*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานทางนิติวิทยาศาสตร์ของไทย เปรียบเทียบกับอเมริกา


กระทรวงยุติธรรม ได้พยายามเสนอ ร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ... ต่อ ครม. มาหลายครั้ง แต่ก็โดนตีตกในชั้นก่อนถึง ครม. เพราะทั้งแพทย์ และ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) ไม่เห็นด้วย เพราะ องค์กรใหม่ มีอำนาจมหาศาล ทั้งกำหนดมาตรฐาน ยุบสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่สังกัดหน่วยงานอื่น ตลอดจนเพิกถอนการประกอบวิชาชีพของบุคคลอื่นเขาด้วย .... พลังจริง ๆ ครับ ... ผมได้มีโอกาสเห็นร่างกฎหมายดังกล่าว และ เห็นพัฒนาการกฎหมายนี้ เลยมาเล่าให้ฟังพอสังเขป ดังนี้

1.กระทรวงยุติธรรม ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติศาสตร์ พ.ศ. .... เสนอไปยังรัฐบาล ต่อมาได้มีการขอความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง ตร. ด้วย ปรากฏว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างมากจากหน่วยงานแพทย์ และ นิติวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ อันเป็นผลมาจาก เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าว และ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเกี่ยวกับคุณภาพของงานนิติวิทยาศาสตร์ของ กระทรวงยุติธรรม เอง

2. สลค. มีหนังสือที่ นร 0503/10219 ลง 22 มิ.ย.2553 แจ้งคำสั่ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้ ยธ. ดำเนินการ ให้คณะกรรมการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ รับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อน แล้วจึงเสนอต่อ ครม. ต่อไป

3.คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 1/2553 ลงวันที่ 25 ส.ค.2553 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... โดยมีปลัด ยธ. เป็นประธาน และ รอง ปลัด ยธ. เป็นรองประธาน ส่วนคณะอนุกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทน สง.ศาลยุติธรรม, อสส., ตร., ก.พ., ก. วิทย์ฯ, ศธ., สธ., แพทยสภา, สภาทนายความ, นิติวิทยาศาสตร์ ตร., ปปส., ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, ผศ. ปารีณา ศรีวนิชย์, ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ผอ. และ รอง ผอ. สง.กิจการยุติธรรม, ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สง.กิจการยุติธรรม และ จนท.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ.

4. ข้อสังเกต คณะกรรมการดังกล่าว มีจำนวน รวม 20 คน ซึ่งคณะกรรมการนี้ ประกอบด้วยบุคลากรใน กระทรวงยุติธรรมเอง จำนวน 8 คน และ กรรมการอื่นอีก 12 คน หากมีการลงมติใด ๆ ก็ย่อมได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างแน่นอน


5. ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว ดังนี้

5.1 การขัดกันของผลประโยชน์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. มีทั้งหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและชันสูตรพลิกศพ และ ยังประสงค์จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการตรวจพิสูจน์หรือการปฎิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง

5.2 ความพร้อมของ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. เอง ในการกำหนดมาตรฐาน ไม่มีพยานหลักฐานใดในเชิงบวกที่จะแสดงให้เห็นว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. มีความสามารถในการกำหนดมาตรฐาน ถึงขนาดที่จะกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาตจัดตั้งสถานการณ์ตรวจ หรือ เพิกถอนสถานการณ์ตรวจ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตผู้เชี่ยวชาญได้ ในทางกลับกัน พบว่าพยานหลักฐานที่สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ ยธ.ดำเนินการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับได้รับการโต้แย้งในความถูกต้องและผลการตรวจพิสูจน์ รวมถึงผลการตรวจและมีความเห็นในหลายคดีสำคัญ ๆ เช่น คดีห้างทองฯ ซึ่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. เป็นผู้ตรวจและมีความเห็น ซึ่งศาลได้พิพากษายกฟ้องในที่สุด ดังนั้น การที่ สถาบันฯ จะเข้ามาดำเนินการทั้งตรวจพิสูจน์ และ การกำหนดมาตรฐาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผลแม้แต่น้อย

5.3 ในเชิงหลักวิชาชีพ หรือ Professionalism ในประเทศไทย มีองค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา หรือ ทันตแพทยสภา ฯลฯ ทำหน้าที่ในการควบคุมหลักวิชาชีพอยู่แล้ว หากมีการร้องเรียนใด ๆ ต่อองค์กรวิชาชีพดังกล่าว ย่อมมีขีดความสามารถในการตรวจสอบและพิจารณาว่า ผู้ปฏิบัติงานในด้านนิติเวชศาสตร์ หรือ การตรวจพิสูจน์ดีกว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่เพิ่งก่อตั้งไม่นาน และ ไม่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านองค์ความรู้ ที่จะต้องพิสูจน์ให้สังคมเห็นได้ว่า มีความเป็นเลิศยิ่งกว่า

