผูกยาต้มนี้ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้อาเจียนส่วยฝักที่ไม่แก่
จัดให้ใช้เป็นยาระบายได้ดีกว่า


ข้อมูลทางเภสัช :



  1. เปลือกราก มีฤทธิ์รักษา
    อาการอักเสบของหนูใหญ่สีขาวได้อย่างมีนัยสำคัญวิทยา

  2. น้ำสกัดจากเนื้อในฝัก
    นั้นจะมีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิตของสุนัขและแมวที่ ทำให้สลบ
    ทำให้มีฤทธืยับยังการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็ก
    ของกระต่ายและหนูตะเภาเนื้อในฝักที่สกัดเอาน้ำตาลออกมีฤทธิ์ทำให้ถ่าย
    มากกว่าเนื้อในฝักที่ไม่ได้สกัดน้ำตาลออกนอกจากนี้สารสกัดที่ได้จากใบ
    เปลือกต้น เนื้อในฝักยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

  3. ฝักและเปลือกราก
    ที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ยังมีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อไวรัส Ranikhetdisease virusและ
    Vaccinia Virus นอกจากสารนี้แล้วยังมีสารสกัดด้วยอะซีโตน(acetone)
    จากเปลือกราก เปลือกต้น จะมีฤทธ์ฆ่าเชื้อรา

    (Microsporum tonsurans, Trichophyton rubrum, และ T.megninii)

สารเคมีที่พบ :



  1. เนื้อในฝัก นั้นจะมี
    oxymethylanthraquinones 1.05% sfennoside Aและsennoside B aolinbarbaloin
    rhein (เนื้อในฝักในโรดีเซียใช้แก้ไข้มาลาเรียที่มีต่ออาการปัสสาวะเป็นสีดำ
    (Black waterfever)

  2. เมล็ด นั้นจะมี fixed
    oil 2.02% มี anthraquinones เพียงเล็กน้อย (เมล็ด ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน)

  3. ใบ นั้นจะมี sennosides
    ทั้งหมด 1.80% ประกอบด้วย sennoide A และ sennosideB.rhein carboxylic
    derivatives 1.23% (ใบใช้เป็นยาถ่ายต้มน้ำจากใบอ่อนใช้รักษากลาก
    รักษาไข้รูมาติค)

  4. ดอก ดอกคูนจะมี
    rheinglycoside rhein, fistulin rhamnoside, kaempferol
    leucopelargonidin(ใช้เป็นยาถ่ายและยา
    หล่อลื่นลำไส้ต้มน้ำกินใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร)

  5. เปลือกจะ
    มีoxymethylanthraquinones 1.2%, rhein glycoside, fistucacidin
    (เปลือกผักทำให้แท้งลูก และ ยังใช้ขับรกค้าง
    นอกจากเปลือกฝักแล้วยังมีเปลือกต้นนำมาใช้ย้อมหนัง
    และยังทำให้เกิดลมแบ่งช่วยในการคลอดลูกด้วย)

  6. แก่นไม้ ยังมี barbaloin,
    rhein และfistucacidin. (แก่นไม้ ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน)





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:15:52 น.
Counter : 491 Pageviews.  

ไข่เน่า

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/VitexGlabrata1.jpg




ไข่เน่า สมุนไพร
ผลไข่เน่าที่ยังอ่อนไม่สุกจะมีสีเขียวและแข็ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Vitex glabrata R. Br.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
VERBENACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : คม

ขวาน , ฝรั่งโคก (กลาง) , ขี้เห็น (อุบลราชธานี-เลย) , ปลู (เขมร –
สุรินทร์)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร

ไข่เน่า
เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่
ลำต้นนั้นจะมีความสูงประมาณ10-12 เมตร
ลำต้นจะเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาว ๆ


ใบ : ใบต้นไข่เน่าเป็น

ใบประกอบ มีขนาดไม่เท่ากัน ตรงโคนใบจะเรียวเล็กปลายของมันจะกว้างและมน ยาว
ประมาณ 6 ซม. ถึง 33 ซม.ใบจะมีสีเขียว คล้ายใบงิ้ว


ดอก : ดอกต้นไข่เน่าอยู่

ติดกันเป็นช่อยาวๆ ดอกนั้นจะเป็นดอกเล็ก ๆ มีสีม่วงอมชมพู สีขาวมีแดงเรื่อ ๆ
ดอกจะมีกลิ่น หอม และมีดอกใกล้ย่างเข้าหน้าฝน




ไข่เน่า สมุนไพร
ผลไข่เน่าที่สุกแก่เต็มที่นั้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาอ่อนนุ่มนิ่ม ผิวจะมัน
และมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นจะเหม็น



