เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

Review: Sony QX1 Lens-style APS-C เปลี่ยนเลนส์ได้



       เมื่อปีที่แล้วโซนี่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการกล้องถ่ายภาพครั้งยิ่งใหญ่ด้วยการให้กำเนิดกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องดิจิตอลใหม่ Lens-style (QX10 และ QX100) หรือภาษาไทยก็คือกล้องสไตล์เลนส์ ไร้หน้าจอเพราะการควบคุมและพรีวิวภาพควบคุมจากสมาร์ทโฟนทั้งหมด


ผู้อ่านที่ยังไม่เห็นภาพการใช้งานของ Sony Lens-style แนะนำให้ชมคลิปวิดีโอนี้ก่อนอ่านบทความรีวิวทั้งหมด


       มาในปีนี้กล้องสไตล์เลนส์ถูกพัฒนาปรับปรุงครั้งใหม่ด้วยการดึงเซ็นเซอร์รับภาพจากกลุ่มผลิตภัณฑ์มิร์เรอร์เลสตระกูล NEX ที่เป็น APS-C มาติดตั้งลงใน Lens-style ILCE-QX1 เป็นครั้งแรกพร้อมความสามารถในการเปลี่ยนเลนส์และใช้เลนส์ร่วมกับกล้องมิร์เรอร์เลส NEX ได้

การออกแบบและสเปก



       การออกแบบ QX1 เหมือนกับกล้องสไตล์เลนส์รุ่นก่อนหน้าทั้งหมด โดยชุดทดสอบที่ทีมงานได้รับมาจะมาพร้อมเลนส์ E-mount Power Zoom 16-50 f3.5-5.6

       วัสดุงานประกอบส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกเนื้อดี มาพร้อมปุ่มชัตเตอร์และไฟแฟลช ขนาดตัวกล้องอยู่ที่ 74x69.5x52.5 มิลลิเมตร น้ำหนักรวมแบตเตอรีและการ์ดความจำอยู่ที่ 216 กรัม



       และด้วยการที่ QX1 ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Interchangeable lens digital camera ตระกูล Alpha ทำให้ตัวกล้องสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ โดยกลุ่มเลนส์ที่รองรับคือ E-mount รองรับเลนส์มือหมุนเพราะออโต้โฟกัสสามารถปรับเป็น Manual ได้

       ในส่วนสเปกเซ็นเซอร์รับภาพใช้ขนาดเดียวกับ DSLR ทั่วไปคือ APS-C 23.2 x 15.4 มิลลิเมตร Exmor (เอ็กซ์มอร์) CMOS Sensor ชิปประมวลผลภาพตัวเดียวกับ NEX รุ่นใหม่คือ BIONZ X (ไบออนซ์ เอ็กซ์) ความละเอียดภาพสูงสุดอยู่ที่ 20.1 ล้านพิกเซล



       ส่วนการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนสามารถทำผ่าน NFC หรือเชื่อมต่อผ่าน WiFi สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่มี NFC ได้ โดยในสมาร์ทโฟนต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน PlayMemories Mobile ซึ่งหาดาวน์โหลดได้จาก AppStore และ PlayStore ก่อน

       จากนั้นผู้ใช้สามารถยึดเลนส์ติดกับด้านหลังของสมาร์ทโฟนผ่านฐานใส่เลนส์พร้อมขาหนีบที่รองรับขนาดหน้าจอใหญ่สุด 6 นิ้ว



       ส่วนใครที่ใช้แท็บเล็ตที่มีหน้าจอใหญ่กว่า 7 นิ้ว ทางโซนี่ก็ได้ออกอุปกรณ์เสริมเป็นฐานยึดเลนส์ที่มาพร้อมขาหนีบที่ปรับความยาวได้มากกว่า รองรับแท็บเล็บที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ถึง 10 นิ้วได้สบายๆ

       ส่วนคนที่ใช้สมาร์ทโฟนตระกูล Xperia Z ทางโซนี่ก็มีเคสออกแบบพิเศษที่สามารถนำกล้องสไตล์เลนส์มาสวมใส่ได้เลยเพราะตัวเคสมีส่วนล็อคเลนส์ติดตั้งมาด้วย




