*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ผู้ร่างกฎหมายที่อยู่บนหอคอยงาช้าง: ลืมประชาชนตาดำ ๆ หรืออย่างไร

ผมได้พบสัจธรรมแล้วว่า คอลัมน์ กฎหมายผม ขายไม่ค่อยออกฯ แต่อย่างไรก็ยังไม่เปลี่ยนแนวคิด จะเสนอกฎหมายเปรียบเทียบต่อไป โดยเฉพาะในประเด็นกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ผมอ่านกฎหมายใหม่ของไทยที่เพิ่งประกาศใช้ไม่นานนี้ แล้วผมตกใจ รู้สึกว่ากฎหมายไทยล้ำหน้าไปมากในด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาฯ แต่ขาดหลายสิ่งหลายอย่าง ในแง่ของการคุ้มครองผู้เสียหายฯ และการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจฯ แตกต่างจากกฎหมายในสหรัฐฯ ที่มีแค่รัฐธรรมนูญไม่กี่มาตราในการปกป้องสิทธิของประชาชนฯ เช่น Fourth Amendment ที่คุ้มครองการค้นและการจับโดยไม่ชอบฯ Fifth Amendment ที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะไม่พูดสิ่งใดอันเป็นการทำให้ตนต้องถูกฟ้องคดีอาญา Sixth Amendment ที่คุ้มครองสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยรวดเร็วเป็นธรรม พร้อมกับประกันสิทธิการมีทนายฯ

อย่างไรก็ตาม สหรัฐมีกฎหมายเฉพาะมากมายที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจฯ เช่น กฎหมายดักฟัง Wiretap 1968 ที่ให้อำนาจตำรวจของหมายศาลในการดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้ต้องสงสัยในคดีสลับซับซ้อนได้ฯ The U.S. PATRIOT 2002 ที่ให้อำนาจแก่ตำรวจฯ ในการตรวจค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ฯ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) และกฎหมายหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน (Federal Rule of Evidence) ที่ออกมาอย่างละเอียดในการกำหนดให้รับฟังถ้อยคำของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน และ การชี้ตัวของพยานในชั้นสอบสวน โดยศาลเห็นว่าในขณะที่ชี้ตัวนั้น ผู้เสียหายยังมีสติสัมปชัญญะ ครบถ้วนฯ ความจำยังดี แม้จะชี้ตัวผิดในชั้นศาล ก็ไม่เป็นไร เพราะความจริง คือกว่าจะพิจารณาคดีในศาล อาจจะล่วงเลยมาแล้วเป็นแรมปีฯ ความจำก็ต้องไม่ชัดเจนฯ

สหรัฐฯ ยังมีกฎหมายที่บังคับให้บุคคลพูดหรือให้การต่อตำรวจหรืออัยการได้ฯ แต่ทางรัฐไม่อาจใช้ถ้อยคำนั้นเป็นพยานหลักกฐานในชั้นศาลได้ ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาในการฟ้องคดีฯ กฎหมายพยานฯ สหรัฐ ยังกำหนดต่อไปอีกว่า หากถึงเวลาพิจารณาคดี พยานไม่อาจมาศาล หรือไม่ยอมมาศาล หรือ ถูกทำให้ไม่กล้ามาศาลโดยฝ่ายจำเลยฯ คำให้การที่ได้เคยให้การไว้ในชั้นตำรวจ ล้วนแต่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ฯ แต่สิ่งเหล่านี้ข้างต้น ไม่เคยมีปรากฎในกฎหมายไทย ถ้าพยานไม่มาศาล หรือกลับคำให้การในชั้นศาลที่ไร ยกฟ้องทุกที ผู้เสียหาย คงได้ช้ำใจฯ

กฎหมายไทยล้ำหน้ามากฯ ตัดทุกอย่างออกไป แม้กระทั่งคำรับสารภาพ ที่แม้จะออกมาจากเบื้องลึกของหัวใจว่าตนเองทำผิดฯ ก็ไม่อาจจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ฯ ผู้เสียหายก็ไม่อาจชี้ตัวให้ตำรวจจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ขอยกตัวอย่างที่เห็นชัด คือ คดีข่มขืน สมมุติว่าน้องสาวของเราถูกเพื่อนชายลวงไปข่มขืน วันที่น้องสาวเราไปแจ้งความต่อตำรวจ เพื่อนชายผู้นั้น ก็มาปรากฎตัวหน้าตำรวจ และทำเล่นหู่เล่นตา พร้อมกับพูดว่า