เมล็ด ( ผล ) : ผลอ่อนที่
ยังไม่สุกจะมีสีเขียว และแข็ง
ผลที่สุกแก่เต็มที่นั้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาอ่อนนุ่มนิ่ม ผิวจะมัน
ผลโตประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นจะเหม็น
ผลนั้นจะแก่ในหน้าฝน ส่วนเมล็ดโตขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย


การขยายพันธุ์ : ไข่

เน่า
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด


สรรพคุณของสมุนไพร :


เปลือกต้น เปลือกต้นไข่

เน่า
ให้รสฝาด แก้บิด แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง
แก้โรคพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร แก้ไข้ แก้โรคเบาหวาน เปลือกต้น
นั้นจะมีสารจำพวก steroid มีชื่อว่า -sitosterol และecdysterone และ
anguside (p-hydroxybenzoic ester of aucubin


ราก รากต้นไข่เน่าเป็น

ยาเจริญอาหาร แก้ท้องเสีย และแก้โรคตานขโมย


ผล
เมื่อสุกใช้รับประทานกับเกลือ สามารถรักษาโรคเบาหวาน


เปลือกผล แก้โรคเกล็ด
กระดี่ขึ้นนัยน์ตา โรคกระเพาะ หรือลำไส้อักเสบของทารก







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:13:42 น.
Counter : 438 Pageviews.  

หัวกลิ้งกลางดง

//www.trekkingthai.com/webboard/kaoluang/0279-43.jpg
หัวกลิ้งกลางดง เป็นสรรพยาแก้สารพัดโรค
สมุนไพรหายากของไทย เจอเข้าไป 7 หัวใหญ่ยักษ์





 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 18:08:56 น.
Counter : 1846 Pageviews.  

หลายคนเชื่อว่าเป็น..พญานาค

//www.amulet.in.th/forums/images/1006.jpg

หลายคนเชื่อว่าเป็น..พญานาค


แต่จริงๆ..มันก็คือ.... Dragon of the Deep /
Oarfishเจ้าปลาไหล..หรือ..มังกรทะเลลึกปลาไหลทะเลลึก ..หรือ..ปลามังกรทะเล
นับเป็นเวลานานมาแล้ว..
ที่มนุษย์มีความเคลือบแคลง-สงสัย..เกี่ยวกับสัตว์ทะเลที่มีชื่อว่า
"มังกรทะเลลึก"
(Dragons of The Deep)


มีนิยายเก่าแก่..ที่บรรยายถึงมังกรทะเลกล่าวไว้ว่า "มังกร
ทะเล..มีลำตัวยาวคล้ายงู..หัวเหมือนม้า ..มีขนคอสีแดงดุจเปลวเพลิง"

ชาวประมง..เคยพบสัตว์ประหลาดชนิดนี้ .. ขณะที่แล่นเรือหาปลาอยู่ในทะเล
ปัญหาของปลาลึกลับ..ดังกล่าวนี้


นักวิทยาศาสตร์..ได้ทำการค้นคว้าหาความจริง ในที่สุด..ก็พบความจริงว่า "มังกร
ทะเลลึก"
ที่กล่าวถึงนั้น ที่แท้แล้ว..ก็คือ ..
ปลาประหลาดชนิดหนึ่ง..ที่เรียกว่า ..ปลาใบพาย ..หรือ..ปลาริบบิ้น..นั่นเอง
บางทีก็เรียกว่า ..ปลาออร์ (OAR FISH)


ปลาชนิดนี้..มีขากรรไกรยาว.. หน้าผากโหนกคล้ายม้า ..ตาโต
คลีบบนหลัง..ยื่นออกมายาวเลยหัว ..
มีคลีบพิเศษ..ยื่นออกมาทั้งสองข้างของส่วนหัว..คล้ายใบพาย และมีลำตัวแบน ..
ปลาประหลาดชนิดนี้..หาดูได้ยากที่สุดในโลก
เพราะมันอยู่ในความลึกของท้องทะเล..ถึง 3,000 ฟุต
และเคยพบตัวใหญ่ที่สุด..มีความยาวถึง 200 ฟุต


แม้ว่า..สัตว์ประหลาดชนิดนี้...จะมีขนาดใหญ่โตอย่างไร
แต่ก็ไม่เป็นพิษ..เป็นภัย..กับมนุษย์ เพราะมันไม่มีเขี้ยวเล็บอะไร..
และเป็นสัตว์โลกที่แสนสวย..น่าดูมาก ส่วนใหญ่...ก็จะพบในสภาพที่ตายแล้ว
เพราะเมื่อมันพัดหลงมาน้ำตื่นเมื่อไหร่ ..มันก็จะตายทันที.....







 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 17:35:50 น.
Counter : 517 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.