       โดยหลังจากเชื่อมต่อส่วนกล้องกับสมาร์ทโฟนแล้วจะเป็นตามภาพประกอบด้านบน ซึ่งการจับถือก็เหมือนเราจับถือกล้อง DSLR ทั่วไป และเมื่อเราเชื่อมต่อตัวกล้องกับสมาร์ทโฟน (ที่ติดตั้งแอปฯ PlayMemories Mobile ไว้แล้ว) เมื่อเราเข้าใช้งานแอปฯ ดังกล่าว สมาร์ทโฟนของเราก็จะทำหน้าที่แทน Live View หลังกล้องถ่ายภาพ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดชัตเตอร์จากหน้าจอ เลือกจุดโฟกัสและปรับแต่งค่าต่างๆ ได้



       มาถึงส่วนประกอบรอบตัวเครื่องและปุ่มกดสั่งงานที่สำคัญ เริ่มจากด้านขวาของตัวกล้องจะมีจอแสดงสถานะการทำงาน QX1 ได้แก่ ขีดบอกแบตเตอรี การเชื่อมต่อ WiFi และถ้าการ์ดความจำมีปัญหาระบบจะแจ้งผ่านหน้าจอนี้ด้วย



ส่วนด้านหลังของตัวกล้องจะเป็นช่องใส่แบตเตอรี NP-FW50 พร้อมช่องใส่การ์ด MicroSD (รองรับ Memory Stick Micro และ Memory Stick Micro (Mark2) ด้วย) และบริเวณฝาปิดจะมีกระดาษบอกชื่อ SSID และ Password ใช้เมื่อเชื่อมต่อ QX1 ผ่าน WiFi



       อีกด้านของตัวกล้องจะเป็นปุ่มชัตเตอร์ (สามารถกดถ่ายได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน) ส่วนด้านล่างจะเป็นช่อง MicroUSB สำหรับใช้ชาร์จไฟและโอนถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์




       สุดท้ายบริเวณด้านล่างจะมีช่องสำหรับต่อกับขาตั้งกล้องมาให้พร้อมช่องใส่สายคล้องข้อมือ และที่สำคัญคือ QX1 มาพร้อมไฟแฟลชตัวเดียวกับที่อยู่ใน NEX โดยผู้ใช้สามารถกดปุ่มเปิดใช้ไฟแฟลชได้จากบริเวณด้านบนของกล้อง



มาถึงสเปกอื่นๆ ของ Sony QX1 ด้านไฟล์ภาพจะรองรับทั้ง JPEG และ JPEG+RAW (ไม่มีให้เลือก RAW อย่างเดียว) สามารถเลือกความละเอียดภาพได้ตั้งแต่สูงสุด 20 ล้านพิกเซล (5,456x3,632 พิกเซล) ถึงต่ำสุด 4.2 ล้่านพิกเซล ความไวแสง (ISO) สามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่ ISO100-16,000 ในโหมดถ่ายภาพนิ่ง ส่วนวิดีโอจะรองรับรูปแบบการบันทึกแบบ MP4 แบบอัตโนมัติ (ไม่รองรับการบันทึกวิดีโอแบบ Manual) ความละเอียดวิดีโอแบบ FullHD 1080p 30 เฟรมต่อวินาที 16Mbps พร้อมไมโครโฟนรับเสียงแบบสเตอริโอ

นอกจากนั้นตัวชิปประมวลผลภาพที่ติดตั้งอยู่ใน QX1 ยังรองรับ Lens compensation เพื่อปรับแต่งภาพจากความผิดเพี้ยนของเลนส์ได้ถึง 3 ค่าหลักได้แก่ Chromatic Aberration, Distortion และ Peripheral Shading แบบเดียวกับระบบที่อยู่ในมิร์เรอร์เลส Alpha NEX

ส่วนระบบออโต้โฟกัสเป็นแบบ 25 จุด Contrast-detection AF รองรับโฟกัสจับวัตถุ โฟกัสตรวจจับใบหน้าและโฟกัสแบบสัมผัสหน้าจอ มาพร้อมฟีเจอร์ Clear Image Zoom 2 เท่า ความเร็วชัตเตอร์มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ต่ำสุด 30 วินาที ถึง 1/4,000 วินาทีการทำงานของชัตเตอร์เป็นแบบ Electronic Front Curtaion สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุด 3.5 ภาพต่อวินาที

       ด้านระบบการเชื่อมต่อข้อมูลรองรับ NFC Type 3 Tag และ WiFi มาตรฐาน 802.11 b/g/n 2.4/5GHz

