ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

10 ชื่อเล่น คนไทย "โหล" ที่สุด ไหนลองเช็คสิ! ใครติดอันดับบ้างนะ?

กำลังเป็นที่ฮอตฮิต ส่งต่อ เผยแพร่กันทั่วโซเชี่ยลมีเดีย ขณะนี้ กับผลสำรวจ ชื่อเล่นของคนไทย 10 อันดับแรก ซึ่ง"โหล" ที่สุด หรือชื่อที่มีคนใช้เป็นชื่อเล่นมากสุด โดยอ้างงว่า เป็นผลสำรวจจากกระทรวงวัฒนธรรม


แต่ ทว่า แม้ผลสำรวจดังกล่าวจะมีให้เห็นออกมาก่อนหน้านี้แล้วก็ตามที แต่ไหนๆ ผู้คนในสังคมออนไลน์อย่างในเฟซบุ๊ก ก็เอามาแชร์ต่อๆกันอีกที จึงอดไม่ได้ที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งของกระแสดด้วย


ทีนี้ เรามาดูกัน 10 อันดับ ชื่อ"โหล" ฮอตฮิตตั้งเป็นชื่อเล่นกันมากที่สุดมีอะไรบ้าง


อันดับที่ 10 : เบียร์

อันดับที่ 9 : บอล

อันดับที่ 8 : นิว

อันดับที่ 7 : ฟ้า

อันดับที่ 6 : มายด์ , น้ำ

อันดับที่ 5 : แบงค์

อันดับที่ 4 : ไอซ์

อันดับที่ 3 : แนน

อันดับที่ 2 : พลอย

อันดับที่ 1 : เมย์


อุ๊บส์! ชื่อเล่น ใครติดอยู่ในโผบ้างหรือเปล่าเนี่ย ถ้าอย่างนั้น คุณก็เป็นคนที่ "โหล" น่ะสิ แต่ถ้าไม่อยากซ้ำ ก็ลองประยุกต์เติมหน้าต่อหลัง ให้ดูเก๋กู๊ด ชะลูดไอเดียกันไปได้นะฮะ (ฮา)

อ้างอิง //variety.teenee.com




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2555   
Last Update : 15 มิถุนายน 2555 20:18:19 น.   
Counter : 3440 Pageviews.  

ภาพหลุด IPHONE GEN 6 แบบใช้งานได้!!!

ภาพหลุด iPhone Gen 6 แบบใช้งานได้!!! international update hot update

หลังจากเป็นภาพหลุดแบบชิ้นส่วนไปเมื่ออาทิตย์ก่อน ภาพนี้ถือเป็นภาพสมบูรณ์ชนิด ถ้านี่เป็นของจริง ก็น่าคิดทีเดียว เพราะภาพที่เห็นนี้ เป็นภาพชิ้นส่วนเครื่องชุดเดิม แต่เป็นเครื่องที่ประกอบสำเร็จแล้ว โดยเครื่องที่ประกอบทุกชิ้นรวมไปแล้ว ให้ความชัดเจนว่าเครื่องออกมาค่อนข้างสวยอยู่ (เรื่องนี้แล้วแต่ความชอบ) ในขณะเดียวกัน เครื่องที่เป็นภาพหลุดนี้ ยังใช้ iOS 5 อยู่ เพราะหากมองภาพจอ ไอคอน จะเห็นว่า Google Maps ยังอยู่ในจอเช่นกัน

ภาพหลุด iPhone Gen 6 แบบใช้งานได้!!! international update hot update ภาพหลุด iPhone Gen 6 แบบใช้งานได้!!! international update hot update ภาพหลุด iPhone Gen 6 แบบใช้งานได้!!! international update hot update

หากเครื่องนี้เป็นของจริง เราก็จะได้เห็นหน้าตา iPhone เครื่องนี้ไปอีก 2 ปีต่อจากนี้เช่นกัน


ที่มา: GSMArena




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2555   
Last Update : 15 มิถุนายน 2555 20:16:31 น.   
Counter : 1880 Pageviews.  