“ผมข่มขืนเองแหละ ใครจะทำไม ตำรวจก็จับผมไม่ได้ เพราะศาลยังไม่ออกหมายจับผม บ๊ายบาย ผมกลับบ้านไปนอนตีพุงดีกว่า”

หลังจากที่ให้ที่อยู่แก่ตำรวจแล้ว เขาก็กลับบ้านไป ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับล่าสุด ห้ามมิให้ตำรวจจับกุม จนกว่าจะมีหมายศาล เว้นแต่มีเหตุสงสัยว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีฯ กรณีนี้ เขาบอกจะกลับบ้านฯ พร้อมให้ที่อยู่เสร็จสรรพ ตำรวจจึงได้แต่ทำตาปริบ ๆ จับไม่ได้

ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้เสียหาย มันจะช้ำใจขนาดไหน ผู้ต้องหามาเยาะเย้ยตรงหน้า แต่ทำอะไรไม่ได้ ผมเกรงว่า อีกหน่อย ผู้เสียหายจะใช้วิธีการตาต่อตาฟันต่อฟัน เพราะบ้านเมืองไม่อาจจะคุ้มครองอะไรเขาได้ เพราะความจริง ผู้ต้องหา ก็ได้หลบหนีไปแล้ว แต่เรื่องอะไรเขาจะบอกว่า พรุ่งนี้ ข้าพเจ้าจะหนีแล้วนะฯ เพราะนั่นเป็นเหตุให้จับได้ โดยไม่ต้องมีหมายของศาลฯ

ผมอ่านกฎหมายไทยเราแล้ว ผมได้แต่กังวล เพราะจริง ๆ กฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย จะต้องมีส่วนคำนึงถึงหลัก ๒ ประการ คือ (๑) สิทธิและเสรีภาพของประชาชน กับ (๒) ประสิทธิภาพในการทำงานของบ้านเมืองในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม หากสองส่วนนี้ ไม่สมดุลแล้ว บ้านเมืองก็จะถึงขั้นหายนะ เพราะผู้เสียหายและประชาชนจะไม่เชื่อถือศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม เพราะมันไม่อาจจะให้ความยุติธรรมในความรู้สึกของสามัญธรรมดา (Common sense) ได้

หากจะเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหรัฐฯ หากมีการสอบถามปากคำผู้ต้องสงสัยแล้ว จนถึงขั้นหนึ่ง ตำรวจเชื่อว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด ก็จะแจ้งสิทธิตาม Miranda warning คือ สิทธิในการมีทนาย สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การ และคำให้การต่าง ๆ อาจจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาของศาลได้ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาพูดหลังจากนั้น ล้วนเป็นพยานหลักฐานได้ เพราะถือว่าเป็นถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (statement against interests) แต่กฎหมายไทยเลอเลิศกว่า ห้ามศาลรับฟังคำรับสารภาพนั้นโดยเด็ดขาดฯ กฎหมายสหรัฐฯ นอกจากจะถือว่าเป็นข้อยกเว้นของพยานบอกเล่า(hearsay rule exception) แล้ว ยังให้อำนาจแก่พนักงานอัยการ ในการนำคำรับสารภาพในชั้นตำรวจ มาใช้ลบล้าง การกลับคำให้การในชั้นศาลของจำเลยที่เบิกความขัดแย้งกับคำให้การในชั้นสอบสวนของตำรวจเสียด้วยฯ นี่คือ คือความแตกต่างที่ชนิดฟ้ากับเหวฯ ทนายเก่ง ๆ ภายใต้กฎหมายไทย ที่เอื้อประโยชน์เช่นนี้ ก็จะสามารถทำให้คดีหลุดพ้นจากเงื้อมมือของกฎหมายได้อย่างง่ายดาย ผลคืออะไร ประชาชน จะหันกลับไปใช้วิธีแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน แทนการฟ้องร้องคดีต่อศาล เพราะมันไม่มีประโยชน์ฯ นอกจากเสียเงินทองฯ เสียเวลา แล้วยังเสียใจกับกระบวนการยุติธรรมด้วย