5.4 แนวคิดในต่างประเทศ ได้มีการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ทาง นิติวิทยาศาสตร์มาเนิ่นนาน จนกระทั่งมีการจัดตั้ง Forensic Laboratories หรือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไว้ในสถานีตำรวจทุกแห่ง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศจีน และ ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะจัดตั้งห้องปฎิบัติการเพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน (Investigation) และการฟ้องร้อง (Prosecution)ไว้ในสถานีตำรวจทั้งสิ้น โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ตำรวจในระดับเมืองและระดับรัฐ ล้วนแต่มีห้องปฏิบัติการของตัวเอง ซึ่งแยกต่างหากจากห้องปฏิบัติการฯ ของ F.B.I. ที่ขึ้นอยู่กับ Department of Justice ที่เป็นของรัฐบาลกลาง (Federal Government) ทั้งสิ้น รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีแนวคิดที่สำคัญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา ว่าจะต้องสนับสนุนด้านเงินและด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้กับตำรวจในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ โดยการเสริมเขี้ยวเล็บ และทุ่มเททรัพยากรลงไปในการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการตรวจพิสูจน์หลักฐานของตำรวจระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการเรียนการสอนทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ยังเป็นเครื่องขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ด้วย จากการศึกษา จึงพบว่าการแข่งขันโดยเสรีในการพัฒนาหลักวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนทางการสอบสวนคดีอาญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาฯ มีการพัฒนาหลักวิชาการเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Forensic Evidence) มาเนิ่น โดยในระยะแรก ๆ ได้มีนักวิทยาศาสตร์จอมปลอมจำนวนมาก ถึงขนาดที่ศาลได้พิพากษาว่าเป็น FAKE Science เลยทีเดียว ดังจะเห็นว่า ในปี ค.ศ.1978 ได้มีรายงานของ Law Enforcement Assistance Administration (LEAA) ได้แสดงให้ว่าคุณภาพของงานนิติวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาว่าเลวร้ายมาก เพราะมีอัตราความผิดพลาดสูงมาก โดยคณะวิจัยฯ ได้ทดสอบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางวิทยาการจริง ๆ ด้วยการส่งพยานหลักฐานไปยังห้องปฏิบัติในสหรัฐอเมริกาที่กระจายอยู่ทั่วไป พบว่าการส่งเส้นผม เส้นขน และเลือดไปตรวจยังห้องทดลองพบว่ามีการผิดพลาดถึง 71% และ การตรวจอาวุธปืน พบว่ามีการรายงานผิดพลาด 5.7% เป็นต้น แม้แต่การตรวจสอบ DNA ก็พบว่าปัญหาความผิดพลาดเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของแคลิฟอร์เนีย (The California Association of Crime Laboratory Directors) พบว่า สองในสามของห้องปฏิบัติการของเอกชน วิเคราะห์ผิดพลาด

การวิเคราะห์ผิดพลาดดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญหลายประการ เช่น การเก็บตัวอย่างไม่ถูกต้อง หรือ มีการปนเปื้อนของวัตถุพยาน และที่สำคัญ ยังเกิดจากคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ (UNQUALIFIED EXPERTS) เช่น รายงานในปี ค.ศ.1982 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญไม่มีความรู้ ไม่ผ่านการทดสอบความรู้ความเชี่ยวชาญ รวมถึงการวิเคราะห์สถานที่เกิดเหตุเกี่ยวกับคราบเลือดในลักษณะ The forensic reconstruction ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญแห่งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แห่งรัฐ Pennsylvania ให้ความเห็นแตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานทางตรวจพิสูจน์อื่นที่จำเลยอ้างต่อศาล ซึ่งท้ายที่สุด จึงตกเป็นภาระของศาลในการชี้ขาด และเป็นภาระที่หนักเพราะศาลก็ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญประเภทนี้ด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังพบปัญหาที่เรียกว่า FALSE FORENSIC EVIDENCE โดย “ผู้เชี่ยวชาญ” ได้สร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ นำไปสู่การพิพากษาผิดตัว เช่น การเสนอความเห็นโดยไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ หรือ มีข้อเท็จจริง แต่ได้แต่งเติมเสริมให้ความเห็นเกินความจริง คดีที่สำคัญที่สุด ก็คือ กรณีนาย Fred Zain ผู้เชี่ยวชาญแห่ง West Virginia State Police Crime Laboratory ได้ทำความเห็นอันเป็นเท็จจำนวน 134 คดี ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980 ท้ายที่สุด ศาลจึงสรุปว่า พยานหลักฐานที่ได้มาจากการตรวจสอบของห้องปฏิบัติการนี้ ไม่น่าเชื่อถือ