พบกุ้งมังกรสีน้ำเงินในแคนาดา เผยเป็น 1 ใน 2 ล้าน

พบกุ้งมังกรสีน้ำเงินในแคนาดา เผยเป็น 1 ใน 2 ล้าน


พบกุ้งมังกรสีน้ำเงินในแคนาดา


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Bobby Stoddard
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ชาวประมงนักจับกุ้งชาวแคนาดาสุดภูมิใจ จับกุ้งมังกรสีน้ำเงินได้นอกชายฝั่งแคนาดา ผู้เชี่ยวชาญเผยเป็นกุ้งหายากมาก มีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 2 ล้าน

โดยนายบ๊อบบี้ สต็อดดาร์ด วัย 51 ปี ชาวประมงผู้นำทีมออกจับกุ้งมังกรบริเวณนอกชายฝั่งแคนาดาได้เล่าให้ฟังว่า กุ้งมังกรตัวนี้มาติดกับเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และในแวบแรกที่ทีมประมงได้เห็นกุ้งมังกรตัวนี้ ก็ฮือฮากันมาก เพราะไม่เคยมีใครเคยเห็นกุ้งลักษณะนี้มาก่อนตลอดชีวิตของพวกเขา ส่วนตัวของบ๊อบบี้เองก็เคยได้ยินเรื่องกุ้งมังกรสีน้ำเงินมาบ้าง เพราะพ่อของเขาซึ่งจับกุ้งมากว่า 55 ปี ก็เคยจับกุ้งมังกรสีน้ำเงินแบบนี้ได้เมื่อ 45 ปีก่อน จากนั้นก็ไม่เคยพบเจออีกเลย

          ทางด้านสถาบันล็อบสเตอร์ หรือกุ้งมังกร แห่งมหาวิทยาลัยเมน ได้เปิดเผยว่า กุ้งมังกรสีน้ำเงินแบบนี้ เป็นปรากฎการณ์ที่พบได้เพียง 1 ใน 2 ล้านเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นกุ้งที่หายากมาก ถูกพบเพียงไม่กี่ตัวตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยสีที่น้ำเงินนี้มาจากความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่สร้างโปรตีนที่มากเกินจนทำให้เปลือกของมันกลายเป็นสีน้ำเงินอย่างที่เห็น แต่อย่างไรก็ดียังคงมีกุ้งที่หายากกว่ากุ้งมังกรสีน้ำเงินอีก นั่นคือ กุ้งมังกรสีส้มเหลือง (คล้ายกับมันโดนต้มจนสุกแล้ว) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่พบได้เพียง 1 ใน 30 ล้านเลยทีเดียว

ทั้งนี้ สำหรับกุ้งมังกรสีน้ำเงินที่บ๊อบบี้จับได้ ตอนนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ในแทงก์น้ำของเขา หลังจากที่เขาพยายามบริจาคมันให้กับพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลท้องถิ่น แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จึงเลี้ยงไว้ก่อนและก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันต่อไป จะขายก็ไม่แน่ใจว่ามันจะถูกนำไปทำเป็นอาหารหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเขาขอเอามันไปปล่อยลงสู่ทะเลดีกว่า




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2555   
Last Update : 14 มิถุนายน 2555 22:02:07 น.   
Counter : 1988 Pageviews.  

ตะลอนตึกโบราณ ชมอัครสถานงานศิลป์

เที่ยวพระนคร ตะลอนตึกโบราณ ชมอัครสถานงานศิลป์


สไตล์ โคโรเนียล เริ่มเข้ามามีบทบาทในงานสถาปัตยกรรมของไทย แม้ตึกรามบ้านช่องเหล่านี้จะเสื่อมโทรมไปบ้างตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงความงามให้เห็นเด่นชัด แล้วในสมัยนั้นล่ะ จะงดงามเพียงใด วันนี้มีโอกาสดีได้ไปเดินเล่นในย่านเขตพระนคร และบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เลยเก็บภาพความงามของอาคารโบราณมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครที่เคยมองข้ามความงามไป จะสนใจไปเยี่ยมชมความงามกันบ้างค่ะ



วิทยาลัยเพาะช่าง















กระทรวงกลาโหม














นี่ แหละเมืองไทย อัครสถาน จริงๆเลยค่ะ หลายคนที่เคยมองผ่านไปอย่างคุ้นตา คงได้หันมาสัมผัสความงามที่ซ่อนอยู่ของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปโบราณที่ผสานกับ ความเป็นไทย และแทรกซึมอยู่ในวิถีไทยกันมากขึ้นแล้วนะคะ




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2555   
Last Update : 14 มิถุนายน 2555 22:00:40 น.   
Counter : 1659 Pageviews.  