ฟีเจอร์และการใช้งาน



       อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า Sony QX1 เป็นกล้องสไตล์เลนส์ที่ต้องใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตควบคุมการทำงานผ่านแอปฯ PlayMemories Mobile โดยหน้าตาของส่วนควบคุมกล้องจะเหมือนกับ Live View หลังกล้องโซนี่ผสมแอปฯกล้องถ่ายภาพในสมาร์ทโฟนโซนี่ โดยผู้ใช้สามารถจิ้มหน้าจอเพื่อโฟกัสภาพและกดชัตเตอร์จากหน้าจอได้



       ส่วนโหมดถ่ายภาพ ถึงแม้สเปกกล้องจะเทียบเท่ากับกล้องมิร์เรอร์เลสและ DSLR ระดับเริ่มต้น แต่ด้วยจุดประสงค์ของกล้องประเภทนี้ที่เน้นการใช้งานที่เข้าถึงง่าย เน้นความคล่องตัวเป็นหลักทำให้โหมดถ่ายภาพจะเน้นเฉพาะ Intelligent Auto และ Superior Auto เป็นหลักเพราะสองโหมดดังกล่าวมีการปรับปรุงในส่วนของซอฟต์แวร์จากเวอร์ชันเก่าให้ทำงานได้ฉลาดขึ้น โดยเฉพาะการเลือกค่ารูรับแสงและการกำหนด Scene Mode ทำได้ดีมาก



       ส่วนผู้ใช้ที่ยังชื่นชอบการปรับแต่งแบบ Manual ทางโซนี่ก็ได้ให้โหมดเพิ่มเติมมาอีก 3 โหมด (ไม่มีโหมด M Manual) ได้แก่ P (Program Auto) สามารถปรับทั้งรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์และ ISO ได้ A (Aperture Priority) ปรับเฉพาะรูรับแสงส่วน ISO กับความเร็วชัตเตอร์กล้องปรับให้เอง และ S (Shutter Priority) ปรับเฉพาะความเร็วชัตเตอร์ส่วน ISO กับรูรับแสงกล้องปรับให้เอง

       สำหรับโหมดถ่ายวิดีโอจะไม่สามารถปรับแต่งค่ากล้องใดๆ ได้เลย เพราะทุกอย่างจะเป็นแบบอัตโนมัติ ผู้ใช้มีหน้าที่เพียงเล็ง ซูมภาพและกดปุ่มบันทึกเท่านั้น



       มาถึงเรื่องระบบการบันทึกภาพที่ต้องทำความเข้าใจเล็กน้อย เพราะการถ่ายภาพด้วย QX1 ระบบจะบันทึกภาพที่ถ่ายแยกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะถูกบันทึกเก็บไว้ที่สมาร์ทโฟนที่ขนาดไฟล์ประมาณ 1080p และถูกจัดเก็บไว้ในพื้นที่ของสมาร์ทโฟนเพื่อเอาไว้พรีวิวภาพและแชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย

       ส่วนที่ 2 จะทำการบันทึกไว้บนการ์ดความจำที่ใส่ไว้ในตัวกล้อง โดยจะเป็นขนาดไฟล์ใหญ่สุดที่เราเลือกในส่วนตั้งค่าไว้ รวมถึง RAW ไฟล์จะถูกเก็บไว้ในส่วนนี้ด้วย


       ทีนี้มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าผู้ใช้กล้องไม่ใส่การ์ดความจำ กล้องจะทำงานหรือไม่? คำตอบจากการทดลองคือทำงานได้ปกติแต่ภาพที่ถ่ายจาก QX1 จะถูกบันทึกแค่ไฟล์ 1080p ไว้ที่สมาร์ทโฟนเท่านั้น ส่วนโหมดวิดีโอจะไม่ทำงาน เนื่องจากไฟล์วิดีโอมีขนาดใหญ่ต้องบันทึกลงการ์ดความจำเท่านั้น