กล่าวโดยสรุป การประกันมาตรฐานการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ปล่อยให้มีการหน่วยพิสูจน์ต่าง ๆ สามารถพัฒนาหลักวิชาการของตนเองโดยอิสระ ในการแข่งขันกัน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลกลางทั้งการเงินและวิชาการ แต่ก็มีความผิดพลาดมหาศาลเช่นกัน แม้จะมีวิทยาการที่ก้าวหน้าทันสมัย ศาลในสหรัฐอเมริกา จึงมีหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ในการยอมรับพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ศาลได้ตัดสินในคดี Freye โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญว่า “พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะรับฟังได้นั้น จะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้มีวิชาชีพด้วยกันอย่างกว้างขวาง และได้รับการตีพิมพ์เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น ๆ ทำการตรวจสอบหรือให้ความเห็น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ได้พิพากษาและวางกฎเกณฑ์การยอมรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า Daubert Standard โดยกำหนดให้ศาลชั้นต้น ทำการไต่สวนและวิเคราะห์ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐานนั้น ใช้หลักการทางวิชาการ (methodology) อะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ มีการนำความรู้ดังกล่าวมาวิเคราะห์กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนั้นอย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ สามารถแสดงอัตราการผิดพลาดได้หรือไม่ มีวัตถุตัวอย่างในการควบคุมคุณภาพการทดลองและวิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น เนื่องจาก Forensic Science นั้นเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่จะต้องนำความรู้หลายสาขามาประกอบกัน จึงไม่ใช่แค่มีแค่แพทย์ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางนิติเวชศาสตร์ ซึ่งจะต้องแสดงถึงความรู้ เชี่ยวชาญ และ ประสบการณ์ ในการสั่งสมมา เพื่อสามารถแสดงความเห็นได้อย่างน่าเชื่อถือและถูกต้อง (reliability and validity) ดังนั้น การแข่งขันโดยเสรี ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องกว่า การให้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือ คณะกรรมการใด คณะกรรมการหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาความรู้มาอย่างยาวนานต่อเนื่องมาทำการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ

5.5 การได้มาซึ่ง Forensic Science Certificates ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะดำเนินการผ่านกระบวนการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ หรือ พัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ดังเช่น

American Academy of Forensic Psychology (AAFP)
AAFP is approved by the American Psychological Association to offer continuing education for psychologists.

American Academy of Forensic Sciences (AAFS)
AAFS is a professional society dedicated to the application of science to the law and reaches international groups of people through the Journal of Forensic Sciences, annual conferences, and newsletters.

American Board of Criminalistics
The American Board of Criminalistics is composed of representatives from regional and national forensic organizations. The members answer questions about the organization, certification examinations, proficiency testing, and related issues.

American Board of Forensic Anthropology
The American Board of Forensic Anthropology seeks to improve the standards for forensic anthropology and certifies qualified scientists as experts.

American Prosecutors Research Institute (APRI): DNA Forensics Program
The APRI DNA Forensics Program furnishes written materials on scientific advancements, case law, and legislation; consultation and advice on methods for effectively presenting DNA in court; and national training conferences taught by scientific and legal experts in their fields.

American Board of Forensic Document Examiners
The American Board of Forensic Document Examiners provides a certification program in forensic document examination to serve the public interest and promote the advancement of forensic science.

American Board of Medicolegal Death Investigators
The board certifies individuals who have the proven knowledge and skills to perform medicolegal death investigations, as set forth in the National Guidelines for Death Investigation published by the National Institute of Justice in 1997.

American Society of Crime Laboratory Directors (ASCLD)
The ASCLD is a nonprofit professional society that strives to link all crime laboratories internationally. It provides information on crime labs that have been accredited throughout the world and works with the labs to develop standards that all forensic labs should follow.

American Society of Forensic Odontology (ASFO)
The ASFO is the largest organization dedicated to the pursuit of forensic dentistry. Membership is open to all individuals who have an interest in forensic odontology.