ประกาศให้ “นิวซีแลนด์” แดนสวรรค์สำหรับคนดูดาว

ท้องฟ้ายามค่ำคืนเหนือโบสถ์ในเซาท์ไอส์แลนด์ของนิวซีแลนด์ (สเปซด็อคอม)

องค์กรด้านการอนุรักษ์ความ มืดของท้องฟ้าประกาศให้เกาะเซาท์ไอส์แลนด์ของนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในสถานที่ ดูดาวที่ดีที่สุดในโลก เพราะไม่มี “มลภาวะทางแสง” และเป็นสถานที่ใช้อุปกรณ์ควบคุมแสงมาตั้งแต่ยุค 80

บ็อบ ปาร์กส์ (Bob Parks) ผู้อำนวยการสมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากล (International Dark-Sky Association) ประกาศให้เกาะเซาท์ไอส์แลนด์เป็นหนึ่งในดินแดนที่ดีที่สุดบนโลกสำหรับการดู ดาว เพราะเป็นแหล่งที่เกือบปราศจาก “มลภาวะทางแสง” และเป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งได้รับยกย่องให้เป็น “เขตอนุรักษ์ฟ้ามืดสากล” (International Dark Sky Reserve)

สเปซด็อทคอมระบุว่าทางสมาคมได้ประกาศสถานที่เหมาะแก่การดูดาวมากที่ สุดในโลกแล้วทั้งหมด 4 แห่ง โดยบริเวณที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดได้นี้ ต้องมีคุณสมบัติเป็นเขตอนุรักษ์ได้ต้องสร้างให้มีสภาพแวดล้อมยามค่ำคืนมีฟ้า ที่มืดสนิท และไม่มีมลพิษทางแสงรบกวน

สถานที่แห่งใหม่ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ความมืดสำหรับ ท้องฟ้านี้ครอบคลุมอุทยานแห่งชาติอาโอรากิ (Aoraki) และ ภูเขาเมานท์คุก (Mt.Cook) ของนิวซีแลนด์ รวมถึงลุ่มน้ำแมคเกนซี (Mackenzie Basin) โดยมีชื่อเขตอนุรักษ์ว่า “เขตอนุรักษ์ฟ้ามืดโออากิแมคเกนซี” (Aoraki Mackenzie International Dark Sky Reserve) ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า 4,144 ตารางกิโลเมตร

ทั้งนี้ เป็นการประกาศที่เกิดขึ้นใกล้เคียงการประชุมแสงดาวนานาชาติ (International Starlight Conference) ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นในนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 11-13 มิ.ย.55 ซึ่งการประชุมดังกล่าวพยายามเน้นย้ำว่า ท้องฟ้ายามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยดาวนั้นเป็นมรดกพื้นฐานของมนุษยชาติ และการปกป้องท้องฟ้าที่มืดมิดนั้นเป็นเรื่องจำเป็นในการสร้างความมั่นใจว่า คนในรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไปนั้นจะมีโอกาสได้มองเห็นดวงดาว

ทั้งนี้ ผู้ก่อตั้งแขตอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าในนิวซีแลนด์ตระหนักว่า ฟ้ายามค่ำคืนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในพื้นที่ อย่างประชากรกลุ่มแรกของพื้นที่เช่นชนเผ่าเมารี (Maori) นั้น ไม่ได้ใช้ท้องฟ้ายามค่ำคืนเพื่อนำทางสู่เกาะเท่านั้น แต่พวกเขายังสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับดาราศาสตร์และดวงดาวขึ้นเป็นวัฒนธรรม ของตัวเอง และยังใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

เมื่อเดือนที่ผ่านมาสเปซด็อทคอมระบุว่าทางสมาคมได้ประกาศจุดแรกที่ เหมาะแก่การดูดาวที่สุดคือ เขตอนุรักษ์ธรรมชาตินามิบแรนด์ (the NamibRand Nature Reserve) ในแอฟริกา ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศนามิเบีย ส่วนลุ่มน้ำแมคเกนซีนั้นเป็นบริเวณที่มีท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ชัดเจนที่สุด มืดมากที่สุดและน่าตื่นตาตื่นใจมากที่สุดในนิวซีแลนด์

ทั้งนี้ อุปกรณ์ควบคุมแสงไฟนอกอาคารถูกนำไปติดตั้งในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ช่วง ทศวรรษ 1980 ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นไม่เพียงแต่ลดมลภาวะทางแสงให้แก่ หอดูดาวเมานท์จอห์น (Mt. John Observatory) ที่อยู่ใกล้ๆ แต่ยังช่วยประหยัดพลังงาน ปกป้องชีวิตสัตว์ป่า และทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมสำหรับการดูดาวด้วย




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2555   
Last Update : 13 มิถุนายน 2555 16:25:22 น.   
Counter : 1705 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]