ขนาดไฟล์ภาพทั้ง RAW และ JPEG โดยประมาณ


       และสำหรับผู้ใช้ที่อยากได้ไฟล์แบบเต็มความละเอียดจากการ์ดความจำในกล้องไปไว้บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตจะทำอย่างไรในเมื่อตัวกล้องเลือกบันทึกไฟล์แค่ 1080p ลงในสมาร์ทโฟนเท่านั้น คำตอบคือ “สามารถทำได้โดยการกดเรียกเมนูขึ้นมาและกด See in-Camera Image จะเป็นการเข้าสู่หน้าพรีวิวภาพจากการ์ดความจำในกล้อง และผู้ใช้สามารถคัดลอกภาพจากการ์ดไปสู่สมาร์ทโฟนพร้อมเลือกขนาดภาพได้ในส่วนนี้”

       นอกจากนั้นสำหรับคนชอบติด Tag สถานที่แอปฯ PlayMemories Mobile ก็ลองรับการบันทึกพิกัดลงในภาพถ่าย แต่ต้องเปิดใช้งานจากหน้า Settings > Location information > ON เสียก่อน รวมถึงผู้ใช้กล้องที่ชอบเล่นเลนส์มือหมุนหรือใช้สำหรับงานถ่ายวิดีโอ QX1 รองรับการโฟกัสแบบ Manual Focus ด้วยเช่นกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

ISOTEST


DSC00311

ISO 3,200 f10 ความเร็วชัตเตอร์ 1/5, Superior Auto วิเคราะห์แล้วเปิดใช้โหมด Handheld Twilight


       เริ่มทดสอบประสิทธิภาพกับค่าความไวแสงในแต่ละช่วง ISO ด้วยการที่สเปกกล้องหลายส่วนเหมือนกับ Alpha NEX รุ่นใหม่ที่ใช้ชิปประมวลผล BIONZ X เพราะฉะนั้นผลลัพท์ในเรื่องสัญญาณรบกวนในที่แสงน้อยถือว่าทำได้ค่อนข้างดี ไม่แตกต่างจากกล้องมิร์เรอร์เลสของโซนี่มากนัก โดยช่วง ISO ที่ให้ผลลัพท์ดีสุด ภาพคมชัดสุดจะอยู่ในช่วง ISO 100-6,400 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างกว้างและใช้งานกับสภาพแสงในชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้าถึงกลางคืนได้ค่อนข้างดี

DSC00239

DSC00274


       ส่วนเรื่องการควบคุมกล้องตั้งแต่เชื่อมต่อและเริ่มใช้งาน จากเดิมผมเคยทดลองตอน QX10 ออกเมื่อปีก่อนกับเฟริมแวร์แรกๆ ทั้งส่วนซอฟต์แวร์ควบคุม PlayMemories Mobile และตัวกล้องที่ยังใหม่อยู่ ยอมรับว่าช่วงนั้นปัญหาของกล้องสไตล์เลนส์จากโซนี่มีมากมายตั้งแต่ความล้าช้า NFC ต่อติดบ้างไม่ติดบ้างไปถึงโหมดกล้องที่ถ่ายได้แต่อัตโนมัติแถม Live View ที่แสดงผ่านสมาร์ทโฟนก็กระตุกจนเล็งภาพได้ยากมาก

       มาในรุ่นใหม่นี้โซนี่ปรับปรุงหลายส่วนได้ดีมาก โดยเฉพาะการควบคุมและอัตราดีเลย์ที่ต่ำลงมาก โหมดถ่ายภาพมีให้ปรับแต่งมากขึ้น โดยเฉพาะโหมด P ที่สามารถปรับ ISO ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสงได้ จะถ่ายชัตเตอร์ช้าเร็วแค่ไหนก็ปรับได้ ส่วนโหมดเด่นอย่าง Superior Auto โหมดนี้ขอชื่นชมจากใจจริงเลยว่า ฉลาดมาก โดยเฉพาะการถ่ายย้อนแสงหรือใช้ในสภาพแสงที่สับสน รูรับแสงปรับได้สัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์และความต้องการมาก

DSC00205

ถ่ายด้วยโหมด Superior Auto กดถ่ายอย่างเดียว


ความแจ่มของโหมดนี้เป็นแบบเดียวกับตอนทดสอบ Alpha NEX อย่างใดอย่างนั้น ถ้าคุณประทับใจภาพที่ได้จาก NEX คุณก็จะประทับใจภาพที่ได้จาก QX1 เช่นกัน

       อย่างภาพตัวอย่างที่ 2 ผมถือถ่ายด้วยมือเดียวและไม่ได้เล็งภาพจากหน้าจอสมาร์ทโฟน ซึ่งภาพที่ได้ถูกปรับจากระบบภายในจนออกมาดีและได้ดั่งใจมาก