Armed Forces Institute of Pathology (AFIP)
AFIP is a tri-service agency of the U.S. Department of Defense. AFIP strives to consult, educate, and provide research to forensic specialists and the general public. Programs currently established at AFIP include research in basic science, environmental pathology and toxicology, geographic and infectious disease pathology, oncology, molecular diagnostics, and forensic science.
Association for Crime Scene Reconstruction (ACSR)
Founded in 1991, ACSR is an organization of professionals dedicated to understanding the elements of crime and recognizing and preserving evidence.

Association of Forensic DNA Analysts and Administrators
The association disseminates publications, discusses DNA legislation, and hosts workshops and trainings.

Biometrics Catalog
The Biometrics Catalog was developed as a service to the biometrics community and potential users of biometric technology. It was designed to provide multiple search options so catalog visitors can find the information they want, quickly and easily.

British Toxicology Society (BTS)
BTS promotes the advancement, communication, and understanding of those scientific disciplines necessary to foster public health and environmental safety.

Combined DNA Index System (CODIS)
CODIS enables Federal, State, and local crime labs to exchange and compare DNA profiles electronically, thereby linking crimes to each other and to convicted offenders.

Computer Crime and Intellectual Property Section of the Criminal Division of the U.S. Department of Justice
The Computer Crime and Intellectual Property Section attorney staff focus exclusively on the issues raised by computer and intellectual property crime. Section attorneys advise Federal prosecutors and law enforcement agents, comment on and propose legislation, coordinate international efforts to combat computer crime, litigate cases, and train law enforcement.

DNA Initiative: Advancing Criminal Justice through DNA Technology
The DNA Initiative provides funding, training, and assistance to ensure that forensic DNA reaches its full potential to solve crimes, protect the innocent, and identify missing persons.

Federal Bureau of Investigation (FBI): Laboratory Specialized Training Program
The FBI Laboratory provides forensic science courses through the Specialized Training Program. The courses are between four and ten days in length and are presented by forensic science experts from the FBI Laboratory and other partnering agencies. The courses are open to U.S. law enforcement agencies, government crime laboratories and military personnel.

Federal Bureau of Investigation (FBI) Laboratory Services Division
The FBI laboratory provides forensic and technical services to Federal, State, and local law enforcement agencies at no expense to these agencies. The lab analyzes physical evidence ranging from blood and other biological materials to explosives, drugs, and firearms.

Innocence Project
The Innocence Project is a national litigation and public policy organization dedicated to exonerating wrongfully convicted people through DNA testing and reforming the criminal justice system to prevent future injustice. The Innocence Project represents clients pro bono and has a very specific mandate: it accepts cases where post-conviction DNA testing can yield conclusive proof of innocence. The Innocence Project does not require evidence to be found before it accepts a case. For more on how to submit a case for consideration, visit the Contact Us section of the Innocence Project Web site.
International Association of Crime Analysts (IACA)
IACA is organized to enhance effectiveness and consistency in the fields of crime and intelligence analysis. IACA is dedicated to advocacy for professional standards, to providing practical educational opportunities, and to the creation of an international network for the standardization of analytic techniques.

International Association for Identification (IAI)
IAI is targeted to individuals involved in forensic identification, investigation, and scientific examination of physical evidence. IAI communicates with its members regarding new issues in the field and promotes research in forensic science disciplines.

International Association of Forensic Toxicologists
This organization's members are employed in analytical toxicology or allied areas. The aims of this association are to promote cooperation and coordination of efforts among members and to encourage research in forensic toxicology.

Midwestern Association of Forensic Scientists
The Mid-Western Association of Forensic Scientists encourages the exchange of ideas and information within the forensic sciences by improving contacts between people and laboratories engaged in forensic science.

National Association of Medical Examiners (NAME)
NAME is the national professional organization of physician medical examiners, medical death investigators, and death investigation system administrators who perform the official duties of the medicolegal investigation of deaths of public interest in the United States.

National Commission on the Future of DNA Evidence
The Commission targeted three limitations to the full and effective use of DNA technology: (1) the current backlog of untested convicted offender database samples, (2) the lack of appropriate prioritization of database sample collection and testing, and (3) the limited use of DNA in non-suspect cases. The Commission made recommendations, which subsequently led to NIJ's establishment in FY 2000 of two important initiatives: the Convicted Offender DNA Backlog Reduction Program and the No-Suspect Casework DNA Backlog Reduction Program.

