ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

สุนัขสุดฉลาด กับโต๊ะอาหารหมาๆ




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2554   
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 16:52:19 น.   
Counter : 1109 Pageviews.  

ตึกประหลาด ชวนถล่ม!!

ตึกประหลาด ชวนถล่ม!!

บางครั้ง "นวัตกรรม"​ ก็พาเราใจหายใจคว่ำ "ความล้ำ" มักมาพร้อม "ความกวน" ชวนให้หวาดเสียว อย่างเช่น "ตึกประหลาด" เหล่านี้ เห็นแล้วคิดว่าจะพังลงมาในไม่กี่วินาทีซะให้ได้ สถาปนิกช่างกล้าล้อเล่นกับแรงโน้มถ่วงของโลกนะฮะ!!

1. Trojan House (Melbourne, Australia)

Trojan House (Melbourne, Australia)

2. Abu Dhabi Hyatt (Abu Dhabi)

Abu Dhabi Hyatt (Abu Dhabi)


3. Wooden Gagster House ( Archangelsk , Russia )


Wooden Gagster House ( Archangelsk , Russia )


4. Kunsthaus ( Graz , Austria )

Kunsthaus ( Graz , Austria )


5. The Puerta de Europa towers ( Madrid, Spain )


The Puerta de Europa towers ( Madrid, Spain )


6. House Attack ( Viena , Austria )

House Attack ( Viena , Austria )

7. Casa da musica ( Porto , Portugal )

Casa da musica ( Porto , Portugal )

8. Habitat 67 ( Montreal , Canada )


Habitat 67 ( Montreal , Canada )

9. Crooked house. ( Sopot, Poland )

Crooked house. ( Sopot, Poland )

10. Cubic houses ( Rotterdam, Netherlands )

Cubic houses ( Rotterdam, Netherlands )


11. Museum Ripley’s Believe It or Not! ( Near Niagara Falls in Canada )

Museum Ripley’s Believe It or Not! ( Near Niagara Falls in Canad

12. Ripley’s Building ( Niagara Falls, Ontario, Canada )

Ripley’s Building (Niagara Falls, Ontario, Canada)

13. Stata Center ( Cambridge, Massachusetts, USA )

Stata Center ( Cambridge, Massachusetts, USA )


14. Dancing Building ( Prague, Czech Republic )

Dancing Building (Prague, Czech Republic)

15. Errante Guest House ( Chile )

Errante Guest House ( Chile )

16. Pabellon de Aragon ( Zaragoza )

Pabellon de Aragon ( Zaragoza )

17. The Mushroom House ( Cincinnati, Ohio, USA )

The Mushroom House ( Cincinnati, Ohio, USA )

18. UCSD Geisel Library ( San Diego, California, United States )

UCSD Geisel Library ( San Diego, California, United States )

19. Puzzling World ( Wanaka, New Zealand )

Puzzling World ( Wanaka, New Zealand )

20. Szymbark ( Pomorze, Poland )

Szymbark ( Pomorze, Poland )

-----------------------------------------------------------

ที่มา : //thewondrous.com




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2554   
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 16:50:23 น.   
Counter : 1122 Pageviews.  

The Devil Inside ผีสิงสุดสยอง สร้างจากเรื่องจริง



ยูไอพีจัดหนังสยองขวัญ The Devil Inside สืบสยองหลอนอำมหิต วางโปรแกรมเข้าฉาย 26 มกราคม 2012

สร้าง จากเรื่องจริงที่ทุกคนจะต้องสะพรึงกลัว กับเหตุการณ์สยองที่เกิดขึ้นในอิตาลี เมื่อหญิงคนหนึ่งเดินทางไปหาแม่ที่ถูกคุมตัวอยู่ที่คริสตจักร และต้องเข้าไปร่วมในพิธีไล่ผี เพื่อสืบเสาะหาวิธีไล่ผีและค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับแม่ของเธอ ซึ่งได้ก่อเหตุฆาตรกรรมสยองถึง 3 คนในระหว่างพิธีไล่ผีที่เข้าสิงแม่ของเธอเมื่อตอนที่เธอยังเด็ก และดูเหมือนว่าความสยดสยองจะยิ่งน่ากลัวยิ่งขึ้น







 

Create Date : 12 ธันวาคม 2554   
Last Update : 12 ธันวาคม 2554 19:22:00 น.   
Counter : 2016 Pageviews.  