แม้ว่ากฎหมายไทย จะรองรับว่า หากผู้เสียหาย ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญาใด ๆ โดยที่ตนเองไม่มีส่วนผิด จะสามารถร้องขอให้รัฐจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้ได้ก็ตาม แต่เงินก็อาจจะไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้เสียหายต้องการ

ไม่ทราบว่า ผู้ร่างกฎหมาย เคยเป็นผู้เสียหายฯ หรือไม่ หรือเป็นเพราะผู้ร่างกฎหมาย ท่านมีความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง มีเงินตรา ชื่อเสียง เกียรติยศ อีกทั้ง ท่านไม่เคยสัมผัสกับวิถีของคนจนที่มาอาศัยพึ่งพาตำรวจโดยการแจ้งความ ร้องขอให้ตำรวจช่วยเหลือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดให้ฯ บางคนไม่มีรองเท้าจะใส่ฯ มาถึงนั่งกับพื้นโรงพักฯ ไหว้ตำรวจที่เป็นรุ่นลูกท้วมหัวฯ ซึ่งความจริง ตำรวจรุ่นลูกเหล่านั้น จะต้องรีบชิงไหว้ก่อน แล้วไปพยุงผู้เสียหายให้เข้านั่งที่ พร้อมโปรยรอยยิ้มให้กับผู้เสียหาย ที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นฯ หากผู้ร่างกฎหมาย ได้เคยสัมผัสชีวิตที่ยากไร้เช่นนั้น กฎหมายที่ไม่สมดุลฯ หลายประการนี้ คงจะไม่เกิดขึ้น

อีกหน่อย ถ้าใครก็ตามประสบปัญหาทางกฎหมายฯ อย่าไปด่าตำรวจนะครับ ท่านไปด่าผู้ร่างกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือ ผู้แทนของท่าน ล้วนแต่จะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้นฯ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ต้องไม่ลืมว่า ผู้กระทำผิดอาจจะไม่ใช่คนไทยอย่างเดียวฯ อาจจะมีกระบวนการเชื่อมโยงในหลายประเทศฯ โดยเฉพาะคดีความมั่นต่อประเทศของเรา หากไม่ให้เครื่องมือพิเศษฯ ในการทำงานแก่ตำรวจแล้ว ประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร



Create Date : 23 พฤษภาคม 2548
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:41:33 น. 6 comments
Counter : 762 Pageviews.

 
นั่นสิคะ
เมื่อไหร่เมืองไทยจะดีขึ้นนะ


โดย: เกือกซ่าสีชมพู วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:6:05:34 น.  

 
สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่านนะคะ


โดย: รักดี วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:19:24 น.  

 
เข้ามาตามอ่านอย่างเคยครับ...
เคยได้ยินว่า มีคดีวิวาทผู้เสียหายถูกทำร้ายร่างกาย โดยผู้เสียหายไม่ได้กระทำการตอบโต้ แจ้งความต่อเจ้าพนักงาน แต่ยังไม่สามารถจับกุมคู่กรณีได้ เพราะไม่ได้เป็นเหตุกระทำซึ่งหน้าเจ้าพนักงาน ต้องรอศาลอนุญาตออกหมาย และพิสูจน์ได้ว่าถูกทำร้ายจากคู่กรณีจริง...
เวรกรรมหากไม่มีพยานหลักฐานก็เจ็บตัวฟรี ถึงตอนนั้นคู่กรณีไปถึงไหนแล้วไม่รู้เจ็บทั้งตัวเจ็บทั้งใจ ได้ยินคนที่เขาเกิดเรื่องว่าขนาดเจ้าพนักงานเองยังบอกว่าทำไมไม่ตอบโต้เพราะเหตุไม่ได้เกิดต่อหน้าเจ้าพนักงานเอาคืนไปก่อนเลยแล้วมาสอบกันทีหลังสามารถกล่าวอ้างว่าป้องกันตัวได้
โฮ..โฮ..คนดีที่หวังให้กฎหมายคุ้มครองช่วยเหลือได้แต่ทำตาปริบๆ