(คลิกภาพที่ต้องการเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)

DSC00318 DSC00309 DSC00308


DSC00306 DSC00305 DSC00266


DSC00262 DSC00258 DSC00257


DSC00254 DSC00250 DSC00248


DSC00247 DSC00243 DSC00227


DSC00225 DSC00209 DSC00200

(คลิกภาพที่ต้องการเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)


       หลักๆ ของการทดสอบถ่ายภาพจาก Sony QX1 กล้องสไตล์เลนส์รุ่นนี้ถือว่าให้อารมณ์ โทนภาพแบบเดียวกับ Sony Alpha NEX ที่อาจให้อารมณ์ดิบกว่าตัวมิร์เรอร์เลสนิดนึง โดยภาพทั้งหมดถ่ายด้วยโหมด Superior Auto ทั้งหมดเนื่องจากทดสอบแล้วถือว่าโหมดดังกล่าวทำงานได้ฉลาดทุกสภาวะแสงและช่วยให้การถ่ายภาพในลักษณะนี้ทำได้เร็ว เพราะแค่หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา แตะ NFC (ทดสอบโดย Nexus 5) เท่านั้น แอปฯ PlayMemories ในสมาร์ทโฟนจะเด้งขึ้นมาให้อัตโนมัติ จากนั้นทีมงานก็มีหน้าที่กดชัตเตอร์อย่างเดียว ระบบทุกอย่างทำงานได้ลื่นไหลดี



       ส่วนการทดสอบบันทึกวิดีโอ อย่างที่บอกไปแล้วว่าในรุ่นนี้ดีเลย์น้อยลงแล้ว ทำให้การเล็งถ่ายวิดีโอทำได้ดีขึ้น แต่ด้วยการที่ตัวกล้องไม่สามารถปรับค่าได้เมื่ออยู่ในโหมดวิดีโอทำให้การใช้บันทึกวิดีโอแบบจริงจังไม่สามารถทำได้ วิดีโอใน QX1 มีไว้แค่บันทึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันแบบเดียวกับคอนเซปโหมดกล้องวิดีโอบนสมาร์ทโฟน

และถึงแม้ตัว QX1 จะปรับปรุงคุณภาพการเชื่อมต่อมาค่อนข้างดีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบางสถานการณ์ โดยเฉพาะคนที่พกดีไวซ์มากกว่า 1 ชิ้นแล้วเคยเชื่อมต่อกับ QX1 ไว้ทั้งหมด บางครั้งเมื่อเปิดใช้งานกล้อง QX1 อาจเกิดอาการเชื่อมต่อ WiFi ไม่ได้ NFC แปะไม่ติด เพราะระบบ Wireless LAN เกิดเชื่อมต่อชนกัน ทำให้ผู้ใช้ต้องปิดกล้องทิ้งไว้สักครู่และต้องไปไล่กด Forget WiFi ของดีไวซ์ที่อยู่ใกล้ๆ กล้อง QX1 ทิ้งก่อน ระบบถึงจะกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

       ส่วนอีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ถึงแม้ภายใน Sony QX1 จะมีแบตเตอรีที่ถ่ายได้มากถึง 300-400 รูปอยู่ แต่การเชื่อมต่อ WiFi กับสมาร์ทโฟนซึ่งมีการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ตลอดเวลา ก็ทำให้แบตเตอรีสมาร์ทโฟนหมดลงอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป?

ข้อดี

       - เซ็นเซอร์รับภาพขนาดใหญ่ มิติภาพดี
       - เปลี่ยนเลนส์ได้ รองรับเลนส์มือหมุน
       - ปรับปรุงระบบภายในมาดีกว่ารุ่นก่อนหน้า อาการดีเลย์เวลาสั่งงานน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
       - มี NFC
       - น้ำหนักเบา สร้างมุมมองการถ่ายภาพใหม่ๆ ได้ดีกว่ากล้องดิจิตอลรูปแบบเดิม