National Human Genome Research Institute
The National Human Genome Research Institute was established to head the Human Genome Project for the National Institutes of Health (NIH) and to support biomedical research.

National Institute of Justice (NIJ): Forensic Sciences
NIJ's Forensic Sciences Division manages several major programs, including the Crime Laboratory Improvement Program; the Convicted Offender DNA Sample Backlog Reduction Program; the Five-Year DNA Research and Development Program; the National Commission on the Future of DNA Evidence; Technical Working Groups, a general forensic sciences research program; and professional conferences and workshops.

National Toxicology Program (NTP)
This program was established in 1978 by the U.S. Department of Health and Human Services (DHHS) to coordinate toxicological testing programs within the Department, strengthen the science base in toxicology; develop and validate improved testing methods; and provide information about potentially toxic chemicals to health regulatory and research agencies, the scientific and medical communities, and the public.

Northeastern Association of Forensic Scientists
The Northeastern Association of Forensic Scientists is responsible for exchanging ideas regarding new issues in forensic science and establishing contact with the laboratories located in the northeastern United States.

Serological Research Institute

The Serological Research Institute is a nonprofit corporation that offers a broad spectrum of support services for the forensic community. The institute maintains a staff of casework analysts and provides case analysis services to criminalists, law enforcement agencies, and attorneys.

Short Tandem Repeat DNA Internet Database
The Short Tandem Repeat DNA Internet Database was created to benefit research and application of short tandem repeat DNA markers to human identity testing which are used for genetic mapping, linkage analysis, and human identity testing.

Society of Forensic Toxicologists

The Society of Forensic Toxicologists is an organization of practicing forensic toxicologists, and those interested in the discipline, that promotes and develops forensic toxicology.

Southern Association of Forensic Scientists
The Southern Association of Forensic Scientists is an organization for forensic experts that have provided expert testimony in a court of law and now share ideas throughout the forensic science community.

U.S. Department of Energy Office of Biological & Environmental Research: Biological Systems Science Division
The Biological Systems Science Division manages a diverse portfolio of fundamental research and technology development to achieve a predictive, systems-level understanding of complex biological systems to advance Department of Energy missions in energy, climate, and environment. The division was formed from the merger of the formerly separate Life Sciences Division and the Medical Sciences Division.

U.S. Fish and Wildlife Service Forensics Laboratory
The National Fish and Wildlife Forensics Laboratory serves both national and international communities in identifying and comparing physical evidence in an attempt to link suspect, victim and crime scene.

The Vidocq Society
The Vidocq Society is a fraternal organization comprised of professionals and non-professionals who meet in a social setting to discuss unsolved crimes. The society's work is pro bono and their sole purpose is to act as a catalyst and provide guidance to law enforcement agencies to assist them in solving these crimes.

ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หรือ หน่วยงานใหม่ ขึ้นมาควบคุมมาตรฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้มีการดำเนินการแต่ประการใด แต่ก็มีแนวคิดที่จะให้หน่วยงานเดิม คือ National Academies on Standards and Technology (NIST) ทำหน้าที่ในการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับ Forensic Evidence ต่อไป เพราะการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ จะสิ้นเปลือง และ อาจจะไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอ

6. กรณีประเทศไทย ควรดำเนินการอย่างไร

กรณีนี้ จะต้องทบทวนเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และ บทบาทที่ควรจะเป็น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีการพัฒนาทางนิติวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยการใช้กระบวนการทางการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยเข้าดำเนินการพัฒนาเป็นหัวหอกสำคัญ และ ให้สิทธิจำเลยในคดีอาญา หรือ โจทก์ สามารถอ้างพยานผู้เชี่ยวชาญ มาหักล้างซึ่งกันและกันได้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนจะต้องระมัดระวังในการทำความเห็นเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น แนวทางการแข่งขันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมขององค์กรกลาง อย่างองค์กรวิชาชีพแพทย์ หรือ องค์กร ด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ น่าจะเหมาะสมกว่า ทั้งในทางปรัชญาและทางข้อเท็จจริง โดยเฉพาะในเรื่ององค์ความรู้ของสถาบันใหม่ ๆ ของ ยธ. ที่ความรู้ยังไม่ตกผลึก ดังจะเห็นได้จากคดีต่าง ๆ ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง รวมถึงคดีนายห้างทองฯ ด้วยเช่นกัน



Create Date : 20 กันยายน 2553
Last Update : 20 กันยายน 2553 20:00:22 น. 0 comments
Counter : 3603 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.