แอ่ว 'เชียงตุง' พี่น้องเราในอดีต

รู้เรื่องเมืองเชียงตุง (Kyaing tong)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล

เมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ในรัฐฉาน (Chan State ) ของ ประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขิน และ ชาวไทใหญ่ ถือได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่า เมืองเชียงใหม่ แห่ง ล้านนาไทย และ เมืองเชียงรุ่ง แห่ง สิบสองปันนา เลยทีเดียว


ภูมิลักษณะ
เชียงตุง (Kyaing tong) เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉาน (Chan State) ของ พม่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ตั้งอยู่ละติจูดที่ 21 องศา 17 ลิปดา 48 ลิปดาเหนือ และ ลองติจูดที่ 99 องศา 40 ลิปดา ตะวันออก (21.2967n , 99.667e) ความ สูงประมาณ 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรูปร่างเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบน้อยมาก จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ เวียงเชียงตุง แม้จะเป็นที่ราบ แต่ก็มีพื้นที่ตะปุ่มตะป่ำ

เชียงตุงมี ประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ และ พม่า ลองลงมา ยังมีชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาข่า ปะด่อง ว้า ลาฮู ลีซอ ลัวะ ฯลฯ


กำแพงเมืองเชียงตุง
กำแพง เมืองเชียงตุงนั้นก็คือ กำแพงที่ล้อมรอบเวียงเชียงตุง พวกเขาก่อกำแพงเมืองโดยอาศัยภูมิประเทศ ใช้วิธีปรับแนวกำแพงเมืองไปตามธรรมชาติ ที่ที่สูงก็ไม่ต้องก่อเพิ่ม ที่ๆต่ำก็เสริมให้สูงขึ้น ทำอย่างนี้จนรอบเวียง ความยาวของกำแพงนั้นคาดว่ายาวพอๆกับกำแพงในเวียงเชียงใหม่ แต่กำแพงเชียงตุงนั้น สูงใหญ่กว่าของเวียงเชียงใหม่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากำแพงเมืองเชียงตุงมีความยาวมาก ก็คือครั้งเมื่อกองทัพในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีกำลังพลนับหมื่นคน แต่ก็มิสามารถล้อมได้หมด เนื่องจากกำแพงนั้นใหญ่มาก โดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่งในสมัยนั้น ต้องตั้งค่ายทางทิศนี้ถึง 12 ค่าย


ประวัติการก่อตั้ง
ประวัติเริ่มแรกของเมืองนั้นไม่ค่อยจะแน่ชัดมากเท่าไรนัก แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมือง ไม่มีที่จะไปเนื่องจากเป็นแอ่ง แต่ว่ามีฤๅษีนามว่า ตุงคฤๅษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้น้ำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็น แว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และ มีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี


นครเชียงตุง
พงศาวดาร ของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัย มาก จึงวินิจฉัยสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธนูไว้บนยอดดอยที่ เห็นเมือง หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จกลับมาเมืองเชียงรายแล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่าขุนคง และ ขุนคลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุง จากชาวลัวะแต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง ปรากฏว่าได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้ มังคุม และ มังเคียน ปกครองเมืองเชียงตุง
ภาย หลังเมื่อ มังคุม มังเคียน สิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา
ตาม หลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่ามีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 33 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง" จากหนังสือ "ตำนานมังราย เชียงใหม่ เชียงตุง" ซึ่งจารึกอยู่ในหนังสือใบลานของวัดอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อความของเอกสารดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ ๆ
ตอน แรกจากหน้าลานที่ 1 - 22 กล่าวถึงพญามังรายมหาราช จนกระทั่งถึงพระยาผายู ซึ่งอยู่เสวยราชย์ในเมืองนพบุรีศรี พิงไชย เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่) มีอายุยืนได้ 70 ปี ก็จุติตายไป พระยาผายูตาย ปีเปิกเล็ด ศักราชได้ 899
ตอนที่ 2 เริ่มตั้งแต่หน้าลานที่ 22 - 46 เริ่มตั้งแต่ พระยาลัวะจักรราช จนถึงตอนที่เจ้าหม่อมมหาวัง (เจ้าเมืองเชียงรุ้ง) สิ้นพระชนม์ เป็นการเท้าเป็นการย้อนราชนิกูรของ พญามังราย ไปจนถึงเมืองในอาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรรอบๆ
สิ่ง ที่น่าสนใจตอนหนึ่งในหนังสือเรื่องนี้ คือการกล่าวถึงเมืองเชียงตุงในอดีต ซึ่งระบุว่า มังคุ่มครองเมืองได้ 17 ปี ก็สิ้นชีพ และ มังเคียนครองเมืองได้ 7 ปี ก็เสียชีวิต หลังจากนั้น เมืองเชียงตุงจึงเป็นเมืองร้าง เป็นเวลา 10 ปี พญามังรายจึงส่ง พระยานาถะมู ไปครองเชียงตุงในปี จ.ศ. 833 (พ.ศ. 1814) หลังจากนั้นพระยานาถะมูจึงโปรดให้สร้าง เวียงเชียงเหล็ก ในปีต่อมา
ในปีต่อๆ มา ชาวลัวะ ได้ลุกลามเมือง และ ทดน้ำไปสู่เมือง เพื่อจะให้น้ำท่วมเมือง พระยานาถะมู เจ้าเมืองในขณะนั้น ได้สิ้นพระชนม์ ครองเมืองได้ 14 ปี พระยาน้ำท่วมกินเมืองแทนพ่อในปี จ.ศ. 845