เรื่องมันๆมีให้ได้เห็นได้ยินบ่อยครับ ยังมีเรื่องอาวุธในครอบครองอีก ตอนที่รัฐออกมาประกาศห้ามครอบครองอาวุธปืน คนดีคนซื่อห้ามมีอาวุธในครอบครอง ปืนลงทะเบียนถูกกฎหมายรัฐจะเก็บ แต่ปืนเถื่อนอาวุธเถื่อนรัฐสามารถควบคุมได้หมดหรือ...คนดีไม่มีอาวุธป้องกันตัว อีโต้ในครัวกับใจรักลูกเมีย ฤ จะสู้ความอำมหิตที่พบเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งไม่ได้เสนอครบทุกคดี

อย่าลืมว่าทุกคนไม่ได้มีเงินจ้างยาม จ้างคนเดินตามคุ้มครองอย่างบางท่านนะครับ หาเช้ากินค่ำดวงซวยไปเฉียดเจ้าพ่อหัวตะกั่วก็สูญไป

ถ้าเห็นว่าcommentไม่เหมาะสม เชิญเจ้าของblogลบได้เลยนะคับ


โดย: Votary วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:35:18 น.  

 
ผมดีใจนะ ที่มีคนเข้ามาอ่านคอลัมน์ กฎหมายของผม ผมมองกฎหมายที่ออกใหม่ มีปัญหาหลายประการ ผมจะรอดูผลงานของผู้ร่างกฎหมายฯ และรัฐสภาไทย ที่ออกกฎหมายนี้มา คงต้องดูสักสองสามปีฯ ไม่มีอะไรไม่เหมาะสมหรอกครับ ความเห็นก็คือ ความเห็นครับ ต้องแตกต่างกันมันจึงจะเกิดสิ่งใหม่ หรืออีกอย่าง ก็คือ “เมื่อเห็นไม่เหมือนกัน การพนันจึงเกิด” เอ้ย ไม่ใช่แล้ว ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ


โดย: POL_US วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:58:22 น.  

 
หาว...

อ่า...ล้อเล่นก๊ะ

รอคนรุ่นใหม่ๆ อย่างคุณ POL_US กลับมาเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของกฏหมายไทยค่ะ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของลูกหลานเรา...

เอ๋...ยิ่งเขียนยิ่งแสดงความแก่...

ท่าจะไม่ดี...ไปแล้วค่า



โดย: sunnine วันที่: 25 พฤษภาคม 2548 เวลา:17:05:31 น.  

 
ของแสดงความเห็นติ๊ดนึง เท่าที่สมองอันน้อยนิดของผมพอจะคิดได้ ผมว่ากฎหมายสหรัฐบางทีทำให้ผู้เสียหายช้ำใจก็มากนะครับ เพราะกฎหมายพยานหลักฐานที่เคร่งครัดเสียจน ว่าหากหลักฐานสำคัญบางอย่างหากได้มาอย่างไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นหลักฐานสำคัญก็ตาม ก็ถือว่าใช้ไม่ได้

แต่ของไทยเท่าที่ผมเคยอ่านฎีกาเมื่อนานมาแล้ว ยังเปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจพิจารณาได้ว่าจะใช้พยานหลักฐานนั้นหรือไม่

หรือว่าผมจำผิดหว่า

ส่วนของไทยที่ว่าคำสารภาพเอามาใช้ยันผู้ต้องหาในชั้นศาลไม่ได้ ผมว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการขจัดพวกการช้อตไข่หรือตุ้ยท้องผู้ต้องหาเพื่อให้ได้คำสารภาพ
มากกว่า ไม่งั้นตำรวจก็จะเค้นเอาแต่คำสารภาพลูกเดียว บทบัญญัตินี้ก็น่าจะลดตรงนี้ได้มั้ง

ยังไงผมก็เห็นว่า due process ต้องไปควบคู่กับ crime control ครับ (แต่ผมว่าประเทศไทยน่าจะเน้น crime control หน่อยก็ดี)


โดย: praphrut608 IP: 146.151.111.141 วันที่: 28 กันยายน 2548 เวลา:11:52:20 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.