ข้อสังเกต

       - ปัญหา NFC และ WiFi ยังมีให้เห็นบ้างโดยเฉพาะคนมีสมาร์ทดีไวซ์หลายตัว
       - ชุดคิทเลนส์ Power Zoom กระบอกเลนส์เวลาซูมภาพระหว่างบันทึกวิดีโอจะได้ยินเสียงกลไกลภายในเคลื่อนตัวชัดเจน
       - ยังมีปัญหาการเชื่อมต่อ WiFi ไม่เสถียรเมื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 5.0 Lollipop (ทดสอบโดย Nexus 5)

       จากแนวคิดต้องการขยายความสามารถของกล้องบนสมาร์ทโฟนให้เทียบเท่า DSLR หรือมิร์เรอร์เลส โซนี่ทำได้สำเร็จแล้วกับ QX-Series รุ่นก่อนหน้าและ QX1 ก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการทำให้กล้องสไตล์เลนส์ทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น QX1 สามารถสร้างมุมมองการถ่ายภาพที่แปลกใหม่ในขณะที่คุณภาพไฟล์ไม่ต่างจาก DSLR แถมยังเปลี่ยนเลนส์หรือเล่นเลนส์มือหมุนก็ได้ โดยถ้ามองโดยภาพรวม QX1 มีทิศทางที่ดีขึ้นมากในยุคที่สมาร์ทดีไวซ์ครองเมือง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดที่ทำให้กล้องประเภทนี้ไม่โตในตอนนี้ก็คือ ลักษณะการใช้งานที่ถึงแม้โซนี่จะเลือกวิธีการเชื่อมต่อที่ง่ายสุดด้วย NFC และปรับให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นมากแล้วก็ตาม แต่เมื่อใช้งานจริง ช่องว่างที่เกิดขึ้นก็คือการเชื่อมต่อที่ต้องใช้ WiFi ระหว่างกล้องกับสมาร์ทโฟนตลอดเวลาแทบเป็นไปได้ยากมาก ทั้งเรื่องแบตเตอรีสมาร์ทโฟนที่หมดเร็วมาก ปัญหาเรื่องความร้อนและปัญหาที่มาจากสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่แตกต่างกันยากจะแก้ไขได้หมดในปัจจุบัน

       อีกทั้งตัวแอปพลิเคชัน PlayMemmories เองที่มักจะดีด WiFi ให้หลุดจากกล้อง QX1 ทุกครั้งที่ออกจากแอปฯหรือพักหน้าจอไว้ ทำให้ต้องเชื่อมต่อใหม่ทุกครั้งที่ใช้งานซึ่งถือว่าไม่สะดวกและทำให้การถ่ายภาพทำได้ช้าลงมาก

       เพราะฉะนั้นถ้าจะให้สรุปความน่าใช้กับราคาค่าตัว 16,990 บาทสำหรับ QX1+ Kit Lens 16-50 ก็คงต้องเรียนตามตรงว่าด้านคุณภาพไฟล์อันนี้ไม่ขอวิจารณ์เพราะทำได้ดีมากแล้ว แต่เรื่องการใช้งานเป็นสิ่งที่คุณผู้อ่านต้องพิจารณาให้มาก ถ้าคุณตั้งใจซื้อมาใช้กับสมาร์ทโฟนที่ใช้ในชีวิตประจำวันเครื่องเดียวและคิดว่าเงิน 16,990 บาทจะให้ทุกสิ่งเหมือนกล้องดิจิตอลมิร์เรอร์เลส ขอให้คิดใหม่ครับ เพราะปัญหาที่กล่าวไปจะทำให้คุณเสียอารมณ์ระหว่างใช้งานแน่นอน

       แต่ทั้งนี้ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนที่ไม่ใช้แล้วอยู่หนึ่งเครื่องการนำ QX1 มาเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นไว้ใช้งานเฉพาะถ่ายภาพโดยตรงถือเป็นเรื่องที่ดีและจบปัญหาน่ารำคาญใจคุ้มเงินหมื่นขึ้นมาแน่นอน

       ลองพิจารณาข้อดีข้อเสียให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อเพราะกลุ่มผลิตภัณฑ์ Lens-style QX-Series ยังถือเป็นกลุ่มกล้องแนวทางใหม่ที่ยังอยู่ในจุดเริ่มต้นและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องปรับตัวและเรียนรู้การใช้งานมากกว่ากลุ่มกล้องทั่วไปถึงจะใช้งานได้คล่องตัว

Company Related Link :
Sony



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2557 17:14:24 น. 0 comments
Counter : 2257 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]