เชียงตุง ในช่วงที่เชียงใหม่ มีอิทธิพล
ใน ปี จ.ศ. 891 พระยาผายู (พ.ศ. 1889-1898) กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้ส่งพระโอรสไปครองเมืองเชียงตุง คือ พระยาเจ็ดพันตู โหรของพระองค์ได้ทำนายไว้ว่า "เมืองเชียงตุง เป็นเมืองนามจันทร์ น้ำไหลจากทางทิศใต้ไปทิศเหนือ ผู้หญิงกินเมืองดี ถ้าผู้ชายกินเมืองให้เลี้ยงเจนเมือง 500 นา และสร้างเจดีย์เป็นชื่อเมืองจึงจะดี" ในการเสด็จไปครองเมืองเชียงตุงในครานั้น พระยาเจ็ดพันตูจึงทรงได้นำเอาช้างม้า คนพลติดตามไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระไตรปิฎกและพระสงฆ์ 4 รูป คือ พระมหาธัมมไตร จากวัดพระแก้วเชียงราย พระธัมมลังกา วัดหัวข่วง พระทสปัญโญ วัดพระกลาง พระมหาหงสาวดี วัดจอมทอง เมืองเชียงใหม่
การสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงตุงและเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย จึงสามารถแบ่งได้ง่ายๆ ดังนี้ ในสมัยแรกเป็นแบบเครือญาติ และ ขุนนาง ในตอนกลาง ขุนนางปกครอง และ ยุคสุดท้ายราชวงศ์ก็ได้กลับมาปกครองอีกครั้ง
ใน สมัยพญากือนา ถึงสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. 1898-2068) ซึ่งเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรล้านนา เป็นช่วงที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาใหม่ๆ ความสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นมากๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเชียงใหม่สู่เชียงตุง ไปถึงเชียงรุ่ง จึงเป็นไปได้โดยง่าย แบ่งได้เป็น 2 ตอนใหญ่ๆ คือ ในสมัยพญากือนาพระสงฆ์นิกายรามัญวงศ์ (พม่า ผสม มอญ) จากวัดสวนดอก และ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช นิกายสิงหล (สุโขทัย อยุธยา) จากวัดป่าแดง ได้ออกเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้รู้ ไม่ใช่แต่ศาสนาอย่างเดียว วัฒนธรรม ตัวอักษร และ ภาษา ก็ออกไปเผยแพร่ด้วย ดังนั้นตัวเมืองของล้านนา และ ตัวเขียนของไทเขินจึงใกล้เคียงกันมาก



เจ้าฟ้าอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย
เชียง ตุงในยุคล่าอาณานิคม เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง พระนามว่า เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่ง อยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหาร ภายใต้การนำของ พลตรีผิน ชุณหะวัณ (ต่อมาได้เลื่อนเป็น จอมพลผิน ชุณหะวัณ) เข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือ จากญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕ โดยอ้างว่ามีประวัติศาสตร์ และ เชื่อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครอง เมืองตองยี และ สิบสองปันนาอีกด้วย โดยมี ประเทศญี่ปุ่นช่วยให้บริเวณเมืองเชียงตุง และ เมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็น สหรัฐไทยเดิม ในเวลาต่อมา


เชียงตุงเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย
เมื่อไทยสามารถยึดเมืองเชียงตุงได้แล้วก็จัดให้เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย มีชื่อว่า จังหวัด สหรัฐไทยเดิม และแต่งตั้งให้ พลตรีผิน ชุณหะวัณ ดำรง ตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำจังหวัดสหรัฐไทยเดิม เพื่อควบคุมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเมืองเชียงตุง ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลไทยก็ได้ทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กพรมลือ โอรสองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง พร้อมด้วยเจ้าแม่ปทุมเวที ที่ไปช่วยราชการและพำนักอยู่ที่เมือง โหม่วหยั่ว ชายแดนพม่าติดกับประเทศอินเดีย ตามคำสั่งรัฐบาลอังกฤษ พร้อมด้วยเจ้าหญิงทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง และราชธิดา ให้กลับมาเป็นมิ่งขวัญของชาวเชียงตุง โดยมีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ เสนาอามาตย์ นายแคว้น นายแขวง และพ่อเมืองต่างๆ ในเขตเชียงตุงได้พร้อมใจกันจัดพิธีทำขวัญขึ้นที่ คุ้มหลวงแล้วสถาปนาพระองค์เป็น “เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสพรมหลือ” ปกครองเมืองเชียงตุงเป็นองค์ที่ ๔๐


ไทยเสียเชียงตุง
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๘) สิ้นสุดลง รัฐบาลไทยต้องมอบเชียงตุงให้แก่ สหประชาชาติ (UN) อังกฤษได้เข้ามามีบทบาทต่อพม่าและเชียงตุงอีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้น เจ้าฟ้าพรหมลือ ตัดสินพระทัยเข้ามาพำนักที่เมืองเชียงใหม่พร้อมด้วยครอบครัว โดยมี เจ้าฟ้าองค์สุดท้าย คือ เจ้าฟ้าชายโหล่ง ปกครอง เมืองเชียงตุงสืบมาเป็นองค์ที่ ๔๑ นับว่าไทยเราได้ปกครองเมืองเชียงตุงนานเพียงแค่ ๓ ปีเท่านั้น ก็ต้องสูญเสียเมืองเชียงตุงไปอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

หอหลวงที่เมืองเชียงตุง ของเจ้าก้อนแก้ว อินแถลง ถูกพม่าทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2534


สัญญาปางหลวง
ประชาชน ชาวพม่าชึ่งมีหลายเชื้อชาติหลายเผ่าพันธุ์ ได้รวมตัวกันต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อขับไล่อังกฤษออกไปให้พ้นจากประเทศพม่า โดยรัฐบาลพม่าในขณะนั้นได้เรียนเชิญผู้นำชนกลุ่มน้อยต่างๆมาเช็นสัญญา มอบเมืองทุกเมือง ที่ตนปกครองอยู่ให้พม่า เมืองเชียงตุงโดย เจ้าฟ้าชายโหล่ง ได้เช็นมอบเมืองเชียงตุง ให้แก่พม่า เหมือนกับผู้นำชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่แล้ว โดยในสนธิสัญญาปางหลวงระบุว่า เมื่อขับไล่อังกฤษออกจากพม่าได้แล้ว จะแบ่งเขตปกครองเป็นรัฐๆ โดยให้ผู้นำชนเผ่าต่างๆ เป็นผู้นำรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งรัฐเชียงตุงด้วย
แต่เมื่อภาระกิจการขับไล่ อังกฤษพ้นจากประเทศพม่าแล้ว รัฐบาล พม่า ไม่ได้ปฏิบัติตามสนธิสัญญา ที่ตกลงกันไว้ ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลพม่ายังพยายาม เข้าครอบงำชนกลุ่มน้อยต่างๆ หลากหลายวิธีแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงทำให้ชนเผ่าต่างๆเรียกร้องหา สัญญาปางหลวงโดยการรวมตัวต่อต้านรัฐบาลพม่าจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รัฐไทใหญ่ หรือรัฐฉาน รัฐว้า เป็นต้น เมืองเชียงตุงจึงสิ้นสุดราชวงศ์ปกครองนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


รัฐบาลพม่าเข้าปกครองเชียงตุงและปิดประเทศ
ประเทศ พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๓ เชียงตุงก็ถูกผนวกเข้าอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายพลเนวิน ผู้นำของพม่าได้ทำการรัฐประหารและใช้ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมในการปกครอง ประเทศ เชียงตุงชึ่งเคยมีเจ้าฟ้าปกครองมาโดยตลอดก็ต้องสิ้นสุดลง และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เชียงตุงก็ถูกสั่งปิดประเทศไปพร้อมกับพม่า ซึ่งเกิดจากปัญหาการเมืองการปกครองภายในประเทศ



ละอ่อนเจียงตุง

เครดิต :

//www.lanna.mbu.ac.th/artilces/Kyaingtong01.asp




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2554   
Last Update : 12 ธันวาคม 2554 19:15:56 น.   
Counter : 1659 Pageviews.  

รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์

รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์


รูปภาพ Banyan Tree Seychelles สวรรค์เขตร้อน ณ ประเทศเซเชลส์




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2554   
Last Update : 11 ธันวาคม 2554 19:46:30 น.   
Counter : 1340 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]